1. สถานการณ์การผลิต
อียูเร่งให้ไทยปรับปรุงสะพานปลาก่อนใช้สมุดปกขาว
ข่าวจากกรมประมง รายงานว่า จากการที่คณะกรรมธิการด้านสุขอนามัยสัตว์น้ำของสหภาพยุโรปได้มาตรวจสภาพโรงงานประมงของไทยจำนวน 10 แห่ง และสะพานปลาที่ จ.ภูเก็ต และสงขลา ได้สรุปผลการตรวจแล้วพบว่าโรงงานประมงไทยผ่านมาตรฐานสุขอนามัยของอียูทุกด้าน แต่ต้องปรับปรุงสะพานปลาทั้ง 2 แห่ง ซึ่งอียูระบุว่ายังไม่ได้มาตรฐานสากล โดยเฉพาะเรื่องความสะอาดสิ่งแวดล้อม บุคลากร ความสะอาดของน้ำทะเล น้ำแข็ง และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของขั้นตอนการลำเลียงปลา ทั้งนี้ อียูได้แนะนำให้ไทยรีบปรับปรุงก่อนที่อียูจะประกาศให้สมุดปกขาว ซึ่งอาจจะเป็นผลให้มีการ กักกันสินค้าประมงจากไทยเป็นอันดับแรก และงดนำเข้าในที่สุด แม้ว่าสินค้าเหล่านั้น จะผ่านมาตรฐานสุขอนามัยทางด้านการผลิตของโรงงานก็ตาม โดยอียูถือว่าเมื่อขั้นตอนลำเลียงปลาไม่มีสุขอนามัยดีพอ จะเป็นสิ่งเตือนภัยล่วงหน้าได้ว่าจะเป็นอันตรายต่อ สุขภาพผู้บริโภคได้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 5-11 กย.2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,355.27 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 579.74 ตัน สัตว์น้ำจืด 775.53 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
ส่งเข้าประมูลจำหน่าย (ตัน) 1.1 ปลาดุก 6.03 1.2 ปลาช่อน 7.94 1.3 กุ้งทะเล 67.94 1.4 ปลาทู 37.17 1.5 ปลาหมึก 58.07
2. สถานการณ์การตลาด
5 เดือนแรกปีนี้ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นนำเข้ากุ้งลดลง
LMR Shrimp Market Report รายงานว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 สหรัฐอเมริกานำเข้ากุ้งมีปริมาณ 102,875 เมตริกตัน ลดลงจาก 111,131 เมตริกตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.43 โดยนำเข้าจากประเทศไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ 35,970 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.83 รองลงมาคือ อินเดีย นำเข้า 10,886 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 37.93 และนำเข้าจากเอกวาดอร์เป็นอันกับสามคือ 8,573 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 69.52 ฯลฯ
สำหรับการนำเข้าของญี่ปุ่น ในช่วง 5 เดือนแรกมีปริมาณ 91,128 เมตริกตัน ลดลงจาก 91,264 เมตริกตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.15 โดยนำเข้าจาก อินโดนีเซียมากเป็นอันดับหนึ่งคือ 19,822 เมตริกตัน ลดลงจาก 20,185 เมตริกตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.80 รองลงมาได้แก่ นำเข้าจากอินเดีย 19,459 เมตริกตัน ลดลงจาก 19,550 เมตริกตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.46 และนำเข้าจากเวียดนาม 13,109 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจาก 9,798 เมตริกตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.80 สำหรับการนำเข้าจากประเทศไทยมากเป็นอันดับสี่ คือ มีปริมาณ 6,033 เมตริกตัน ลดลงจาก 6,895 เมตริกตัน ที่นำเข้าในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.50 ฯลฯ
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.85 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.81 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.91 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.90 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 356.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 367.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 11.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 442.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 432.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ18.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.28 บาท ของสัปดาห์ก่อน -1.42 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ
84.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.28 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.58 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58%ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 11-15 กย. 43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.40 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 36 ประจำวันที่ 11-17 ก.ย. 2543--
-สส-
อียูเร่งให้ไทยปรับปรุงสะพานปลาก่อนใช้สมุดปกขาว
ข่าวจากกรมประมง รายงานว่า จากการที่คณะกรรมธิการด้านสุขอนามัยสัตว์น้ำของสหภาพยุโรปได้มาตรวจสภาพโรงงานประมงของไทยจำนวน 10 แห่ง และสะพานปลาที่ จ.ภูเก็ต และสงขลา ได้สรุปผลการตรวจแล้วพบว่าโรงงานประมงไทยผ่านมาตรฐานสุขอนามัยของอียูทุกด้าน แต่ต้องปรับปรุงสะพานปลาทั้ง 2 แห่ง ซึ่งอียูระบุว่ายังไม่ได้มาตรฐานสากล โดยเฉพาะเรื่องความสะอาดสิ่งแวดล้อม บุคลากร ความสะอาดของน้ำทะเล น้ำแข็ง และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของขั้นตอนการลำเลียงปลา ทั้งนี้ อียูได้แนะนำให้ไทยรีบปรับปรุงก่อนที่อียูจะประกาศให้สมุดปกขาว ซึ่งอาจจะเป็นผลให้มีการ กักกันสินค้าประมงจากไทยเป็นอันดับแรก และงดนำเข้าในที่สุด แม้ว่าสินค้าเหล่านั้น จะผ่านมาตรฐานสุขอนามัยทางด้านการผลิตของโรงงานก็ตาม โดยอียูถือว่าเมื่อขั้นตอนลำเลียงปลาไม่มีสุขอนามัยดีพอ จะเป็นสิ่งเตือนภัยล่วงหน้าได้ว่าจะเป็นอันตรายต่อ สุขภาพผู้บริโภคได้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 5-11 กย.2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,355.27 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 579.74 ตัน สัตว์น้ำจืด 775.53 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
ส่งเข้าประมูลจำหน่าย (ตัน) 1.1 ปลาดุก 6.03 1.2 ปลาช่อน 7.94 1.3 กุ้งทะเล 67.94 1.4 ปลาทู 37.17 1.5 ปลาหมึก 58.07
2. สถานการณ์การตลาด
5 เดือนแรกปีนี้ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นนำเข้ากุ้งลดลง
LMR Shrimp Market Report รายงานว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 สหรัฐอเมริกานำเข้ากุ้งมีปริมาณ 102,875 เมตริกตัน ลดลงจาก 111,131 เมตริกตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.43 โดยนำเข้าจากประเทศไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ 35,970 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.83 รองลงมาคือ อินเดีย นำเข้า 10,886 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 37.93 และนำเข้าจากเอกวาดอร์เป็นอันกับสามคือ 8,573 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 69.52 ฯลฯ
สำหรับการนำเข้าของญี่ปุ่น ในช่วง 5 เดือนแรกมีปริมาณ 91,128 เมตริกตัน ลดลงจาก 91,264 เมตริกตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.15 โดยนำเข้าจาก อินโดนีเซียมากเป็นอันดับหนึ่งคือ 19,822 เมตริกตัน ลดลงจาก 20,185 เมตริกตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.80 รองลงมาได้แก่ นำเข้าจากอินเดีย 19,459 เมตริกตัน ลดลงจาก 19,550 เมตริกตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.46 และนำเข้าจากเวียดนาม 13,109 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจาก 9,798 เมตริกตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.80 สำหรับการนำเข้าจากประเทศไทยมากเป็นอันดับสี่ คือ มีปริมาณ 6,033 เมตริกตัน ลดลงจาก 6,895 เมตริกตัน ที่นำเข้าในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.50 ฯลฯ
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.85 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.81 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.91 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.90 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 356.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 367.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 11.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 442.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 432.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ18.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.28 บาท ของสัปดาห์ก่อน -1.42 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ
84.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.28 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.58 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58%ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 11-15 กย. 43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.40 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 36 ประจำวันที่ 11-17 ก.ย. 2543--
-สส-