กรมการค้าภายใน ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนตุลาคม 2544 โดยสรุป
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 270 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนตุลาคม 2544
ในปี 2537 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเท่ากับ 100 และเดือนตุลาคม 2544 เท่ากับ 132.4 สำหรับเดือนกันยายน 2544 เท่ากับ 133.0
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนตุลาคม 2544 เมื่อเทียบกับ
- เดือนกันยายน 2544 ลดลงร้อยละ 0.5
- เดือนตุลาคม 2543 สูงขึ้นร้อยละ 1.4
- เฉลี่ยเดือนมกราคม - ตุลาคม 2544 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 สูงขึ้นร้อยละ 1.8
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนตุลาคม 2544 เทียบกับเดือนกันยายน 2544 ลดลงร้อยละ 0.5
จากการลดลงของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.2 และสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.6 โดยมีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่สำคัญ ดังนี้
3.1 หมวดอาหารและเครื่องดื่ม
สินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่
ข้าวสารเจ้าหอมมะลิ ปริมาณผลผลิตมีมาก ประกอบกับภาวะราคาตลาดโลกอ่อนตัวลง
เนื้อสัตว์ ได้แก่ หมูเนื้อแดง และไก่สด ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่ความต้องการบริโภคลดลง เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลกินเจ
ปลาและสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาช่อนสด ปลาจะละเม็ดดำ กุ้งสด หอยแครง และปลาหมึกสด
ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน ผลผลิตฤดูกาลใหม่ออกสู่ตลาดมากขึ้น
สินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
ผักสด ได้แก่ ผักคะน้า ผักกาดขาวลุ้ย ผักบุ้งจีน ถั่วฝักยาว มะนาว มะเขือเทศสีดา มะเขือเจ้าพระยา แตงกวา ฟักเขียว และพริกชี้ฟ้า ฝนตกชุกในแหล่งผลิต ผักบางชนิดเสียหาย ผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลง ประกอบกับช่วงเทศกาลกินเจความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
3.2 หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม
สินค้าและบริการที่ราคาลดลง ได้แก่
ค่ากระแสไฟฟ้า เป็นผลจากการปรับค่าเอฟที (Ft) ลดลง
น้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เป็นไปตามภาวะน้ำมันในตลาดโลกและน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ที่ลดลง
สินค้าและบริการที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ได้แก่ สุรา และเบียร์ ผู้ค้าบางรายปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้น
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนตุลาคม 2544
(คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 185 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศหักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 85 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนตุลาคม 2544 เท่ากับ 129.3 เมื่อเทียบกับ
- เดือนกันยายน 2544 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
- เดือนตุลาคม 2543 สูงขึ้นร้อยละ 1.3
- เฉลี่ยเดือนมกราคม - ตุลาคม 2544 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 สูงขึ้นร้อยละ 1.3
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
-นห-
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 270 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนตุลาคม 2544
ในปี 2537 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเท่ากับ 100 และเดือนตุลาคม 2544 เท่ากับ 132.4 สำหรับเดือนกันยายน 2544 เท่ากับ 133.0
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนตุลาคม 2544 เมื่อเทียบกับ
- เดือนกันยายน 2544 ลดลงร้อยละ 0.5
- เดือนตุลาคม 2543 สูงขึ้นร้อยละ 1.4
- เฉลี่ยเดือนมกราคม - ตุลาคม 2544 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 สูงขึ้นร้อยละ 1.8
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนตุลาคม 2544 เทียบกับเดือนกันยายน 2544 ลดลงร้อยละ 0.5
จากการลดลงของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.2 และสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.6 โดยมีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่สำคัญ ดังนี้
3.1 หมวดอาหารและเครื่องดื่ม
สินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่
ข้าวสารเจ้าหอมมะลิ ปริมาณผลผลิตมีมาก ประกอบกับภาวะราคาตลาดโลกอ่อนตัวลง
เนื้อสัตว์ ได้แก่ หมูเนื้อแดง และไก่สด ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่ความต้องการบริโภคลดลง เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลกินเจ
ปลาและสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาช่อนสด ปลาจะละเม็ดดำ กุ้งสด หอยแครง และปลาหมึกสด
ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน ผลผลิตฤดูกาลใหม่ออกสู่ตลาดมากขึ้น
สินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
ผักสด ได้แก่ ผักคะน้า ผักกาดขาวลุ้ย ผักบุ้งจีน ถั่วฝักยาว มะนาว มะเขือเทศสีดา มะเขือเจ้าพระยา แตงกวา ฟักเขียว และพริกชี้ฟ้า ฝนตกชุกในแหล่งผลิต ผักบางชนิดเสียหาย ผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลง ประกอบกับช่วงเทศกาลกินเจความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
3.2 หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม
สินค้าและบริการที่ราคาลดลง ได้แก่
ค่ากระแสไฟฟ้า เป็นผลจากการปรับค่าเอฟที (Ft) ลดลง
น้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เป็นไปตามภาวะน้ำมันในตลาดโลกและน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ที่ลดลง
สินค้าและบริการที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ได้แก่ สุรา และเบียร์ ผู้ค้าบางรายปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้น
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนตุลาคม 2544
(คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 185 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศหักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 85 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนตุลาคม 2544 เท่ากับ 129.3 เมื่อเทียบกับ
- เดือนกันยายน 2544 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
- เดือนตุลาคม 2543 สูงขึ้นร้อยละ 1.3
- เฉลี่ยเดือนมกราคม - ตุลาคม 2544 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 สูงขึ้นร้อยละ 1.3
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
-นห-