แท็ก
จีดีพี
ข่าวในประเทศ
1. สศช.เปิดเผยตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 43 เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ขยายร้อยละ 6.6 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกที่ระดับร้อยละ 5.3 ส่งผลให้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปี 43 ขยายตัวร้อยละ 5.9 ส่วนแนวโน้มการขยายตัวเศรษฐกิจในปี 43 คาดว่าจะจีดีพีจะขยายตัวร้อยละ 5 เท่ากับที่ได้ประมาณการไว้ แต่จะชะลอลงเหลือร้อยละ 4 ในช่วงครึ่งหลังของปี เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญ หากไม่มีผลกระทบจากราคาน้ำมัน เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5.5 โดยราคาน้ำมันมีผลกระทบต่อการขยายตัวประมาณร้อยละ 0.3 สมมติฐานสำคัญในการประเมินภาพเศรษฐกิจครั้งนี้ คือ ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 27 ดอลลาร์/บาร์เรล โดย 8 เดือนแรกราคาเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 25-27 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วน 4 เดือนสุดท้าย คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 29 ดอลลาร์/บาร์เรล ค่าเงินบาทเฉลี่ย 39.50 บาท/ดอลลาร์ โดย 8 เดือนแรกอยู่ที่ 38.70 บาท/ดอลลาร์ และ 4 เดือนสุดท้ายคาดว่าค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 41 บาท/ดอลลาร์ สำหรับเศรษฐกิจ การค้าโลกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 และ 7.9 ตามลำดับ (มติชน 19)
2. ธปท.ชี้แจงกรณีดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า การคงนโยบายดอกเบี้ยต่ำนั้นจะเอื้อให้เศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้อย่างมั่นคง ช่วยสร้างบรรยากาศการลงทุน ลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ขณะเดียวกันเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า การคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ทำให้เกิดการลงทุน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ ธปท.ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยเฉพาะเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำว่ามีผลต่อพฤติกรรมเงินออมของประชาชนอย่างไร (เดลินิวส์ 19)
3. ธ.โลก และ ธ.พัฒนาเอเชียแนะนำไทยเร่งปฏิรูปสถาบันการเงิน ธ.โลกระบุในรายงานครึ่งปีว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 18 ก.ย.43 ว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยกำลังดำเนินไปตามแนวทางที่วางไว้ แต่ยังไม่มั่นคง ผันผวน และไร้ความแน่นอน เพราะกระบวนการปฏิรูปภาคการเงินและบริษัทธุรกิจของไทยยังล่าช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสร้างเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างมั่นคง โดยภาคการเงินไทยยังมีปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 32 ของยอดสินเชื่อรวม เนื่องจากธนาคารต่างๆ ในประเทศไม่มีความตั้งใจสะสางหนี้อย่างจริงจัง ส่งผลให้ธนาคารของไทยไม่สามารถปล่อยกู้แก่ธุรกิจใหม่ๆ และเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน ขณะเดียวกัน ธ.เพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) คาดหมายแนวโน้มการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของไทยว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 ในปี 43, ร้อยละ 4.6 ในปี 44 ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.5 ในปี 43 เนื่องจากอุปสงค์ยังคงต่ำ และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.5 ในปีหน้า การส่งออกและนำเข้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 และ 14.3 ตามลำดับ การได้เปรียบดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ร้อยละ 6.3 ของจีดีพี ในปี 43 (กรุงเทพธุรกิจ 19)
ข่าวต่างประเทศ
1. ADB ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียในปี 43 รายงานจากมะนิลาเมื่อวันที่18 ก.ย. 43 ธ. เพื่อการพัฒนาเอเชีย(ADB) รายงานว่า ปี 43 เศรษฐกิจของเอเชีย ยกเว้น ญี่ปุ่น จะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.2 ที่เคยประมาณการไว้เมื่อเดือน เม.ย. 43 และในปี 44 จะเติบโตร้อยละ 6.5 เทียบกับร้อยละ 6 ที่เคยประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ การปรับเพิ่มประมาณการครั้งนี้ เนื่องจากความต้องการในประเทศและความต้องการจากต่างประเทศที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ADB กล่าวว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียไม่น่าจะเป็นไปอย่างราบรื่น และเตือนว่า ความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์และอัตราแลกเปลี่ยนยังคงชี้ถึงความกังวลที่เกี่ยวกับความไม่ก้าวหน้าในการปฏิรูปโครงสร้างทางการเงิน รวมทั้งความไม่สมดุลของเศรษฐกิจมหภาคและความไม่แน่นอนทางการเมือง (รอยเตอร์ 18)
2. ยอดขายสินค้าของห้างสรรพสินค้าในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.7 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 18 ก.ย.43 สมาคมห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่น รายงานว่า เดือน ส.ค.43 การขายของห้างสรรพสินค้าในกรุงโตเกียว ลดลงร้อยละ 1.7 คิดเป็นมูลค่า 138.99 พัน ล.เยน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ทั้งนี้ การขายของห้างสรรพสินค้าเป็นสิ่งที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากใช้เป็นเครื่องชี้สำคัญสำหรับการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งการขายฯ ในเดือน ส.ค.43 ลดลงในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่ลดลงถึงร้อยละ 5.6 ในเดือน ก.ค.43 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวของกำลังซื้อในกลุ่มลูกค้าประเภทบริษัท และการซื้อสินค้าที่ขายแบบรุสต๊อกของกลุ่มผู้บริโภค (รอยเตอร์ 18)
3. ADB ปรับเพิ่มประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปี 43 รายงานจากมะนิลาเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 43 ธ. เพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ประมาณการว่า ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ของเกาหลีใต้จะเติบโตร้อยละ 8.3 ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.5 ที่ประมาณการไว้เมื่อเดือน เม.ย. 43 และ ในปี 44 GDP จะเติบโตร้อยละ 6 นอกจากนั้นยังประมาณการว่า ในปี 43 เงินเฟ้อจะอยู่ที่อัตราร้อยละ 2.3 อย่างไรก็ตาม ADB กล่าวว่า การเติบโตของการบริโภคส่วนบุคคลน่าจะชะลอตัวลงทั้งในช่วงที่เหลือของปี43 และปี 44 เนื่องจากความต้องการผู้บริโภคจะค่อยๆลดลง (รอยเตอร์ 18)
4. คำสั่งซื้อเครื่องมือกลของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.9 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 18 ก.ย.43 Japan Machine Tool Builders' Association รายงานว่า เดือน ส.ค.43 คำสั่งซื้อเครื่องมือกลของญี่ปุ่นคิดเป็นมูลค่า 81.10 พัน ล.เยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 ซึ่งคำสั่งซื้อฯ ในเดือนดังกล่าว แบ่งเป็นคำสั่งซื้อฯ ภายในประเทศมูลค่า 43.90 พัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.7 และคำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศมูลค่า 37.20 พัน ล.เยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 (รอยเตอร์ 18)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 18 ก.ย. 43 42.111 (41.813)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 18 ก.ย.43 ซื้อ 41.8613 (41.5293) ขาย 42.1787 (41.8293)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,350) ขาย 5,500 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 32.19 (31.98)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. สศช.เปิดเผยตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 43 เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ขยายร้อยละ 6.6 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกที่ระดับร้อยละ 5.3 ส่งผลให้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปี 43 ขยายตัวร้อยละ 5.9 ส่วนแนวโน้มการขยายตัวเศรษฐกิจในปี 43 คาดว่าจะจีดีพีจะขยายตัวร้อยละ 5 เท่ากับที่ได้ประมาณการไว้ แต่จะชะลอลงเหลือร้อยละ 4 ในช่วงครึ่งหลังของปี เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญ หากไม่มีผลกระทบจากราคาน้ำมัน เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5.5 โดยราคาน้ำมันมีผลกระทบต่อการขยายตัวประมาณร้อยละ 0.3 สมมติฐานสำคัญในการประเมินภาพเศรษฐกิจครั้งนี้ คือ ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 27 ดอลลาร์/บาร์เรล โดย 8 เดือนแรกราคาเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 25-27 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วน 4 เดือนสุดท้าย คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 29 ดอลลาร์/บาร์เรล ค่าเงินบาทเฉลี่ย 39.50 บาท/ดอลลาร์ โดย 8 เดือนแรกอยู่ที่ 38.70 บาท/ดอลลาร์ และ 4 เดือนสุดท้ายคาดว่าค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 41 บาท/ดอลลาร์ สำหรับเศรษฐกิจ การค้าโลกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 และ 7.9 ตามลำดับ (มติชน 19)
2. ธปท.ชี้แจงกรณีดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า การคงนโยบายดอกเบี้ยต่ำนั้นจะเอื้อให้เศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้อย่างมั่นคง ช่วยสร้างบรรยากาศการลงทุน ลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ขณะเดียวกันเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า การคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ทำให้เกิดการลงทุน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ ธปท.ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยเฉพาะเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำว่ามีผลต่อพฤติกรรมเงินออมของประชาชนอย่างไร (เดลินิวส์ 19)
3. ธ.โลก และ ธ.พัฒนาเอเชียแนะนำไทยเร่งปฏิรูปสถาบันการเงิน ธ.โลกระบุในรายงานครึ่งปีว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 18 ก.ย.43 ว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยกำลังดำเนินไปตามแนวทางที่วางไว้ แต่ยังไม่มั่นคง ผันผวน และไร้ความแน่นอน เพราะกระบวนการปฏิรูปภาคการเงินและบริษัทธุรกิจของไทยยังล่าช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสร้างเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างมั่นคง โดยภาคการเงินไทยยังมีปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 32 ของยอดสินเชื่อรวม เนื่องจากธนาคารต่างๆ ในประเทศไม่มีความตั้งใจสะสางหนี้อย่างจริงจัง ส่งผลให้ธนาคารของไทยไม่สามารถปล่อยกู้แก่ธุรกิจใหม่ๆ และเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน ขณะเดียวกัน ธ.เพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) คาดหมายแนวโน้มการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของไทยว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 ในปี 43, ร้อยละ 4.6 ในปี 44 ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.5 ในปี 43 เนื่องจากอุปสงค์ยังคงต่ำ และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.5 ในปีหน้า การส่งออกและนำเข้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 และ 14.3 ตามลำดับ การได้เปรียบดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ร้อยละ 6.3 ของจีดีพี ในปี 43 (กรุงเทพธุรกิจ 19)
ข่าวต่างประเทศ
1. ADB ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียในปี 43 รายงานจากมะนิลาเมื่อวันที่18 ก.ย. 43 ธ. เพื่อการพัฒนาเอเชีย(ADB) รายงานว่า ปี 43 เศรษฐกิจของเอเชีย ยกเว้น ญี่ปุ่น จะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.2 ที่เคยประมาณการไว้เมื่อเดือน เม.ย. 43 และในปี 44 จะเติบโตร้อยละ 6.5 เทียบกับร้อยละ 6 ที่เคยประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ การปรับเพิ่มประมาณการครั้งนี้ เนื่องจากความต้องการในประเทศและความต้องการจากต่างประเทศที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ADB กล่าวว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียไม่น่าจะเป็นไปอย่างราบรื่น และเตือนว่า ความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์และอัตราแลกเปลี่ยนยังคงชี้ถึงความกังวลที่เกี่ยวกับความไม่ก้าวหน้าในการปฏิรูปโครงสร้างทางการเงิน รวมทั้งความไม่สมดุลของเศรษฐกิจมหภาคและความไม่แน่นอนทางการเมือง (รอยเตอร์ 18)
2. ยอดขายสินค้าของห้างสรรพสินค้าในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.7 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 18 ก.ย.43 สมาคมห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่น รายงานว่า เดือน ส.ค.43 การขายของห้างสรรพสินค้าในกรุงโตเกียว ลดลงร้อยละ 1.7 คิดเป็นมูลค่า 138.99 พัน ล.เยน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ทั้งนี้ การขายของห้างสรรพสินค้าเป็นสิ่งที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากใช้เป็นเครื่องชี้สำคัญสำหรับการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งการขายฯ ในเดือน ส.ค.43 ลดลงในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่ลดลงถึงร้อยละ 5.6 ในเดือน ก.ค.43 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวของกำลังซื้อในกลุ่มลูกค้าประเภทบริษัท และการซื้อสินค้าที่ขายแบบรุสต๊อกของกลุ่มผู้บริโภค (รอยเตอร์ 18)
3. ADB ปรับเพิ่มประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปี 43 รายงานจากมะนิลาเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 43 ธ. เพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ประมาณการว่า ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ของเกาหลีใต้จะเติบโตร้อยละ 8.3 ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.5 ที่ประมาณการไว้เมื่อเดือน เม.ย. 43 และ ในปี 44 GDP จะเติบโตร้อยละ 6 นอกจากนั้นยังประมาณการว่า ในปี 43 เงินเฟ้อจะอยู่ที่อัตราร้อยละ 2.3 อย่างไรก็ตาม ADB กล่าวว่า การเติบโตของการบริโภคส่วนบุคคลน่าจะชะลอตัวลงทั้งในช่วงที่เหลือของปี43 และปี 44 เนื่องจากความต้องการผู้บริโภคจะค่อยๆลดลง (รอยเตอร์ 18)
4. คำสั่งซื้อเครื่องมือกลของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.9 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 18 ก.ย.43 Japan Machine Tool Builders' Association รายงานว่า เดือน ส.ค.43 คำสั่งซื้อเครื่องมือกลของญี่ปุ่นคิดเป็นมูลค่า 81.10 พัน ล.เยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 ซึ่งคำสั่งซื้อฯ ในเดือนดังกล่าว แบ่งเป็นคำสั่งซื้อฯ ภายในประเทศมูลค่า 43.90 พัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.7 และคำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศมูลค่า 37.20 พัน ล.เยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 (รอยเตอร์ 18)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 18 ก.ย. 43 42.111 (41.813)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 18 ก.ย.43 ซื้อ 41.8613 (41.5293) ขาย 42.1787 (41.8293)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,350) ขาย 5,500 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 32.19 (31.98)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-