ประเทศไทยเตรียมพร้อมสู่การเปิดเสรีโทรคมนาคมปี 2549ภายใต้ฐานะสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ประเทศไทยมีพันธะต้องเปิดเสรีโทรคมนาคมภายในประเทศในเดือนตุลาคม 2542 (เลื่อนเป็นตุลาคม 2543) และเปิดเสรีโทรคมนาคมกับต่างประเทศในปี 2549 โดยกระทรวงคมนาคมได้จัดทำ แผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2540 เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานในการเตรียมความพร้อมสู่การเปิดเสรีโทรคมนาคม โดยการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) การแปรสภาพ ทศท. และ กสท. การดำเนินการแปรสัญญาร่วมการงาน
องค์กรใหม่ กทช. ผู้ดูแลกิจการโทรคมนาคมไทยหลังเปิดเสรี เดิม การกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมอยู่ภายใต้การดำเนินงานของ ทศท. และ กสท. แต่ภายหลังการเปิดเสรีโทรคมนาคม จะมี กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) เป็นผู้ดูแลแทน
โดย กทช. จะมีบทบาทในการกำหนดลักษณะและประเภทกิจการโทรคมนาคม ดูแลการใช้คลื่นความถี่ การให้ใบอนุญาตประกอบกิจการ ตลอดจนวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งนี้ การดำเนินงานของ กทช. ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรม เพื่อให้บริการโทรคมนาคมอยู่บน พื้นฐานของความเท่าเทียมกัน ภายใต้การแข่งขันเสรีอย่างแท้จริง
การแปรสัญญาสัมปทานเป็นตัวจักรสำคัญของการเปิดเสรีโทรคมนาคมในไทยเพื่อให้บริการโทรคมนาคมเป็นการแข่งขันที่เสรีอย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องมีการแปรสัญญาสัมปทานร่วมการงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 33 สัญญา ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการกำกับการแปรสัญญาร่วมการงานด้านกิจการโทรคมนาคม (กปส.) โดยยึดหลักการของความสมัครใจในการแปรสัญญาระหว่างคู่สัญญา ภายใต้การให้บริการที่ไม่มีการผูกขาด และผู้ประกอบการทุกรายมีความเสมอภาคกัน ทั้งนี้ จะต้องมีการแปรสภาพ ทศท. และ กสท. ให้มีฐานะเทียบเท่าภาคเอกชนด้วย
หากการแปรสัญญาสัมปทานไม่บรรลุเป้าหมาย จะก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมและสมบูรณ์ เพราะผู้ประกอบการรายเก่าจำต้องส่งรายได้ (Revenue Sharing) ให้แก่เจ้าของสัมปทาน แต่รายใหม่ไม่มีภาระด้านนี้
ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์สูงสุด หลังเปิดเสรีโทรคมนาคมการเปิดเสรีโทรคมนาคมเป็นการปรับเปลี่ยนการให้บริการจากการผูกขาดโดยภาครัฐ สู่การแข่งขันอย่างเสรีของผู้ประกอบการที่มีความเท่าเทียมกัน จึงย่อมจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคในการได้รับบริการที่ดี มีคุณภาพ โดยมีอัตราค่าบริการที่มีแนวโน้มลดลง และประเภทการให้บริการที่หลากหลายขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ นำมาซึ่งการถ่ายทอดเทคโนโลยีและเงินตราต่างประเทศ เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจโทรคมนาคมต่อไป
ผลกระทบด้านบวกต่อฐานะการคลังรัฐบาล เมื่อ TDRI คาดคะเนว่ารัฐจะได้รับเงินชดเชยรายได้ (Revenue Sharing) เป็นจำนวนนับหลายแสนล้านบาทการแปรสัญญาร่วมการงานของกิจการโทรคมนาคมจำนวน 33 สัญญา ส่งผลให้ภาคเอกชนจักต้องชดเชยเงินได้ (Revenue Sharing) ให้แก่รัฐวิสาหกิจเจ้าของสัมปทาน ตามการคาดคะเนของ TDRI เป็นจำนวนนับหลายแสนล้านบาท ส่งผลกระทบด้านบวกต่อฐานะการคลังรัฐบาล
ผลกระทบในระยะสั้นทางด้านลบต่อดุลการชำระเงิน จากการขยายตัวของกิจการ โทรคมนาคม เพราะมีสัดส่วนการนำเข้า (Import Content) สูงทั้งเทคโนโลยี อุปกรณ์ต่างๆ เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ในระยะยาว จะช่วยเพิ่มความสามารถในการส่งออกได้แนวโน้มของการค้าและบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการติดต่อสื่อสารด้วยเครือข่ายของกิจการโทรคมนาคมที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้ง Internet โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม เคเบิลใยแก้ว เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยี โครงข่าย อุปกรณ์ต่าง ๆ ล้วนต้อง นำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งสิ้น ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวจะส่งผลกระทบระยะสั้นทางด้านลบต่อดุลการชำระเงิน แต่ในระยะยาว จะเอื้อประโยชน์ต่อการเพิ่มความสามารถในการส่งออกของประเทศได้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
องค์กรใหม่ กทช. ผู้ดูแลกิจการโทรคมนาคมไทยหลังเปิดเสรี เดิม การกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมอยู่ภายใต้การดำเนินงานของ ทศท. และ กสท. แต่ภายหลังการเปิดเสรีโทรคมนาคม จะมี กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) เป็นผู้ดูแลแทน
โดย กทช. จะมีบทบาทในการกำหนดลักษณะและประเภทกิจการโทรคมนาคม ดูแลการใช้คลื่นความถี่ การให้ใบอนุญาตประกอบกิจการ ตลอดจนวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งนี้ การดำเนินงานของ กทช. ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรม เพื่อให้บริการโทรคมนาคมอยู่บน พื้นฐานของความเท่าเทียมกัน ภายใต้การแข่งขันเสรีอย่างแท้จริง
การแปรสัญญาสัมปทานเป็นตัวจักรสำคัญของการเปิดเสรีโทรคมนาคมในไทยเพื่อให้บริการโทรคมนาคมเป็นการแข่งขันที่เสรีอย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องมีการแปรสัญญาสัมปทานร่วมการงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 33 สัญญา ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการกำกับการแปรสัญญาร่วมการงานด้านกิจการโทรคมนาคม (กปส.) โดยยึดหลักการของความสมัครใจในการแปรสัญญาระหว่างคู่สัญญา ภายใต้การให้บริการที่ไม่มีการผูกขาด และผู้ประกอบการทุกรายมีความเสมอภาคกัน ทั้งนี้ จะต้องมีการแปรสภาพ ทศท. และ กสท. ให้มีฐานะเทียบเท่าภาคเอกชนด้วย
หากการแปรสัญญาสัมปทานไม่บรรลุเป้าหมาย จะก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมและสมบูรณ์ เพราะผู้ประกอบการรายเก่าจำต้องส่งรายได้ (Revenue Sharing) ให้แก่เจ้าของสัมปทาน แต่รายใหม่ไม่มีภาระด้านนี้
ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์สูงสุด หลังเปิดเสรีโทรคมนาคมการเปิดเสรีโทรคมนาคมเป็นการปรับเปลี่ยนการให้บริการจากการผูกขาดโดยภาครัฐ สู่การแข่งขันอย่างเสรีของผู้ประกอบการที่มีความเท่าเทียมกัน จึงย่อมจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคในการได้รับบริการที่ดี มีคุณภาพ โดยมีอัตราค่าบริการที่มีแนวโน้มลดลง และประเภทการให้บริการที่หลากหลายขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ นำมาซึ่งการถ่ายทอดเทคโนโลยีและเงินตราต่างประเทศ เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจโทรคมนาคมต่อไป
ผลกระทบด้านบวกต่อฐานะการคลังรัฐบาล เมื่อ TDRI คาดคะเนว่ารัฐจะได้รับเงินชดเชยรายได้ (Revenue Sharing) เป็นจำนวนนับหลายแสนล้านบาทการแปรสัญญาร่วมการงานของกิจการโทรคมนาคมจำนวน 33 สัญญา ส่งผลให้ภาคเอกชนจักต้องชดเชยเงินได้ (Revenue Sharing) ให้แก่รัฐวิสาหกิจเจ้าของสัมปทาน ตามการคาดคะเนของ TDRI เป็นจำนวนนับหลายแสนล้านบาท ส่งผลกระทบด้านบวกต่อฐานะการคลังรัฐบาล
ผลกระทบในระยะสั้นทางด้านลบต่อดุลการชำระเงิน จากการขยายตัวของกิจการ โทรคมนาคม เพราะมีสัดส่วนการนำเข้า (Import Content) สูงทั้งเทคโนโลยี อุปกรณ์ต่างๆ เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ในระยะยาว จะช่วยเพิ่มความสามารถในการส่งออกได้แนวโน้มของการค้าและบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการติดต่อสื่อสารด้วยเครือข่ายของกิจการโทรคมนาคมที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้ง Internet โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม เคเบิลใยแก้ว เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยี โครงข่าย อุปกรณ์ต่าง ๆ ล้วนต้อง นำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งสิ้น ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวจะส่งผลกระทบระยะสั้นทางด้านลบต่อดุลการชำระเงิน แต่ในระยะยาว จะเอื้อประโยชน์ต่อการเพิ่มความสามารถในการส่งออกของประเทศได้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-