พระราชกำหนดปรับปรุงบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมให้มีสถานะเป็นธนาคาร ค.ร.ม. อนุมัติร่างพระราชกำหนดบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) โดยการแก้ไข พ.ร.บ. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. 2534 เป็นธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมแห่งประเทศไทยเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ในการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาผู้ประกอบการเดิมและเพิ่มรายใหม่อย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงความประหยัด รวดเร็วและคล่องตัว ในการให้ความช่วยเหลือต่อ SMEs มีสาระสำคัญ ดังนี้
ขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้บริการทางการเงินแก่ SMEs ให้ครบวงจรใกล้เคียงธนาคารพาณิชย์ เช่น โอนเงิน รับฝากเงิน และมีบัญชีกระแสรายวัน รวมทั้งดำเนินธุรกิจเงินตราต่างประเทศให้แก่ SMEs เปิดโอกาสให้ บอย. หาแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น โดยออกตราสารทางการเงินหรือรับฝากเงินของผู้ทำธุรกิจกับ บอย. และให้รัฐบาลสนับสนุนเพิ่มทุนแก่ บอย. หาก บอย. ได้รับความเสียหายจากการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล แต่งตั้งผู้แทนจากกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรมแห่งละ 2 คน เพื่อให้ดูแลนโยบายการเงิน นโยบายส่งเสริมพัฒนา SMEs และให้มีกรรมการจากผู้ถือหุ้นรวม 6 คน และผู้จัดการทั่วไปเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ตาม พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และกำกับดูแลความมั่นคงและการจัดสรรกำไรสุทธิ การลดอัตราอากรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
ค.ร.ม. ให้ความเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง (อต.18) เรื่องการลดอัตราอากรการยกเว้นอากรศุลกากรและการลดอัตราศุลกากร (อต.19) สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียนตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง (อต.16) เรื่องการลดอัตราอากร การยกเว้นอากรศุลกากร การลดอัตราศุลกากร (อต. 17) ลงวันที่ 29 ธันวาคม แห่ง พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศภาคีอาเซียน ตามบัญชีท้ายประกาศโดยให้เรียกเก็บอัตราอากรตามบัญชีท้ายประกาศเท่ากับอัตราอากรที่เรียกเก็บทั่วไปซึ่งรวมอากรพิเศษแล้ว ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลดอัตราอากรและยกเว้นอากร ดังนี้
ของที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศภาคีอาเซียนและกำหนดไว้ในคู่มือการให้สิทธิประโยชน์ด้านอากรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนใช้อัตราประเภท 1 ตามบัญชีท้ายประกาศ ถ้าไม่อยู่ในข่ายประเภท 1 ให้ใช้ประเภท 2 สำหรับ (อต. 19) ให้ใช้ตามสภาพตามบัญชีท้ายประกาศ ถ้าอัตราภาษีที่คำนวณได้สูงกว่าบัญชีท้ายประกาศให้ลดลงให้เท่ากัน ยกเว้นประเทศเวียดนาม ลาว พม่าและกัมพูชา ของที่ได้รับการลดหรือยกเว้นอากรต้องมีใบรับรองต้นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอัตราภาษีร่วมกันของเขตการค้าเสรีอาเซียน (Form D) ผู้นำเข้าต้องแสดงใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าใน 2) เว้นแต่ของที่มีราคา F.O.B. ไม่เกิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผู้นำเข้าต้องแสดงรหัสสินค้าอ้างอิง CEPT ตามบัญชีท้ายประกาศไว้ในต้นฉบับและสำเนาใบขนสินค้าทุกฉบับ และปฏิบัติตามระเบียบพิธีการที่กรมศุลกากรกำหนด ทั้งนี้ จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 14 (AFTA Council) ที่ประชุมมีมติให้ประเทศสมาชิกเร่งลดอัตราภาษีอากรเหลือร้อยละ 0-5 ให้ครอบคลุมสินค้าร้อยละ 90 ของสินค้าทั้งหมดใน Inclusion List เพื่อกระตุ้นและจูงใจนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในอาเซียนเพิ่มขึ้นตามมาตรการเร่งรัด (Bold List) และเพื่อให้สิทธิประโยชน์ด้านอากรครอบคลุมประเทศสมาชิกใหม่ใช้อัตราอากรที่เรียกเก็บเป็นการทั่วไป (MFN) แทนการลดหย่อนอากร (MOP) (ซึ่งสมาชิกใหม่ยังไม่ได้รับการลดหย่อน เพราะมิได้เป็นสมาชิกความตกลงว่าด้วยการให้สิทธิพิเศษของอาเซียน ASEAN PTA) จึงเสนอร่าง 2 ฉบับดังกล่าว และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ยกเว้นประเทศ ลาว เวียดนาม พม่า และกัมพูชา บังคับใช้วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
Framework Agreement on Economic Cooperation ระหว่างไทย - กัมพูชา การลงนามใน Framework Agreement on Economic Cooperation ระหว่างไทย-กัมพูชา ในการเยือนกัมพูชาของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี โดยความตกลงดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้ง 2 โดยมีแผนแม่บทในระยะยาว เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจร่วมกัน ย้ำพันธกรณีร่วมกันในการจัดทำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งได้จัดตั้งคณะทำงานด้านเทคนิคร่วม เพื่อศึกษาศักยภาพด้านเศรษฐกิจและจัดทำแผนความร่วมมือซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วประมาณ 50 % และจะเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน 2544 สำหรับแนวทาง พื้นที่โครงการ และสาขาความร่วมมือจะเป็นไปตามผลการศึกษาของคณะทำงานด้านเทคนิคร่วม คือ พื้นที่ความร่วมมือที่เรียกว่า “เสี้ยววงเดือนแห่งโอกาส” (Cresent of Opportunity) จะครอบคลุม 14 จังหวัดของไทยและกัมพูชา (ของไทย ได้แก่ ตราด จันทบุรี สระแก้ว สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และของกัมพูชา ได้แก่ เกาะกง โพธิสัต พระตะบอง บันเตียเมียนเจย อุดรมีชัย พระวิหาร เสียมราช) และสาขาความร่วมมือ 5 สาขาคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การค้าการลงทุน เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองชาติ ค.ร.ม. มีมติเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วตามมติ ค.ร.ม. เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 และคณะรัฐมนตรีมีข้อคิดเห็นให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปปรับปรุงแก้ไข เรื่องอำนาจหน้าที่กองทุนหมู่บ้าน "" ตามมาตรา 39 ที่ให้รัฐบาลกู้เงินจากธนาคารออมสินหรือสถาบันการเงินอื่นเพื่อเป็นทุนประเดิมให้แก่กองทุนเป็นคราวๆ และรัฐบาลจัดสรรงบประมาณชำระหนี้กองทุนดังกล่าว " ควรระบุให้เป็นหน้าที่ของกองทุนคณะกรรมการหมู่บ้านโดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ให้ปรับปรุงแก้ไขอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนฯ ให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการโดยออกกฎระเบียบ และคำสั่งต่างๆ ได้
การดำเนินโครงการธนาคารประชาชน ตามนโยบายรัฐบาล
ครม. รับทราบโครงการธนาคารเพื่อประชาชนตามนโยบายรัฐบาลเพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้ผู้มีรายได้น้อยและลดพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ โดยมอบให้ธนาคารออมสินเป็นผู้ดำเนินการและสามารถขยายสินเชื่อได้ตามความสามารถ โดยมีแนวทางการดำเนินโครงการ ดังนี้
เป็นการดำเนินงานโดยธนาคารออมสิน มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อย โดยจะมีการให้บริการทางการเงินอย่างครบวงจร เพื่อมุ่งหวังพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น ผู้สมัครเป็นสมาชิกจะต้องเป็นผู้ประกอบการรายย่อย มีรายได้ประจำอยู่แล้ว แต่ต้องการทำอาชีพเสริม หรือไม่มีอาชีพใดและตั้งใจจะประกอบอาชีพโดยต้องมีที่อยู่ที่ติดต่อสะดวก สมาชิกโครงการต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ หรือให้บิดา มารดากู้แทน มีสถานประกอบอาชีพแน่นอน และมีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารออมสิน ธนาคารออมสินพิจารณาให้กู้ครั้งแรกไม่เกินรายละ 15,000 บาท และให้กู้ไม่เกินรายละ 30,000 บาท สำหรับการกู้ครั้งต่อไป กรณีของกู้เกิน 30,000 บาท ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันตามที่ธนาคารกำหนด ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยแก่สมาชิกแบบคงที่ไม่เกินร้อยละ 1 ต่อเดือน การค้ำประกันใช้บุคคลและหลักทรัพย์ กรณีบุคคลค้ำประกันไม่น้อยกว่า 2 คนต่อผู้กู้ 1 คน และผู้ค้ำประกัน 1 คน สามารถค้ำประกันผู้กู้ได้ไม่เกิน 2 คน และต้องเป็นสมาชิกโครงการธนาคารสาขาเดียวกันกับผู้กู้ การผ่อนชำระคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นงวดต้องไม่เกิน 13 เดือน การดำเนินโครงการดังกล่าวจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคม ทำให้เพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ แก้ปัญหาขาดแคลนเงินทุนในการประกอบอาชีพ และช่วยให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น
โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว ค.ร.ม. เห็นชอบโครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เข้ามาพักระยะยาวในประเทศ เพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองไทยเพิ่มขึ้น เป็นการนำรายได้เข้าประเทศ สร้างงาน และสามารถนำอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้ โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการโครงการดังกล่าวขึ้น โดยมี รัฐมนตรีสำนักนายก (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) เป็นประธานคณะกรรมการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ศึกษากลุ่มเป้าหมายและความต้องการของตลาด เพื่อวางแผนการตลาดและพัฒนาการบริการให้เป็นที่ยอมรับของตลาด ดำเนินการด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมกลุ่มนักท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม และกำหนดแนวทางการบริหารในด้านการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น การเข้าเมือง การโอนเงิน จัดตั้งศูนย์ ONE STOP SERVICE และมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการมาสนับสนุนการดำเนินงาน
ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2545
ค.ร.ม. เห็นชอบให้สำรองค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2545 จำนวน 58,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมในกรณีเศรษฐกิจชะลอตัวมาก โดยมุ่งหวังให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระยะสั้นตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และเพิ่มศักยภาพของคนและขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้และโอกาสแก่คนว่างงานและคนยากจนในประเทศ ส่งเสริมให้เพิ่มผลผลิตในประเทศ ให้คนมีทักษะฝีมือเพิ่มขึ้น ช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม และสนับสนุนภาคการผลิตและบริการที่ก่อให้เกิดรายได้เงินตราต่างประเทศ
หลักเกณฑ์การจ่ายเงิน คือ เป็นงานหรือโครงการที่สนองต่อวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ มีการดำเนินการและเบิกจ่ายเงินอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เงินตกถึงมือประชาชนอย่างทันการณ์ มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยตั้งคณะกรรมการมีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์สัดส่วนการจัดสรรค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของงานและโครงการใช้จ่ายเงินสำรอง และดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ผลการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรและคนยากจน ค.ร.ม. รับทราบผลดำเนินงานแก้ไขปัญหาของเกษตรกรและคนยากจน งวดแรก (ตุลาคม 2543 - มีนาคม 2544) ปีงบประมาณ 2544 โดยมีนายจาตุรงค์ ฉายแสง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) อนุมัติเงินกู้ในโครงการดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรด้านหนี้สินและที่ดิน ปี 2536 จำนวน 545 ราย เป็นเงิน 68,840,158 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2543 เงินทุนหมุนเวียนฯ หมด และ ปีงบประมาณ 2544 อยู่ระหว่างดำเนินการอนุมัติ ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบันมีการอนุมัติให้เกษตรกรกู้ยืมจำนวน 14,971 ราย จำนวนเงิน 1,863.06 ล้านบาท
2) การชำระคืนเงินกู้ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 มีการชำระคืนจำนวน 64.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19.65 ของยอดหนี้ถึงกำหนดชำระ
3) แนวทางการแก้ไขปัญหา รัฐบาลควรฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรประกอบอาชีพหลังการไถ่ถอนที่ดินคืน และเนื่องจากการกู้ยืมเงินของเกษตรกรไม่สามารถชำระคืนได้ตามกำหนดเพราะแนวทางการอนุมัติไม่เข้มงวด ดังนั้นสำนักนายกฯ จึงได้มีการกำหนดแบบฟอร์มจัดทำแผนการผลิตการใช้ประโยชน์ที่ดินและการชำระหนี้คืนประกอบการขอกู้เงิน หากผู้กู้มีรายได้ไม่เพียงพอที่จะชำระคืนภายใน 12 ปี ก็จะไม่อนุมัติให้กู้ และให้พิจารณาลดภาระหนี้แก่ลูกหนี้กองทุนจากเงินกู้ร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 5 ต่อปี และควรได้รับการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังพักชำระหนี้ของ ธ.ก.ส.ด้วย เพื่อให้มีรายได้สำหรับชำระคืนกองทุนได้
พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ค.ร.ม. เห็นชอบพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย มีสาระสำคัญ ดังนี้
หลักการของพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย เพื่อจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยให้เป็นหน่วยงานของรัฐที่จะทำหน้าที่แก้ไขปัญหาการค้างชำระหนี้ของลูกหนี้สถาบันการเงินของรัฐและเอกชนโดยการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อนำมาบริหารตามวิธีการที่กำหนด โดยลูกหนี้ที่รับโอนต้องสามารถชำระหนี้ที่ค้างได้ และดำเนินกิจการต่อได้ โดยทำให้สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หมดลงหรือเหลือน้อยที่สุด และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงิน
โครงสร้างบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)
ให้มีคณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย โดยมีประธานกรรมการและกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 11 คน เพื่อวางนโยบายและดูแลกิจการโดยทั่วไป ตามวัตถุประสงค์ของ บสท. คณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยแต่งตั้งคณะกรรรมการบริหาร เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และกำหนดกรอบและวิธีการในการบริหารงานตามนโยบายของคณะกรรมการ บสท. ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบ แต่งตั้งโดยคณะกรรมการ บสท. เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินกิจการของ บสท. และปฏิบัติหน้าที่กรรมการผู้จัดการ การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่ บสท. ให้มีการโอนสินทรัพย์ที่จัดเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มายัง บสท. สำหรับสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีหน่วยงานรัฐหรือผู้ถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วโอนสินทรัพย์ประเภทจัดชั้นสูญ จัดชั้นสงสัยสูญ จัดชั้นสงสัย จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐานทั้งหมดมายัง บสท. ภายในเวลาที่ บสท. กำหนด และ บสท. มีสิทธิรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน หรือลูกหนี้ที่รับโอนมาเป็นนิติบุคคลและมีฐานะเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือมูลค่าของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามบัญชีสุทธิของทุกสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์รวมกันสำหรับลูกหนี้แต่ละรายเป็นจำนวนเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป หรือสินทรัพย์ด้อยคุณภาพนั้นยังไม่มีความตกลงเป็นหนังสือปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และมิได้เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายแล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ (มาตรา 31) นอกจากนี้ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ในลักษณะมาตรา 31 สามารถร้องขอต่อคณะกรรมการ บสท.ให้พิจารณาสั่งการให้สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์โอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของตนให้ บสท. ได้
มีการกำหนดราคาของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับโอนมา ซึ่ง บสท. จะชำระหนี้ให้แก่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ ให้ บสท.ชำระราคาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพด้อยคุณภาพโดยออกตราสารหนี้เปลี่ยนมือไม่ได้ และมีกำหนดใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันออกตราสารนั้น มีการกำหนดการแบ่งผลกำไรขาดทุนจากราคาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ บสท. รับโอนมา และถ้ามีการขาดทุนให้สถาบันการเงินและ บสท. ร่วมกันรับผิดชอบ การดำเนินงานของ บสท. สามารถดำเนินงานได้โดย การปรับโครงสร้างหนี้ ปรับโครงสร้างกิจการ หรือจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันของลูกหนี้โดย บสท. ดำเนินการบริหารกองสินทรัพย์เอง หรือจ้างผู้เชี่ยวชาญให้เป็นผู้บริหารกองสินทรัพย์ ทั้งนี้ ในการจ้างผู้บริหารกองสินทรัพย์ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคลที่มีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนและไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการของ บสท.เพื่อให้การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเกิดความเหมาะสม
การกำกับการดำเนินงานและการควบคุม รัฐมนตรีกระทรวงการคลังอาจมอบหมายให้ ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบกิจการสินทรัพย์ และหนี้สินของ บสท. ได้อีกชั้นหนึ่ง
การยุบ เลิก บสท. เมื่อ บสท. ดำเนินการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเสร็จสิ้นแล้ว ให้รายงานรัฐมนตรี เพื่อเสนอ ค.ร.ม. มีมติยกเลิก บสท. โดยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
เมื่อครบกำหนดสองปีนับแต่ พ.ร.ก. นี้บังคับใช้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำรายงานการประเมินผลการดำเนินการของ บสท. และนำเสนอ ค.ร.ม. พิจารณาว่าสมควรยุบเลิกหรือปรับปรุงการดำเนินการของ บสท. หรือไม่เพียงใด เมื่อ ค.ร.ม.มีมติให้ยุบเลิก บสท. ให้ตั้งคณะกรรมการจัดการชำระบัญชี โอนทรัพย์สินและหนี้สินของ บสท. ภายใน 1 ปี และทรัพย์สิน บสท.ที่เหลือภายหลังการชำระหนี้ให้โอนให้กระทรวงการคลังภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นสุดการชำระบัญชี
เนื่องจากการดำเนินงานของ บสท. เป็นการดำเนินงานชั่วคราว จึงมีการกำหนดระยะเวลาแน่นอน เมื่อครบ 7 ปีนับแต่ พ.ร.ก. นี้บังคับใช้ ให้ บสท. เตรียมการเพื่อเลิกดำเนินกิจการเมื่อสิ้นปีที่สิบ และให้ชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายในปีที่สิบสอง และให้ พ.ร.ก. นี้เป็นอันยกเลิกเมื่อครบ 12 ปี นับแต่วันที่ พ.ร.ก.นี้มีผลบังคับใช้
--ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-
ขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้บริการทางการเงินแก่ SMEs ให้ครบวงจรใกล้เคียงธนาคารพาณิชย์ เช่น โอนเงิน รับฝากเงิน และมีบัญชีกระแสรายวัน รวมทั้งดำเนินธุรกิจเงินตราต่างประเทศให้แก่ SMEs เปิดโอกาสให้ บอย. หาแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น โดยออกตราสารทางการเงินหรือรับฝากเงินของผู้ทำธุรกิจกับ บอย. และให้รัฐบาลสนับสนุนเพิ่มทุนแก่ บอย. หาก บอย. ได้รับความเสียหายจากการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล แต่งตั้งผู้แทนจากกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรมแห่งละ 2 คน เพื่อให้ดูแลนโยบายการเงิน นโยบายส่งเสริมพัฒนา SMEs และให้มีกรรมการจากผู้ถือหุ้นรวม 6 คน และผู้จัดการทั่วไปเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ตาม พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และกำกับดูแลความมั่นคงและการจัดสรรกำไรสุทธิ การลดอัตราอากรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
ค.ร.ม. ให้ความเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง (อต.18) เรื่องการลดอัตราอากรการยกเว้นอากรศุลกากรและการลดอัตราศุลกากร (อต.19) สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียนตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง (อต.16) เรื่องการลดอัตราอากร การยกเว้นอากรศุลกากร การลดอัตราศุลกากร (อต. 17) ลงวันที่ 29 ธันวาคม แห่ง พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศภาคีอาเซียน ตามบัญชีท้ายประกาศโดยให้เรียกเก็บอัตราอากรตามบัญชีท้ายประกาศเท่ากับอัตราอากรที่เรียกเก็บทั่วไปซึ่งรวมอากรพิเศษแล้ว ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลดอัตราอากรและยกเว้นอากร ดังนี้
ของที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศภาคีอาเซียนและกำหนดไว้ในคู่มือการให้สิทธิประโยชน์ด้านอากรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนใช้อัตราประเภท 1 ตามบัญชีท้ายประกาศ ถ้าไม่อยู่ในข่ายประเภท 1 ให้ใช้ประเภท 2 สำหรับ (อต. 19) ให้ใช้ตามสภาพตามบัญชีท้ายประกาศ ถ้าอัตราภาษีที่คำนวณได้สูงกว่าบัญชีท้ายประกาศให้ลดลงให้เท่ากัน ยกเว้นประเทศเวียดนาม ลาว พม่าและกัมพูชา ของที่ได้รับการลดหรือยกเว้นอากรต้องมีใบรับรองต้นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอัตราภาษีร่วมกันของเขตการค้าเสรีอาเซียน (Form D) ผู้นำเข้าต้องแสดงใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าใน 2) เว้นแต่ของที่มีราคา F.O.B. ไม่เกิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผู้นำเข้าต้องแสดงรหัสสินค้าอ้างอิง CEPT ตามบัญชีท้ายประกาศไว้ในต้นฉบับและสำเนาใบขนสินค้าทุกฉบับ และปฏิบัติตามระเบียบพิธีการที่กรมศุลกากรกำหนด ทั้งนี้ จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 14 (AFTA Council) ที่ประชุมมีมติให้ประเทศสมาชิกเร่งลดอัตราภาษีอากรเหลือร้อยละ 0-5 ให้ครอบคลุมสินค้าร้อยละ 90 ของสินค้าทั้งหมดใน Inclusion List เพื่อกระตุ้นและจูงใจนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในอาเซียนเพิ่มขึ้นตามมาตรการเร่งรัด (Bold List) และเพื่อให้สิทธิประโยชน์ด้านอากรครอบคลุมประเทศสมาชิกใหม่ใช้อัตราอากรที่เรียกเก็บเป็นการทั่วไป (MFN) แทนการลดหย่อนอากร (MOP) (ซึ่งสมาชิกใหม่ยังไม่ได้รับการลดหย่อน เพราะมิได้เป็นสมาชิกความตกลงว่าด้วยการให้สิทธิพิเศษของอาเซียน ASEAN PTA) จึงเสนอร่าง 2 ฉบับดังกล่าว และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ยกเว้นประเทศ ลาว เวียดนาม พม่า และกัมพูชา บังคับใช้วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
Framework Agreement on Economic Cooperation ระหว่างไทย - กัมพูชา การลงนามใน Framework Agreement on Economic Cooperation ระหว่างไทย-กัมพูชา ในการเยือนกัมพูชาของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี โดยความตกลงดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้ง 2 โดยมีแผนแม่บทในระยะยาว เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจร่วมกัน ย้ำพันธกรณีร่วมกันในการจัดทำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งได้จัดตั้งคณะทำงานด้านเทคนิคร่วม เพื่อศึกษาศักยภาพด้านเศรษฐกิจและจัดทำแผนความร่วมมือซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วประมาณ 50 % และจะเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน 2544 สำหรับแนวทาง พื้นที่โครงการ และสาขาความร่วมมือจะเป็นไปตามผลการศึกษาของคณะทำงานด้านเทคนิคร่วม คือ พื้นที่ความร่วมมือที่เรียกว่า “เสี้ยววงเดือนแห่งโอกาส” (Cresent of Opportunity) จะครอบคลุม 14 จังหวัดของไทยและกัมพูชา (ของไทย ได้แก่ ตราด จันทบุรี สระแก้ว สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และของกัมพูชา ได้แก่ เกาะกง โพธิสัต พระตะบอง บันเตียเมียนเจย อุดรมีชัย พระวิหาร เสียมราช) และสาขาความร่วมมือ 5 สาขาคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การค้าการลงทุน เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองชาติ ค.ร.ม. มีมติเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วตามมติ ค.ร.ม. เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 และคณะรัฐมนตรีมีข้อคิดเห็นให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปปรับปรุงแก้ไข เรื่องอำนาจหน้าที่กองทุนหมู่บ้าน "" ตามมาตรา 39 ที่ให้รัฐบาลกู้เงินจากธนาคารออมสินหรือสถาบันการเงินอื่นเพื่อเป็นทุนประเดิมให้แก่กองทุนเป็นคราวๆ และรัฐบาลจัดสรรงบประมาณชำระหนี้กองทุนดังกล่าว " ควรระบุให้เป็นหน้าที่ของกองทุนคณะกรรมการหมู่บ้านโดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ให้ปรับปรุงแก้ไขอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนฯ ให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการโดยออกกฎระเบียบ และคำสั่งต่างๆ ได้
การดำเนินโครงการธนาคารประชาชน ตามนโยบายรัฐบาล
ครม. รับทราบโครงการธนาคารเพื่อประชาชนตามนโยบายรัฐบาลเพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้ผู้มีรายได้น้อยและลดพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ โดยมอบให้ธนาคารออมสินเป็นผู้ดำเนินการและสามารถขยายสินเชื่อได้ตามความสามารถ โดยมีแนวทางการดำเนินโครงการ ดังนี้
เป็นการดำเนินงานโดยธนาคารออมสิน มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อย โดยจะมีการให้บริการทางการเงินอย่างครบวงจร เพื่อมุ่งหวังพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น ผู้สมัครเป็นสมาชิกจะต้องเป็นผู้ประกอบการรายย่อย มีรายได้ประจำอยู่แล้ว แต่ต้องการทำอาชีพเสริม หรือไม่มีอาชีพใดและตั้งใจจะประกอบอาชีพโดยต้องมีที่อยู่ที่ติดต่อสะดวก สมาชิกโครงการต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ หรือให้บิดา มารดากู้แทน มีสถานประกอบอาชีพแน่นอน และมีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารออมสิน ธนาคารออมสินพิจารณาให้กู้ครั้งแรกไม่เกินรายละ 15,000 บาท และให้กู้ไม่เกินรายละ 30,000 บาท สำหรับการกู้ครั้งต่อไป กรณีของกู้เกิน 30,000 บาท ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันตามที่ธนาคารกำหนด ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยแก่สมาชิกแบบคงที่ไม่เกินร้อยละ 1 ต่อเดือน การค้ำประกันใช้บุคคลและหลักทรัพย์ กรณีบุคคลค้ำประกันไม่น้อยกว่า 2 คนต่อผู้กู้ 1 คน และผู้ค้ำประกัน 1 คน สามารถค้ำประกันผู้กู้ได้ไม่เกิน 2 คน และต้องเป็นสมาชิกโครงการธนาคารสาขาเดียวกันกับผู้กู้ การผ่อนชำระคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นงวดต้องไม่เกิน 13 เดือน การดำเนินโครงการดังกล่าวจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคม ทำให้เพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ แก้ปัญหาขาดแคลนเงินทุนในการประกอบอาชีพ และช่วยให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น
โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว ค.ร.ม. เห็นชอบโครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เข้ามาพักระยะยาวในประเทศ เพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองไทยเพิ่มขึ้น เป็นการนำรายได้เข้าประเทศ สร้างงาน และสามารถนำอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้ โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการโครงการดังกล่าวขึ้น โดยมี รัฐมนตรีสำนักนายก (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) เป็นประธานคณะกรรมการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ศึกษากลุ่มเป้าหมายและความต้องการของตลาด เพื่อวางแผนการตลาดและพัฒนาการบริการให้เป็นที่ยอมรับของตลาด ดำเนินการด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมกลุ่มนักท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม และกำหนดแนวทางการบริหารในด้านการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น การเข้าเมือง การโอนเงิน จัดตั้งศูนย์ ONE STOP SERVICE และมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการมาสนับสนุนการดำเนินงาน
ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2545
ค.ร.ม. เห็นชอบให้สำรองค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2545 จำนวน 58,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมในกรณีเศรษฐกิจชะลอตัวมาก โดยมุ่งหวังให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระยะสั้นตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และเพิ่มศักยภาพของคนและขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้และโอกาสแก่คนว่างงานและคนยากจนในประเทศ ส่งเสริมให้เพิ่มผลผลิตในประเทศ ให้คนมีทักษะฝีมือเพิ่มขึ้น ช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม และสนับสนุนภาคการผลิตและบริการที่ก่อให้เกิดรายได้เงินตราต่างประเทศ
หลักเกณฑ์การจ่ายเงิน คือ เป็นงานหรือโครงการที่สนองต่อวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ มีการดำเนินการและเบิกจ่ายเงินอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เงินตกถึงมือประชาชนอย่างทันการณ์ มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยตั้งคณะกรรมการมีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์สัดส่วนการจัดสรรค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของงานและโครงการใช้จ่ายเงินสำรอง และดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ผลการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรและคนยากจน ค.ร.ม. รับทราบผลดำเนินงานแก้ไขปัญหาของเกษตรกรและคนยากจน งวดแรก (ตุลาคม 2543 - มีนาคม 2544) ปีงบประมาณ 2544 โดยมีนายจาตุรงค์ ฉายแสง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) อนุมัติเงินกู้ในโครงการดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรด้านหนี้สินและที่ดิน ปี 2536 จำนวน 545 ราย เป็นเงิน 68,840,158 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2543 เงินทุนหมุนเวียนฯ หมด และ ปีงบประมาณ 2544 อยู่ระหว่างดำเนินการอนุมัติ ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบันมีการอนุมัติให้เกษตรกรกู้ยืมจำนวน 14,971 ราย จำนวนเงิน 1,863.06 ล้านบาท
2) การชำระคืนเงินกู้ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 มีการชำระคืนจำนวน 64.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19.65 ของยอดหนี้ถึงกำหนดชำระ
3) แนวทางการแก้ไขปัญหา รัฐบาลควรฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรประกอบอาชีพหลังการไถ่ถอนที่ดินคืน และเนื่องจากการกู้ยืมเงินของเกษตรกรไม่สามารถชำระคืนได้ตามกำหนดเพราะแนวทางการอนุมัติไม่เข้มงวด ดังนั้นสำนักนายกฯ จึงได้มีการกำหนดแบบฟอร์มจัดทำแผนการผลิตการใช้ประโยชน์ที่ดินและการชำระหนี้คืนประกอบการขอกู้เงิน หากผู้กู้มีรายได้ไม่เพียงพอที่จะชำระคืนภายใน 12 ปี ก็จะไม่อนุมัติให้กู้ และให้พิจารณาลดภาระหนี้แก่ลูกหนี้กองทุนจากเงินกู้ร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 5 ต่อปี และควรได้รับการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังพักชำระหนี้ของ ธ.ก.ส.ด้วย เพื่อให้มีรายได้สำหรับชำระคืนกองทุนได้
พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ค.ร.ม. เห็นชอบพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย มีสาระสำคัญ ดังนี้
หลักการของพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย เพื่อจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยให้เป็นหน่วยงานของรัฐที่จะทำหน้าที่แก้ไขปัญหาการค้างชำระหนี้ของลูกหนี้สถาบันการเงินของรัฐและเอกชนโดยการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อนำมาบริหารตามวิธีการที่กำหนด โดยลูกหนี้ที่รับโอนต้องสามารถชำระหนี้ที่ค้างได้ และดำเนินกิจการต่อได้ โดยทำให้สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หมดลงหรือเหลือน้อยที่สุด และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงิน
โครงสร้างบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)
ให้มีคณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย โดยมีประธานกรรมการและกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 11 คน เพื่อวางนโยบายและดูแลกิจการโดยทั่วไป ตามวัตถุประสงค์ของ บสท. คณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยแต่งตั้งคณะกรรรมการบริหาร เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และกำหนดกรอบและวิธีการในการบริหารงานตามนโยบายของคณะกรรมการ บสท. ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบ แต่งตั้งโดยคณะกรรมการ บสท. เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินกิจการของ บสท. และปฏิบัติหน้าที่กรรมการผู้จัดการ การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่ บสท. ให้มีการโอนสินทรัพย์ที่จัดเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มายัง บสท. สำหรับสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีหน่วยงานรัฐหรือผู้ถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วโอนสินทรัพย์ประเภทจัดชั้นสูญ จัดชั้นสงสัยสูญ จัดชั้นสงสัย จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐานทั้งหมดมายัง บสท. ภายในเวลาที่ บสท. กำหนด และ บสท. มีสิทธิรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน หรือลูกหนี้ที่รับโอนมาเป็นนิติบุคคลและมีฐานะเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือมูลค่าของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามบัญชีสุทธิของทุกสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์รวมกันสำหรับลูกหนี้แต่ละรายเป็นจำนวนเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป หรือสินทรัพย์ด้อยคุณภาพนั้นยังไม่มีความตกลงเป็นหนังสือปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และมิได้เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายแล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ (มาตรา 31) นอกจากนี้ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ในลักษณะมาตรา 31 สามารถร้องขอต่อคณะกรรมการ บสท.ให้พิจารณาสั่งการให้สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์โอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของตนให้ บสท. ได้
มีการกำหนดราคาของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับโอนมา ซึ่ง บสท. จะชำระหนี้ให้แก่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ ให้ บสท.ชำระราคาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพด้อยคุณภาพโดยออกตราสารหนี้เปลี่ยนมือไม่ได้ และมีกำหนดใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันออกตราสารนั้น มีการกำหนดการแบ่งผลกำไรขาดทุนจากราคาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ บสท. รับโอนมา และถ้ามีการขาดทุนให้สถาบันการเงินและ บสท. ร่วมกันรับผิดชอบ การดำเนินงานของ บสท. สามารถดำเนินงานได้โดย การปรับโครงสร้างหนี้ ปรับโครงสร้างกิจการ หรือจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันของลูกหนี้โดย บสท. ดำเนินการบริหารกองสินทรัพย์เอง หรือจ้างผู้เชี่ยวชาญให้เป็นผู้บริหารกองสินทรัพย์ ทั้งนี้ ในการจ้างผู้บริหารกองสินทรัพย์ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคลที่มีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนและไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการของ บสท.เพื่อให้การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเกิดความเหมาะสม
การกำกับการดำเนินงานและการควบคุม รัฐมนตรีกระทรวงการคลังอาจมอบหมายให้ ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบกิจการสินทรัพย์ และหนี้สินของ บสท. ได้อีกชั้นหนึ่ง
การยุบ เลิก บสท. เมื่อ บสท. ดำเนินการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเสร็จสิ้นแล้ว ให้รายงานรัฐมนตรี เพื่อเสนอ ค.ร.ม. มีมติยกเลิก บสท. โดยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
เมื่อครบกำหนดสองปีนับแต่ พ.ร.ก. นี้บังคับใช้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำรายงานการประเมินผลการดำเนินการของ บสท. และนำเสนอ ค.ร.ม. พิจารณาว่าสมควรยุบเลิกหรือปรับปรุงการดำเนินการของ บสท. หรือไม่เพียงใด เมื่อ ค.ร.ม.มีมติให้ยุบเลิก บสท. ให้ตั้งคณะกรรมการจัดการชำระบัญชี โอนทรัพย์สินและหนี้สินของ บสท. ภายใน 1 ปี และทรัพย์สิน บสท.ที่เหลือภายหลังการชำระหนี้ให้โอนให้กระทรวงการคลังภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นสุดการชำระบัญชี
เนื่องจากการดำเนินงานของ บสท. เป็นการดำเนินงานชั่วคราว จึงมีการกำหนดระยะเวลาแน่นอน เมื่อครบ 7 ปีนับแต่ พ.ร.ก. นี้บังคับใช้ ให้ บสท. เตรียมการเพื่อเลิกดำเนินกิจการเมื่อสิ้นปีที่สิบ และให้ชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายในปีที่สิบสอง และให้ พ.ร.ก. นี้เป็นอันยกเลิกเมื่อครบ 12 ปี นับแต่วันที่ พ.ร.ก.นี้มีผลบังคับใช้
--ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-