ไต้หวันได้ผ่านขบวนการรับรองผลการเจรจาเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้วเมื่อวันที่ 18 กันยายน ศกนี้ และคณะมนตรีทั่วไปของ WTO จะเสนอให้รัฐมนตรีองค์การการค้าโลกให้การรับรองการเข้าเป็นสมาชิกต่อที่เข้าประชุมองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ที่ประเทศกาตาร์ ระหว่างวันที่ 9-13 พฤศจิกายน ศกนี้ หลังจากนั้นทั้งไต้หวันจะต้องดำเนินการด้านกฎหมาย ภายในประเทศเพื่อให้สัตยาบันรับรองข้อตกลงดังกล่าวและแจ้งต่อ WTO และจะมีผลเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์ในอีก 30 วัน
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544 คณะทำงานพิจารณาการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของไต้หวันได้มีมติรับรองรายงานและตารางข้อผูกพันสินค้าและบริการของไต้หวัน และคณะมนตรีทั่วไปจะนำเสนอต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีที่กรุงโดฮา เพื่อพิจารณารับรองการเข้าเป็นสมาชิกของไต้หวันต่อไป
ไทยได้เจรจาสองฝ่ายกับไต้หวัน มีรายการสินค้าสำคัญที่ไทยจะได้รับประโยชน์ อาทิ
สินค้าเกษตร
ข้าว
ไต้หวันยินยอมเปิดตลาดข้าวปริมาณ 144,720 ตันในปีแรกที่ไต้หวันเข้าเป็นสมาชิกโดยไม่เก็บภาษีนำเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์ข้าวจะเก็บภาษีที่ 25-10%
ไก่
ปัจจุบันไทยยังไม่สามารถส่งไก่ไปไต้หวันได้ ภายใต้ข้อตกลงไต้หวันจะเปิดตลาดสินค้าไก่ประมาณ 19,163 เมตริกตันในปีแรกและขยายเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีจนถึง 45,990 เมตริกตัน อัตราภาษีในโควต้า 25% และภาษีนอกโควต้าที่ 64-40 เหรียญไต้หวันต่อกิโลกรัมและลดลงเหลือ 54-34 เหรียญไต้หวันต่อกิโลกรัม
น้ำตาล
ไต้หวันจะเปิดตลาดปีแรก 120,000 ตัน และขยายเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี จนถึง 205,000 ตัน ในปี 2547 โดยเก็บภาษีในโควต้าที่อัตรา 12.5% และนอกโควต้าที่ 168% และจะลดลงเหลือ 143% ในปี 2547
มะม่วง
ไต้หวันจะเปิดตลาด 5,120 เมตริกตันในปีแรกและขยายเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีจนถึง 12,755 เมตริกตัน ในปี 2547 โดยเก็บภาษีในโควต้าร้อยละ 25 และภาษีนอกโควต้าที่ 71% และลดเหลือ 60% ในปี 2547
สับปะรด
ไต้หวันเปิดตลาด 9,548 เมตริกตันในปีแรกและขยายเป็น 23,870 เมตริกตันในปี 2547 โดยเก็บภาษีในโควต้าร้อยละ 15 ส่วนที่เก็บกว่าโควต้าจะเก็บภาษี 204% และลดลงเหลือ 173% ในปี 2547
มะพร้าวอ่อน
ไต้หวันเปิดตลาดโควต้าภาษีต่ำทันทีที่เข้าเป็นสมาชิก 8,000 ตัน และขยายเป็น 10,000 ตันในปี 2547 โดยเก็บภาษีในโควต้าที่ 15% และภาษีนอกโควต้า 161% และลดเหลือ 120% ในปี 2550
ส้มโอ
เปิดโควต้าภาษีต่ำทันทีที่เข้าเป็นสมาชิก 576 ตัน และขยายเป็น 1,440 ตัน ในปี 2547 โดยเก็บภาษีที่ 15% ส่วนภาษีนอกโควต้า 144% และลดเหลือ 122% ในปี 2550
ทุเรียน
จะลดภาษีจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 17 ในปี 2550
สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ ไต้หวันตกลงลดภาษีสิ่งทอเซรามิก กระจก และรถยนต์ ให้แก่ไทย การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของไต้หวัน จะช่วยให้ทั้งไต้หวันและสมาชิก WTO ได้รับประโยชน์จากระบบการค้าพหุภาคีมากขึ้น ไต้หวันเป็นประเทศที่มีบทบาทในการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญประเทศหนึ่ง โดยมีการส่งออกมากเป็นลำดับที่ 14 ในปี 2543 มีการส่งออกมูลค่า 140.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการนำเข้าสูงเป็นอันดับที่ 15 มีการนำเข้าในปี 2543 เป็นมูลค่า 140 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ไต้หวันยินยอมจะลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมจากเฉลี่ยร้อยละ 6.3 เหลือร้อยละ 5.7 สินค้าเกษตรจากเฉลี่ยร้อยละ 20 เหลือ ร้อยละ 14 ณ วันที่เข้าเป็นสมาชิก WTO และจะลดภาษีลงอีกเป็นลำดับเหลือประมาณร้อยละ 4.15 และ ร้อยละ 12.86 ในประมาณปี 2547
ในส่วนการค้าบริการไต้หวันจะยกเลิกข้อจำกัดสาขาโทรคมนาคม และให้ธนาคารและประกันภัยต่างชาติเข้าไปเปิดสาขาได้ เป็นต้น
การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของไต้หวัน จะช่วยให้ทั้งไต้หวันและสมาชิก WTO ได้รับประโยชน์จากระบบการค้าพหุภาคีมากขึ้น ไต้หวันเป็นประเทศที่มีบทบาทในการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญประเทศหนึ่ง โดยมีการส่งออกมากเป็นลำดับที่ 14 ในปี 2543 มีการส่งออกมูลค่า 140.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการนำเข้าสูงเป็นอันดับที่ 15 มีการนำเข้าในปี 2543 เป็นมูลค่า 140 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
--ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544 คณะทำงานพิจารณาการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของไต้หวันได้มีมติรับรองรายงานและตารางข้อผูกพันสินค้าและบริการของไต้หวัน และคณะมนตรีทั่วไปจะนำเสนอต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีที่กรุงโดฮา เพื่อพิจารณารับรองการเข้าเป็นสมาชิกของไต้หวันต่อไป
ไทยได้เจรจาสองฝ่ายกับไต้หวัน มีรายการสินค้าสำคัญที่ไทยจะได้รับประโยชน์ อาทิ
สินค้าเกษตร
ข้าว
ไต้หวันยินยอมเปิดตลาดข้าวปริมาณ 144,720 ตันในปีแรกที่ไต้หวันเข้าเป็นสมาชิกโดยไม่เก็บภาษีนำเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์ข้าวจะเก็บภาษีที่ 25-10%
ไก่
ปัจจุบันไทยยังไม่สามารถส่งไก่ไปไต้หวันได้ ภายใต้ข้อตกลงไต้หวันจะเปิดตลาดสินค้าไก่ประมาณ 19,163 เมตริกตันในปีแรกและขยายเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีจนถึง 45,990 เมตริกตัน อัตราภาษีในโควต้า 25% และภาษีนอกโควต้าที่ 64-40 เหรียญไต้หวันต่อกิโลกรัมและลดลงเหลือ 54-34 เหรียญไต้หวันต่อกิโลกรัม
น้ำตาล
ไต้หวันจะเปิดตลาดปีแรก 120,000 ตัน และขยายเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี จนถึง 205,000 ตัน ในปี 2547 โดยเก็บภาษีในโควต้าที่อัตรา 12.5% และนอกโควต้าที่ 168% และจะลดลงเหลือ 143% ในปี 2547
มะม่วง
ไต้หวันจะเปิดตลาด 5,120 เมตริกตันในปีแรกและขยายเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีจนถึง 12,755 เมตริกตัน ในปี 2547 โดยเก็บภาษีในโควต้าร้อยละ 25 และภาษีนอกโควต้าที่ 71% และลดเหลือ 60% ในปี 2547
สับปะรด
ไต้หวันเปิดตลาด 9,548 เมตริกตันในปีแรกและขยายเป็น 23,870 เมตริกตันในปี 2547 โดยเก็บภาษีในโควต้าร้อยละ 15 ส่วนที่เก็บกว่าโควต้าจะเก็บภาษี 204% และลดลงเหลือ 173% ในปี 2547
มะพร้าวอ่อน
ไต้หวันเปิดตลาดโควต้าภาษีต่ำทันทีที่เข้าเป็นสมาชิก 8,000 ตัน และขยายเป็น 10,000 ตันในปี 2547 โดยเก็บภาษีในโควต้าที่ 15% และภาษีนอกโควต้า 161% และลดเหลือ 120% ในปี 2550
ส้มโอ
เปิดโควต้าภาษีต่ำทันทีที่เข้าเป็นสมาชิก 576 ตัน และขยายเป็น 1,440 ตัน ในปี 2547 โดยเก็บภาษีที่ 15% ส่วนภาษีนอกโควต้า 144% และลดเหลือ 122% ในปี 2550
ทุเรียน
จะลดภาษีจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 17 ในปี 2550
สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ ไต้หวันตกลงลดภาษีสิ่งทอเซรามิก กระจก และรถยนต์ ให้แก่ไทย การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของไต้หวัน จะช่วยให้ทั้งไต้หวันและสมาชิก WTO ได้รับประโยชน์จากระบบการค้าพหุภาคีมากขึ้น ไต้หวันเป็นประเทศที่มีบทบาทในการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญประเทศหนึ่ง โดยมีการส่งออกมากเป็นลำดับที่ 14 ในปี 2543 มีการส่งออกมูลค่า 140.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการนำเข้าสูงเป็นอันดับที่ 15 มีการนำเข้าในปี 2543 เป็นมูลค่า 140 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ไต้หวันยินยอมจะลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมจากเฉลี่ยร้อยละ 6.3 เหลือร้อยละ 5.7 สินค้าเกษตรจากเฉลี่ยร้อยละ 20 เหลือ ร้อยละ 14 ณ วันที่เข้าเป็นสมาชิก WTO และจะลดภาษีลงอีกเป็นลำดับเหลือประมาณร้อยละ 4.15 และ ร้อยละ 12.86 ในประมาณปี 2547
ในส่วนการค้าบริการไต้หวันจะยกเลิกข้อจำกัดสาขาโทรคมนาคม และให้ธนาคารและประกันภัยต่างชาติเข้าไปเปิดสาขาได้ เป็นต้น
การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของไต้หวัน จะช่วยให้ทั้งไต้หวันและสมาชิก WTO ได้รับประโยชน์จากระบบการค้าพหุภาคีมากขึ้น ไต้หวันเป็นประเทศที่มีบทบาทในการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญประเทศหนึ่ง โดยมีการส่งออกมากเป็นลำดับที่ 14 ในปี 2543 มีการส่งออกมูลค่า 140.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการนำเข้าสูงเป็นอันดับที่ 15 มีการนำเข้าในปี 2543 เป็นมูลค่า 140 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
--ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-