อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศทั้งในแง่ของการจ้างงานและการส่งออก โดยในปี 2543
ประเทศไทยสามารถส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางอยู่ในอันดับที่ 2 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรของไทยมีมูลค่าการส่งออก
ทั้งสิ้น 2585.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
1. การผลิต
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมรวบรวมโดยธนาคารแห่งประเทศไทยแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวที่เพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตยางรถยนต์ในไตรมาส
ที่ 3 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยผลผลิตรายไตรมาสเพิ่มขึ้นจาก 110.13 ในไตรมาสที่แล้วเป็น 123.66
ตารางที่ 1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (2538 = 100 )
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 2544
Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep
ยางรถยนต์ 107.6 115.8 118.8 96 114.1 120.3 121.1 125.6 124.3
ค่าเฉลี่ยรายไตรมาส 114.07 110.13 123.66
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากนักลงทุนต่างชาติได้เข้ามาลงทุนในธุรกิจยางล้อเลื่อนตั้งแต่ปี 2543 เพื่อขยายฐานการผลิตในไทยตามนโยบายของ
กลุ่มผู้ผลิตยางล้อเลื่อนรายใหญ่ของโลกที่ให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และเป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีศักยภาพ
สำหรับแนวโน้มด้านการผลิตคาดว่าจะมีการผลิตเพิ่มขึ้นในส่วนของผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางยานพาหนะและถุงมือยาง เพื่อให้สอดคล้องกับ
อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลักซึ่งได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เนื่องจากการก่อวินาศกรรมและการระบาดของเชื้อแอนเแทรกซ์ในสหรัฐอเมริกา
จะเป็นตัวกระตุ้นความต้องการในด้านการรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีส่วนทำให้ภาคการผลิตโดยรวมไม่ชะลอตัวถึงแม้ว่าต้นทุนการผลิตจะ
เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเนื้อที่ยางที่กรีดได้และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด เหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้ทิศทางการผลิตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
ในอนาคต
2. การจำหน่ายในประเทศ
สถานการณ์ตลาดยางของไทยเริ่มดีขึ้น เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการ
ผลิตยางยานพาหนะ และถุงมือยาง ประกอบกับสต๊อกยางในประเทศเหลือน้อย ส่งผลให้ผู้ส่งออกเร่งซื้อยางเก็บเข้าสต๊อกซึ่งคาดว่าราคายาง
ในประเทศจะมีแนวโน้มสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย
3. การส่งออกและนำเข้า
3.1 ตลาดส่งออก ประเภทสินค้าที่ผลิตและส่งออกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) ยางแปรรูปขั้นต้น ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ น้ำยางข้น โดยมีมูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544
จำนวน 363.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 23.03 และลดลงร้อยละ 6.0 เมื่อเปรียบเทียบในช่วงไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2543 ตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน
2) ผลิตภัณฑ์ยาง ประกอบด้วย ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและส่งกำลัง โดยมีมูลค่าการ
ส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 จำนวน 285.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 6.53 และลดลงร้อยละ 2.09
เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงไตรมาสเดียวกันของปี 2543 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเยอรมัน ทั้งนี้การก่อวินาศกรรม
ที่สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน อาจส่งผลต่อปริมาณความต้องการยางยานพาหนะและถุงมือยางเพิ่มขึ้นได้ในอนาคตเนื่องจากผู้บริโภคจะหันมา
ใช้พาหนะทางบกในการเดินทางและใช้ถุงมือยางในการป้องกันเชื้อแอนแทรกซ์เพื่อความปลอดภัยมากขึ้น
3.2 ตลาดนำเข้า ประเภทผลิตภัณฑ์ยางที่นำเข้า ได้แก่ ท่อหรือข้อต่อ และสายพานลำเลียงและ ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ โดยในช่วง
ไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีมูลค่าการนำเข้าจำนวน 75.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 9.94 และหากเปรียบเทียบ
ในช่วงไตรมาสเดียวกันของปี 2543 ลดลงร้อยละ 10.78 ทั้งนี้ประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าสูงสุด ได้แก่ ท่อหรือข้อต่อ
และสายพานลำเลียง
การนำเข้ายาง ยางสังเคราะห์ รวมทั้งเศษยางในไตรมาสที่สามนี้ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วเป็น 41.3 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก 34.8
ล้านเหรียญสหรัฐ แหล่งนำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นประเทศญี่ปุ่น
4. นโยบายและมาตรการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีนโยบายโดยรวมดังนี้
1. เน้นพัฒนาคุณภาพการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ
2. ให้บริการเกษตรกรและประชาชนทั่วไปในลักษณะ One Stop Service
3. ขยายสัดส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 20 ซึ่งปัจจุบันไทยเน้นการส่งออกในรูปของน้ำยางข้น และเน้น
การผลิตในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า
ตารางที่ 2. มูลค่าการส่งออกของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้า 2541 2542 2543 Q2/43 Q3/43 Q2/44 Q3/44
ยางพารา 1319 1159 1525 397.9 387 295.7 363.8
ยางแผ่น 760.1 658.8 751.2 194 176.1 112.8 175.6
ยางแท่ง 343.7 325.5 542.3 160 280.3 127.9 107.6
ยางเครพ 1.9 1 2.3 0.5 3.6 0.6 4.1
น้ำยางข้น 215.1 175.1 233 44.2 72.1 54.6 75.4
ผลิตภัณฑ์ยาง 866.4 875 1061 239 291.4 267.8 285.3
ยางยานพาหนะ 324.7 317.2 350.2 78.5 97.3 95 97.5
ถุงมือยาง 312 289.4 363.7 79.1 101.4 82.4 95.2
ยางรัดของ 33.8 30.9 31.3 8.1 7.6 8.4 7.4
หลอดและท่อ 23.9 29.3 35.6 9.2 10.2 8.4 10.5
สายพานลำเลียงและส่งกำลัง 15 11.1 15.3 2.9 4.7 3.6 3.9
อื่นๆ 157 197.1 264.4 61.1 70.2 69.9 70.9
ที่มา: สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 3. มูลค่าการนำเข้าของสินค้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้า 2541 2542 2543 Q2/43 Q3/43 Q2/44 Q3/44
ผลิตภัณฑ์ยาง 201 243.7 316 74 84.29 68.4 75.2
ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง 26.4 36.8 49.9 11.2 8.68 12.7 15.9
ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์เช่น ประเก็น ฝารอง และซีล 137.1 166.1 216.2 50.8 62.43 44.7 47.2
ยาง ยางสังเคราะห์ รวมทั้งเศษยาง 99.6 125.9 144.1 38.4 34.2 34.8 41.3
ที่มา: สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
ประเทศไทยสามารถส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางอยู่ในอันดับที่ 2 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรของไทยมีมูลค่าการส่งออก
ทั้งสิ้น 2585.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
1. การผลิต
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมรวบรวมโดยธนาคารแห่งประเทศไทยแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวที่เพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตยางรถยนต์ในไตรมาส
ที่ 3 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยผลผลิตรายไตรมาสเพิ่มขึ้นจาก 110.13 ในไตรมาสที่แล้วเป็น 123.66
ตารางที่ 1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (2538 = 100 )
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 2544
Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep
ยางรถยนต์ 107.6 115.8 118.8 96 114.1 120.3 121.1 125.6 124.3
ค่าเฉลี่ยรายไตรมาส 114.07 110.13 123.66
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากนักลงทุนต่างชาติได้เข้ามาลงทุนในธุรกิจยางล้อเลื่อนตั้งแต่ปี 2543 เพื่อขยายฐานการผลิตในไทยตามนโยบายของ
กลุ่มผู้ผลิตยางล้อเลื่อนรายใหญ่ของโลกที่ให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และเป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีศักยภาพ
สำหรับแนวโน้มด้านการผลิตคาดว่าจะมีการผลิตเพิ่มขึ้นในส่วนของผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางยานพาหนะและถุงมือยาง เพื่อให้สอดคล้องกับ
อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลักซึ่งได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เนื่องจากการก่อวินาศกรรมและการระบาดของเชื้อแอนเแทรกซ์ในสหรัฐอเมริกา
จะเป็นตัวกระตุ้นความต้องการในด้านการรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีส่วนทำให้ภาคการผลิตโดยรวมไม่ชะลอตัวถึงแม้ว่าต้นทุนการผลิตจะ
เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเนื้อที่ยางที่กรีดได้และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด เหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้ทิศทางการผลิตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
ในอนาคต
2. การจำหน่ายในประเทศ
สถานการณ์ตลาดยางของไทยเริ่มดีขึ้น เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการ
ผลิตยางยานพาหนะ และถุงมือยาง ประกอบกับสต๊อกยางในประเทศเหลือน้อย ส่งผลให้ผู้ส่งออกเร่งซื้อยางเก็บเข้าสต๊อกซึ่งคาดว่าราคายาง
ในประเทศจะมีแนวโน้มสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย
3. การส่งออกและนำเข้า
3.1 ตลาดส่งออก ประเภทสินค้าที่ผลิตและส่งออกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) ยางแปรรูปขั้นต้น ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ น้ำยางข้น โดยมีมูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544
จำนวน 363.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 23.03 และลดลงร้อยละ 6.0 เมื่อเปรียบเทียบในช่วงไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2543 ตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน
2) ผลิตภัณฑ์ยาง ประกอบด้วย ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและส่งกำลัง โดยมีมูลค่าการ
ส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 จำนวน 285.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 6.53 และลดลงร้อยละ 2.09
เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงไตรมาสเดียวกันของปี 2543 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเยอรมัน ทั้งนี้การก่อวินาศกรรม
ที่สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน อาจส่งผลต่อปริมาณความต้องการยางยานพาหนะและถุงมือยางเพิ่มขึ้นได้ในอนาคตเนื่องจากผู้บริโภคจะหันมา
ใช้พาหนะทางบกในการเดินทางและใช้ถุงมือยางในการป้องกันเชื้อแอนแทรกซ์เพื่อความปลอดภัยมากขึ้น
3.2 ตลาดนำเข้า ประเภทผลิตภัณฑ์ยางที่นำเข้า ได้แก่ ท่อหรือข้อต่อ และสายพานลำเลียงและ ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ โดยในช่วง
ไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีมูลค่าการนำเข้าจำนวน 75.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 9.94 และหากเปรียบเทียบ
ในช่วงไตรมาสเดียวกันของปี 2543 ลดลงร้อยละ 10.78 ทั้งนี้ประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าสูงสุด ได้แก่ ท่อหรือข้อต่อ
และสายพานลำเลียง
การนำเข้ายาง ยางสังเคราะห์ รวมทั้งเศษยางในไตรมาสที่สามนี้ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วเป็น 41.3 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก 34.8
ล้านเหรียญสหรัฐ แหล่งนำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นประเทศญี่ปุ่น
4. นโยบายและมาตรการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีนโยบายโดยรวมดังนี้
1. เน้นพัฒนาคุณภาพการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ
2. ให้บริการเกษตรกรและประชาชนทั่วไปในลักษณะ One Stop Service
3. ขยายสัดส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 20 ซึ่งปัจจุบันไทยเน้นการส่งออกในรูปของน้ำยางข้น และเน้น
การผลิตในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า
ตารางที่ 2. มูลค่าการส่งออกของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้า 2541 2542 2543 Q2/43 Q3/43 Q2/44 Q3/44
ยางพารา 1319 1159 1525 397.9 387 295.7 363.8
ยางแผ่น 760.1 658.8 751.2 194 176.1 112.8 175.6
ยางแท่ง 343.7 325.5 542.3 160 280.3 127.9 107.6
ยางเครพ 1.9 1 2.3 0.5 3.6 0.6 4.1
น้ำยางข้น 215.1 175.1 233 44.2 72.1 54.6 75.4
ผลิตภัณฑ์ยาง 866.4 875 1061 239 291.4 267.8 285.3
ยางยานพาหนะ 324.7 317.2 350.2 78.5 97.3 95 97.5
ถุงมือยาง 312 289.4 363.7 79.1 101.4 82.4 95.2
ยางรัดของ 33.8 30.9 31.3 8.1 7.6 8.4 7.4
หลอดและท่อ 23.9 29.3 35.6 9.2 10.2 8.4 10.5
สายพานลำเลียงและส่งกำลัง 15 11.1 15.3 2.9 4.7 3.6 3.9
อื่นๆ 157 197.1 264.4 61.1 70.2 69.9 70.9
ที่มา: สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 3. มูลค่าการนำเข้าของสินค้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้า 2541 2542 2543 Q2/43 Q3/43 Q2/44 Q3/44
ผลิตภัณฑ์ยาง 201 243.7 316 74 84.29 68.4 75.2
ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง 26.4 36.8 49.9 11.2 8.68 12.7 15.9
ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์เช่น ประเก็น ฝารอง และซีล 137.1 166.1 216.2 50.8 62.43 44.7 47.2
ยาง ยางสังเคราะห์ รวมทั้งเศษยาง 99.6 125.9 144.1 38.4 34.2 34.8 41.3
ที่มา: สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--