OTOP (One Tambon One Product) เป็นสินค้าที่ผลิตจากภูมิปัญญาของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นหรือเป็นสินค้าที่เกิดจากการนำภูมิปัญญาไทยซึ่งสะท้อนถึงวัฒนธรรมและความเป็นไทยมาใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบและการผลิต ผลิตภัณฑ์ OTOP ตามการจำแนกของกระทรวงอุตสาหกรรม แบ่งได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้อาหาร (ครอบคลุมตั้งแต่อาหารสดไปจนถึงอาหารแปรรูป) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (อาทิ ผ้าทอ และผ้าพันคอ)เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่ง (อาทิ เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องจักสาน) ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและยา (อาทิ เครื่องสำอาง สบู่ และน้ำมันหอมระเหย) เครื่องดื่ม (อาทิ สุรา น้ำผลไม้ และน้ำสมุนไพร) และของที่ระลึกและศิลปะประดิษฐ์
ปัจจุบันสินค้า OTOP ของไทยเริ่มเป็นที่ต้องการมากขึ้นของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเครื่องสำอาง (รวมสบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว) เครื่องประดับเงิน เฟอร์นิเจอร์ ของใช้บนโต๊ะอาหาร และเคหะสิ่งทอ โดยมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจนสูงถึง 874 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2547 (ขยายตัวร้อยละ 16.2)และคาดว่ามูลค่าส่งออกจะแตะระดับ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างโอกาสในการขยายตลาดส่งออกสินค้า OTOP ของไทย มีดังนี้
* สินค้า OTOP ของไทยมีศักยภาพสูงในการส่งออก เนื่องจากได้รับความนิยมค่อนข้างมากจากชาวต่างชาติ เพราะเป็นสินค้าที่ผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้มีคุณค่าสูงในสายตาของชาวต่างชาติ ซึ่งช่วยกระตุ้นความต้องการซื้อได้เป็นอย่างดี ขณะที่ต้นทุนการผลิตสินค้า OTOP ไม่สูงนัก เพราะค่าจ้างแรงงานในท้องถิ่นของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับวัตถุดิบเกือบทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตสามารถหาได้ในประเทศ
* รัฐบาลมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจังทั้งด้านการผลิตและการส่งออก อาทิ
- มาตรการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมถึงกิจการผลิตสินค้า OTOP ที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ทำให้กิจการเหล่านี้ได้รับสิทธิประโยชน์ขั้นสูงสุดด้วยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี (ไม่จำกัดเขตลงทุนและมูลค่าภาษีที่ได้รับยกเว้น) และยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรที่นำมาใช้ในการผลิต
- มาตรการสนับสนุนการผลิต กระทรวงอุตสาหกรรมมีมาตรการสนับสนุนการผลิตของผู้ประกอบการผลิตสินค้า OTOP อาทิ การจัดทำโครงการ Smart OTOP ซึ่งมุ่งพัฒนาและยกระดับผู้ผลิตสินค้า OTOP ในระดับรากหญ้า ด้วยการจัดฝึกอบรมความรู้ทั้งด้านการผลิต การจัดการ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์
- มาตรการส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์มีมาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการส่งออกสินค้าOTOP โดยเฉพาะการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ด้วยการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้า Thailand Plaza ในต่างประเทศและการสนับสนุนการจำหน่ายสินค้า OTOP ผ่านรายการโทรทัศน์และร้านอาหารไทยในต่างประเทศ
* การจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีของไทยกับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะ FTA ไทย-ออสเตรเลีย (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548) และ FTA ไทย-นิวซีแลนด์ (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548)ทำให้ทั้งสองประเทศต้องทยอยปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้า OTOP อาทิ ผ้าทอ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ไม้ และของทำด้วยหิน จากไทย เหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2558
* การได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences : GSP) จากประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ทำให้สินค้า OTOP ของไทย โดยเฉพาะผ้าไหมพื้นเมือง เครื่องจักสานจากเส้นใยพืช ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องเบญจรงค์ ที่ส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญดังกล่าวเสียภาษีนำเข้าในอัตราลดลงจากอัตราภาษีนำเข้าปกติ
อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยบางประการที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้า OTOP ของไทย อาทิ รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่หลากหลายและไม่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ เนื่องจากขาดการพัฒนาการออกแบบทั้งผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ อีกทั้งผู้ผลิตยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ซื้อในต่างประเทศ ขณะเดียวกันสินค้าOTOP บางประเภท โดยเฉพาะสินค้าอาหาร ยังไม่ได้มาตรฐานตามที่ประเทศคู่ค้ากำหนด นอกจากนี้ผู้ผลิตสินค้า OTOP ของไทยยังขาดทักษะและความชำนาญในการทำตลาดต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ E-commerce ในการประกอบธุรกิจยังอยู่ในวงจำกัด
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2548--
-พห-
ปัจจุบันสินค้า OTOP ของไทยเริ่มเป็นที่ต้องการมากขึ้นของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเครื่องสำอาง (รวมสบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว) เครื่องประดับเงิน เฟอร์นิเจอร์ ของใช้บนโต๊ะอาหาร และเคหะสิ่งทอ โดยมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจนสูงถึง 874 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2547 (ขยายตัวร้อยละ 16.2)และคาดว่ามูลค่าส่งออกจะแตะระดับ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างโอกาสในการขยายตลาดส่งออกสินค้า OTOP ของไทย มีดังนี้
* สินค้า OTOP ของไทยมีศักยภาพสูงในการส่งออก เนื่องจากได้รับความนิยมค่อนข้างมากจากชาวต่างชาติ เพราะเป็นสินค้าที่ผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้มีคุณค่าสูงในสายตาของชาวต่างชาติ ซึ่งช่วยกระตุ้นความต้องการซื้อได้เป็นอย่างดี ขณะที่ต้นทุนการผลิตสินค้า OTOP ไม่สูงนัก เพราะค่าจ้างแรงงานในท้องถิ่นของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับวัตถุดิบเกือบทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตสามารถหาได้ในประเทศ
* รัฐบาลมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจังทั้งด้านการผลิตและการส่งออก อาทิ
- มาตรการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมถึงกิจการผลิตสินค้า OTOP ที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ทำให้กิจการเหล่านี้ได้รับสิทธิประโยชน์ขั้นสูงสุดด้วยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี (ไม่จำกัดเขตลงทุนและมูลค่าภาษีที่ได้รับยกเว้น) และยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรที่นำมาใช้ในการผลิต
- มาตรการสนับสนุนการผลิต กระทรวงอุตสาหกรรมมีมาตรการสนับสนุนการผลิตของผู้ประกอบการผลิตสินค้า OTOP อาทิ การจัดทำโครงการ Smart OTOP ซึ่งมุ่งพัฒนาและยกระดับผู้ผลิตสินค้า OTOP ในระดับรากหญ้า ด้วยการจัดฝึกอบรมความรู้ทั้งด้านการผลิต การจัดการ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์
- มาตรการส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์มีมาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการส่งออกสินค้าOTOP โดยเฉพาะการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ด้วยการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้า Thailand Plaza ในต่างประเทศและการสนับสนุนการจำหน่ายสินค้า OTOP ผ่านรายการโทรทัศน์และร้านอาหารไทยในต่างประเทศ
* การจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีของไทยกับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะ FTA ไทย-ออสเตรเลีย (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548) และ FTA ไทย-นิวซีแลนด์ (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548)ทำให้ทั้งสองประเทศต้องทยอยปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้า OTOP อาทิ ผ้าทอ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ไม้ และของทำด้วยหิน จากไทย เหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2558
* การได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences : GSP) จากประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ทำให้สินค้า OTOP ของไทย โดยเฉพาะผ้าไหมพื้นเมือง เครื่องจักสานจากเส้นใยพืช ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องเบญจรงค์ ที่ส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญดังกล่าวเสียภาษีนำเข้าในอัตราลดลงจากอัตราภาษีนำเข้าปกติ
อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยบางประการที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้า OTOP ของไทย อาทิ รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่หลากหลายและไม่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ เนื่องจากขาดการพัฒนาการออกแบบทั้งผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ อีกทั้งผู้ผลิตยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ซื้อในต่างประเทศ ขณะเดียวกันสินค้าOTOP บางประเภท โดยเฉพาะสินค้าอาหาร ยังไม่ได้มาตรฐานตามที่ประเทศคู่ค้ากำหนด นอกจากนี้ผู้ผลิตสินค้า OTOP ของไทยยังขาดทักษะและความชำนาญในการทำตลาดต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ E-commerce ในการประกอบธุรกิจยังอยู่ในวงจำกัด
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2548--
-พห-