ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ
ภาคเกษตร
1. ยางพารา
เป็นพืชเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของภาค มีพื้นที่ปลูกประมาณ 11 ล้านไร่ เป็นสวนยางพันธุ์ดีประมาณร้อยละ 92 ของพื้นที่ปลูกยางในภาคใต้ สามารถผลิตยางได้ประมาณร้อยละ 90 ของผลผลิตยางทั้งประเทศ
ในภาคใต้มีการปลูกยางทุกจังหวัด เนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขา เหมาะกับการปลูกยางมากกว่าพืชอื่น ประกอบกับยางเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษามาก ผลผลิตไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะใดหรือมีคุณภาพอย่างไรจำหน่ายได้หมด จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดคือ จังหวัดสงขลา รองลงมาได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง นราธิวาส และยะลา ส่วนจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกน้อยที่สุดคือ จังหวัดระนอง
เกษตรกรที่ทำสวนยางประมาณร้อยละ 30 เป็นเกษตรกรรายย่อย มีพื้นที่สวนยางไม่เกิน 10 ไร่ เกษตรกรที่เป็นเจ้าของสวนยางขนาดใหญ่ตั้งแต่ 25 ไร่ขึ้นไปมีเพียงร้อยละ 17 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม จากการที่ทางการได้มีการส่งเสริมให้ปลูกแทนยางพันธุ์ดี รวมทั้งฝึกอบรมและส่งเสริมการรวมกลุ่ม ทำให้การผลิตขยายตัวมากขึ้น ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 218 กิโลกรัม/ไร่
ทางด้านการตลาด โดยทั่วไปมีสภาพที่ค่อนข้างเป็นอิสระ ผู้ค้ายางต่างแข่งขันกันซื้อขายและจะรับซื้อแบบคละชั้น ไม่มีการแบ่งเกรด ใช้วิธีประเมินคร่าว ๆ ด้วยสายตา ตลาดการค้ายางที่สำคัญได้แก่ หาดใหญ่ ตรัง สุราษฎร์ธานี ยะลาและภูเก็ต ซึ่งผลผลิตเกือบทั้งหมดจะส่งออกต่างประเทศ โดยมีตลาดรับซื้อที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ มาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการจำหน่ายในลักษณะยางแผ่นรมควันมากที่สุดประมาณร้อยละ 70
ในการกำหนดราคารับซื้อ ทางโรงรมอิงราคารับซื้อของผู้ส่งออก ซึ่งอิงราคา F.O.B. ที่ตลาดสิงคโปร์/ญี่ปุ่นอีกต่อหนึ่ง โดยหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ออก เช่น ค่าใช้จ่ายในการส่งออก ค่าสงเคราะห์การปลูกแทน ดังนั้นราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่ทางโรงรม หรือผู้ส่งออกประกาศเปิดราคาประจำวันจะเปลี่ยนแปลงตามราคายางในตลาดโลก
อย่างไรก็ตาม จากการที่ราคามีแนวโน้มลดต่ำลงมาตลอด หลังจากที่สูงมากเป็นประวัติการณ์ในปี 2531 เพื่อแก้ไขปัญหาราคาดังกล่าว จึงได้มีการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการซื้อขายผลผลิตยางในท้องถิ่น โดยจัดตั้งที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2534 ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยยาง หลังจากนั้นได้มีการเปิดตลาดกลางยางท้องถิ่นหรือตลาดประมูลยางเพิ่มขึ้น ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งห้องค้ายางขึ้น ซึ่งสมาชิกสามารถเข้ามาซื้อขายยางด้วยตนเอง หรือซื้อขายผ่านโทรสารหรือคอมพิวเตอร์ก็ได้ พร้อมทั้งให้เงินพันกว่าล้านบาทสร้างโรงรมให้ชาวสวนยาง เพื่อนำยางมาผสมและผลิตเป็นยางแผ่นรมควันในคุณภาพเดียวกัน เป็นการปรับปรุงคุณภาพการทำยางแผ่น
2. ข้าว
การปลูกข้าวในภาคใต้กระจายอยู่ทั่วทั้งภาค แต่ผลผลิตมีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจไม่มากนักเมื่อเทียบกับภาคอื่น เนื่องจากเป็นข้าวคุณภาพต่ำและผลิตได้น้อย ประมาณปีละ 0.9 ล้านเมตริกตันข้าวเปลือก ขณะที่ความต้องการข้าวเพื่อบริโภคสูงถึงปีละประมาณ 1.6-1.7 ล้านเมตริกตันข้าวสาร จึงทำให้ต้องมีการนำเข้าข้าวจากภาคอื่นปีละประมาณ 1.0 ล้านเมตริกตัน
ฤดูการเพาะปลูกข้าวในภาคใต้แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ ของประเทศ เนื่องจากฤดูฝนของภาคใต้ล่าช้ากว่า การเพาะปลูกข้าวจึงเริ่มช้าและเก็บเกี่ยวหลังภาคอื่นประมาณ 2-3 เดือน โดยเริ่มทำการเตรียมพื้นที่ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม และเก็บเกี่ยวในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ทั้งนี้จะแตกต่างกันบ้างระหว่างฝั่งตะวันตกกับฝั่งตะวันออก โดยฝั่งตะวันตกจะเริ่มทำการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวเร็วกว่าทางฝั่งตะวันออกประมาณ 1 เดือน
แหล่งปลูกข้าวที่สำคัญอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุงและสงขลา โดยมีพื้นที่ปลูกรวมกันถึงร้อยละ 66 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งภาคใต้ และผลิตข้าวรวมกันประมาณร้อยละ 61 ของทั้งภาค อย่างไรก็ตามในระยะหลังผลผลิตข้าวในภาคใต้มีแนวโน้มลดลงมาตลอดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากพื้นที่นาในหลายจังหวัดได้เปลี่ยนกรรมสิทธิ์และแปรสภาพไปทำกิจกรรมอื่น เช่น เป็นนากุ้ง สิ่งปลูกสร้าง ที่อยู่อาศัย และสถานที่ประกอบอาชีพอื่น นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากโครงการปรับปรุงระบบการผลิตทางการเกษตร
ทางด้านตลาด โรงสีจะทำหน้าที่รับซื้อข้าวเปลือกและรับจ้างสีข้าวให้แก่ชาวนา และจำหน่ายผลผลิตข้าวสารให้กับพ่อค้าขายปลีกในท้องถิ่นและพ่อค้าขายส่ง เพื่อจำหน่ายไปยังท้องถิ่นที่ผลิตข้าวไม่เพียงพอกับการบริโภคและบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ซึ่งราคารับซื้อข้าวเปลือกนั้น โดยทั่วไปจะเปลี่ยนแปลงไปตามราคาข้าวในภาคกลาง และความคล่องตัวในการระบายข้าวสารออกไปบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย
3. ปาล์มน้ำมัน
เป็นพืชที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจของภาคใต้อีกชนิดหนึ่ง โดยเริ่มมีการปลูกมาตั้งแต่ปี 2508 แต่ไม่แพร่หลายนัก จนกระทั่งปี 2511 บริษัทไทยอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มและสวนปาล์มได้ทำสวนปาล์มน้ำมัน ที่อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ และได้มีการจัดตั้งโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขึ้น การปลูกปาล์มน้ำมันจึงเริ่มขยายตัวขึ้นในหลายพื้นที่ เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าพืชชนิดอื่น ประกอบกับน้ำมันปาล์มสามารถนำไปทดแทนน้ำมันพืชอื่นได้ดีและราคาถูก นอกจากนี้อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบขยายตัวมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยผลักดันให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกไปอย่างรวดเร็ว จากประมาณ 1,540 ไร่ ในปี 2511 เป็นประมาณ 1.35 ล้านไร่ในปัจจุบัน โดยมีการปลูกกันมากในจังหวัดกระบี่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรังและสตูล
การดำเนินธุรกิจปาล์มน้ำมันจะเป็นการดำเนินกิจการในรูปของการรวมตัวตามแนวราบ คือเกษตรกรสวนปาล์มจะเป็นผู้ผลิตผลปาล์มสด เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม โดยขายใน 2 ลักษณะ คือ ขายเป็นผลปาล์มสดทั้งทะลายและผลปาล์มร่วง โรงงานสกัดก็จะขาย น้ำมันปาล์มดิบให้โรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ เพื่อจำหน่ายให้ผู้บริโภคต่อไป ทำให้ไม่สามารถวางแผนดำเนินการผลิตผลปาล์มสดและน้ำมันปาล์มให้สอดคล้องกันได้ นอกจากนี้การค้าปาล์ม น้ำมันยังมีข้อจำกัดในเรื่องเวลา คือเมื่อตัดผลปาล์มน้ำมันออกจากต้นแล้ว ต้องรีบนำเข้าโรงงานสกัดภายใน 24 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นจะเกิดกรดไขมันอิสระขึ้น ทำให้คุณภาพของน้ำมันปาล์มเสื่อมลง เมื่อเป็นเช่นนี้ในการกำหนดราคารับซื้อผลปาล์มสดจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ราคาน้ำมันปาล์ม คุณภาพของผลปาล์ม ปริมาณผลปาล์มที่ออกสู่ตลาด เป็นต้น นอกจากนี้ปัญหาการลักลอบนำเข้า น้ำมันปาล์มบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ก็มีผลกระทบต่อราคาผลปาล์มสดด้วย
4. กาแฟ
เนื่องจากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ราคากาแฟเคยสูงเป็นประวัติการณ์ถึงกิโลกรัมละ 120 บาท ทำให้มีการตื่นตัวปลูกกาแฟกันมาก ประกอบกับการทำสวนกาแฟได้รับอัตราผลตอบแทนในอัตราสูงในระยะเวลาที่สั้นกว่าการปลูกพืชชนิดอื่นอีกหลายชนิด และทางการได้ให้การส่งเสริม โดยการให้คำแนะนำทางด้านวิชาการแก่เกษตรกร ทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกออกไปอย่างกว้างขวาง
พื้นที่ปลูกกาแฟในภาคใต้มีประมาณ 4-5 แสนไร่ หรือประมาณร้อยละ 92 ของ พื้นที่ปลูกกาแฟทั้งประเทศ จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกกาแฟมากที่สุดในภาคใต้คือ จังหวัดชุมพร รองลงมาได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระนอง กระบี่และนครศรีธรรมราช พันธุ์ที่นิยมปลูกมากในภาคใต้คือ พันธุ์โรบัสต้า ผลผลิตกาแฟในภาคใต้มีประมาณปีละ 65,000-80,000 เมตริกตัน ซึ่งผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์
การตลาดโดยทั่วไป ผู้รวบรวมท้องถิ่นจะเป็นผู้รวบรวมกาแฟจากเกษตรกร เพื่อส่งไปให้ผู้ส่งออกในกรุงเทพมหานคร หรือโรงงานคั่วกาแฟ หรือโรงงานกาแฟสำเร็จรูป ซึ่งโรงงานคั่วกาแฟหรือโรงงานกาแฟสำเร็จรูปจะนำเข้าสู่กระบวนการผลิต ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟออกจำหน่าย ส่วนพ่อค้าส่งออกจะนำกาแฟส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งออกในรูปเมล็ดกาแฟดิบ
อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของชาวไร่กาแฟที่มักจะประสบอยู่เป็นประจำคือ การตลาด เนื่องจากราคากาแฟไม่ค่อยมีเสถียรภาพ ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตกาแฟในตลาดโลก
5. ประมง
การทำประมงในภาคใต้มีทั้งประมงน้ำจืด ประมงทะเลและประมงชายฝั่ง แต่การทำประมงทะเลมีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากภาคใต้มีฝั่งทะเลเป็นแนวยาวทั้งด้านตะวันตกและตะวันออก การทำประมงทะเลจึงมีในทุกจังหวัด ยกเว้นจังหวัดยะลาและพัทลุงที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลใหญ่
ผลผลิตสัตว์น้ำที่จับได้กว่าร้อยละ 50 เป็นปลาเป็ด ซึ่งจะนำไปเป็นวัตถุดิบของโรงงานปลาป่น ส่วนผลผลิตที่เหลือเป็นสัตว์น้ำที่ใช้บริโภค เช่น กุ้ง ปลาหมึก ปู ปลาทู ปลาลัง ปลาตาโต ปลาทรายแดง และปลาสีกุล เป็นต้น
ในระยะที่ผ่านมา ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นผลมาจากการที่ชาวประมงได้พัฒนาเครื่องมือประมงให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย สามารถออกไปจับสัตว์น้ำได้ไกล อย่างไรก็ตาม อัตราเพิ่มได้ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด จากที่เคยเพิ่มกว่าร้อยละ 30 ต่อปีในช่วงปี 2519-2521 เหลือเพียงไม่เกิน ร้อยละ 10 ต่อปี นับตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมา ทั้งนี้เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลลดลง และการทำประมงนอกน่านน้ำประสบปัญหา ประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ เวียดนาม มาเลเซียและพม่า เข้มงวดจับกุมเรือประมงที่ล่วงล้ำน่านน้ำมากขึ้น นอกจากนี้หลังจากเกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ แรงงานลูกเรือที่มีถิ่นฐานอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนืออพยพกลับถิ่นฐานมากขึ้น ประกอบกับทางภาคตะวันออกและภาคกลางมีการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้าง ทำให้แรงงานทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเคลื่อนย้ายมาภาคใต้น้อยลง ส่งผลให้เรือประมงบางส่วนไม่สามารถออกทะเลได้ เพราะขาดลูกเรือ แม้ว่าในบางพื้นที่จะมีการนำแรงงานต่างชาติเข้ามาทดแทนก็ตาม และนอกจากนี้ต้นทุนการทำประมงทะเลยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะต้นทุนน้ำมันซึ่งราคาสูงขึ้น ประกอบกับทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลไทยเสื่อมโทรมลง ส่งผลให้การทำประมงของภาคใต้ไม่ขยายตัวเท่าที่ควร
ทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงกุลาดำมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2530 ปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมคือ การขยายตัวของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดนำเข้าที่สำคัญที่สุด รองลงมาได้แก่ สหรัฐอเมริกาและกลุ่มประชาคมยุโรป ประกอบกับราคาอยู่ในระดับสูงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200-250 บาท สำหรับกุ้งขนาด 30 ตัวต่อกิโลกรัม จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรและบุคคลทั่วไปหันมานิยมเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกซึ่งติดกับอ่าวไทย
ลักษณะการเพาะเลี้ยงมีทั้งแบบธรรมชาติ (อาศัยพันธุ์กุ้งจากการสูบน้ำทะเลเข้านากุ้ง การเลี้ยงแบบนี้ให้ผลผลิตต่ำ) แบบกึ่งพัฒนา (อาศัยพันธุ์กุ้งจากธรรมชาติส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งได้จากโรงเพาะฟัก การเลี้ยงแบบนี้จะมีการให้อาหารเสริมและอาหารสำเร็จรูปด้วย) และแบบพัฒนา (เป็นการเลี้ยงที่ควบคุมการผลิตในทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การเพาะขยายพันธุ์กุ้ง เตรียมบ่อ ปล่อยพันธุ์กุ้ง ให้อาหาร)
อย่างไรก็ตาม หลังจากปี 2533 ได้เกิดปัญหามลภาวะน้ำเน่าเสียในบ่อกุ้ง บริเวณที่มีการเพาะเลี้ยงหนาแน่นในแถบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก โดยเฉพาะบางพื้นที่ในเขตจังหวัดนครศรี-ธรรมราชและสุราษฎร์ธานี ทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะเลี้ยงไปทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกมากขึ้น โดยเลี้ยงมากที่จังหวัดตรัง บริเวณอำเภอกันตัง ปะเหลียน สิเกา และย่านตาขาว รองลงมาได้แก่ จังหวัดสตูล พังงา กระบี่ และภูเก็ต
ทางด้านผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงในเขตพื้นที่ภาคใต้ เมื่อเทียบกับผลผลิตทั้งประเทศแล้วมีสัดส่วนสูงขึ้นร้อยละ 60.0 ของผลผลิตทั้งประเทศ
ภาคเหมืองแร่
แร่เป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของภาคใต้ ในอดีตเคยทำรายได้ในปีหนึ่ง ๆ นับหมื่นล้านบาท แต่นับตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นมา บทบาทของแร่ต่อเศรษฐกิจของภาคใต้มีน้อยลง เนื่องจากความต้องการใช้ดีบุก ซึ่งเป็นแร่ที่สำคัญของภาคใต้ลดลงมาตลอด อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาทั่วโลก มีการใช้วัสดุอื่นทดแทนดีบุกมากขึ้น ประกอบกับเกิดวิกฤตการณ์ดีบุกใน ปี 2528 เมื่อตลาด The London Metal Exchange (LME) หยุดซื้อขายดีบุก ราคาดีบุกโดยเฉพาะที่ กัวลาลัมเปอร์ตกต่ำ ส่งผลให้ราคาในประเทศต่ำลงไปด้วย นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากความอุดมสมบูรณ์ของแร่ลดลงด้วย
เหมืองแร่ที่เปิดดำเนินการในภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็นเหมืองขนาดเล็กและขนาดกลาง แร่ที่ผลิตได้มีหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ ดีบุก ยิปซั่ม ทังสเตน ลิกไนท์ ฟลูออไรท์ แมงกานีส และพลวง
สำหรับแร่ดีบุก ภาคใต้เป็นแหล่งผลิตแร่ดีบุกที่สำคัญ และเป็นที่ตั้งของโรงงานถลุงแร่ดีบุกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ในอดีตมีเหมืองแร่เปิดดำเนินการเกือบ 1,000 เหมือง ปัจจุบันได้ลดลงเหลือเพียง 66 เหมืองเท่านั้น โดยจังหวัดพังงามีมากที่สุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ระนอง ภูเก็ต และชุมพร
ผลผลิตแร่ดีบุกในภาคใต้มีปริมาณประมาณกว่าร้อยละ 80 ของทั้งประเทศ เคยผลิตได้สูงสุดเมื่อปี 2523 โดยผลิตได้ 38,799 เมตริกตัน หลังจากนั้นผลผลิตก็ลดต่ำลง โดยเฉพาะในช่วงหลังปี 2528 ซึ่งเกิดวิกฤตการณ์ดีบุกเป็นต้นมา ได้ผลผลิตต่ำกว่า 20,000 เมตริกตัน มาตลอด จังหวัดที่ผลิตดีบุกได้มากที่สุดได้แก่ จังหวัดพังงา โดยผลิตได้ประมาณร้อยละ 42 ของผลผลิตทั้งภาคใต้
สำหรับผลผลิตโลหะดีบุกของโรงงานถลุงในภาคใต้ เมื่อผลทางด้านราคาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การผลิตสินแร่ดีบุกจากเหมืองในภาคใต้ลดลงนั้น สินแร่ที่ใช้เพื่อการผลิตโลหะดีบุกจึงเป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลีย รัสเซีย โปรตุเกส และอังกฤษ
ส่วนแร่ยิปซั่มนั้น แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ผลผลิตเกือบทั้งหมดส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ โดยลงเรือที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง และจังหวัดกระบี่ นอกจากนี้ยังมีการส่งทางรถไฟ ซึ่งส่วนใหญ่ไปยังตลาดมาเลเซีย ตลาดนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์
ผลผลิตแร่ยิปซั่มของภาคใต้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกนั้น ตั้งแต่ปี 2537 ทางการได้กำหนดมาตรการควบคุมการส่งออก เพื่อสงวนทรัพยากรแร่ไว้สำรองเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยการกำหนดให้แร่ยิปซั่มเป็นแร่ที่อยู่ในความควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ภาคเกษตร
1. ยางพารา
เป็นพืชเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของภาค มีพื้นที่ปลูกประมาณ 11 ล้านไร่ เป็นสวนยางพันธุ์ดีประมาณร้อยละ 92 ของพื้นที่ปลูกยางในภาคใต้ สามารถผลิตยางได้ประมาณร้อยละ 90 ของผลผลิตยางทั้งประเทศ
ในภาคใต้มีการปลูกยางทุกจังหวัด เนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขา เหมาะกับการปลูกยางมากกว่าพืชอื่น ประกอบกับยางเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษามาก ผลผลิตไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะใดหรือมีคุณภาพอย่างไรจำหน่ายได้หมด จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดคือ จังหวัดสงขลา รองลงมาได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง นราธิวาส และยะลา ส่วนจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกน้อยที่สุดคือ จังหวัดระนอง
เกษตรกรที่ทำสวนยางประมาณร้อยละ 30 เป็นเกษตรกรรายย่อย มีพื้นที่สวนยางไม่เกิน 10 ไร่ เกษตรกรที่เป็นเจ้าของสวนยางขนาดใหญ่ตั้งแต่ 25 ไร่ขึ้นไปมีเพียงร้อยละ 17 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม จากการที่ทางการได้มีการส่งเสริมให้ปลูกแทนยางพันธุ์ดี รวมทั้งฝึกอบรมและส่งเสริมการรวมกลุ่ม ทำให้การผลิตขยายตัวมากขึ้น ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 218 กิโลกรัม/ไร่
ทางด้านการตลาด โดยทั่วไปมีสภาพที่ค่อนข้างเป็นอิสระ ผู้ค้ายางต่างแข่งขันกันซื้อขายและจะรับซื้อแบบคละชั้น ไม่มีการแบ่งเกรด ใช้วิธีประเมินคร่าว ๆ ด้วยสายตา ตลาดการค้ายางที่สำคัญได้แก่ หาดใหญ่ ตรัง สุราษฎร์ธานี ยะลาและภูเก็ต ซึ่งผลผลิตเกือบทั้งหมดจะส่งออกต่างประเทศ โดยมีตลาดรับซื้อที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ มาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการจำหน่ายในลักษณะยางแผ่นรมควันมากที่สุดประมาณร้อยละ 70
ในการกำหนดราคารับซื้อ ทางโรงรมอิงราคารับซื้อของผู้ส่งออก ซึ่งอิงราคา F.O.B. ที่ตลาดสิงคโปร์/ญี่ปุ่นอีกต่อหนึ่ง โดยหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ออก เช่น ค่าใช้จ่ายในการส่งออก ค่าสงเคราะห์การปลูกแทน ดังนั้นราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่ทางโรงรม หรือผู้ส่งออกประกาศเปิดราคาประจำวันจะเปลี่ยนแปลงตามราคายางในตลาดโลก
อย่างไรก็ตาม จากการที่ราคามีแนวโน้มลดต่ำลงมาตลอด หลังจากที่สูงมากเป็นประวัติการณ์ในปี 2531 เพื่อแก้ไขปัญหาราคาดังกล่าว จึงได้มีการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการซื้อขายผลผลิตยางในท้องถิ่น โดยจัดตั้งที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2534 ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยยาง หลังจากนั้นได้มีการเปิดตลาดกลางยางท้องถิ่นหรือตลาดประมูลยางเพิ่มขึ้น ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งห้องค้ายางขึ้น ซึ่งสมาชิกสามารถเข้ามาซื้อขายยางด้วยตนเอง หรือซื้อขายผ่านโทรสารหรือคอมพิวเตอร์ก็ได้ พร้อมทั้งให้เงินพันกว่าล้านบาทสร้างโรงรมให้ชาวสวนยาง เพื่อนำยางมาผสมและผลิตเป็นยางแผ่นรมควันในคุณภาพเดียวกัน เป็นการปรับปรุงคุณภาพการทำยางแผ่น
2. ข้าว
การปลูกข้าวในภาคใต้กระจายอยู่ทั่วทั้งภาค แต่ผลผลิตมีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจไม่มากนักเมื่อเทียบกับภาคอื่น เนื่องจากเป็นข้าวคุณภาพต่ำและผลิตได้น้อย ประมาณปีละ 0.9 ล้านเมตริกตันข้าวเปลือก ขณะที่ความต้องการข้าวเพื่อบริโภคสูงถึงปีละประมาณ 1.6-1.7 ล้านเมตริกตันข้าวสาร จึงทำให้ต้องมีการนำเข้าข้าวจากภาคอื่นปีละประมาณ 1.0 ล้านเมตริกตัน
ฤดูการเพาะปลูกข้าวในภาคใต้แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ ของประเทศ เนื่องจากฤดูฝนของภาคใต้ล่าช้ากว่า การเพาะปลูกข้าวจึงเริ่มช้าและเก็บเกี่ยวหลังภาคอื่นประมาณ 2-3 เดือน โดยเริ่มทำการเตรียมพื้นที่ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม และเก็บเกี่ยวในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ทั้งนี้จะแตกต่างกันบ้างระหว่างฝั่งตะวันตกกับฝั่งตะวันออก โดยฝั่งตะวันตกจะเริ่มทำการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวเร็วกว่าทางฝั่งตะวันออกประมาณ 1 เดือน
แหล่งปลูกข้าวที่สำคัญอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุงและสงขลา โดยมีพื้นที่ปลูกรวมกันถึงร้อยละ 66 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งภาคใต้ และผลิตข้าวรวมกันประมาณร้อยละ 61 ของทั้งภาค อย่างไรก็ตามในระยะหลังผลผลิตข้าวในภาคใต้มีแนวโน้มลดลงมาตลอดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากพื้นที่นาในหลายจังหวัดได้เปลี่ยนกรรมสิทธิ์และแปรสภาพไปทำกิจกรรมอื่น เช่น เป็นนากุ้ง สิ่งปลูกสร้าง ที่อยู่อาศัย และสถานที่ประกอบอาชีพอื่น นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากโครงการปรับปรุงระบบการผลิตทางการเกษตร
ทางด้านตลาด โรงสีจะทำหน้าที่รับซื้อข้าวเปลือกและรับจ้างสีข้าวให้แก่ชาวนา และจำหน่ายผลผลิตข้าวสารให้กับพ่อค้าขายปลีกในท้องถิ่นและพ่อค้าขายส่ง เพื่อจำหน่ายไปยังท้องถิ่นที่ผลิตข้าวไม่เพียงพอกับการบริโภคและบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ซึ่งราคารับซื้อข้าวเปลือกนั้น โดยทั่วไปจะเปลี่ยนแปลงไปตามราคาข้าวในภาคกลาง และความคล่องตัวในการระบายข้าวสารออกไปบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย
3. ปาล์มน้ำมัน
เป็นพืชที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจของภาคใต้อีกชนิดหนึ่ง โดยเริ่มมีการปลูกมาตั้งแต่ปี 2508 แต่ไม่แพร่หลายนัก จนกระทั่งปี 2511 บริษัทไทยอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มและสวนปาล์มได้ทำสวนปาล์มน้ำมัน ที่อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ และได้มีการจัดตั้งโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขึ้น การปลูกปาล์มน้ำมันจึงเริ่มขยายตัวขึ้นในหลายพื้นที่ เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าพืชชนิดอื่น ประกอบกับน้ำมันปาล์มสามารถนำไปทดแทนน้ำมันพืชอื่นได้ดีและราคาถูก นอกจากนี้อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบขยายตัวมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยผลักดันให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกไปอย่างรวดเร็ว จากประมาณ 1,540 ไร่ ในปี 2511 เป็นประมาณ 1.35 ล้านไร่ในปัจจุบัน โดยมีการปลูกกันมากในจังหวัดกระบี่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรังและสตูล
การดำเนินธุรกิจปาล์มน้ำมันจะเป็นการดำเนินกิจการในรูปของการรวมตัวตามแนวราบ คือเกษตรกรสวนปาล์มจะเป็นผู้ผลิตผลปาล์มสด เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม โดยขายใน 2 ลักษณะ คือ ขายเป็นผลปาล์มสดทั้งทะลายและผลปาล์มร่วง โรงงานสกัดก็จะขาย น้ำมันปาล์มดิบให้โรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ เพื่อจำหน่ายให้ผู้บริโภคต่อไป ทำให้ไม่สามารถวางแผนดำเนินการผลิตผลปาล์มสดและน้ำมันปาล์มให้สอดคล้องกันได้ นอกจากนี้การค้าปาล์ม น้ำมันยังมีข้อจำกัดในเรื่องเวลา คือเมื่อตัดผลปาล์มน้ำมันออกจากต้นแล้ว ต้องรีบนำเข้าโรงงานสกัดภายใน 24 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นจะเกิดกรดไขมันอิสระขึ้น ทำให้คุณภาพของน้ำมันปาล์มเสื่อมลง เมื่อเป็นเช่นนี้ในการกำหนดราคารับซื้อผลปาล์มสดจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ราคาน้ำมันปาล์ม คุณภาพของผลปาล์ม ปริมาณผลปาล์มที่ออกสู่ตลาด เป็นต้น นอกจากนี้ปัญหาการลักลอบนำเข้า น้ำมันปาล์มบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ก็มีผลกระทบต่อราคาผลปาล์มสดด้วย
4. กาแฟ
เนื่องจากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ราคากาแฟเคยสูงเป็นประวัติการณ์ถึงกิโลกรัมละ 120 บาท ทำให้มีการตื่นตัวปลูกกาแฟกันมาก ประกอบกับการทำสวนกาแฟได้รับอัตราผลตอบแทนในอัตราสูงในระยะเวลาที่สั้นกว่าการปลูกพืชชนิดอื่นอีกหลายชนิด และทางการได้ให้การส่งเสริม โดยการให้คำแนะนำทางด้านวิชาการแก่เกษตรกร ทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกออกไปอย่างกว้างขวาง
พื้นที่ปลูกกาแฟในภาคใต้มีประมาณ 4-5 แสนไร่ หรือประมาณร้อยละ 92 ของ พื้นที่ปลูกกาแฟทั้งประเทศ จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกกาแฟมากที่สุดในภาคใต้คือ จังหวัดชุมพร รองลงมาได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระนอง กระบี่และนครศรีธรรมราช พันธุ์ที่นิยมปลูกมากในภาคใต้คือ พันธุ์โรบัสต้า ผลผลิตกาแฟในภาคใต้มีประมาณปีละ 65,000-80,000 เมตริกตัน ซึ่งผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์
การตลาดโดยทั่วไป ผู้รวบรวมท้องถิ่นจะเป็นผู้รวบรวมกาแฟจากเกษตรกร เพื่อส่งไปให้ผู้ส่งออกในกรุงเทพมหานคร หรือโรงงานคั่วกาแฟ หรือโรงงานกาแฟสำเร็จรูป ซึ่งโรงงานคั่วกาแฟหรือโรงงานกาแฟสำเร็จรูปจะนำเข้าสู่กระบวนการผลิต ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟออกจำหน่าย ส่วนพ่อค้าส่งออกจะนำกาแฟส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งออกในรูปเมล็ดกาแฟดิบ
อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของชาวไร่กาแฟที่มักจะประสบอยู่เป็นประจำคือ การตลาด เนื่องจากราคากาแฟไม่ค่อยมีเสถียรภาพ ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตกาแฟในตลาดโลก
5. ประมง
การทำประมงในภาคใต้มีทั้งประมงน้ำจืด ประมงทะเลและประมงชายฝั่ง แต่การทำประมงทะเลมีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากภาคใต้มีฝั่งทะเลเป็นแนวยาวทั้งด้านตะวันตกและตะวันออก การทำประมงทะเลจึงมีในทุกจังหวัด ยกเว้นจังหวัดยะลาและพัทลุงที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลใหญ่
ผลผลิตสัตว์น้ำที่จับได้กว่าร้อยละ 50 เป็นปลาเป็ด ซึ่งจะนำไปเป็นวัตถุดิบของโรงงานปลาป่น ส่วนผลผลิตที่เหลือเป็นสัตว์น้ำที่ใช้บริโภค เช่น กุ้ง ปลาหมึก ปู ปลาทู ปลาลัง ปลาตาโต ปลาทรายแดง และปลาสีกุล เป็นต้น
ในระยะที่ผ่านมา ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นผลมาจากการที่ชาวประมงได้พัฒนาเครื่องมือประมงให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย สามารถออกไปจับสัตว์น้ำได้ไกล อย่างไรก็ตาม อัตราเพิ่มได้ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด จากที่เคยเพิ่มกว่าร้อยละ 30 ต่อปีในช่วงปี 2519-2521 เหลือเพียงไม่เกิน ร้อยละ 10 ต่อปี นับตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมา ทั้งนี้เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลลดลง และการทำประมงนอกน่านน้ำประสบปัญหา ประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ เวียดนาม มาเลเซียและพม่า เข้มงวดจับกุมเรือประมงที่ล่วงล้ำน่านน้ำมากขึ้น นอกจากนี้หลังจากเกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ แรงงานลูกเรือที่มีถิ่นฐานอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนืออพยพกลับถิ่นฐานมากขึ้น ประกอบกับทางภาคตะวันออกและภาคกลางมีการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้าง ทำให้แรงงานทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเคลื่อนย้ายมาภาคใต้น้อยลง ส่งผลให้เรือประมงบางส่วนไม่สามารถออกทะเลได้ เพราะขาดลูกเรือ แม้ว่าในบางพื้นที่จะมีการนำแรงงานต่างชาติเข้ามาทดแทนก็ตาม และนอกจากนี้ต้นทุนการทำประมงทะเลยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะต้นทุนน้ำมันซึ่งราคาสูงขึ้น ประกอบกับทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลไทยเสื่อมโทรมลง ส่งผลให้การทำประมงของภาคใต้ไม่ขยายตัวเท่าที่ควร
ทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงกุลาดำมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2530 ปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมคือ การขยายตัวของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดนำเข้าที่สำคัญที่สุด รองลงมาได้แก่ สหรัฐอเมริกาและกลุ่มประชาคมยุโรป ประกอบกับราคาอยู่ในระดับสูงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200-250 บาท สำหรับกุ้งขนาด 30 ตัวต่อกิโลกรัม จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรและบุคคลทั่วไปหันมานิยมเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกซึ่งติดกับอ่าวไทย
ลักษณะการเพาะเลี้ยงมีทั้งแบบธรรมชาติ (อาศัยพันธุ์กุ้งจากการสูบน้ำทะเลเข้านากุ้ง การเลี้ยงแบบนี้ให้ผลผลิตต่ำ) แบบกึ่งพัฒนา (อาศัยพันธุ์กุ้งจากธรรมชาติส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งได้จากโรงเพาะฟัก การเลี้ยงแบบนี้จะมีการให้อาหารเสริมและอาหารสำเร็จรูปด้วย) และแบบพัฒนา (เป็นการเลี้ยงที่ควบคุมการผลิตในทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การเพาะขยายพันธุ์กุ้ง เตรียมบ่อ ปล่อยพันธุ์กุ้ง ให้อาหาร)
อย่างไรก็ตาม หลังจากปี 2533 ได้เกิดปัญหามลภาวะน้ำเน่าเสียในบ่อกุ้ง บริเวณที่มีการเพาะเลี้ยงหนาแน่นในแถบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก โดยเฉพาะบางพื้นที่ในเขตจังหวัดนครศรี-ธรรมราชและสุราษฎร์ธานี ทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะเลี้ยงไปทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกมากขึ้น โดยเลี้ยงมากที่จังหวัดตรัง บริเวณอำเภอกันตัง ปะเหลียน สิเกา และย่านตาขาว รองลงมาได้แก่ จังหวัดสตูล พังงา กระบี่ และภูเก็ต
ทางด้านผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงในเขตพื้นที่ภาคใต้ เมื่อเทียบกับผลผลิตทั้งประเทศแล้วมีสัดส่วนสูงขึ้นร้อยละ 60.0 ของผลผลิตทั้งประเทศ
ภาคเหมืองแร่
แร่เป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของภาคใต้ ในอดีตเคยทำรายได้ในปีหนึ่ง ๆ นับหมื่นล้านบาท แต่นับตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นมา บทบาทของแร่ต่อเศรษฐกิจของภาคใต้มีน้อยลง เนื่องจากความต้องการใช้ดีบุก ซึ่งเป็นแร่ที่สำคัญของภาคใต้ลดลงมาตลอด อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาทั่วโลก มีการใช้วัสดุอื่นทดแทนดีบุกมากขึ้น ประกอบกับเกิดวิกฤตการณ์ดีบุกใน ปี 2528 เมื่อตลาด The London Metal Exchange (LME) หยุดซื้อขายดีบุก ราคาดีบุกโดยเฉพาะที่ กัวลาลัมเปอร์ตกต่ำ ส่งผลให้ราคาในประเทศต่ำลงไปด้วย นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากความอุดมสมบูรณ์ของแร่ลดลงด้วย
เหมืองแร่ที่เปิดดำเนินการในภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็นเหมืองขนาดเล็กและขนาดกลาง แร่ที่ผลิตได้มีหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ ดีบุก ยิปซั่ม ทังสเตน ลิกไนท์ ฟลูออไรท์ แมงกานีส และพลวง
สำหรับแร่ดีบุก ภาคใต้เป็นแหล่งผลิตแร่ดีบุกที่สำคัญ และเป็นที่ตั้งของโรงงานถลุงแร่ดีบุกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ในอดีตมีเหมืองแร่เปิดดำเนินการเกือบ 1,000 เหมือง ปัจจุบันได้ลดลงเหลือเพียง 66 เหมืองเท่านั้น โดยจังหวัดพังงามีมากที่สุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ระนอง ภูเก็ต และชุมพร
ผลผลิตแร่ดีบุกในภาคใต้มีปริมาณประมาณกว่าร้อยละ 80 ของทั้งประเทศ เคยผลิตได้สูงสุดเมื่อปี 2523 โดยผลิตได้ 38,799 เมตริกตัน หลังจากนั้นผลผลิตก็ลดต่ำลง โดยเฉพาะในช่วงหลังปี 2528 ซึ่งเกิดวิกฤตการณ์ดีบุกเป็นต้นมา ได้ผลผลิตต่ำกว่า 20,000 เมตริกตัน มาตลอด จังหวัดที่ผลิตดีบุกได้มากที่สุดได้แก่ จังหวัดพังงา โดยผลิตได้ประมาณร้อยละ 42 ของผลผลิตทั้งภาคใต้
สำหรับผลผลิตโลหะดีบุกของโรงงานถลุงในภาคใต้ เมื่อผลทางด้านราคาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การผลิตสินแร่ดีบุกจากเหมืองในภาคใต้ลดลงนั้น สินแร่ที่ใช้เพื่อการผลิตโลหะดีบุกจึงเป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลีย รัสเซีย โปรตุเกส และอังกฤษ
ส่วนแร่ยิปซั่มนั้น แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ผลผลิตเกือบทั้งหมดส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ โดยลงเรือที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง และจังหวัดกระบี่ นอกจากนี้ยังมีการส่งทางรถไฟ ซึ่งส่วนใหญ่ไปยังตลาดมาเลเซีย ตลาดนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์
ผลผลิตแร่ยิปซั่มของภาคใต้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกนั้น ตั้งแต่ปี 2537 ทางการได้กำหนดมาตรการควบคุมการส่งออก เพื่อสงวนทรัพยากรแร่ไว้สำรองเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยการกำหนดให้แร่ยิปซั่มเป็นแร่ที่อยู่ในความควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-