1. วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานเรื่องผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ต่อประเทศไทย หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Federal Funds Rate จากร้อยละ 6.0 เป็นร้อยละ 5.5 และลด Discount Rate จากร้อยละ 5.5 เป็นร้อยละ 5.0 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2544 หลังจากที่ก่อนหน้านี้ (วันที่ 3 มกราคม 2544) ได้เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งสองลงไปแล้วร้อยละ 0.5 ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าการลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เนื่องจาก (1) เป็นการตอบสนองที่รวดเร็วต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการคลังของประธานาธิบดีคนใหม่ที่เสนอให้มีการลดภาษี ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสฟื้นตัวในระยะต่อไป เป็นผลดีต่อการส่งออกของไทยและประเทศในภูมิภาค (2) อัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนในสหรัฐฯ ซึ่งต่ำลง ดังกล่าวน่าจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกจากสหรัฐฯ ไปยังประเทศอื่น ๆ รวมทั้งประเทศในภูมิภาคเอเซียมากขึ้นกว่าเดิม โดยจะเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภูมิภาคโดยตรง
2. วันที่ 29 มกราคม 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ เดือนมกราคม 2544 โดยสรุปได้ดังนี้ ในไตรมาส ที่ 4 ของปี 2543 แรงกดดันด้านราคาน้ำมันได้ ผ่อนคลายลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี ขณะที่แรงผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจเริ่มแผ่วลงในไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบาย การเงินเห็นว่า สภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนตัวลง ชัดเจนขึ้นนี้ ทำให้การส่งออกชะลอตัวลง ขณะที่อัตราเพิ่มของการอุปโภคบริโภคและการลงทุน ภาคเอกชนเป็นไปอย่างช้า ๆ โดยคาดว่าจะทยอยปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับปกติ ในปี 2545 ทำให้มีการประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ดังนี้
(ร้อยละ) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
ปี 2543 4-4.5 0.8
ปี 2544 3-4.5 1.5-2.5
ปี 2545 4.5-6.5 1.5-3.0
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาทางเลือกการปรับลดดอกเบี้ยด้วย แต่เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อผู้ออมเงินในช่วงที่ยังไม่มีมาตรการเพิ่มทางเลือกในการออมให้มากขึ้น คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันไว้ในระดับเดิมคือร้อยละ 1.5 ต่อปี
3. วันที่ 29 มกราคม 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานเรื่องหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 ว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มียอดคงค้างทั้งสิ้น 858.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.9 ของสินเชื่อรวม ลดลงจากสิ้นเดือนก่อนถึง 254.8 พันล้านบาท (ร้อยละ 22.7 ของสินเชื่อรวม) สาเหตุใหญ่ เนื่องจากธนาคารรัฐแห่งหนึ่งนำลูกหนี้ด้อยคุณภาพที่จะเข้า Covered Asset Pool ตามที่คณะรัฐมนตรี มีมติค้ำประกันความเสียหายออกจากการเป็น NPL อีกทั้งสถาบันการเงินมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนมาก และมีการตัดหนี้สูญของลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบถ้วนแล้วในงวดบัญชี สิ้นสุดธันวาคม 2543
4. วันที่ 22 มกราคม 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานผลการดำเนินงานของกิจการวิเทศธนกิจในช่วง 11 เดือนของปี 2543 ดังนี้ การให้กู้ยืมของกิจการวิเทศธนกิจยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2543 มียอดคงค้างเงินให้กู้ยืมทั้งสิ้น 469.5 พันล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.8 เป็นการ ให้กู้ยืมแก่ลูกค้าในประเทศ (Out-In) 413.9 พันล้านบาท (ลดลงร้อยละ 21.5) และเป็นการให้กู้ยืมแก่ ลูกค้าต่างประเทศ (Out-Out) 55.6 พันล้านบาท (ลดลงร้อยละ 23.6) เป็นการลดลงของกลุ่มธนาคารพาณิชย์มากที่สุด เพราะลูกหนี้ชำระคืนหนี้ที่ ครบกำหนด โดยธุรกิจที่มีการกู้ยืมเงินผ่านกิจการวิเทศธนกิจมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการผลิต รองลงมาคือ ภาคสาธารณูปโภค และภาค การธนาคารและธุรกิจการเงิน ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
2. วันที่ 29 มกราคม 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ เดือนมกราคม 2544 โดยสรุปได้ดังนี้ ในไตรมาส ที่ 4 ของปี 2543 แรงกดดันด้านราคาน้ำมันได้ ผ่อนคลายลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี ขณะที่แรงผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจเริ่มแผ่วลงในไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบาย การเงินเห็นว่า สภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนตัวลง ชัดเจนขึ้นนี้ ทำให้การส่งออกชะลอตัวลง ขณะที่อัตราเพิ่มของการอุปโภคบริโภคและการลงทุน ภาคเอกชนเป็นไปอย่างช้า ๆ โดยคาดว่าจะทยอยปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับปกติ ในปี 2545 ทำให้มีการประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ดังนี้
(ร้อยละ) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
ปี 2543 4-4.5 0.8
ปี 2544 3-4.5 1.5-2.5
ปี 2545 4.5-6.5 1.5-3.0
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาทางเลือกการปรับลดดอกเบี้ยด้วย แต่เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อผู้ออมเงินในช่วงที่ยังไม่มีมาตรการเพิ่มทางเลือกในการออมให้มากขึ้น คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันไว้ในระดับเดิมคือร้อยละ 1.5 ต่อปี
3. วันที่ 29 มกราคม 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานเรื่องหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 ว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มียอดคงค้างทั้งสิ้น 858.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.9 ของสินเชื่อรวม ลดลงจากสิ้นเดือนก่อนถึง 254.8 พันล้านบาท (ร้อยละ 22.7 ของสินเชื่อรวม) สาเหตุใหญ่ เนื่องจากธนาคารรัฐแห่งหนึ่งนำลูกหนี้ด้อยคุณภาพที่จะเข้า Covered Asset Pool ตามที่คณะรัฐมนตรี มีมติค้ำประกันความเสียหายออกจากการเป็น NPL อีกทั้งสถาบันการเงินมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนมาก และมีการตัดหนี้สูญของลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบถ้วนแล้วในงวดบัญชี สิ้นสุดธันวาคม 2543
4. วันที่ 22 มกราคม 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานผลการดำเนินงานของกิจการวิเทศธนกิจในช่วง 11 เดือนของปี 2543 ดังนี้ การให้กู้ยืมของกิจการวิเทศธนกิจยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2543 มียอดคงค้างเงินให้กู้ยืมทั้งสิ้น 469.5 พันล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.8 เป็นการ ให้กู้ยืมแก่ลูกค้าในประเทศ (Out-In) 413.9 พันล้านบาท (ลดลงร้อยละ 21.5) และเป็นการให้กู้ยืมแก่ ลูกค้าต่างประเทศ (Out-Out) 55.6 พันล้านบาท (ลดลงร้อยละ 23.6) เป็นการลดลงของกลุ่มธนาคารพาณิชย์มากที่สุด เพราะลูกหนี้ชำระคืนหนี้ที่ ครบกำหนด โดยธุรกิจที่มีการกู้ยืมเงินผ่านกิจการวิเทศธนกิจมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการผลิต รองลงมาคือ ภาคสาธารณูปโภค และภาค การธนาคารและธุรกิจการเงิน ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-