วันนี้(16พ.ย.48) เวลา09.00น. ที่อาคารรัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวว่า เมื่อรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ได้ออกฎหมาย 2 ฉบับ คือ กฎหมายการศึกษาแห่งชาติและกฏหมายการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทั้งในเรื่องของการจัดการศึกษาและเรื่องของการกระจายอำนาจ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าสามารถระดมพลังของท้องถิ่น และสามารถทำให้คนของท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการกระจายอำนาจได้ ตนเชื่อว่าจะทำให้การตอบสนองความต้องการของประชาชนดีขึ้น แต่การกระจายอำนาจหรือการจัดถ่ายโอนงานใด ๆ ไปสู่ท้องถิ่นนั้นต้องเป็นไปบนความพร้อม เช่น กรณีการศึกษาก็คือต้องทำให้เกิดความมั่นใจในเรื่องของคุณภาพและมาตรฐานของการศึกษา ตลอดทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องเช่นกรณีข้าราชการครูก็ต้องมีความมั่นใจในเรื่องของความมั่นคง ความก้าวหน้าในวิชาชีพของตน และก็รวมไปถึงความเป็นธรรมต่าง ๆ ที่จะได้รับด้วย
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวต่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นวันนี้เป็นเพราะ 5 ปีที่ผ่านมารัฐบาลที่เข้ามาบริหารงานตั้งแต่ปี 2544 ไม่ได้ดำเนินการในการที่จะสร้างความพร้อม และสร้างความเข้าใจในการที่จะหลอมรวม เชื่อมโยง การทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับสถานศึกษาเข้าด้วยกัน
“ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีกลไกเขตพื้นที่การศึกษาที่เกิดขึ้นตามกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ และหลายครั้งประเด็นนี้ถูกหยิบยกไปเป็นประเด็นทางการเมือง เช่น ทางพรรครัฐบาลเอง ก็ไปพูดกับทางฝ่ายครูว่าจะไม่มีการถ่ายโอน แต่ขณะเดียวกันก็พูดกับทางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นว่า จะเดินหน้าเพื่อที่จะกระจายอำนาจหรือกระจายงบประมาณเพิ่มเต็มได้ โดยเฉพาะในปีสุดท้าย ถือตามกฎหมายกระจายอำนาจภายในปี 2549 รัฐบาลต้องจัดงบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้ถึงร้อยละ 35 แต่ว่า 4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้จัดงบประมาณเพิ่มขึ้นจากร้อยละ20 เป็นร้อยละ 23 - 24 เท่านั้น”
ผู้นำฝ่ายค้านกล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า ในขณะเดียวกันรัฐบาลกลับมาเร่งรัดเฉพาะเรื่องของการศึกษา โดยเฉพาะหลังจากที่ศาลปกครองมีคำสั่งว่าการที่จะไปขัดขวางการถ่ายโอนภารกิจในเรื่องของการศึกษานั้น อาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะฉะนั้นวันนี้สิ่งที่น่าเสียใจคือเหตุการณ์ได้เดินมาถึงจุดที่บุคลากรทางการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามาเผชิญหน้ากัน ในลักษณะที่ไม่ควรจะเป็นอย่างที่เป็น เพราะฉะนั้นทางออกที่รัฐบาลพยายามแก้ไข ในเรื่องของความสมัครใจและความพร้อมก็คงจะเป็นหลักการที่ถูกต้องแล้ว แต่ว่าอย่าให้การหาข้อยุติ เป็นเพียงการซื้อเวลาหรือยื่นปัญหาออกไปเท่านั้น
“จริง ๆ แล้วต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนไม่น้อย เขาก็มีความพร้อม มีความสนใจ มีความตั้งใจ และมีความจริงใจที่จะสนับสนุนงานทางด้านการศึกษา”
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาตนได้เดินทางลงพื้นที่ 3 จังหวัดในภาคอีสาน และมีบางจังหวัดที่โรงเรียน ได้ทำงานกับทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาด้วยดี แต่เมื่อมีโอกาสจะย้ายไปสังกัดองค์กรท้องถิ่น ทั้งสององค์กรไม่อยากให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง และขณะเดียวกันความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังไม่อยู่ในระดับที่จะสร้างความมั่นใจให้กับบุคลากรทางการศึกษาได้
“ดังนี้ ทางออกที่ถูกต้องขณะนี้รัฐบาลต้องปรับท่าทีและบทบาทของตัวเอง ถ้าหากว่าไม่คิดว่านโยบายกระจายอำนาจเป็นเรื่องที่ถูกต้องก็ต้องกล้าที่จะประกาศออกมา ถ้าคิดว่าการกระจายอำนาจยังเป็นสิ่งที่ควรทำก็ต้องปรับบทบาทมาสู่การที่จะเร่งทำความเข้าใจประสานงานให้ท้องถิ่นมามีส่วนช่วยสนับสนุนการศึกษาจนทำให้บุคลากรทางภาคการศึกษานั้นมีความมั่นใจ มีความสบายใจในการที่จะเดินหน้าต่อในเรื่องของการถ่ายโอนหรือการเพิ่มการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการบริหารจัดการทางด้านการศึกษาเอง” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวต่ออีกว่า ส่วนกรณีของสถานะของข้าราชการนั้น หน้าจะคงหลักการของความสมัครใจไว้ แต่เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องมีความขัดแย้งกัน ถ้าทุกฝ่ายมีความมุ่งมั่น ตั้งใจและมีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ต้องการเห็นการศึกษามีการพัฒนาไปข้างหน้าและตอบสนองประชาชนได้ดียิ่งขึ้นแล้ว ทั้งท้องถิ่นและบุคลากรครู หน้าจะหันหน้าเข้าหากันและที่สำคัญรัฐบาลต้องมีบทบาทในการเป็นตัวเชื่อมผสานตรงนี้ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นเรื่องอีกเรื่องหนึ่งซึ่งคงจะมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องต่อไป เพราะว่าการศึกษาและการกระจายอำนาจถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อประเทศชาติบ้านเมือง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 พ.ย.2548--จบ--
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าสามารถระดมพลังของท้องถิ่น และสามารถทำให้คนของท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการกระจายอำนาจได้ ตนเชื่อว่าจะทำให้การตอบสนองความต้องการของประชาชนดีขึ้น แต่การกระจายอำนาจหรือการจัดถ่ายโอนงานใด ๆ ไปสู่ท้องถิ่นนั้นต้องเป็นไปบนความพร้อม เช่น กรณีการศึกษาก็คือต้องทำให้เกิดความมั่นใจในเรื่องของคุณภาพและมาตรฐานของการศึกษา ตลอดทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องเช่นกรณีข้าราชการครูก็ต้องมีความมั่นใจในเรื่องของความมั่นคง ความก้าวหน้าในวิชาชีพของตน และก็รวมไปถึงความเป็นธรรมต่าง ๆ ที่จะได้รับด้วย
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวต่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นวันนี้เป็นเพราะ 5 ปีที่ผ่านมารัฐบาลที่เข้ามาบริหารงานตั้งแต่ปี 2544 ไม่ได้ดำเนินการในการที่จะสร้างความพร้อม และสร้างความเข้าใจในการที่จะหลอมรวม เชื่อมโยง การทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับสถานศึกษาเข้าด้วยกัน
“ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีกลไกเขตพื้นที่การศึกษาที่เกิดขึ้นตามกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ และหลายครั้งประเด็นนี้ถูกหยิบยกไปเป็นประเด็นทางการเมือง เช่น ทางพรรครัฐบาลเอง ก็ไปพูดกับทางฝ่ายครูว่าจะไม่มีการถ่ายโอน แต่ขณะเดียวกันก็พูดกับทางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นว่า จะเดินหน้าเพื่อที่จะกระจายอำนาจหรือกระจายงบประมาณเพิ่มเต็มได้ โดยเฉพาะในปีสุดท้าย ถือตามกฎหมายกระจายอำนาจภายในปี 2549 รัฐบาลต้องจัดงบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้ถึงร้อยละ 35 แต่ว่า 4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้จัดงบประมาณเพิ่มขึ้นจากร้อยละ20 เป็นร้อยละ 23 - 24 เท่านั้น”
ผู้นำฝ่ายค้านกล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า ในขณะเดียวกันรัฐบาลกลับมาเร่งรัดเฉพาะเรื่องของการศึกษา โดยเฉพาะหลังจากที่ศาลปกครองมีคำสั่งว่าการที่จะไปขัดขวางการถ่ายโอนภารกิจในเรื่องของการศึกษานั้น อาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะฉะนั้นวันนี้สิ่งที่น่าเสียใจคือเหตุการณ์ได้เดินมาถึงจุดที่บุคลากรทางการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามาเผชิญหน้ากัน ในลักษณะที่ไม่ควรจะเป็นอย่างที่เป็น เพราะฉะนั้นทางออกที่รัฐบาลพยายามแก้ไข ในเรื่องของความสมัครใจและความพร้อมก็คงจะเป็นหลักการที่ถูกต้องแล้ว แต่ว่าอย่าให้การหาข้อยุติ เป็นเพียงการซื้อเวลาหรือยื่นปัญหาออกไปเท่านั้น
“จริง ๆ แล้วต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนไม่น้อย เขาก็มีความพร้อม มีความสนใจ มีความตั้งใจ และมีความจริงใจที่จะสนับสนุนงานทางด้านการศึกษา”
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาตนได้เดินทางลงพื้นที่ 3 จังหวัดในภาคอีสาน และมีบางจังหวัดที่โรงเรียน ได้ทำงานกับทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาด้วยดี แต่เมื่อมีโอกาสจะย้ายไปสังกัดองค์กรท้องถิ่น ทั้งสององค์กรไม่อยากให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง และขณะเดียวกันความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังไม่อยู่ในระดับที่จะสร้างความมั่นใจให้กับบุคลากรทางการศึกษาได้
“ดังนี้ ทางออกที่ถูกต้องขณะนี้รัฐบาลต้องปรับท่าทีและบทบาทของตัวเอง ถ้าหากว่าไม่คิดว่านโยบายกระจายอำนาจเป็นเรื่องที่ถูกต้องก็ต้องกล้าที่จะประกาศออกมา ถ้าคิดว่าการกระจายอำนาจยังเป็นสิ่งที่ควรทำก็ต้องปรับบทบาทมาสู่การที่จะเร่งทำความเข้าใจประสานงานให้ท้องถิ่นมามีส่วนช่วยสนับสนุนการศึกษาจนทำให้บุคลากรทางภาคการศึกษานั้นมีความมั่นใจ มีความสบายใจในการที่จะเดินหน้าต่อในเรื่องของการถ่ายโอนหรือการเพิ่มการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการบริหารจัดการทางด้านการศึกษาเอง” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวต่ออีกว่า ส่วนกรณีของสถานะของข้าราชการนั้น หน้าจะคงหลักการของความสมัครใจไว้ แต่เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องมีความขัดแย้งกัน ถ้าทุกฝ่ายมีความมุ่งมั่น ตั้งใจและมีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ต้องการเห็นการศึกษามีการพัฒนาไปข้างหน้าและตอบสนองประชาชนได้ดียิ่งขึ้นแล้ว ทั้งท้องถิ่นและบุคลากรครู หน้าจะหันหน้าเข้าหากันและที่สำคัญรัฐบาลต้องมีบทบาทในการเป็นตัวเชื่อมผสานตรงนี้ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นเรื่องอีกเรื่องหนึ่งซึ่งคงจะมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องต่อไป เพราะว่าการศึกษาและการกระจายอำนาจถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อประเทศชาติบ้านเมือง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 พ.ย.2548--จบ--