การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนมีนาคมลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.8
หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอาหาร(-26.8%) การผลิตลดลง เนื่องจากวัตถุดิบอ้อยที่ป้อนโรงงานน้ำตาลมีปริมาณลดลง เพราะเกิดโรคระบาด โรงงานน้ำตาลจึงปิดหีบเร็วกว่าปีก่อน ทำให้ผลผลิตน้ำตาลลดลง กอปรกับผลผลิตสับปะรดกระป๋องก็ลดลงมาก เนื่องจากการส่งออกประสบปัญหาการแข่งขันสูง และได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti Dumping) ของสหรัฐอเมริกา และการตัดสิทธิ GSP ของสหภาพยุโรป หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (-14.8%) ลดลงตามการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าเป็นสำคัญ เนื่องจากตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่โทรทัศน์สีประสบปัญหากำลังซื้อจากตลาดในประเทศยังอ่อนตัว และ การส่งออกได้ชะลอตัวลง
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+20.2%) ผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับยอดการสั่งจองในงานบางกอกมอเตอร์โชว์เดือนเมษายน ซึ่งผู้ผลิตแข่งขันกันจัดรายการส่งเสริมการขายเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด หมวดสิ่งทอ (+3.3%) การผลิตเพิ่มขึ้น ตามการส่งออกเส้นด้าย ผ้าผืนถักและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งได้รับผลดีจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท และหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+3.2%) ผลิตเพิ่มขึ้นหลังจากปิดซ่อมโรงกลั่นน้ำมันระยองและสตาร์ปิโตรเลียมในเดือนก่อน
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.4 ตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+19.6%) เนื่องจากผลของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และการขยายตัวของตลาดส่งออก และ หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (+6.8%) ตามการขยายตัวของตลาดส่งออกเป็นสำคัญ
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 59.8 แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 63.7
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (76.9%) ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากโรงกลั่นระยองและโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียมกลับมาผลิตตามปกติหลังจากปิดซ่อมบำรุงในเดือนก่อน ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (47.5%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตรถยนต์ที่คาดว่าจะจำหน่ายได้มากขึ้นในงานบางกอกมอเตอร์โชว์ ในช่วงต้นเดือนเมษายน อิเล็กทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (59.6%) เพิ่มขึ้นทั้งการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ที่ช่วงสองเดือนก่อนหน้าได้ผลิตลดลงและทำให้สต๊อกสินค้าลดลงมาก หมวดเครื่องดื่ม(41.3%) ผลิตเพิ่มขึ้นตามการผลิตเบียร์ เพื่อรองรับเทศกาลสงกรานต์ และหมวดยาสูบ (69.6%) ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของตัวแทนจำหน่าย ก่อนที่จะมีการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตของบุหรี่จากร้อยละ 71.5 เป็นร้อยละ 75 ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2544
หมวดที่มีการใช้กำลังผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอาหาร (45.1%) ลดลงมากตามการผลิตน้ำตาล เนื่องจากเป็นช่วงฤดูปิดหีบ ประกอบกับขาดแคลนวัตถุดิบอ้อยที่ประสบปัญหาโรคระบาด
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอาหาร(-26.8%) การผลิตลดลง เนื่องจากวัตถุดิบอ้อยที่ป้อนโรงงานน้ำตาลมีปริมาณลดลง เพราะเกิดโรคระบาด โรงงานน้ำตาลจึงปิดหีบเร็วกว่าปีก่อน ทำให้ผลผลิตน้ำตาลลดลง กอปรกับผลผลิตสับปะรดกระป๋องก็ลดลงมาก เนื่องจากการส่งออกประสบปัญหาการแข่งขันสูง และได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti Dumping) ของสหรัฐอเมริกา และการตัดสิทธิ GSP ของสหภาพยุโรป หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (-14.8%) ลดลงตามการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าเป็นสำคัญ เนื่องจากตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่โทรทัศน์สีประสบปัญหากำลังซื้อจากตลาดในประเทศยังอ่อนตัว และ การส่งออกได้ชะลอตัวลง
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+20.2%) ผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับยอดการสั่งจองในงานบางกอกมอเตอร์โชว์เดือนเมษายน ซึ่งผู้ผลิตแข่งขันกันจัดรายการส่งเสริมการขายเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด หมวดสิ่งทอ (+3.3%) การผลิตเพิ่มขึ้น ตามการส่งออกเส้นด้าย ผ้าผืนถักและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งได้รับผลดีจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท และหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+3.2%) ผลิตเพิ่มขึ้นหลังจากปิดซ่อมโรงกลั่นน้ำมันระยองและสตาร์ปิโตรเลียมในเดือนก่อน
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.4 ตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+19.6%) เนื่องจากผลของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และการขยายตัวของตลาดส่งออก และ หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (+6.8%) ตามการขยายตัวของตลาดส่งออกเป็นสำคัญ
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 59.8 แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 63.7
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (76.9%) ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากโรงกลั่นระยองและโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียมกลับมาผลิตตามปกติหลังจากปิดซ่อมบำรุงในเดือนก่อน ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (47.5%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตรถยนต์ที่คาดว่าจะจำหน่ายได้มากขึ้นในงานบางกอกมอเตอร์โชว์ ในช่วงต้นเดือนเมษายน อิเล็กทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (59.6%) เพิ่มขึ้นทั้งการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ที่ช่วงสองเดือนก่อนหน้าได้ผลิตลดลงและทำให้สต๊อกสินค้าลดลงมาก หมวดเครื่องดื่ม(41.3%) ผลิตเพิ่มขึ้นตามการผลิตเบียร์ เพื่อรองรับเทศกาลสงกรานต์ และหมวดยาสูบ (69.6%) ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของตัวแทนจำหน่าย ก่อนที่จะมีการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตของบุหรี่จากร้อยละ 71.5 เป็นร้อยละ 75 ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2544
หมวดที่มีการใช้กำลังผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอาหาร (45.1%) ลดลงมากตามการผลิตน้ำตาล เนื่องจากเป็นช่วงฤดูปิดหีบ ประกอบกับขาดแคลนวัตถุดิบอ้อยที่ประสบปัญหาโรคระบาด
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-