การเงินและการธนาคาร
ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2544 สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดเงินฝากคงค้าง 275,193.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1,096.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.4 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน จากการจำหน่ายสินค้าทางเกษตร เงินฝากเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์
ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 175,100.2 ล้านบาท ลดลงสุทธิจากเดือนก่อน 2,306.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.3 และลดลงร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ลดลงมากที่จังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ และลำปาง
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 ธนาคาร ลดลงจากเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.00 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 2.50 ต่อปี เมื่อเดือนก่อน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 12 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.50 และร้อยละ 3.00 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 3.00 และร้อยละ 3.50 ต่อปี เมื่อเดือนก่อน สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.25-7.75 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 7.50- 8.25 ต่อปี
ปริมาณการใช้เช็คในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 มีปริมาณ 344,447 ฉบับ มูลค่า 22,209.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.9 และร้อยละ 8.5 ตามลำดับ โดยลดลงมากที่สำนักหักบัญชีจังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ ลำปาง และพิจิตร ทางด้านปริมาณและมูลค่าเช็คคืนลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 11.1 และร้อยละ 9.1 เหลือ 6,000 ฉบับ มูลค่า 326.2 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเช็คคืนมีสัดส่วนร้อยละ 1.7 และร้อยละ 1.5 ของปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บใกล้เคียงเมื่อเทียบกับสัดส่วน ร้อยละ 1.8 และร้อยละ 1.5 ของทั้งเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือเดือนกุมภาพันธ์ 2544 มีเงินในงบประมาณขาดดุล 8,825.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 7,373.8 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
รายได้ที่รัฐบาลนำส่งคลังจังหวัดทั้ง 20 แห่งในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.7 เหลือ 735.5 ล้านบาท จากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 1.6 เหลือ 278.9 ล้านบาท โดยลดลงมากในส่วนของการจัดเก็บจากเงินได้ดอกเบี้ยร้อยละ 17.9 เหลือ 86.6 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 42.0 เหลือ 92.1 ล้านบาท เนื่องจากในปีนี้รัฐไม่ขยายเวลาการยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิให้แก่ผู้ประกอบการเช่นปีก่อน ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.6 เป็น 315.6 ล้านบาท ส่วนใหญ่จากการเร่งรัดจัดเก็บภาษี และบางส่วนเพิ่มขึ้นจากการใช้จ่ายของประชาชนโดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
รายจ่ายรัฐบาลในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.6 เป็น 9,560.9 ล้านบาท โดยรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 38.3 เป็น 3,444.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากในส่วนของหมวดเงินอุดหนุนที่รัฐให้แก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้ก่อสร้างสาธารณูปโภคในท้องถิ่น ขณะที่รายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เป็น 6,116.1 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นมากในรายจ่ายอื่นและค่าสาธารณูปโภคถึงเกือบ 6 เท่าตัว และเกือบ 3 เท่าตัว เป็น 366.8 ล้านบาท และ 199.8 ล้านบาท ตามลำดับ
รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2544 มีวงเงินที่ได้รับอนุมัติทั้งสิ้น 8,453.5 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 8,225.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.3 ของวงเงินอนุมัติ จังหวัดที่มีอัตราเบิกจ่ายสูงสุด 3 ลำดับคือ จังหวัดลำปาง แม่ฮ่องสอน และเชียงราย ร้อยละ 99.6 ร้อยละ 99.2 และร้อยละ 98.9 ของวงเงินอนุมัติตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ของภาคเหนือเดือนกุมภาพันธ์ 2544 มีมูลค่า 93.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 4,041.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.5) เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชะลอตัวลงและปัญหาการปิดด่านการค้าชายแดนไทย-พม่า
การส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 84.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 9.8 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,668.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.9) เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลงโดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา โดยการส่งออกจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 75.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 9.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.8 ปีก่อน โดยชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์ส่งออกลดลง แต่ชิ้นส่วนที่ใช้กับอุปกรณ์สำนักงานและโทรศัพท์มือถือยังคงมีคำสั่งซื้อ
ส่วนการส่งออกนอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 9.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.8 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 391.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.3) ส่วนหนึ่งจากการส่งออกลำไยอบแห้งเพิ่มขึ้น
การส่งออกผ่านชายแดน มีมูลค่า 8.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนถึงร้อยละ 49.4 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 373.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 41.5) จากการลดลงของการส่งออกไปพม่าเป็นสำคัญ
การส่งออกไปพม่า มีมูลค่า 5.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 65.2 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 234.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 59.8) จากการปิดด่านศุลกากรแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2544 จากเหตุการณ์ความไม่สงบบริเวณชายแดนไทย-พม่า ด้านจังหวัดเชียงรายเป็นสำคัญ ส่วน การส่งออกไปจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 2.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนมาก (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 97.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากจากเดือนเดียวกันปีก่อน) ขณะที่การส่งออกไป ลาว มีมูลค่า 1.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 21.1 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 41.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9)
การนำเข้า สินค้านำเข้ามีมูลค่า 86.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.4 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,749.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6) จากการลดลงของการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ
การนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 81.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.3 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,514.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2) จากการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรลดลง โดยการนำเข้าในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 80.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.2 ส่วนการนำเข้านอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ (ผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่) มีมูลค่า 0.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.6 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 23.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0)
การนำเข้าผ่านชายแดน มีมูลค่า 5.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 79.2 จากการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นทั้งจากพม่า ลาว และจีน (ตอนใต้) (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 235.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว)
การนำเข้าจากพม่าและลาว มีมูลค่า 2.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 2.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 53.1 และกว่าเท่าตัวตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 107.5 ล้านบาท และ 102.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 77.0 และกว่าเท่าตัว ตามลำดับ) จากการนำเข้าโค-กระบือมากขึ้น ส่วน การนำเข้าจากจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 0.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 25.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว) ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 จากราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ขณะที่ราคาสินค้าใน หมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.1
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.1 โดยลดลงมากที่สุดในกลุ่มอาหารที่ซื้อจากตลาดถึงร้อยละ 5.1 จากภาวะการแข่งขัน รองลงมาได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำลดลง ร้อยละ 2.0 จากปริมาณเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 1.8 กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 0.9 ขณะที่กลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งราคาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.1 จากความต้องการข้าวหอมมะลิทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น กลุ่มผักและผลไม้ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เนื่องจากภาวะฝนทิ้งช่วงทำให้ผักออกสู่ตลาดลดลง และกลุ่มอาหารที่ซื้อบริโภคราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เนื่องจากผู้ประกอบการมีต้นทุนเชื้อเพลิงและค่าขนส่งเพิ่มขึ้น
หมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 โดยเพิ่มขึ้นมากที่สุดในหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.9 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มยานพาหนะและการขนส่งสาธารณะร้อยละ 7.7 และร้อยละ 5.2 ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ราคาสินค้าในหมวดเคหสถานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จากการปรับค่ากระแสไฟฟ้าตามต้นทุนการผลิต ส่วนราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ เพิ่มขึ้นไม่มากนักการใช้จ่ายภาคเอกชน
เครื่องชี้การใช้จ่ายภาคเอกชนที่สำคัญยังคงปรับตัวชะลอลง เพราะแม้ว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 จะเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.6 เป็น 315.6 ล้านบาท แต่เป็นผลจากการเร่งรัดจัดเก็บภาษีเป็นสำคัญ ส่วนการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เป็น 204.9 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 11.1 เดือนก่อน สำหรับปริมาณรถยนต์จดทะเบียนในเดือนมกราคมลดลงร้อยละ 10.3 เป็น 2,764 คัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 10.8 เดือนก่อน ขณะที่ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนยังคงขยายตัวใน เกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 เป็น 10,677 คัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 เดือนก่อน
--ส่วนวิชาการ/ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-
ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2544 สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดเงินฝากคงค้าง 275,193.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1,096.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.4 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน จากการจำหน่ายสินค้าทางเกษตร เงินฝากเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์
ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 175,100.2 ล้านบาท ลดลงสุทธิจากเดือนก่อน 2,306.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.3 และลดลงร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ลดลงมากที่จังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ และลำปาง
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 ธนาคาร ลดลงจากเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.00 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 2.50 ต่อปี เมื่อเดือนก่อน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 12 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.50 และร้อยละ 3.00 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 3.00 และร้อยละ 3.50 ต่อปี เมื่อเดือนก่อน สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.25-7.75 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 7.50- 8.25 ต่อปี
ปริมาณการใช้เช็คในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 มีปริมาณ 344,447 ฉบับ มูลค่า 22,209.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.9 และร้อยละ 8.5 ตามลำดับ โดยลดลงมากที่สำนักหักบัญชีจังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ ลำปาง และพิจิตร ทางด้านปริมาณและมูลค่าเช็คคืนลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 11.1 และร้อยละ 9.1 เหลือ 6,000 ฉบับ มูลค่า 326.2 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเช็คคืนมีสัดส่วนร้อยละ 1.7 และร้อยละ 1.5 ของปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บใกล้เคียงเมื่อเทียบกับสัดส่วน ร้อยละ 1.8 และร้อยละ 1.5 ของทั้งเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือเดือนกุมภาพันธ์ 2544 มีเงินในงบประมาณขาดดุล 8,825.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 7,373.8 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
รายได้ที่รัฐบาลนำส่งคลังจังหวัดทั้ง 20 แห่งในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.7 เหลือ 735.5 ล้านบาท จากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 1.6 เหลือ 278.9 ล้านบาท โดยลดลงมากในส่วนของการจัดเก็บจากเงินได้ดอกเบี้ยร้อยละ 17.9 เหลือ 86.6 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 42.0 เหลือ 92.1 ล้านบาท เนื่องจากในปีนี้รัฐไม่ขยายเวลาการยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิให้แก่ผู้ประกอบการเช่นปีก่อน ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.6 เป็น 315.6 ล้านบาท ส่วนใหญ่จากการเร่งรัดจัดเก็บภาษี และบางส่วนเพิ่มขึ้นจากการใช้จ่ายของประชาชนโดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
รายจ่ายรัฐบาลในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.6 เป็น 9,560.9 ล้านบาท โดยรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 38.3 เป็น 3,444.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากในส่วนของหมวดเงินอุดหนุนที่รัฐให้แก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้ก่อสร้างสาธารณูปโภคในท้องถิ่น ขณะที่รายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เป็น 6,116.1 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นมากในรายจ่ายอื่นและค่าสาธารณูปโภคถึงเกือบ 6 เท่าตัว และเกือบ 3 เท่าตัว เป็น 366.8 ล้านบาท และ 199.8 ล้านบาท ตามลำดับ
รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2544 มีวงเงินที่ได้รับอนุมัติทั้งสิ้น 8,453.5 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 8,225.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.3 ของวงเงินอนุมัติ จังหวัดที่มีอัตราเบิกจ่ายสูงสุด 3 ลำดับคือ จังหวัดลำปาง แม่ฮ่องสอน และเชียงราย ร้อยละ 99.6 ร้อยละ 99.2 และร้อยละ 98.9 ของวงเงินอนุมัติตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ของภาคเหนือเดือนกุมภาพันธ์ 2544 มีมูลค่า 93.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 4,041.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.5) เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชะลอตัวลงและปัญหาการปิดด่านการค้าชายแดนไทย-พม่า
การส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 84.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 9.8 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,668.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.9) เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลงโดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา โดยการส่งออกจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 75.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 9.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.8 ปีก่อน โดยชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์ส่งออกลดลง แต่ชิ้นส่วนที่ใช้กับอุปกรณ์สำนักงานและโทรศัพท์มือถือยังคงมีคำสั่งซื้อ
ส่วนการส่งออกนอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 9.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.8 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 391.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.3) ส่วนหนึ่งจากการส่งออกลำไยอบแห้งเพิ่มขึ้น
การส่งออกผ่านชายแดน มีมูลค่า 8.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนถึงร้อยละ 49.4 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 373.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 41.5) จากการลดลงของการส่งออกไปพม่าเป็นสำคัญ
การส่งออกไปพม่า มีมูลค่า 5.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 65.2 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 234.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 59.8) จากการปิดด่านศุลกากรแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2544 จากเหตุการณ์ความไม่สงบบริเวณชายแดนไทย-พม่า ด้านจังหวัดเชียงรายเป็นสำคัญ ส่วน การส่งออกไปจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 2.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนมาก (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 97.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากจากเดือนเดียวกันปีก่อน) ขณะที่การส่งออกไป ลาว มีมูลค่า 1.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 21.1 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 41.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9)
การนำเข้า สินค้านำเข้ามีมูลค่า 86.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.4 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,749.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6) จากการลดลงของการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ
การนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 81.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.3 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,514.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2) จากการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรลดลง โดยการนำเข้าในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 80.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.2 ส่วนการนำเข้านอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ (ผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่) มีมูลค่า 0.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.6 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 23.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0)
การนำเข้าผ่านชายแดน มีมูลค่า 5.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 79.2 จากการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นทั้งจากพม่า ลาว และจีน (ตอนใต้) (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 235.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว)
การนำเข้าจากพม่าและลาว มีมูลค่า 2.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 2.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 53.1 และกว่าเท่าตัวตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 107.5 ล้านบาท และ 102.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 77.0 และกว่าเท่าตัว ตามลำดับ) จากการนำเข้าโค-กระบือมากขึ้น ส่วน การนำเข้าจากจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 0.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 25.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว) ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 จากราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ขณะที่ราคาสินค้าใน หมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.1
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.1 โดยลดลงมากที่สุดในกลุ่มอาหารที่ซื้อจากตลาดถึงร้อยละ 5.1 จากภาวะการแข่งขัน รองลงมาได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำลดลง ร้อยละ 2.0 จากปริมาณเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 1.8 กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 0.9 ขณะที่กลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งราคาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.1 จากความต้องการข้าวหอมมะลิทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น กลุ่มผักและผลไม้ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เนื่องจากภาวะฝนทิ้งช่วงทำให้ผักออกสู่ตลาดลดลง และกลุ่มอาหารที่ซื้อบริโภคราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เนื่องจากผู้ประกอบการมีต้นทุนเชื้อเพลิงและค่าขนส่งเพิ่มขึ้น
หมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 โดยเพิ่มขึ้นมากที่สุดในหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.9 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มยานพาหนะและการขนส่งสาธารณะร้อยละ 7.7 และร้อยละ 5.2 ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ราคาสินค้าในหมวดเคหสถานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จากการปรับค่ากระแสไฟฟ้าตามต้นทุนการผลิต ส่วนราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ เพิ่มขึ้นไม่มากนักการใช้จ่ายภาคเอกชน
เครื่องชี้การใช้จ่ายภาคเอกชนที่สำคัญยังคงปรับตัวชะลอลง เพราะแม้ว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 จะเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.6 เป็น 315.6 ล้านบาท แต่เป็นผลจากการเร่งรัดจัดเก็บภาษีเป็นสำคัญ ส่วนการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เป็น 204.9 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 11.1 เดือนก่อน สำหรับปริมาณรถยนต์จดทะเบียนในเดือนมกราคมลดลงร้อยละ 10.3 เป็น 2,764 คัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 10.8 เดือนก่อน ขณะที่ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนยังคงขยายตัวใน เกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 เป็น 10,677 คัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 เดือนก่อน
--ส่วนวิชาการ/ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-