นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยผลการประชุมแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการที่สหรัฐอเมริกากำลังพิจารณาจะออกร่างกฎหมายว่าด้วยการแสดงแหล่งกำเนิดของสินค้าเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียม เมื่อวันศุกร์ที่ 3 มีนาคม 2543 โดยมีผู้แทนกรมส่งเสริม-การส่งออก กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายกสมาคม-เครื่องประดับอัญมณีเทียม และผู้ประกอบการส่งออกสินค้าเครื่องประดับอัญมณีเทียมเข้าร่วมประชุมหารือ ปรากฏว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปว่า การที่สหรัฐ-อเมริกาจะกำหนดให้เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียมตามประเภทพิกัดศุลกากรที่ 71.17 จากต่างประเทศ รวมทั้งประเทศไทยที่เข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา จะต้องแสดงชื่อประเทศแหล่งกำเนิดชนิดที่ลบออกไม่ได้ลงบนตัวเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียมและออกเป็นกฎหมายใช้บังคับนั้น จะทำให้ต้นทุนการผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียมของไทยและประเทศต่าง ๆ ที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น ซึ่งนับว่าเป็นอุปสรรคทางการค้าและขัดต่อความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าขององค์การการค้าโลก (WTO) ที่ประชุมจึงได้มีมติให้มีการดำเนินการเพื่อคัดค้านการออกร่างกฎหมายฉบับนี้
ในการนี้ที่ประชุมได้มอบให้กรมการค้าต่างประเทศประสานงานกับสำนักงานพาณิชย์ฯ ณ กรุงวอชิงตัน ดำเนินการคัดค้านในทุกระดับ และให้หาแนวร่วมจากประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่อื่น ๆ ที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ได้แก่ เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน ให้ร่วมกับไทยดำเนินการคัดค้าน ขณะเดียวกันขอให้กรมการค้าต่างประเทศตรวจสอบขอความกระจ่างจากทางการสหรัฐอเมริกาด้วยว่า หากการระบุชื่อประเทศแหล่งกำเนิดลงบนตัวสินค้าทำให้เกิดความเสียหายต่อแบบและลวดลายของสินค้า จะถือว่าอยู่ในข้อยกเว้นไม่ต้องแสดงแหล่งกำเนิดลงบนตัวสินค้าได้หรือไม่ เพื่อนำข้อมูลที่ได้แจ้งแก่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทย ให้สามารถเตรียมความพร้อมในการผลิตที่ต้องปรับเปลี่ยนนั้น ต่อไป
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวว่า กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการรุกหนักขอให้สำนักงานพาณิชย์ และสำนักงานส่งเสริมการค้าของไทยที่ประจำอยู่ในสหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ขอความร่วมมือรัฐบาลของประเทศเหล่านั้นให้ร่วมกับไทยคัดค้านสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมกับการคัดค้านในเรื่องนี้ของสมาคมผู้ค้าปลีกในสหรัฐฯ ซึ่งพลังคัดค้านที่รวมกันนี้จะมีส่วนให้สหรัฐอเมริกาต้องทบทวนร่างกฎหมายดังกล่าว
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวในตอนท้ายว่า ในเวที WTO คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก ก็ได้ยื่นคำคัดค้านการยกร่างกฎหมายฉบับนี้ต่อผู้แทนสหรัฐอเมริกาในคราวการประชุมคณะกรรมการความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ซึ่งจัดขึ้นที่องค์การการค้าโลก ณ นครเจนีวา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2543 ด้วย และสำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงวอชิงตัน ได้ยื่นหนังสือคัดค้านต่อ นาย Richard Fisher รองผู้แทนการค้าสหรัฐฯ โดยอ้างว่า กฎหมายเกี่ยวกับการระบุแหล่งกำเนิดฉบับนี้ของสหรัฐฯ ขัดต่อข้อตกลงของ WTO ว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ซึ่งเป็นข้อตกลงที่กำหนดให้ประเทศสมาชิก WTO จะต้องให้การปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อสินค้าที่นำเข้าไม่น้อยไปกว่าที่ให้กับสินค้าประเภทเดียวกันของประเทศตน
--กรมการค้าต่างประเทศ มีนาคม 2543--
-อน-
ในการนี้ที่ประชุมได้มอบให้กรมการค้าต่างประเทศประสานงานกับสำนักงานพาณิชย์ฯ ณ กรุงวอชิงตัน ดำเนินการคัดค้านในทุกระดับ และให้หาแนวร่วมจากประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่อื่น ๆ ที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ได้แก่ เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน ให้ร่วมกับไทยดำเนินการคัดค้าน ขณะเดียวกันขอให้กรมการค้าต่างประเทศตรวจสอบขอความกระจ่างจากทางการสหรัฐอเมริกาด้วยว่า หากการระบุชื่อประเทศแหล่งกำเนิดลงบนตัวสินค้าทำให้เกิดความเสียหายต่อแบบและลวดลายของสินค้า จะถือว่าอยู่ในข้อยกเว้นไม่ต้องแสดงแหล่งกำเนิดลงบนตัวสินค้าได้หรือไม่ เพื่อนำข้อมูลที่ได้แจ้งแก่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทย ให้สามารถเตรียมความพร้อมในการผลิตที่ต้องปรับเปลี่ยนนั้น ต่อไป
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวว่า กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการรุกหนักขอให้สำนักงานพาณิชย์ และสำนักงานส่งเสริมการค้าของไทยที่ประจำอยู่ในสหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ขอความร่วมมือรัฐบาลของประเทศเหล่านั้นให้ร่วมกับไทยคัดค้านสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมกับการคัดค้านในเรื่องนี้ของสมาคมผู้ค้าปลีกในสหรัฐฯ ซึ่งพลังคัดค้านที่รวมกันนี้จะมีส่วนให้สหรัฐอเมริกาต้องทบทวนร่างกฎหมายดังกล่าว
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวในตอนท้ายว่า ในเวที WTO คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก ก็ได้ยื่นคำคัดค้านการยกร่างกฎหมายฉบับนี้ต่อผู้แทนสหรัฐอเมริกาในคราวการประชุมคณะกรรมการความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ซึ่งจัดขึ้นที่องค์การการค้าโลก ณ นครเจนีวา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2543 ด้วย และสำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงวอชิงตัน ได้ยื่นหนังสือคัดค้านต่อ นาย Richard Fisher รองผู้แทนการค้าสหรัฐฯ โดยอ้างว่า กฎหมายเกี่ยวกับการระบุแหล่งกำเนิดฉบับนี้ของสหรัฐฯ ขัดต่อข้อตกลงของ WTO ว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ซึ่งเป็นข้อตกลงที่กำหนดให้ประเทศสมาชิก WTO จะต้องให้การปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อสินค้าที่นำเข้าไม่น้อยไปกว่าที่ให้กับสินค้าประเภทเดียวกันของประเทศตน
--กรมการค้าต่างประเทศ มีนาคม 2543--
-อน-