ในปี 2543 ภาพรวมเศรษฐกิจของจังหวัดสงขลากระเตื้องขึ้น โดยมีปัจจัยบวกที่ ช่วยหนุนได้แก่ ภาวะการผลิต สินค้าทางการเกษตร
ที่สำคัญ อาทิ ยางพาราและกุ้งกุลาดำขยายตัว ขณะเดียวกันราคาจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากปีก่อนตามภาวะในตลาดโลกทำให้การผลิตและการค้าสินค้า
เกษตรคึกคักขึ้น เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ ต้นทุนการผลิตสินค้าและการประกอบการของธุรกิจ
ปรับสูงขึ้น แม้ว่าทางการจะดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเป็นการ กระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ยังไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
นอกจากนี้การเกิดอุทกภัยในอำเภอหาดใหญ่และอำเภอรอบนอกสร้าง ความเสียหายแก่ทุกภาคการผลิตและต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งในการฟื้นตัว
ภาคการเกษตร
สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในจังหวัดสงขลาในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนซึ่ง ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอเป็นเหตุให้ภาคเกษตรได้รับ
ความเสียหายทั้งใน ด้านพืชผล ปศุสัตว์ และประมง ทำให้การผลิตในภาคเกษตรปีนี้ขยายตัวไม่มากเท่าที่ควร และจะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งในการ
ฟื้นตัว โดยจากรายงานของสำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีพื้นที่การเกษตรในจังหวัดสงขลาเสียหายเนื่องจาก
อุทกภัยถึง 199,444 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว พืชผัก และยางพารา ส่วนในภาคการประมงมีพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับความเสียหายถึง
7,873 ไร่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายมากกว่า 350 ล้านบาท
ยางพารา ปริมาณการผลิตยางพารามีแนวโน้มดีกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงทำให้ปริมาณน้ำยางมากขึ้น
อย่างไรก็ตามสภาพฝน ที่ตกต่อเนื่องตลอดปีเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง และจากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นทำให้ต้นยางได้รับความเสียหาย
จึงไม่สามารถกรีดยางได้เต็มที่ โดยเฉพาะ ในช่วงปลายปีซึ่งตามปกติจะเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ส่วนสถานการณ์ด้านราคาจำหน่าย
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ในจังหวัดสงขลาปีนี้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 21.05 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20.1
ประมง ผลผลิตสัตว์น้ำจากการทำประมงในจังหวัดสงขลาชะลอลง เนื่องจากข้อจำกัดด้านความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำที่ลดลง
และต้นทุนการทำประมงยัง ปรับตัวสูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน นอกจากนี้การทำประมงนอกน่านน้ำยังคงมีอุปสรรคจากสถานการณ์
ความไม่สงบในประเทศอินโดนีเซียต่อเนื่องจากปีก่อน โดย ทางการอินโดนีเซียเข้มงวดการเข้าไปจับสัตว์น้ำของเรือประมงไทยมากขึ้น ทั้งนี้
จากรายงานของท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลาในจังหวัดสงขลา มีปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้และนำขึ้น 209,851 เมตริกตัน ลดลง
ร้อยละ 14.2 จากปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 3,834.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.7 โดยสัตว์น้ำที่จับได้เป็นปลาเป็ด 110,413 เมตริกตัน คิด
เป็นมูลค่า 270.5 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.9 และ 13.7 ตามลำดับ
การเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำในจังหวัดสงขลาในปีนี้ขยายตัว เนื่องจากราคากุ้งกุลาดำอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะในช่วงเดือนกรกฎาคม
-กันยายน จูงใจให้เกษตรกรทำการเพาะเลี้ยงกันมาก แม้ว่าจะยังคงมีโรคระบาดของกุ้งอยู่บ้าง อย่างไรก็ตามผลผลิตที่ออกสู่ตลาดส่วนใหญ่
เป็นกุ้งขนาดกลางถึงขนาดเล็ก เนื่องจากเกษตรกรจับผลผลิตจำหน่ายเร็วขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดโรค ทั้งนี้ จากรายงานของห้องเย็น
ในจังหวัดสงขลา กุ้งกุลาดำขนาด 40 ตัวต่อกิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 285-375 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งราคาอยู่ในช่วงกิโลกรัมละ
230-290 บาท
นอกภาคการเกษตร
การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา ส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะการ ท่องเที่ยวแหล่งบันเทิง และการจับจ่ายใช้สอย
สินค้าชนิดต่าง ๆ โดยมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมาก ในปีนี้มีชาวต่างประเทศเดินทางผ่านตรวจ
คนเข้าเมืองในจังหวัดสงขลา 993,301 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.3 ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย 643,066 คน เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 5.9 ส่วนใหญ่จะเดินทางเข้าท่องเที่ยวในช่วงสุดสัปดาห์ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์ 130,855 คน ลดลงร้อยละ 4.4 ที่เหลือ
219,380 คนเป็นนัก ท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ทั้งนี้ ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงปลายเดือนธันวาคมเป็นช่วงที่จังหวัด
สงขลาได้รับความเสียหายเนื่องจากอุทกภัย ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยว ลดลง อย่างไรก็ตามจากการที่ภาครัฐและเอกชนในอำเภอหาดใหญ่ร่วมมือ
กันจัดงาน “เบิกฟ้าใสเมืองหาดใหญ่” ขึ้นในระหว่างวันที่ 23 ธันวาคม 2543 — 2 มกราคม 2544 เพื่อแสดงความพร้อมของหาดใหญ่ในการ
ต้อนรับนักท่องเที่ยวซึ่งทำให้ภาพรวมการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่กระเตื้องขึ้น
การค้า จากภาวะเศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้น ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยทำให้การค้ายานพาหนะในจังหวัดสงขลาปรับตัวดีขึ้น
จำนวนรถที่มีการจดทะเบียนใหม่ในปีนี้เพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คนมีการจดทะเบียน 1,790 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ร้อยละ 41.1 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 2,855 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 และรถจักรยานยนต์ 16,077 คัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.0
อย่างไรก็ตามในช่วงที่เกิดอุทกภัยทำให้ธุรกิจและร้านค้าในอำเภอ หาดใหญ่และอำเภออื่น ๆ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก จึงต้องใช้ระยะ
เวลาหนึ่งในการปรับปรุงกิจการและการฟื้นตัวของธุรกิจ
ด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกสินค้าผ่านด่านศุลกากรในจังหวัดสงขลาปีนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 126,851.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
33.8 จากปีก่อนที่มีการส่งออกเป็นมูลค่า 94,823.5 ล้านบาท เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น โดยสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นได้แก่
สัตว์น้ำแปรรูป ยางพารา น้ำมันดิบ และอาหารกระป๋อง เป็นต้น ส่วนการนำเข้ามีมูลค่าลดลง โดยมีมูลค่า 45,198.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
13.7 สินค้าที่มีการนำเข้าลดลงได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ สัตว์น้ำ และน้ำมันเชื้อเพลิง
การลงทุน ปีนี้มีกิจการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดสงขลาทั้งสิ้น 38 ราย เงินลงทุนรวม 5,447.6 ล้านบาท
มีการจ้างงาน 9,523 คน เปรียบเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.2 40.6 และ 21.9 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นกิจการแปรรูปผลผลิตทาง
การเกษตร อาทิ สัตว์น้ำ และยางพารา
ด้านการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลของธุรกิจรายใหม่ในจังหวัดสงขลามีจำนวนทั้งสิ้น 462 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 2,502.0 ล้านบาท
เทียบกับปีก่อนที่มีจำนวน 386 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 1,054.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 และ 137.3 ตามลำดับ
การลงทุนในภาคการก่อสร้างกระเตื้องขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวสร้างกำลังซื้อในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มลดลงและธนาคารพาณิชย์ผ่อนคลายความเข้มงวดในการพิจารณาการให้กู้สินเชื่อเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และสินเชื่อรายย่อย
สำหรับผู้ซื้อบ้าน ในปีนี้การขออนุญาตทำการก่อสร้างในเขตเทศบาลมีพื้นที่ทั้งหมด 192,531 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 11.1 เป็นพื้นที่
ก่อสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย 126,494 ตารางเมตร เพื่อการพาณิชย์ 39,398 ตารางเมตร เพื่อการบริการ 23,754 ตารางเมตร และเพื่อ
วัตถุประสงค์อื่น ๆ 2,885 ตารางเมตร
การจ้างงาน จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดสงขลาในปีนี้มีการประกาศตำแหน่งงานว่าง รวมทั้งสิ้น 6,660 อัตรา
ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 44.0 โดยมีผู้มาสมัครงานทั้งสิ้น 7,050 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 และมีผู้ได้รับการบรรจุงาน 1,550 คน ลดลงร้อยละ
44.8
การคลัง แม้ว่าภาครัฐจะใช้มาตรการเร่งจ่ายเงินงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ
ต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลา กลับชะลอลงโดยมีจำนวนเงินที่เบิกจ่ายทั้งสิ้น 16,043.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.6 ขณะที่ภาษีอากรซึ่งเป็นรายได้
ของภาครัฐสามารถจัดเก็บได้ 4,197.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.5 จำแนกได้เป็นการจัดเก็บภาษีสรรพากร 3,026.0 ล้านบาท ภาษีศุลกากร
981.1 ล้านบาท และภาษีสรรพสามิต 190.5 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ปีก่อนภาษีสรรพากรและภาษีสรรพสามิตลดลงร้อยละ 7.5 และ 31.3
ตามลำดับ แต่ภาษีศุลกากร เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 ตามมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ
การเงิน การรับจ่ายเงินสดของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ขยายตัวทั้งในด้านรับและด้านจ่าย สาเหตุสำคัญเนื่อง
มาจากการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจของจังหวัด ทำให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยกันมากและเกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบ ในปีนี้มี
การจ่ายเงินสดออกทั้งสิ้น 50,475.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.7 และเงินสดรับ 50,635.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2
ทั้งนี้ในช่วงวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2543 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ หยุดทำการเนื่องจากเกิดอุทกภัยในอำเภอหาดใหญ่
ทำให้ยอดเงินรับและจ่ายในเดือนนี้ลดลง
จากการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การระดม
เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลาขยายตัวไม่มากนัก เนื่องจากประชาชนมีการนำเงินออกใช้จ่ายกันมากขึ้น โดย ณ สิ้นเดือน
ธันวาคม 2543 ยอดเงินฝากคงค้างของธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลามีจำนวน 64,702.6 ล้านบาท เทียบกับ ณ สิ้นระยะเวลาเดียว
กันปีก่อนซึ่งมียอดคงค้าง 59,979.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
ด้านเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดสงขลาซึ่งมีทั้งสิ้น 79 สำนักงาน มียอดสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 46,201.4
ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน 6,491.0 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 12.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้มีการโอน
สินเชื่อด้อยคุณภาพไปบริหารโดยบริษัทบริหารสินทรัพย์เสี่ยง
ทั้งนี้ สามารถจำแนกสินเชื่อที่ปล่อยกู้ได้เป็นเงินให้กู้ 27,291.9 ล้านบาท เงินเบิกเกินบัญชี 11,873.2 ล้านบาท และสินเชื่อจาก
ตั๋วเงินและอื่น ๆ 7,036.2 ล้านบาท โดยสินเชื่อในจังหวัดสงขลาส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อค้าปลีก-ค้าส่ง มียอดคงค้าง 16,383.7 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 12.9 จาก ณ สิ้นเดือนธันวาคมปีก่อน รองลงมาเป็น สินเชื่อบริโภคส่วนบุคคล 8,285.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.6
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดสงขลาในปี 2544
เศรษฐกิจจังหวัดสงขลาในปี 2544 คาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้น แม้ว่าจะได้รับความ เสียหายเนื่องจากภาวะอุทกภัยในอำเภอหาดใหญ่
และอำเภอรอบนอก ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งในการฟื้นตัวให้กลับสู่สภาพเดิมทั้งในเรื่องของสภาพแวดล้อมและการดำเนินธุรกิจก็ตาม ทั้งนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการออกมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจที่ประสบอุทกภัย
ในภาคใต้ โดยมีระยะเวลาให้ความช่วยเหลือไม่เกิน 2 ปี คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR-2.75 และยังคงมีการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งจะส่ง
ผลให้มีการลงทุนและใช้จ่ายมากขึ้น นอกจากนี้ผลผลิตยางพารามีปริมาณและราคาใกล้เคียงกับปีก่อน ขณะเดียวกันทางด้านการประมงคาดว่าผลผลิต
จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นจูงใจให้เกษตกร ทำการเพาะเลี้ยงมากขึ้น และอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องโดยเฉพาะกุ้งแช่แข็งยังคงดีต่อเนื่อง
เพราะประเทศคู่แข่งที่สำคัญยังไม่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตามแนวโน้มตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมอาจจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
คู่ค้าที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งมีสัญญาณชะลอตัวลงตั้งแต่ปลายปี 2543 เป็นผลให้อุตสาหกรรมที่สำคัญของจังหวัดได้รับผลกระทบ อาทิ
อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมแปรรูปยาง อุตสาหกรรมไม้ยาง และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ จังหวัดสงขลา
เครื่องชี้ 2541 2542 2543 43/42
1. การเกษตร
1.1 ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 23.16 17.53 21.05 20.1
ผลปาล์มสดเมล็ดร่วง 5.08 3.27 2.52 -22.9
มะพร้าวผลแห้งคละ (ร้อยผล) 392.52 551.36 237.58 -56.9
1.2 ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ (เมตริกตัน) 257,927 244,507 209,851 -14.2
มูลค่า (ล้านบาท) 5,598.10 4,774.50 3,834.30 -19.7
ปลาเป็ด ปริมาณ (เมตริกตัน) 113040.5 111,464 110,413 -0.9
มูลค่า (ล้านบาท) 361.43 313.4 270.5 -13.7
กุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กก. (บาท/กก.) 455.71 363.53 n.a.
2. การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมือง (คน) 901,287 943,667 993,301 5.3
มาเลเซีย 662,566 607,214 643,066 5.9
สิงคโปร์ 93,239 136,936 130,855 -4.4
ชาติอื่น ๆ 145,482 199,517 219,380 10
3. เหมืองแร่
สินแร่ดีบุก (เมตริกตัน) 377.7 366 119.3 -67.4
4. การค้า
4.1 รถยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 1,007 1,269 1,790 41.1
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 2,056 2,322 2,855 23
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน) 15,349 11,909 16,077 35
4.2 การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 100183.2 94,823.50 126851.8 33.8
มูลค่าการนำเข้า 38,848.70 52,357.90 45,198.20 -13.7
5. การลงทุน
5.1 กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 31 26 38 46.2
เงินลงทุน (ล้านบาท) 5,153.70 3,875.00 5,447.60 40.6
การจ้างงาน (คน) 9,374 7,815 9,523 21.9
5.2 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 566 386 462 19.7
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 846.5 1,054.50 2,502.00 137.3
5.3 พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร) 164,613 173,222 192,531 11.1
ที่อยู่อาศัย 98,646 80,881 126,494 56.4
การพาณิชย์ 37,688 29,311 39,398 34.4
การบริการ 17,353 57,191 23,754 -58.5
อื่น ๆ 10,926 5,839 2,885 -50.6
6. ค่าจ้างและการจัดหางาน
6.1 ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน) 130 130 130 0
6.2 การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 17,119 11,894 6,660 -44
ผู้สมัครงาน (คน) 8,773 5,894 7,050 19.6
การบรรจุงาน (คน) 4,004 2,809 1,550 -44.8
7. การคลัง (ล้านบาท)
7.1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 15,435.00 16,989.20 16,043.40 -5.6
7.2 การจัดเก็บภาษีอากร 5,445.00 4,394.40 4,197.60 -4.5
สรรพากร 4,343.90 3,269.80 3,026.00 -7.5
สรรพสามิต 317.2 277.2 190.5 -31.3
ศุลกากร 783.9 847.4 981.1 15.8
8. การเงิน
8.1 การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท.
(ล้านบาท)
เงินสดรับ 43,730.50 42,495.70 50,635.90 19.2
เงินสดจ่าย 43,938.80 44,794.00 50,475.20 12.7
8.2 การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 1,326,196 1,295,222 1,325,259 2.3
มูลค่า (ล้านบาท) 151381.2 141986.6 153293.8 8
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 1.7 1.2 0.8
8.3 ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 80 80 79 -1.3
เงินฝาก (ล้านบาท) 59,038.50 59,979.30 64,702.60 7.9
กระแสรายวัน 1,107.10 1,288.60 1,676.20 30.1
ออมทรัพย์ 11,848.30 15,410.60 19,372.20 25.7
ประจำ 46,074.60 43,279.00 43,653.30 0.9
อื่น ๆ 8.5 1.1 0.9 -18.2
สินเชื่อ (ล้านบาท) 55,131.80 52,692.40 46,201.40 -12.3
เงินเบิกเกินบัญชี 18,666.10 15,869.10 11,873.20 -25.2
เงินให้กู้ 26,335.00 27,048.00 27,291.90 0.9
ตั๋วเงินและอื่น ๆ 10,130.70 9,775.30 7,036.30 -28
สินเชื่อแยกตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
การเกษตร 3,918.20 3,717.50 3,546.20 -4.6
เหมืองแร่ 197.9 164.5 143.3 -12.9
การอุตสาหกรรม 8,092.90 6,011.50 5,925.40 -1.4
การรับเหมาก่อสร้าง 2,179.40 2,001.20 1,828.70 -8.6
การค้าส่งออก 2,105.40 2,372.50 3,061.70 29
การค้าปลีกค้าส่ง 20,136.10 18,818.80 16,383.70 -12.9
ธุรกิจการเงิน 288 260.6 240.2 -7.8
ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 2,347.20 2,224.40 1,616.50 -27.3
สาธารณูปโภค 732.2 611.6 560.4 -8.4
การบริการ 4,749.70 7,446.20 6,752.60 -9.3
การบริโภคส่วนบุคคล 10,384.80 9,063.60 8,285.60 -8.6
สินเชื่อ/เงินฝาก (ร้อยละ) 93.4 87.9 71.4
8.5 ธนาคารออมสิน
จำนวน (สำนักงาน) 16 16 16 0
เงินฝาก (ล้านบาท) 3,985.90 5,373.90 6,196.20 15.3
8.6 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า (ล้านบาท)
สินเชื่อเพื่อการส่งออก 18,686.00 16,383.70 20,601.60 25.7
สินเชื่ออื่น ๆ 5,017.70 3,499.70 5,379.40 53.7
8.7 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สินเชื่อ (ล้านบาท) 2,254.00 2,269.60 2,342.90 3.2
8.8 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จำนวน (ราย) 13 20 33 65
สินเชื่อ (ล้านบาท) 151 411.7 499.7 21.4
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ที่สำคัญ อาทิ ยางพาราและกุ้งกุลาดำขยายตัว ขณะเดียวกันราคาจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากปีก่อนตามภาวะในตลาดโลกทำให้การผลิตและการค้าสินค้า
เกษตรคึกคักขึ้น เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ ต้นทุนการผลิตสินค้าและการประกอบการของธุรกิจ
ปรับสูงขึ้น แม้ว่าทางการจะดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเป็นการ กระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ยังไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
นอกจากนี้การเกิดอุทกภัยในอำเภอหาดใหญ่และอำเภอรอบนอกสร้าง ความเสียหายแก่ทุกภาคการผลิตและต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งในการฟื้นตัว
ภาคการเกษตร
สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในจังหวัดสงขลาในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนซึ่ง ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอเป็นเหตุให้ภาคเกษตรได้รับ
ความเสียหายทั้งใน ด้านพืชผล ปศุสัตว์ และประมง ทำให้การผลิตในภาคเกษตรปีนี้ขยายตัวไม่มากเท่าที่ควร และจะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งในการ
ฟื้นตัว โดยจากรายงานของสำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีพื้นที่การเกษตรในจังหวัดสงขลาเสียหายเนื่องจาก
อุทกภัยถึง 199,444 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว พืชผัก และยางพารา ส่วนในภาคการประมงมีพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับความเสียหายถึง
7,873 ไร่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายมากกว่า 350 ล้านบาท
ยางพารา ปริมาณการผลิตยางพารามีแนวโน้มดีกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงทำให้ปริมาณน้ำยางมากขึ้น
อย่างไรก็ตามสภาพฝน ที่ตกต่อเนื่องตลอดปีเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง และจากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นทำให้ต้นยางได้รับความเสียหาย
จึงไม่สามารถกรีดยางได้เต็มที่ โดยเฉพาะ ในช่วงปลายปีซึ่งตามปกติจะเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ส่วนสถานการณ์ด้านราคาจำหน่าย
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ในจังหวัดสงขลาปีนี้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 21.05 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20.1
ประมง ผลผลิตสัตว์น้ำจากการทำประมงในจังหวัดสงขลาชะลอลง เนื่องจากข้อจำกัดด้านความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำที่ลดลง
และต้นทุนการทำประมงยัง ปรับตัวสูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน นอกจากนี้การทำประมงนอกน่านน้ำยังคงมีอุปสรรคจากสถานการณ์
ความไม่สงบในประเทศอินโดนีเซียต่อเนื่องจากปีก่อน โดย ทางการอินโดนีเซียเข้มงวดการเข้าไปจับสัตว์น้ำของเรือประมงไทยมากขึ้น ทั้งนี้
จากรายงานของท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลาในจังหวัดสงขลา มีปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้และนำขึ้น 209,851 เมตริกตัน ลดลง
ร้อยละ 14.2 จากปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 3,834.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.7 โดยสัตว์น้ำที่จับได้เป็นปลาเป็ด 110,413 เมตริกตัน คิด
เป็นมูลค่า 270.5 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.9 และ 13.7 ตามลำดับ
การเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำในจังหวัดสงขลาในปีนี้ขยายตัว เนื่องจากราคากุ้งกุลาดำอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะในช่วงเดือนกรกฎาคม
-กันยายน จูงใจให้เกษตรกรทำการเพาะเลี้ยงกันมาก แม้ว่าจะยังคงมีโรคระบาดของกุ้งอยู่บ้าง อย่างไรก็ตามผลผลิตที่ออกสู่ตลาดส่วนใหญ่
เป็นกุ้งขนาดกลางถึงขนาดเล็ก เนื่องจากเกษตรกรจับผลผลิตจำหน่ายเร็วขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดโรค ทั้งนี้ จากรายงานของห้องเย็น
ในจังหวัดสงขลา กุ้งกุลาดำขนาด 40 ตัวต่อกิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 285-375 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งราคาอยู่ในช่วงกิโลกรัมละ
230-290 บาท
นอกภาคการเกษตร
การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา ส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะการ ท่องเที่ยวแหล่งบันเทิง และการจับจ่ายใช้สอย
สินค้าชนิดต่าง ๆ โดยมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมาก ในปีนี้มีชาวต่างประเทศเดินทางผ่านตรวจ
คนเข้าเมืองในจังหวัดสงขลา 993,301 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.3 ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย 643,066 คน เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 5.9 ส่วนใหญ่จะเดินทางเข้าท่องเที่ยวในช่วงสุดสัปดาห์ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์ 130,855 คน ลดลงร้อยละ 4.4 ที่เหลือ
219,380 คนเป็นนัก ท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ทั้งนี้ ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงปลายเดือนธันวาคมเป็นช่วงที่จังหวัด
สงขลาได้รับความเสียหายเนื่องจากอุทกภัย ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยว ลดลง อย่างไรก็ตามจากการที่ภาครัฐและเอกชนในอำเภอหาดใหญ่ร่วมมือ
กันจัดงาน “เบิกฟ้าใสเมืองหาดใหญ่” ขึ้นในระหว่างวันที่ 23 ธันวาคม 2543 — 2 มกราคม 2544 เพื่อแสดงความพร้อมของหาดใหญ่ในการ
ต้อนรับนักท่องเที่ยวซึ่งทำให้ภาพรวมการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่กระเตื้องขึ้น
การค้า จากภาวะเศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้น ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยทำให้การค้ายานพาหนะในจังหวัดสงขลาปรับตัวดีขึ้น
จำนวนรถที่มีการจดทะเบียนใหม่ในปีนี้เพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คนมีการจดทะเบียน 1,790 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ร้อยละ 41.1 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 2,855 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 และรถจักรยานยนต์ 16,077 คัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.0
อย่างไรก็ตามในช่วงที่เกิดอุทกภัยทำให้ธุรกิจและร้านค้าในอำเภอ หาดใหญ่และอำเภออื่น ๆ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก จึงต้องใช้ระยะ
เวลาหนึ่งในการปรับปรุงกิจการและการฟื้นตัวของธุรกิจ
ด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกสินค้าผ่านด่านศุลกากรในจังหวัดสงขลาปีนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 126,851.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
33.8 จากปีก่อนที่มีการส่งออกเป็นมูลค่า 94,823.5 ล้านบาท เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น โดยสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นได้แก่
สัตว์น้ำแปรรูป ยางพารา น้ำมันดิบ และอาหารกระป๋อง เป็นต้น ส่วนการนำเข้ามีมูลค่าลดลง โดยมีมูลค่า 45,198.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
13.7 สินค้าที่มีการนำเข้าลดลงได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ สัตว์น้ำ และน้ำมันเชื้อเพลิง
การลงทุน ปีนี้มีกิจการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดสงขลาทั้งสิ้น 38 ราย เงินลงทุนรวม 5,447.6 ล้านบาท
มีการจ้างงาน 9,523 คน เปรียบเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.2 40.6 และ 21.9 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นกิจการแปรรูปผลผลิตทาง
การเกษตร อาทิ สัตว์น้ำ และยางพารา
ด้านการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลของธุรกิจรายใหม่ในจังหวัดสงขลามีจำนวนทั้งสิ้น 462 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 2,502.0 ล้านบาท
เทียบกับปีก่อนที่มีจำนวน 386 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 1,054.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 และ 137.3 ตามลำดับ
การลงทุนในภาคการก่อสร้างกระเตื้องขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวสร้างกำลังซื้อในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มลดลงและธนาคารพาณิชย์ผ่อนคลายความเข้มงวดในการพิจารณาการให้กู้สินเชื่อเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และสินเชื่อรายย่อย
สำหรับผู้ซื้อบ้าน ในปีนี้การขออนุญาตทำการก่อสร้างในเขตเทศบาลมีพื้นที่ทั้งหมด 192,531 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 11.1 เป็นพื้นที่
ก่อสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย 126,494 ตารางเมตร เพื่อการพาณิชย์ 39,398 ตารางเมตร เพื่อการบริการ 23,754 ตารางเมตร และเพื่อ
วัตถุประสงค์อื่น ๆ 2,885 ตารางเมตร
การจ้างงาน จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดสงขลาในปีนี้มีการประกาศตำแหน่งงานว่าง รวมทั้งสิ้น 6,660 อัตรา
ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 44.0 โดยมีผู้มาสมัครงานทั้งสิ้น 7,050 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 และมีผู้ได้รับการบรรจุงาน 1,550 คน ลดลงร้อยละ
44.8
การคลัง แม้ว่าภาครัฐจะใช้มาตรการเร่งจ่ายเงินงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ
ต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลา กลับชะลอลงโดยมีจำนวนเงินที่เบิกจ่ายทั้งสิ้น 16,043.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.6 ขณะที่ภาษีอากรซึ่งเป็นรายได้
ของภาครัฐสามารถจัดเก็บได้ 4,197.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.5 จำแนกได้เป็นการจัดเก็บภาษีสรรพากร 3,026.0 ล้านบาท ภาษีศุลกากร
981.1 ล้านบาท และภาษีสรรพสามิต 190.5 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ปีก่อนภาษีสรรพากรและภาษีสรรพสามิตลดลงร้อยละ 7.5 และ 31.3
ตามลำดับ แต่ภาษีศุลกากร เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 ตามมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ
การเงิน การรับจ่ายเงินสดของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ขยายตัวทั้งในด้านรับและด้านจ่าย สาเหตุสำคัญเนื่อง
มาจากการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจของจังหวัด ทำให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยกันมากและเกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบ ในปีนี้มี
การจ่ายเงินสดออกทั้งสิ้น 50,475.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.7 และเงินสดรับ 50,635.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2
ทั้งนี้ในช่วงวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2543 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ หยุดทำการเนื่องจากเกิดอุทกภัยในอำเภอหาดใหญ่
ทำให้ยอดเงินรับและจ่ายในเดือนนี้ลดลง
จากการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การระดม
เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลาขยายตัวไม่มากนัก เนื่องจากประชาชนมีการนำเงินออกใช้จ่ายกันมากขึ้น โดย ณ สิ้นเดือน
ธันวาคม 2543 ยอดเงินฝากคงค้างของธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลามีจำนวน 64,702.6 ล้านบาท เทียบกับ ณ สิ้นระยะเวลาเดียว
กันปีก่อนซึ่งมียอดคงค้าง 59,979.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
ด้านเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดสงขลาซึ่งมีทั้งสิ้น 79 สำนักงาน มียอดสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 46,201.4
ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน 6,491.0 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 12.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้มีการโอน
สินเชื่อด้อยคุณภาพไปบริหารโดยบริษัทบริหารสินทรัพย์เสี่ยง
ทั้งนี้ สามารถจำแนกสินเชื่อที่ปล่อยกู้ได้เป็นเงินให้กู้ 27,291.9 ล้านบาท เงินเบิกเกินบัญชี 11,873.2 ล้านบาท และสินเชื่อจาก
ตั๋วเงินและอื่น ๆ 7,036.2 ล้านบาท โดยสินเชื่อในจังหวัดสงขลาส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อค้าปลีก-ค้าส่ง มียอดคงค้าง 16,383.7 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 12.9 จาก ณ สิ้นเดือนธันวาคมปีก่อน รองลงมาเป็น สินเชื่อบริโภคส่วนบุคคล 8,285.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.6
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดสงขลาในปี 2544
เศรษฐกิจจังหวัดสงขลาในปี 2544 คาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้น แม้ว่าจะได้รับความ เสียหายเนื่องจากภาวะอุทกภัยในอำเภอหาดใหญ่
และอำเภอรอบนอก ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งในการฟื้นตัวให้กลับสู่สภาพเดิมทั้งในเรื่องของสภาพแวดล้อมและการดำเนินธุรกิจก็ตาม ทั้งนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการออกมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจที่ประสบอุทกภัย
ในภาคใต้ โดยมีระยะเวลาให้ความช่วยเหลือไม่เกิน 2 ปี คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR-2.75 และยังคงมีการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งจะส่ง
ผลให้มีการลงทุนและใช้จ่ายมากขึ้น นอกจากนี้ผลผลิตยางพารามีปริมาณและราคาใกล้เคียงกับปีก่อน ขณะเดียวกันทางด้านการประมงคาดว่าผลผลิต
จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นจูงใจให้เกษตกร ทำการเพาะเลี้ยงมากขึ้น และอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องโดยเฉพาะกุ้งแช่แข็งยังคงดีต่อเนื่อง
เพราะประเทศคู่แข่งที่สำคัญยังไม่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตามแนวโน้มตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมอาจจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
คู่ค้าที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งมีสัญญาณชะลอตัวลงตั้งแต่ปลายปี 2543 เป็นผลให้อุตสาหกรรมที่สำคัญของจังหวัดได้รับผลกระทบ อาทิ
อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมแปรรูปยาง อุตสาหกรรมไม้ยาง และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ จังหวัดสงขลา
เครื่องชี้ 2541 2542 2543 43/42
1. การเกษตร
1.1 ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 23.16 17.53 21.05 20.1
ผลปาล์มสดเมล็ดร่วง 5.08 3.27 2.52 -22.9
มะพร้าวผลแห้งคละ (ร้อยผล) 392.52 551.36 237.58 -56.9
1.2 ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ (เมตริกตัน) 257,927 244,507 209,851 -14.2
มูลค่า (ล้านบาท) 5,598.10 4,774.50 3,834.30 -19.7
ปลาเป็ด ปริมาณ (เมตริกตัน) 113040.5 111,464 110,413 -0.9
มูลค่า (ล้านบาท) 361.43 313.4 270.5 -13.7
กุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กก. (บาท/กก.) 455.71 363.53 n.a.
2. การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมือง (คน) 901,287 943,667 993,301 5.3
มาเลเซีย 662,566 607,214 643,066 5.9
สิงคโปร์ 93,239 136,936 130,855 -4.4
ชาติอื่น ๆ 145,482 199,517 219,380 10
3. เหมืองแร่
สินแร่ดีบุก (เมตริกตัน) 377.7 366 119.3 -67.4
4. การค้า
4.1 รถยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 1,007 1,269 1,790 41.1
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 2,056 2,322 2,855 23
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน) 15,349 11,909 16,077 35
4.2 การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 100183.2 94,823.50 126851.8 33.8
มูลค่าการนำเข้า 38,848.70 52,357.90 45,198.20 -13.7
5. การลงทุน
5.1 กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 31 26 38 46.2
เงินลงทุน (ล้านบาท) 5,153.70 3,875.00 5,447.60 40.6
การจ้างงาน (คน) 9,374 7,815 9,523 21.9
5.2 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 566 386 462 19.7
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 846.5 1,054.50 2,502.00 137.3
5.3 พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร) 164,613 173,222 192,531 11.1
ที่อยู่อาศัย 98,646 80,881 126,494 56.4
การพาณิชย์ 37,688 29,311 39,398 34.4
การบริการ 17,353 57,191 23,754 -58.5
อื่น ๆ 10,926 5,839 2,885 -50.6
6. ค่าจ้างและการจัดหางาน
6.1 ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน) 130 130 130 0
6.2 การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 17,119 11,894 6,660 -44
ผู้สมัครงาน (คน) 8,773 5,894 7,050 19.6
การบรรจุงาน (คน) 4,004 2,809 1,550 -44.8
7. การคลัง (ล้านบาท)
7.1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 15,435.00 16,989.20 16,043.40 -5.6
7.2 การจัดเก็บภาษีอากร 5,445.00 4,394.40 4,197.60 -4.5
สรรพากร 4,343.90 3,269.80 3,026.00 -7.5
สรรพสามิต 317.2 277.2 190.5 -31.3
ศุลกากร 783.9 847.4 981.1 15.8
8. การเงิน
8.1 การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท.
(ล้านบาท)
เงินสดรับ 43,730.50 42,495.70 50,635.90 19.2
เงินสดจ่าย 43,938.80 44,794.00 50,475.20 12.7
8.2 การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 1,326,196 1,295,222 1,325,259 2.3
มูลค่า (ล้านบาท) 151381.2 141986.6 153293.8 8
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 1.7 1.2 0.8
8.3 ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 80 80 79 -1.3
เงินฝาก (ล้านบาท) 59,038.50 59,979.30 64,702.60 7.9
กระแสรายวัน 1,107.10 1,288.60 1,676.20 30.1
ออมทรัพย์ 11,848.30 15,410.60 19,372.20 25.7
ประจำ 46,074.60 43,279.00 43,653.30 0.9
อื่น ๆ 8.5 1.1 0.9 -18.2
สินเชื่อ (ล้านบาท) 55,131.80 52,692.40 46,201.40 -12.3
เงินเบิกเกินบัญชี 18,666.10 15,869.10 11,873.20 -25.2
เงินให้กู้ 26,335.00 27,048.00 27,291.90 0.9
ตั๋วเงินและอื่น ๆ 10,130.70 9,775.30 7,036.30 -28
สินเชื่อแยกตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
การเกษตร 3,918.20 3,717.50 3,546.20 -4.6
เหมืองแร่ 197.9 164.5 143.3 -12.9
การอุตสาหกรรม 8,092.90 6,011.50 5,925.40 -1.4
การรับเหมาก่อสร้าง 2,179.40 2,001.20 1,828.70 -8.6
การค้าส่งออก 2,105.40 2,372.50 3,061.70 29
การค้าปลีกค้าส่ง 20,136.10 18,818.80 16,383.70 -12.9
ธุรกิจการเงิน 288 260.6 240.2 -7.8
ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 2,347.20 2,224.40 1,616.50 -27.3
สาธารณูปโภค 732.2 611.6 560.4 -8.4
การบริการ 4,749.70 7,446.20 6,752.60 -9.3
การบริโภคส่วนบุคคล 10,384.80 9,063.60 8,285.60 -8.6
สินเชื่อ/เงินฝาก (ร้อยละ) 93.4 87.9 71.4
8.5 ธนาคารออมสิน
จำนวน (สำนักงาน) 16 16 16 0
เงินฝาก (ล้านบาท) 3,985.90 5,373.90 6,196.20 15.3
8.6 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า (ล้านบาท)
สินเชื่อเพื่อการส่งออก 18,686.00 16,383.70 20,601.60 25.7
สินเชื่ออื่น ๆ 5,017.70 3,499.70 5,379.40 53.7
8.7 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สินเชื่อ (ล้านบาท) 2,254.00 2,269.60 2,342.90 3.2
8.8 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จำนวน (ราย) 13 20 33 65
สินเชื่อ (ล้านบาท) 151 411.7 499.7 21.4
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-