องค์การการค้าโลกกำหนดการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2544 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ขณะนี้เหลือเวลาอีก 15 สัปดาห์ หรือ 105 วัน
สำหรับความคืบหน้าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีประเด็นสำคัญที่มีความเคลื่อนไหว 4 เรื่อง ดังนี้
1. ในเรื่องปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัยซึ่งเป็นเรื่องที่ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกนั้น แม้ว่าจะมีความพยายามของบางกลุ่มประเทศสมาชิกที่มีท่าทีเป็นกลางในเรื่องนี้ (ขณะนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ กลุ่ม Submarine กลุ่ม 7 กลุ่ม Magnificent 7) ซึ่งประกอบด้วย อุรุกวัย อาร์เจนติน่า ไทย โมร็อกโก นอร์เวย์ นิวซีแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ จัดทำข้อเสนอประนีประนอมในเรื่องนี้ โดยจัดแบ่งประเด็นปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัยออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 คือ ประเด็นปัญหาที่อาจจะตกลงกันได้เร็วกว่าเรื่องอื่นๆ ส่วนที่ 2 คือ ประเด็นปัญหาที่ได้มีการพิจารณาแก้ไขในกรอบของคณะกรรมการย่อยที่เกี่ยวข้องไปมากแล้ว หรือมีความเร่งด่วนน้อยกว่าประเด็นอื่นๆ ส่วนที่ 3 คือ เรื่องที่ควรมอบหมายให้คณะกรรมการย่อยพิจารณาและนำกลับมาพิจารณาในคณะมนตรีใหญ่ และส่วนที่ 4 คือ ประเด็นปัญหาที่จะต้องมีการเจรจา หรือมีการตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งประเทศสมาชิกส่วนใหญ่สนับสนุนให้ใช้ข้อเสนอประนีประนอมของกลุ่ม 7 เป็นพื้นฐานในการหารือต่อไป
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะมนตรีใหญ่ได้ประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2544 โดยได้เริ่มต้นหารือในส่วนที่ 1 ไปแล้ว ซึ่งบางประเทศกำลังพัฒนาเห็นว่าควรจะต้องเพิ่มเรื่องการตอบโต้การทุ่มตลาด สิ่งทอและเสื้อผ้า และความตกลงว่าด้วยมาตรการด้านการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้า (TRIMS) และสำหรับเรื่องต่างๆที่จะมอบหมายให้คณะกรรมการย่อยที่เกี่ยวข้องพิจารณา เช่น ควรทำการทบทวนความตกลง SPS ทุก 2 ปีพร้อมๆกับการประชุมระดับรัฐมนตรี การประเมินราคาศุลกากร การอุดหนุน การค้าและการพัฒนา TRIPS และควรกำหนดให้รายงานผลต่อคณะมนตรีใหญ่อย่างช้าภายในวันที่ 30 กันยายน 2544
2. ในเรื่องจากมติที่ประชุมรัฐมนตรีที่สิงคโปร์เมื่อ 2539 ได้มีการหารือกลุ่มย่อยในเรื่องความตกลงว่าด้วยความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ซึ่งสมาชิกกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เห็นว่าควรใช้เวลาศึกษาต่อ ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วและบางประเทศกำลังพัฒนาเห็นว่าน่าจะพิจารณาได้ที่กาตาร์
3. คณะผู้แทนถาวรสวิตเซอร์แลนด์ประจำ WTO เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม retreat เจ้าหน้าที่อาวุโสระดับสูงจากเมืองหลวงในวันที่ 21-22 กรกฎาคม 2544 ที่นครเจนีวา โดยได้เชิญประเทศสมาชิกที่มีบทบาทสำคัญใน WTO จากภูมิภาคต่างๆรวม 13 ประเทศ (แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ ชิลี มอรีเซียส โมร็อกโก เกาหลี ฮ่องกง ไทย สิงคโปร์ อุรุกวัย และฮังการี) หารือและแลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องการลงทุนนโยบายการแข่งขัน และสิ่งแวดล้อมเพื่อหาทางประนีประนอมท่าทีของประเทศสมาชิก
4. เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2544 ได้มีการประชุมหารือระหว่างสหรัฐฯและสหภาพยุโรป ซึ่งพยายามจะร่วมกันผลักดันให้มีการเปิดการเจรจารอบใหม่ให้ได้ที่กาตาร์ และทั้ง 2 ประเทศรับจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมหารือเจ้าหน้าที่อาวุโสอย่างไม่เป็นทางการเรื่องการเจรจารอบใหม่ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2544 ณ เมือง Talloires (ตาลลัว) ประเทศ ฝรั่งเศส โดยเชิญผู้แทนจากเมืองหลวงจากประเทศสมาชิก 13 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น เกาหลี เม็กซิโก โมร็อกโค สิงคโปร์ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ สวิตเซอร์แลนด์ ไทย และ อุรุกวัย เข้าร่วมการประชุม
การประชุมครั้งนี้คาดว่าทั้ง 2 ประเทศคงมีเป้าหมายเพื่อทำให้ภาพของการประชุม reality check ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 ไม่ออกมาในทิศทางที่ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของการเตรียมการเปิดการเจรจารอบใหม่
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
สำหรับความคืบหน้าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีประเด็นสำคัญที่มีความเคลื่อนไหว 4 เรื่อง ดังนี้
1. ในเรื่องปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัยซึ่งเป็นเรื่องที่ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกนั้น แม้ว่าจะมีความพยายามของบางกลุ่มประเทศสมาชิกที่มีท่าทีเป็นกลางในเรื่องนี้ (ขณะนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ กลุ่ม Submarine กลุ่ม 7 กลุ่ม Magnificent 7) ซึ่งประกอบด้วย อุรุกวัย อาร์เจนติน่า ไทย โมร็อกโก นอร์เวย์ นิวซีแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ จัดทำข้อเสนอประนีประนอมในเรื่องนี้ โดยจัดแบ่งประเด็นปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัยออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 คือ ประเด็นปัญหาที่อาจจะตกลงกันได้เร็วกว่าเรื่องอื่นๆ ส่วนที่ 2 คือ ประเด็นปัญหาที่ได้มีการพิจารณาแก้ไขในกรอบของคณะกรรมการย่อยที่เกี่ยวข้องไปมากแล้ว หรือมีความเร่งด่วนน้อยกว่าประเด็นอื่นๆ ส่วนที่ 3 คือ เรื่องที่ควรมอบหมายให้คณะกรรมการย่อยพิจารณาและนำกลับมาพิจารณาในคณะมนตรีใหญ่ และส่วนที่ 4 คือ ประเด็นปัญหาที่จะต้องมีการเจรจา หรือมีการตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งประเทศสมาชิกส่วนใหญ่สนับสนุนให้ใช้ข้อเสนอประนีประนอมของกลุ่ม 7 เป็นพื้นฐานในการหารือต่อไป
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะมนตรีใหญ่ได้ประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2544 โดยได้เริ่มต้นหารือในส่วนที่ 1 ไปแล้ว ซึ่งบางประเทศกำลังพัฒนาเห็นว่าควรจะต้องเพิ่มเรื่องการตอบโต้การทุ่มตลาด สิ่งทอและเสื้อผ้า และความตกลงว่าด้วยมาตรการด้านการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้า (TRIMS) และสำหรับเรื่องต่างๆที่จะมอบหมายให้คณะกรรมการย่อยที่เกี่ยวข้องพิจารณา เช่น ควรทำการทบทวนความตกลง SPS ทุก 2 ปีพร้อมๆกับการประชุมระดับรัฐมนตรี การประเมินราคาศุลกากร การอุดหนุน การค้าและการพัฒนา TRIPS และควรกำหนดให้รายงานผลต่อคณะมนตรีใหญ่อย่างช้าภายในวันที่ 30 กันยายน 2544
2. ในเรื่องจากมติที่ประชุมรัฐมนตรีที่สิงคโปร์เมื่อ 2539 ได้มีการหารือกลุ่มย่อยในเรื่องความตกลงว่าด้วยความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ซึ่งสมาชิกกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เห็นว่าควรใช้เวลาศึกษาต่อ ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วและบางประเทศกำลังพัฒนาเห็นว่าน่าจะพิจารณาได้ที่กาตาร์
3. คณะผู้แทนถาวรสวิตเซอร์แลนด์ประจำ WTO เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม retreat เจ้าหน้าที่อาวุโสระดับสูงจากเมืองหลวงในวันที่ 21-22 กรกฎาคม 2544 ที่นครเจนีวา โดยได้เชิญประเทศสมาชิกที่มีบทบาทสำคัญใน WTO จากภูมิภาคต่างๆรวม 13 ประเทศ (แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ ชิลี มอรีเซียส โมร็อกโก เกาหลี ฮ่องกง ไทย สิงคโปร์ อุรุกวัย และฮังการี) หารือและแลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องการลงทุนนโยบายการแข่งขัน และสิ่งแวดล้อมเพื่อหาทางประนีประนอมท่าทีของประเทศสมาชิก
4. เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2544 ได้มีการประชุมหารือระหว่างสหรัฐฯและสหภาพยุโรป ซึ่งพยายามจะร่วมกันผลักดันให้มีการเปิดการเจรจารอบใหม่ให้ได้ที่กาตาร์ และทั้ง 2 ประเทศรับจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมหารือเจ้าหน้าที่อาวุโสอย่างไม่เป็นทางการเรื่องการเจรจารอบใหม่ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2544 ณ เมือง Talloires (ตาลลัว) ประเทศ ฝรั่งเศส โดยเชิญผู้แทนจากเมืองหลวงจากประเทศสมาชิก 13 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น เกาหลี เม็กซิโก โมร็อกโค สิงคโปร์ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ สวิตเซอร์แลนด์ ไทย และ อุรุกวัย เข้าร่วมการประชุม
การประชุมครั้งนี้คาดว่าทั้ง 2 ประเทศคงมีเป้าหมายเพื่อทำให้ภาพของการประชุม reality check ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 ไม่ออกมาในทิศทางที่ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของการเตรียมการเปิดการเจรจารอบใหม่
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-