กรุงเทพฯ--8 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (7 พฤศจิกายน 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า จากรายงานข่าวของสื่อมวลชนบางราย เมื่อวานนี้ที่ว่าสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ให้คนไทยเตรียมหนังสือเดินทางเพื่ออพยพในกรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉินนั้น ขอเรียนยืนยันว่าในขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นแต่ประการใดที่จะต้องอพยพคนไทย อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศได้เตรียมพร้อมในมาตรการต่างๆ ที่จะปกป้องคนไทยอย่างดีที่สุดเพื่อไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนหรืออันตรายจากเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในสหรัฐฯ
ขณะนี้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. มีมาตรการในการตรวจจดหมาย ที่อาจมีเชื้อแอนแทร็กซ์ คือ เมื่อมีจดหมายส่งไปยังสถานเอกอัครราชทูตฯ เจ้าหน้าที่จะรวบรวมไปไว้ในห้องหนึ่ง และเลือกว่าจดหมายใดมีลักษณะที่ไม่น่าไว้วางใจก็จะถูกแยกไปอีกห้องหนึ่ง ในห้องนั้นจะมีระบบการถ่ายเทอากาศแยกจากห้องอื่นๆ มีประตูแยกต่างหาก ผู้ที่ตรวจจดหมายจะใส่ถุงมือและ หน้ากาก พร้อมด้วยสเปรย์ฉีดฆ่าเชื้อแอนแทร็กซ์ จนถึงปัจจุบัน จดหมายที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับและน่าสงสัยมีเพียง 1 ฉบับเท่านั้น และได้ตรวจสอบแล้วกับทางการสหรัฐฯ ไม่ปรากฏว่าเป็น จดหมายที่มีเชื้อแอนแทร็กซ์แต่ประการใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (7 พฤศจิกายน 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า จากรายงานข่าวของสื่อมวลชนบางราย เมื่อวานนี้ที่ว่าสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ให้คนไทยเตรียมหนังสือเดินทางเพื่ออพยพในกรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉินนั้น ขอเรียนยืนยันว่าในขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นแต่ประการใดที่จะต้องอพยพคนไทย อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศได้เตรียมพร้อมในมาตรการต่างๆ ที่จะปกป้องคนไทยอย่างดีที่สุดเพื่อไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนหรืออันตรายจากเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในสหรัฐฯ
ขณะนี้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. มีมาตรการในการตรวจจดหมาย ที่อาจมีเชื้อแอนแทร็กซ์ คือ เมื่อมีจดหมายส่งไปยังสถานเอกอัครราชทูตฯ เจ้าหน้าที่จะรวบรวมไปไว้ในห้องหนึ่ง และเลือกว่าจดหมายใดมีลักษณะที่ไม่น่าไว้วางใจก็จะถูกแยกไปอีกห้องหนึ่ง ในห้องนั้นจะมีระบบการถ่ายเทอากาศแยกจากห้องอื่นๆ มีประตูแยกต่างหาก ผู้ที่ตรวจจดหมายจะใส่ถุงมือและ หน้ากาก พร้อมด้วยสเปรย์ฉีดฆ่าเชื้อแอนแทร็กซ์ จนถึงปัจจุบัน จดหมายที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับและน่าสงสัยมีเพียง 1 ฉบับเท่านั้น และได้ตรวจสอบแล้วกับทางการสหรัฐฯ ไม่ปรากฏว่าเป็น จดหมายที่มีเชื้อแอนแทร็กซ์แต่ประการใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-