1. บัลแกเรียองค์การระหว่างประเทศ
1.1 องค์การการค้าโลก (WTO) บัลแกเรียได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2539
1.2 สหภาพยุโรป (European Union) เมื่อเดือนมีนาคม 2536 บัลแกเรียได้ลงนามในความตกลง (Association Agreement
กับสหภาพยุโรป และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 โดยภายใต้ความตกลงฉบับนี้ ภาษีศุลกากรและข้อจำกัดด้านภาษีอื่น ๆ ระหว่างบัลแกเรีย
กับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม จะค่อย ๆ ลดลงและเลิกเก็บโดยสิ้นเชิงภายในปี 2545 เป็นอย่างช้า ทั้งนี้ตั้งแต่ปี
2541 เป็นต้นมา สินค้าอุตสาหกรรมที่มีแหล่งกำเนิดจากบัลแกเรียสามารถส่งเข้าไปจำหน่ายในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปโดยไม่มีการเรียกเก็บภาษี
ส่วนสินค้าเกษตรก็ได้รับการลดหย่อนภาษีเป็นจำนวนมากเช่นกัน
1.3 ความตกลงการค้าเสรียุโรปกลาง (Central European Free Trade Agreement - CEFTA) บัลแกเรียเข้าเป็นภาคีความ
ตกลงการค้าเสรียุโรปกลางเมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ตามความตกลงดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 บัลแกเรียได้เริ่มกระบวนการปล่อยเสรี
ทางการค้าสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมกับประเทศสมาชิกความตกลงฯ (โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก สโลวัก ฮังการี โรมาเนีย
และสโลวีเนีย) ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะเสร็จสมบูรณ์ภายในวันที่ 1 มกราคม 2545
1.4 ความตกลงการค้าเสรีระหว่างบัลแกเรียกับตุรกี ความตกลงการค้าเสรีระหว่างบัลแกเรียกับตุรกีมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
2542 โดยมีการลดภาษีศุลกากรระหว่างกันไปเรื่อย ๆ ซึ่งกำหนดจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2545
2. การค้าต่างประเทศของบัลแกเรีย
บัลแกเรียมีประเทศคู่ค้าที่สำคัญ คือ ประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) อาทิเช่น เยอรมัน
อิตาลี กรีซ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวมกันเท่ากับ 3,966 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเท่ากับร้อยละ 58.20
ของมูลค่าการค้าทั้งหมด ตลาดสินค้าที่สำคัญรองลงมาได้แก่ ประเทศในยุโรปตะวันออก อาทิ รัสเซีย ยูเครน โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ค สโลวัก ฮังการี
โรมาเนีย และสโลวีเนีย ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวมกันเท่ากับร้อยละ 28.80 ของมูลค่าการค้าทั้งหมด ตามด้วยประเทศในภูมิภาคบอลข่าน อาทิเช่น
ตุรกี ยูโกสลาเวีย มาซิโดเนีย ซึ่งกลุ่มนี้มีมูลค่าการค้ารวมกันเท่ากับร้อยละ 16.40 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของบัลแกเรีย
สินค้านำเข้าและส่งออกที่สำคัญๆของบัลแกเรีย จำแนกเป็น
กลุ่มโภคภัณฑ์ ส่งออกคิดเป็นร้อยละ นำเข้าคิดเป็นร้อยละ
อาหารและเครื่องดื่ม 10.1 5.7
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 38.0 37.9
น้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น 6.0 21.7
สินค้าเพื่อการลงทุน 8.6 13.2
เครื่องมือขนส่ง 3.3 5.8
สินค้าผู้บริโภค 21.2 9.0
สินค้าอื่น ๆ 12.8 6.7
รวม 100.0 100.0
3. ลู่ทางการทำธุรกิจการค้าระหว่างไทยกับบัลแกเรีย
บัลแกเรียเป็นประเทศในยุโรปตะวันออกที่มีศักยภาพที่ดี ประชากรมีการศึกษาสูงแต่ค่าจ้างงานต่ำ และภายใต้การนำของประธานาธิบดี
Petar Stoyanov และนายกรัฐมนตรี Ivan Kostov บัลแกเรียได้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์เศรษฐกิจระยะต้นไปได้ด้วยดี แหล่งเงินทุนนานาชาติมีความ
เชื่อมั่นและพร้อมที่จะสนับสนุนเงินกู้เพื่อการปรับปรุงพัฒนาประเทศ ประกอบกับบัลแกเรียมีทำเลที่ตั้งที่ดีเป็นประตูการค้าไปสู่ประเทศในคาบสมุทรบอลข่าน
เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลดำ และมีเขตอาณาติดต่อกับประเทศมาซิโดเนียและยูโกสลาเวีย นอกจากนั้น การเป็นสมาชิกความตกลงเขตการค้า
เสรียุโรปกลาง (CEFTA) และเป็นสมาชิกสมทบของสหภาพยุโรป จึงคาดว่าภายในปี 2550 บัลแกเรียจะสามารถเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์ของสหภาพยุโรป
โดยที่ในขณะนี้บัลแกเรียยังมิได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การลงทุนร่วมกับต่างประเทศในระดับสากล อีกทั้งจำนวนเงินทุนยังมิได้ถูกกำหนดไว้
ในอัตราสูงมาก ดังนั้นย่อมเป็นโอกาสอันดีให้นักธุรกิจไทยพิจารณาไปร่วมลงทุนในกิจการต่าง ๆ ของบัลแกเรีย โดยเฉพาะกิจการของรัฐบาลบัลแกเรียที่
กำลังจะเปลี่ยนการบริหารจากรัฐไปสู่เอกชน รวมทั้งการลงทุนในกิจการภาคบริการที่เอกชนไทยมีความชำนาญและประสบการณ์ อาทิ การดำเนินการ
ด้านการท่องเที่ยว การจำหน่ายสินค้ายกเว้นภาษี ณ สนามบินเมือง Bourgas การสร้าง Shopping Mall ซึ่งธุรกิจดังกล่าวจะช่วยเอื้ออำนวยต่อการ
กระจายสินค้าไทยได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้สินค้าของไทยก็ยังมีลู่ทางแจ่มใสในตลาดบัลแกเรีย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้า
สำเร็จรูป รองเท้า และชิ้นส่วน เป็นต้น
4. รูปแบบการประกอบธุรกิจในบัลแกเรีย
บริษัทเอกชนจำกัด (Private Limited Company) เป็นองค์การประกอบการค้าโดยมีทุนจดทะเบียนแบ่งเป็นหุ้น ซึ่งผู้ถือหุ้นจำกัดความ
รับผิดชอบตามจำนวนหุ้นที่ตนถืออยู่เท่านั้น การก่อตั้งอาจดำเนินการโดยบุคคลคนเดียวหรือมากกว่าก็ได้ รวมทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต่างชาติในการ
ก่อตั้งบริษัทเอกชนจำกัด จะต้องมีเงินทุนอย่างต่ำ 5,000 เลวะ (1 เลวะ เท่ากับ 1 มาร์กเยอรมัน ประมาณ 21 บาท) แบ่งเป็นหุ้น โดยมีมูลค่าหน้า
หุ้น ๆ ละ 10 เลวะ และอย่างน้อยร้อยละ 70 ของเงินทุนต้องชำระแล้วในการก่อตั้ง แต่ในการลงทุนอาจชำระเป็นเงินสดหรือเป็นสิ่งของ (ตามราคา
คิดเป็นเงิน) ก็ได้ ทั้งนี้ องค์กรบริหารของบริษัทเอกชนจำกัด ได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้น ซึ่งจะต้องประชุมปีละ 1 ครั้ง และผู้อำนวยการหรือคณะ
กรรมการอำนวยการ
ในการยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียนการค้า ณ ศาลแขวงในท้องที่ของผู้ก่อตั้งบริษัทเอกชนจำกัดจะต้องดำเนินการดังนี้.-
- เสนอหนังสือบริคนธ์สนธิ (Articles of Associations) หรือบันทึกช่วยจำ (Memorandum of Associations) ในกรณีของ
บริษัทเอกชนจำกัด ถือหุ้นคนเดียว
- แจ้งการแต่งตั้งผู้อำนวยการจัดการหรือคณะกรรมการอำนวยการ
- แจ้งจำนวนเงินทุนซึ่งได้รับอนุมัติ โดยได้ชำระเงินแล้วอย่างน้อยร้อยละ 70 และอย่างน้อย 1 ใน 3 ของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
บริษัทมหาชนจำกัด (Public Limited Company) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบริษัทร่วมทุน (Joint Stock Com-pany) เป็นองค์การ
ประกอบการค้า โดยผู้ถือหุ้นในเงินทุนรับผิดชอบจำกัดเฉพาะในจำนวนหุ้นของตนเท่านั้น ก่อตั้งขึ้นโดยบุคคลสองคนหรือมากกว่านั้น รวมทั้งบุคคลธรรมดา
หรือนิติบุคคลต่างชาติ บริษัทสามารถเพิ่มทุนได้โดยการขายหุ้นแก่สาธารณชนในตลาดหลักทรัพย์ เงินทุนขั้นต่ำขึ้นอยู่กับกิจการ อาทิ กิจการธนาคาร เงินทุน
ขั้นต่ำ 10 ล้านเลวะ กิจการประกันภัยแบ่งเป็นกิจการประกันชีวิตหรือประกันอุบัติเหตุบุคคล เงินทุนขั้นต่ำ 2 ล้านเลวะ กิจการประกันทรัพย์สิน 3 ล้าน
เลวะ และกิจการประกันต่อ 4 ล้านเลวะ
ในการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด การจ่ายเงินลงทุนเข้ากองทุนก่อตั้งสามารถกระทำได้ทั้งในรูปของเงินสดหรือสิ่งของ (ประเมินราคา
โดยผู้ประเมินอิสระ) และจำต้องชำระเงินเข้ากองทุนก่อตั้งอย่างน้อยร้อยละ 25 บริษัทมหาชนจำกัดอาจออกหุ้นประเภทจดทะเบียนหรือหุ้นประเภทผู้ถือ
ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์และกฎหมายว่าด้วยบริษัทประกอบการลงทุน (Investment Companies) คณะกรรมาธิการ
ตลาดหลักทรัพย์ (Se-curities and Stock Exchange Commission) จะเป็นผู้กำหนดกิจการบริษัทประกอบการลงทุน เงินทุนขั้นต่ำและโครงสร้าง
ของเงินทุนที่กำหนดและส่วนสัมพันธ์ของเงินทุนนี้กับทรัพย์สินและหนี้สินในบัญชีงบดุล
องค์กรของบริษัทมหาชนจำกัด ได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเป็นองค์กรสูงสุด ซึ่งจะต้องจัดให้มีขึ้นอย่างน้อยปีละครั้ง คณะกรรมการผู้อำนวย
การ (Board of Directors) ในกรณีที่โครงสร้างการบริหารมีระดับเดียว หรือคณะกรรมการผู้อำนวยการ และคณะกรรมการตรวจการ
(Supervisory Board) ในกรณีที่โครงสร้างการบริหารมีสองระดับ ทั้งนี้ บริษัทมหาชนจำกัดจะต้องจัดทำเสนอบัญชีงบดุล และรายงานสถานะทาง
การเงิน (Financial Statements) ทุกปี ตราสารพิเศษในการก่อตั้งจะต้องทำแยกเพิ่มเติมในกรณีการก่อตั้งธนาคาร บริษัทประกันภัย และกองทุน
เพื่อการลงทุน
ห้างหุ้นส่วนทั่วไป (General Partnership) เป็นองค์การซึ่งก่อตั้งโดยหุ้นส่วนอย่างน้อย 2 คน เพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
ร่วมกันทางการค้า ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจะต้องรับผิดชอบร่วมกันและไม่จำกัด หรือเรียกอีกอย่างว่า ห้างหุ้นส่วนไม่จำกัด (Unlimited Partnership)
สำหรับบุคคลต่างชาติที่จะเป็นหุ้นส่วนทั่วไปจะต้องเป็นผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในบัลแกเรีย ทั้งนี้ในการจดทะเบียนไม่มีขั้นต่ำสุดและขั้นสูงสุดของจำนวนทุนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนมหาชนจำกัด (Public Limited Partnership) เป็นองค์การผสมเฉพาะกาล ระหว่างบริษัทมหาชนจำกัดกับห้างหุ้นส่วน
จำกัด มีลักษณะทางกฎหมายผสมกันทั้งสองระบบ ห้างหุ้นส่วนมหาชนจำกัดประกอบด้วยผู้เป็นหุ้นส่วนทั่วไป ซึ่งรับผิดชอบไม่จำกัด และผู้เป็นหุ้นส่วนอีกอย่าง
น้อย 3 คน ซึ่งรับผิดชอบจำกัดเฉพาะในหุ้นของตนเท่านั้น ฉะนั้นการจัดการธุรกิจจึงเป็นหน้าที่ของผู้เป็นหุ้นส่วนทั่วไป ซึ่งรับผิดชอบไม่จำกัดเท่านั้น
ผู้ค้าแต่ผู้เดียว (Sole Trader) บุคคลธรรมดาใด ๆ ซึ่งมีถิ่นในบัลแกเรียมีสิทธิขอจดทะเบียนตนเองเป็นผู้ค้าแต่ผู้เดียว การดำเนินการ
ดังกล่าวไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานรัฐบาลล่วงหน้า แต่เช่นเดียวกับผู้ประกอบการชาวบัลแกเรีย ผู้ลงทุนต่างชาติจะต้องจดทะเบียนกิจกรรม
การดำเนินการ
ทั้งนี้ คนต่างชาติดังกล่าวจะต้องได้รับใบอนุญาตถิ่นที่อยู่ถาวรในบัลแกเรียจึงจะมีสิทธิยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ค้าแต่ผู้เดียว หรือเข้าร่วมเป็น
หุ้นส่วนทั่วไปหรือไม่จำกัด (General or Unlimited Partnership) หรือเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบในห้างหุ้นส่วนจำกัด
(Limited Partnership) หรือในห้างหุ้นส่วนมหาชนจำกัด (Public Limited Partnership)
สาขา (Branch) องค์การทางธุรกิจซึ่งจดทะเบียนในต่างประเทศและบุคคลธรรมดาต่างชาติและองค์การทางธุรกิจซึ่งมิได้จดทะเบียนนิติบุคคล
อาจจดทะเบียนเป็นสาขาในบัลแกเรียได้ หากองค์การทางธุรกิจนั้นได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ค้า (Trader) ตามบทบัญญัติของกฎหมายในประเทศของตน
สาขาคือส่วนของบริษัทสำนักงานใหญ่ (Main Company) เพียงแต่มีที่ตั้งแยกต่างหาก สาขาต้องจดทะเบียนทางการค้าที่ศาลซึ่งสาขานั้นตั้งอยู่ และจะต้อง
จัดทำบัญชีงบดุลสาขาในฐานะบริษัทอิสระ แต่ในการเปิดสาขาไม่จำเป็นจะต้องระบุเงินทุนที่ได้รับอนุญาต
สำนักงานตัวแทน (Representative Office) คนต่างชาติซึ่งมิสิทธิที่จะทำกิจกรรมทางธุรกิจภายใต้กฎหมายของตนอาจจัดตั้งสำนักงาน
ตัวแทนในบัลแกเรียได้ โดยจะต้องจดทะเบียนกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมบัลแกเรียสำนักงานตัวแทนมิใช่ตัวนิติบุคคล และไม่อาจจะทำกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจ สำนักงานตัวแทนเพียงมีสิทธิกระทำกิจกรรมทางการตลาด การหาลูกค้า ดำเนินการติดต่อต่าง ๆ ภายในประเทศและกิจกรรมอื่นใดซึ่งไม่ถือว่า
มีลักษณะทางเศรษฐกิจหรือการค้าตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
กิจการร่วมทุน (Joint Venture) องค์การธุรกิจจัดตั้งร่วมกันระหว่างหุ้นส่วนต่างชาติและหุ้นส่วนบัลแกเรีย ไม่มีข้อจำกัดในขนาดของ
กิจการร่วมลงทุน แต่กิจการร่วมลงทุนนั้นจะต้องจัดตั้งในรูปใดรูปหนึ่งขององค์การทางธุรกิจ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายพาณิชย์ของบัลแกเรีย
5. ข้อเสนอแนะ
5.1 เศรษฐกิจของบัลแกเรียมีพัฒนาการที่ดี มียุทธศาสตร์ที่ตั้งอยู่ใจกลางคาบสมุทรบอลข่าน และมีระบบการคมนาคมที่ดีและสะดวกทั้งทาง
อากาศ ทางรถไฟ ทางบก และทางทะเล ดังนั้น ถือได้ว่าบัลแกเรียเป็นประเทศอดีตคอมมิวนิสต์ที่มีศักยภาพสูงพอสมควร
5.2 ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการทำธุรกิจการค้าระหว่างไทยกับบัลแกเรียจะมีไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่ไทยซื้อจากบัลแกเรียมากกว่า โดยซื้อผ่าน
ประเทศที่สาม แต่เมื่อพิจารณาถึงศักยภาพและการเตรียมความพร้อมของบัลแกเรียในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและกฎหมายตลอดจนระเบียบภายในของตน
ให้เข้ากับมาตรฐานของสหภาพยุโรปแล้ว บัลแกเรียจึงเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประเทศไทยควรให้ความสนใจและเริ่มสร้างเครือข่ายการติดต่อและศึกษา
แลกเปลี่ยนข้อมูลทางการค้า รวมทั้งพิจารณาจัดตั้งกลไกความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน อาทิเช่น การจัดตั้งสภาธุรกิจไทย-บัลแกเรีย เพื่อเป็นการสร้าง
พื้นฐานการประสานและการติดต่อทำธุรกิจการค้าระหว่างกันต่อไป
(ที่มา กระทรวงการต่างประเทศ)
-วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2/2544 วันที่ 31 มกราคม 2544--
-อน-
1.1 องค์การการค้าโลก (WTO) บัลแกเรียได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2539
1.2 สหภาพยุโรป (European Union) เมื่อเดือนมีนาคม 2536 บัลแกเรียได้ลงนามในความตกลง (Association Agreement
กับสหภาพยุโรป และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 โดยภายใต้ความตกลงฉบับนี้ ภาษีศุลกากรและข้อจำกัดด้านภาษีอื่น ๆ ระหว่างบัลแกเรีย
กับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม จะค่อย ๆ ลดลงและเลิกเก็บโดยสิ้นเชิงภายในปี 2545 เป็นอย่างช้า ทั้งนี้ตั้งแต่ปี
2541 เป็นต้นมา สินค้าอุตสาหกรรมที่มีแหล่งกำเนิดจากบัลแกเรียสามารถส่งเข้าไปจำหน่ายในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปโดยไม่มีการเรียกเก็บภาษี
ส่วนสินค้าเกษตรก็ได้รับการลดหย่อนภาษีเป็นจำนวนมากเช่นกัน
1.3 ความตกลงการค้าเสรียุโรปกลาง (Central European Free Trade Agreement - CEFTA) บัลแกเรียเข้าเป็นภาคีความ
ตกลงการค้าเสรียุโรปกลางเมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ตามความตกลงดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 บัลแกเรียได้เริ่มกระบวนการปล่อยเสรี
ทางการค้าสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมกับประเทศสมาชิกความตกลงฯ (โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก สโลวัก ฮังการี โรมาเนีย
และสโลวีเนีย) ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะเสร็จสมบูรณ์ภายในวันที่ 1 มกราคม 2545
1.4 ความตกลงการค้าเสรีระหว่างบัลแกเรียกับตุรกี ความตกลงการค้าเสรีระหว่างบัลแกเรียกับตุรกีมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
2542 โดยมีการลดภาษีศุลกากรระหว่างกันไปเรื่อย ๆ ซึ่งกำหนดจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2545
2. การค้าต่างประเทศของบัลแกเรีย
บัลแกเรียมีประเทศคู่ค้าที่สำคัญ คือ ประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) อาทิเช่น เยอรมัน
อิตาลี กรีซ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวมกันเท่ากับ 3,966 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเท่ากับร้อยละ 58.20
ของมูลค่าการค้าทั้งหมด ตลาดสินค้าที่สำคัญรองลงมาได้แก่ ประเทศในยุโรปตะวันออก อาทิ รัสเซีย ยูเครน โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ค สโลวัก ฮังการี
โรมาเนีย และสโลวีเนีย ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวมกันเท่ากับร้อยละ 28.80 ของมูลค่าการค้าทั้งหมด ตามด้วยประเทศในภูมิภาคบอลข่าน อาทิเช่น
ตุรกี ยูโกสลาเวีย มาซิโดเนีย ซึ่งกลุ่มนี้มีมูลค่าการค้ารวมกันเท่ากับร้อยละ 16.40 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของบัลแกเรีย
สินค้านำเข้าและส่งออกที่สำคัญๆของบัลแกเรีย จำแนกเป็น
กลุ่มโภคภัณฑ์ ส่งออกคิดเป็นร้อยละ นำเข้าคิดเป็นร้อยละ
อาหารและเครื่องดื่ม 10.1 5.7
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 38.0 37.9
น้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น 6.0 21.7
สินค้าเพื่อการลงทุน 8.6 13.2
เครื่องมือขนส่ง 3.3 5.8
สินค้าผู้บริโภค 21.2 9.0
สินค้าอื่น ๆ 12.8 6.7
รวม 100.0 100.0
3. ลู่ทางการทำธุรกิจการค้าระหว่างไทยกับบัลแกเรีย
บัลแกเรียเป็นประเทศในยุโรปตะวันออกที่มีศักยภาพที่ดี ประชากรมีการศึกษาสูงแต่ค่าจ้างงานต่ำ และภายใต้การนำของประธานาธิบดี
Petar Stoyanov และนายกรัฐมนตรี Ivan Kostov บัลแกเรียได้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์เศรษฐกิจระยะต้นไปได้ด้วยดี แหล่งเงินทุนนานาชาติมีความ
เชื่อมั่นและพร้อมที่จะสนับสนุนเงินกู้เพื่อการปรับปรุงพัฒนาประเทศ ประกอบกับบัลแกเรียมีทำเลที่ตั้งที่ดีเป็นประตูการค้าไปสู่ประเทศในคาบสมุทรบอลข่าน
เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลดำ และมีเขตอาณาติดต่อกับประเทศมาซิโดเนียและยูโกสลาเวีย นอกจากนั้น การเป็นสมาชิกความตกลงเขตการค้า
เสรียุโรปกลาง (CEFTA) และเป็นสมาชิกสมทบของสหภาพยุโรป จึงคาดว่าภายในปี 2550 บัลแกเรียจะสามารถเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์ของสหภาพยุโรป
โดยที่ในขณะนี้บัลแกเรียยังมิได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การลงทุนร่วมกับต่างประเทศในระดับสากล อีกทั้งจำนวนเงินทุนยังมิได้ถูกกำหนดไว้
ในอัตราสูงมาก ดังนั้นย่อมเป็นโอกาสอันดีให้นักธุรกิจไทยพิจารณาไปร่วมลงทุนในกิจการต่าง ๆ ของบัลแกเรีย โดยเฉพาะกิจการของรัฐบาลบัลแกเรียที่
กำลังจะเปลี่ยนการบริหารจากรัฐไปสู่เอกชน รวมทั้งการลงทุนในกิจการภาคบริการที่เอกชนไทยมีความชำนาญและประสบการณ์ อาทิ การดำเนินการ
ด้านการท่องเที่ยว การจำหน่ายสินค้ายกเว้นภาษี ณ สนามบินเมือง Bourgas การสร้าง Shopping Mall ซึ่งธุรกิจดังกล่าวจะช่วยเอื้ออำนวยต่อการ
กระจายสินค้าไทยได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้สินค้าของไทยก็ยังมีลู่ทางแจ่มใสในตลาดบัลแกเรีย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้า
สำเร็จรูป รองเท้า และชิ้นส่วน เป็นต้น
4. รูปแบบการประกอบธุรกิจในบัลแกเรีย
บริษัทเอกชนจำกัด (Private Limited Company) เป็นองค์การประกอบการค้าโดยมีทุนจดทะเบียนแบ่งเป็นหุ้น ซึ่งผู้ถือหุ้นจำกัดความ
รับผิดชอบตามจำนวนหุ้นที่ตนถืออยู่เท่านั้น การก่อตั้งอาจดำเนินการโดยบุคคลคนเดียวหรือมากกว่าก็ได้ รวมทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต่างชาติในการ
ก่อตั้งบริษัทเอกชนจำกัด จะต้องมีเงินทุนอย่างต่ำ 5,000 เลวะ (1 เลวะ เท่ากับ 1 มาร์กเยอรมัน ประมาณ 21 บาท) แบ่งเป็นหุ้น โดยมีมูลค่าหน้า
หุ้น ๆ ละ 10 เลวะ และอย่างน้อยร้อยละ 70 ของเงินทุนต้องชำระแล้วในการก่อตั้ง แต่ในการลงทุนอาจชำระเป็นเงินสดหรือเป็นสิ่งของ (ตามราคา
คิดเป็นเงิน) ก็ได้ ทั้งนี้ องค์กรบริหารของบริษัทเอกชนจำกัด ได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้น ซึ่งจะต้องประชุมปีละ 1 ครั้ง และผู้อำนวยการหรือคณะ
กรรมการอำนวยการ
ในการยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียนการค้า ณ ศาลแขวงในท้องที่ของผู้ก่อตั้งบริษัทเอกชนจำกัดจะต้องดำเนินการดังนี้.-
- เสนอหนังสือบริคนธ์สนธิ (Articles of Associations) หรือบันทึกช่วยจำ (Memorandum of Associations) ในกรณีของ
บริษัทเอกชนจำกัด ถือหุ้นคนเดียว
- แจ้งการแต่งตั้งผู้อำนวยการจัดการหรือคณะกรรมการอำนวยการ
- แจ้งจำนวนเงินทุนซึ่งได้รับอนุมัติ โดยได้ชำระเงินแล้วอย่างน้อยร้อยละ 70 และอย่างน้อย 1 ใน 3 ของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
บริษัทมหาชนจำกัด (Public Limited Company) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบริษัทร่วมทุน (Joint Stock Com-pany) เป็นองค์การ
ประกอบการค้า โดยผู้ถือหุ้นในเงินทุนรับผิดชอบจำกัดเฉพาะในจำนวนหุ้นของตนเท่านั้น ก่อตั้งขึ้นโดยบุคคลสองคนหรือมากกว่านั้น รวมทั้งบุคคลธรรมดา
หรือนิติบุคคลต่างชาติ บริษัทสามารถเพิ่มทุนได้โดยการขายหุ้นแก่สาธารณชนในตลาดหลักทรัพย์ เงินทุนขั้นต่ำขึ้นอยู่กับกิจการ อาทิ กิจการธนาคาร เงินทุน
ขั้นต่ำ 10 ล้านเลวะ กิจการประกันภัยแบ่งเป็นกิจการประกันชีวิตหรือประกันอุบัติเหตุบุคคล เงินทุนขั้นต่ำ 2 ล้านเลวะ กิจการประกันทรัพย์สิน 3 ล้าน
เลวะ และกิจการประกันต่อ 4 ล้านเลวะ
ในการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด การจ่ายเงินลงทุนเข้ากองทุนก่อตั้งสามารถกระทำได้ทั้งในรูปของเงินสดหรือสิ่งของ (ประเมินราคา
โดยผู้ประเมินอิสระ) และจำต้องชำระเงินเข้ากองทุนก่อตั้งอย่างน้อยร้อยละ 25 บริษัทมหาชนจำกัดอาจออกหุ้นประเภทจดทะเบียนหรือหุ้นประเภทผู้ถือ
ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์และกฎหมายว่าด้วยบริษัทประกอบการลงทุน (Investment Companies) คณะกรรมาธิการ
ตลาดหลักทรัพย์ (Se-curities and Stock Exchange Commission) จะเป็นผู้กำหนดกิจการบริษัทประกอบการลงทุน เงินทุนขั้นต่ำและโครงสร้าง
ของเงินทุนที่กำหนดและส่วนสัมพันธ์ของเงินทุนนี้กับทรัพย์สินและหนี้สินในบัญชีงบดุล
องค์กรของบริษัทมหาชนจำกัด ได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเป็นองค์กรสูงสุด ซึ่งจะต้องจัดให้มีขึ้นอย่างน้อยปีละครั้ง คณะกรรมการผู้อำนวย
การ (Board of Directors) ในกรณีที่โครงสร้างการบริหารมีระดับเดียว หรือคณะกรรมการผู้อำนวยการ และคณะกรรมการตรวจการ
(Supervisory Board) ในกรณีที่โครงสร้างการบริหารมีสองระดับ ทั้งนี้ บริษัทมหาชนจำกัดจะต้องจัดทำเสนอบัญชีงบดุล และรายงานสถานะทาง
การเงิน (Financial Statements) ทุกปี ตราสารพิเศษในการก่อตั้งจะต้องทำแยกเพิ่มเติมในกรณีการก่อตั้งธนาคาร บริษัทประกันภัย และกองทุน
เพื่อการลงทุน
ห้างหุ้นส่วนทั่วไป (General Partnership) เป็นองค์การซึ่งก่อตั้งโดยหุ้นส่วนอย่างน้อย 2 คน เพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
ร่วมกันทางการค้า ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจะต้องรับผิดชอบร่วมกันและไม่จำกัด หรือเรียกอีกอย่างว่า ห้างหุ้นส่วนไม่จำกัด (Unlimited Partnership)
สำหรับบุคคลต่างชาติที่จะเป็นหุ้นส่วนทั่วไปจะต้องเป็นผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในบัลแกเรีย ทั้งนี้ในการจดทะเบียนไม่มีขั้นต่ำสุดและขั้นสูงสุดของจำนวนทุนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนมหาชนจำกัด (Public Limited Partnership) เป็นองค์การผสมเฉพาะกาล ระหว่างบริษัทมหาชนจำกัดกับห้างหุ้นส่วน
จำกัด มีลักษณะทางกฎหมายผสมกันทั้งสองระบบ ห้างหุ้นส่วนมหาชนจำกัดประกอบด้วยผู้เป็นหุ้นส่วนทั่วไป ซึ่งรับผิดชอบไม่จำกัด และผู้เป็นหุ้นส่วนอีกอย่าง
น้อย 3 คน ซึ่งรับผิดชอบจำกัดเฉพาะในหุ้นของตนเท่านั้น ฉะนั้นการจัดการธุรกิจจึงเป็นหน้าที่ของผู้เป็นหุ้นส่วนทั่วไป ซึ่งรับผิดชอบไม่จำกัดเท่านั้น
ผู้ค้าแต่ผู้เดียว (Sole Trader) บุคคลธรรมดาใด ๆ ซึ่งมีถิ่นในบัลแกเรียมีสิทธิขอจดทะเบียนตนเองเป็นผู้ค้าแต่ผู้เดียว การดำเนินการ
ดังกล่าวไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานรัฐบาลล่วงหน้า แต่เช่นเดียวกับผู้ประกอบการชาวบัลแกเรีย ผู้ลงทุนต่างชาติจะต้องจดทะเบียนกิจกรรม
การดำเนินการ
ทั้งนี้ คนต่างชาติดังกล่าวจะต้องได้รับใบอนุญาตถิ่นที่อยู่ถาวรในบัลแกเรียจึงจะมีสิทธิยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ค้าแต่ผู้เดียว หรือเข้าร่วมเป็น
หุ้นส่วนทั่วไปหรือไม่จำกัด (General or Unlimited Partnership) หรือเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบในห้างหุ้นส่วนจำกัด
(Limited Partnership) หรือในห้างหุ้นส่วนมหาชนจำกัด (Public Limited Partnership)
สาขา (Branch) องค์การทางธุรกิจซึ่งจดทะเบียนในต่างประเทศและบุคคลธรรมดาต่างชาติและองค์การทางธุรกิจซึ่งมิได้จดทะเบียนนิติบุคคล
อาจจดทะเบียนเป็นสาขาในบัลแกเรียได้ หากองค์การทางธุรกิจนั้นได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ค้า (Trader) ตามบทบัญญัติของกฎหมายในประเทศของตน
สาขาคือส่วนของบริษัทสำนักงานใหญ่ (Main Company) เพียงแต่มีที่ตั้งแยกต่างหาก สาขาต้องจดทะเบียนทางการค้าที่ศาลซึ่งสาขานั้นตั้งอยู่ และจะต้อง
จัดทำบัญชีงบดุลสาขาในฐานะบริษัทอิสระ แต่ในการเปิดสาขาไม่จำเป็นจะต้องระบุเงินทุนที่ได้รับอนุญาต
สำนักงานตัวแทน (Representative Office) คนต่างชาติซึ่งมิสิทธิที่จะทำกิจกรรมทางธุรกิจภายใต้กฎหมายของตนอาจจัดตั้งสำนักงาน
ตัวแทนในบัลแกเรียได้ โดยจะต้องจดทะเบียนกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมบัลแกเรียสำนักงานตัวแทนมิใช่ตัวนิติบุคคล และไม่อาจจะทำกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจ สำนักงานตัวแทนเพียงมีสิทธิกระทำกิจกรรมทางการตลาด การหาลูกค้า ดำเนินการติดต่อต่าง ๆ ภายในประเทศและกิจกรรมอื่นใดซึ่งไม่ถือว่า
มีลักษณะทางเศรษฐกิจหรือการค้าตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
กิจการร่วมทุน (Joint Venture) องค์การธุรกิจจัดตั้งร่วมกันระหว่างหุ้นส่วนต่างชาติและหุ้นส่วนบัลแกเรีย ไม่มีข้อจำกัดในขนาดของ
กิจการร่วมลงทุน แต่กิจการร่วมลงทุนนั้นจะต้องจัดตั้งในรูปใดรูปหนึ่งขององค์การทางธุรกิจ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายพาณิชย์ของบัลแกเรีย
5. ข้อเสนอแนะ
5.1 เศรษฐกิจของบัลแกเรียมีพัฒนาการที่ดี มียุทธศาสตร์ที่ตั้งอยู่ใจกลางคาบสมุทรบอลข่าน และมีระบบการคมนาคมที่ดีและสะดวกทั้งทาง
อากาศ ทางรถไฟ ทางบก และทางทะเล ดังนั้น ถือได้ว่าบัลแกเรียเป็นประเทศอดีตคอมมิวนิสต์ที่มีศักยภาพสูงพอสมควร
5.2 ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการทำธุรกิจการค้าระหว่างไทยกับบัลแกเรียจะมีไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่ไทยซื้อจากบัลแกเรียมากกว่า โดยซื้อผ่าน
ประเทศที่สาม แต่เมื่อพิจารณาถึงศักยภาพและการเตรียมความพร้อมของบัลแกเรียในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและกฎหมายตลอดจนระเบียบภายในของตน
ให้เข้ากับมาตรฐานของสหภาพยุโรปแล้ว บัลแกเรียจึงเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประเทศไทยควรให้ความสนใจและเริ่มสร้างเครือข่ายการติดต่อและศึกษา
แลกเปลี่ยนข้อมูลทางการค้า รวมทั้งพิจารณาจัดตั้งกลไกความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน อาทิเช่น การจัดตั้งสภาธุรกิจไทย-บัลแกเรีย เพื่อเป็นการสร้าง
พื้นฐานการประสานและการติดต่อทำธุรกิจการค้าระหว่างกันต่อไป
(ที่มา กระทรวงการต่างประเทศ)
-วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2/2544 วันที่ 31 มกราคม 2544--
-อน-