กรุงเทพฯ--23 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
ชีวประวัตินางแมรี่โรบินสัน ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(Mrs. Mary Robinson, United Nations High Commissioner for Human Rights)
นางแมรี่ โรบินสัน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2540 ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไอร์แลนด์ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ตำแหน่งข้าหลวงใหญ่สิทธมนุษยชนมีหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมที่เกี่ยวกับด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ รวมทั้งการปรับปรุงกลไกสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติให้สามารถปฎิบัติงานได้คล่องตัว และมีประสิทธิผลมากขึ้น ตลอดจนดูแลการปฏิบัติงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน ณ นครเจนีวาด้วย
นางแมรี่ โรบินสัน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไอร์แลนด์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 เป็นผู้มีคุณสมบัติโดดเด่นในด้านกฎหมายแ และปฏิบัติงานในด้านสิทธิมนุษยชนมาเป็นเวลานาน โดยมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายสิทธิมนุษยชนของยุโรป นางแมรี่ โรบินสัน เป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของอังกฤษ (Middle Temple) ในปี พ.ศ.2516 ดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการลูกขุนระหว่างประเทศ (International Commission of Jurists) ระหว่างปี พ.ศ.2530-2533
กิจกรรมระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชนที่นางแมรี่ โรบินสัน ได้มีส่วนร่วม ได้แก่ การเป็นผู้เสนอรายงานพิเศษของการประชุมว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจัดโดยสภายุโรปในปี พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการการประชุมระดับโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปีเดียวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นผู้กล่าวปาฐกถานำในการประชุมเตรียมการของสหภาพยุโรปสำหรับการประชุมระดับโลกครั้งที่ 4 ว่าด้วยสตรี
นางแมรี่ โรบินสัน เป็นประมุขของรัฐคนแรกที่เดินทางไปรวันดาหลังจากที่เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หลังจากนั้น ยังได้เดินทางไปอีก 2 ครั้ง โดยได้พบกับผู้แทนจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังได้กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมกลุ่ม Pan-Afircan เรื่องสันติภาพ ความเท่าเทียมทางเพศ และการพัฒนา นางแมรี่ โรบินสัน ยังเป็นประมุขของรัฐคนแรกที่ไปเยือนศาลอาญาระหว่างประเทศว่าด้วยอดีตยูโกสลาเวีย รวมทั้งการเยือน โซมาเลียหลังวิกฤตการณ์ในปี พ.ศ.2535 นางแมรี่ โรบินสัน ได้รับรางวัล Special CARE Humanitarian Award เนื่องจากการปฏิบัติงานช่วยเหลือโซมาเลีย
ในฐานะประมุขของไอร์แลนด์ นางแมรี่ โรบินสัน เป็นผู้นำประเทศไปสู่เวทีระหว่างประเทศ พัฒนาแนวคิดของไอร์แลนด์ในการประสานติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม และให้ความสำคัญเป็นพิเศษในเรื่องความจำเป็นของประเทศกำลังพัฒนา โดยการเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์อดอยากครั้งใหญ่ของไอร์แลนด์ (Great Irish Famine) กับภาวะทุพโภชนาการ ความยากจนในปัจจุบัน รวมทั้งเรื่องนโยบายที่จะสามารถเชื่อมโยงความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา
นางแมรี่ โรบินสัน เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2487 อายุ 57 ปี สมรส มีบุตร 3 คน จบการศึกษาปริญญาตรีด้านศิลปศาสตร์จากมหาวิทยาลัยดับลิน ปริญญาโทด้านศิลปศาสตร์ และด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด--จบ--
-นห-
ชีวประวัตินางแมรี่โรบินสัน ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(Mrs. Mary Robinson, United Nations High Commissioner for Human Rights)
นางแมรี่ โรบินสัน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2540 ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไอร์แลนด์ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ตำแหน่งข้าหลวงใหญ่สิทธมนุษยชนมีหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมที่เกี่ยวกับด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ รวมทั้งการปรับปรุงกลไกสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติให้สามารถปฎิบัติงานได้คล่องตัว และมีประสิทธิผลมากขึ้น ตลอดจนดูแลการปฏิบัติงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน ณ นครเจนีวาด้วย
นางแมรี่ โรบินสัน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไอร์แลนด์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 เป็นผู้มีคุณสมบัติโดดเด่นในด้านกฎหมายแ และปฏิบัติงานในด้านสิทธิมนุษยชนมาเป็นเวลานาน โดยมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายสิทธิมนุษยชนของยุโรป นางแมรี่ โรบินสัน เป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของอังกฤษ (Middle Temple) ในปี พ.ศ.2516 ดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการลูกขุนระหว่างประเทศ (International Commission of Jurists) ระหว่างปี พ.ศ.2530-2533
กิจกรรมระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชนที่นางแมรี่ โรบินสัน ได้มีส่วนร่วม ได้แก่ การเป็นผู้เสนอรายงานพิเศษของการประชุมว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจัดโดยสภายุโรปในปี พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการการประชุมระดับโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปีเดียวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นผู้กล่าวปาฐกถานำในการประชุมเตรียมการของสหภาพยุโรปสำหรับการประชุมระดับโลกครั้งที่ 4 ว่าด้วยสตรี
นางแมรี่ โรบินสัน เป็นประมุขของรัฐคนแรกที่เดินทางไปรวันดาหลังจากที่เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หลังจากนั้น ยังได้เดินทางไปอีก 2 ครั้ง โดยได้พบกับผู้แทนจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังได้กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมกลุ่ม Pan-Afircan เรื่องสันติภาพ ความเท่าเทียมทางเพศ และการพัฒนา นางแมรี่ โรบินสัน ยังเป็นประมุขของรัฐคนแรกที่ไปเยือนศาลอาญาระหว่างประเทศว่าด้วยอดีตยูโกสลาเวีย รวมทั้งการเยือน โซมาเลียหลังวิกฤตการณ์ในปี พ.ศ.2535 นางแมรี่ โรบินสัน ได้รับรางวัล Special CARE Humanitarian Award เนื่องจากการปฏิบัติงานช่วยเหลือโซมาเลีย
ในฐานะประมุขของไอร์แลนด์ นางแมรี่ โรบินสัน เป็นผู้นำประเทศไปสู่เวทีระหว่างประเทศ พัฒนาแนวคิดของไอร์แลนด์ในการประสานติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม และให้ความสำคัญเป็นพิเศษในเรื่องความจำเป็นของประเทศกำลังพัฒนา โดยการเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์อดอยากครั้งใหญ่ของไอร์แลนด์ (Great Irish Famine) กับภาวะทุพโภชนาการ ความยากจนในปัจจุบัน รวมทั้งเรื่องนโยบายที่จะสามารถเชื่อมโยงความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา
นางแมรี่ โรบินสัน เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2487 อายุ 57 ปี สมรส มีบุตร 3 คน จบการศึกษาปริญญาตรีด้านศิลปศาสตร์จากมหาวิทยาลัยดับลิน ปริญญาโทด้านศิลปศาสตร์ และด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด--จบ--
-นห-