บทสรุปสำหรับนักลงทุน
น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) ได้จากการสกัด/สังเคราะห์จากพืชหรือสัตว์ เพื่อใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในการอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าอุปโภคเช่น ขนมขบเคี้ยว ยาสีฟัน สบู่ แชมพู ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น รวมทั้งเครื่องสำอาง ความต้องการใช้น้ำมันหอมระเหยในประเทศ มีทั้งการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมูลค่าตลาดน้ำมันหอมระเหยในประเทศ (รวมนำเข้าในปี 2542 มีมูลค่าราว 270 ล้านบาท แยกเป็นมูลค่าตลาดน้ำมันหอมระเหยที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณ 55 ล้านบาท และการนำเข้าน้ำมันหอมระเหย ในปี 2542 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 27 เป็น 367 ตัน คิดเป็นมูลค่า 215 ล้านบาท สำหรับการส่งออกน้ำมันหอมระเหยของไทยมีปริมาณการส่งออกที่ไม่แน่นอน แต่เมื่อพิจารณาด้านมูลค่าพบว่าขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2542 มีปริมาณการส่งออกน้ำมันหอมระเหยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 45 เป็น 1,384 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,313 ล้านบาท แนวโน้มตลาดน้ำมันหอมระเหยของไทยในปี 2543-2544 ตลาดในประเทศยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวตามอุตสาหกรรมอาหาร ยา เครื่องสำอาง โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันหอมระเหยเป็นหลักคาดว่ามูลค่าการนำเข้าน้ำมันหอมระเหยจะเพิ่มสูงถึงร้อยละ 63 และ 20 เป็น 350 และ 420 ล้านบาท ตามลำดับในปี 2543-2544 ในขณะที่ตลาดน้ำมันหอมระเหยที่ผลิตในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 4-5 ต่อปี คิดเป็นมูลค่า 58-61 ล้านบาท สำหรับตลาดส่งออกของไทยยังส่งออกได้ราวร้อยละ 5 ต่อปี เป็น 1,380-1,450 ล้านบาท และการผลิตยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำหอมจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ภาครัฐจำเป็นต้องให้การสนับสนุน ช่วยเหลือในการพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ ทั้งในด้านบุคลากร และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เนื่องจากอุตสาหกรรมน้ำมันหอมระเหยเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรประเภทหนึ่งที่เป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค ยา และเครื่องสำอาง และสามารถกระจายรายได้สู่เกษตรกรที่ปลูกพืชอื่นๆ เป็นรายได้เสริม
การผลิตมีโรงงานผลิตน้ำมันหอมระเหยอยู่ราว 51 โรงงาน กระจายตัวทั่วประเทศ ใช้แรงงานทั้งสิ้น 1,928 คน วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตโดยส่วนใหญ่เป็น พืชและส่วนต่างๆของพืชหาได้ในประเทศ สารเคมี/สารทำละลาย มักนำเข้าจากต่างประเทศ โครงสร้างต้นทุนการผลิต เป็นวัตถุดิบร้อยละ 53 (สัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศต่อวัตถุดิบนำเข้าร้อยละ 30-40:60-70) ค่าแรงร้อยละ 12 ค่าเสื่อมราคาร้อยละ 7 ดอกเบี้ยจ่ายร้อยละ 21 และต้นทุนการผลิตอื่นๆร้อยละ 7 สำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากยังไม่มีการผลิตในประเทศไทย
การลงทุนผลิตน้ำมันหอมระเหย ขนาดกำลังการผลิต 17,000 กิโลกรัมต่อปี เงินลงทุนในการจัดตั้งราว 25 ล้านบาท โดยมีเงินทุนหมุนเวียนเดือนละ 1.5-2.0 ล้านบาท มีแรงงาน 10 คน จำเป็นต้องตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบที่จะผลิต และมีความพร้อมในด้านระบบสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า-น้ำประปา) การผลิตมีขั้นตอนที่ซับซ้อนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะ ดังนั้นจึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ สำหรับกำไรเฉลี่ยในอุตสาหกรรมนี้ร้อยละ 3-5 ต่อยอดขาย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) ได้จากการสกัด/สังเคราะห์จากพืชหรือสัตว์ เพื่อใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในการอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าอุปโภคเช่น ขนมขบเคี้ยว ยาสีฟัน สบู่ แชมพู ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น รวมทั้งเครื่องสำอาง ความต้องการใช้น้ำมันหอมระเหยในประเทศ มีทั้งการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมูลค่าตลาดน้ำมันหอมระเหยในประเทศ (รวมนำเข้าในปี 2542 มีมูลค่าราว 270 ล้านบาท แยกเป็นมูลค่าตลาดน้ำมันหอมระเหยที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณ 55 ล้านบาท และการนำเข้าน้ำมันหอมระเหย ในปี 2542 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 27 เป็น 367 ตัน คิดเป็นมูลค่า 215 ล้านบาท สำหรับการส่งออกน้ำมันหอมระเหยของไทยมีปริมาณการส่งออกที่ไม่แน่นอน แต่เมื่อพิจารณาด้านมูลค่าพบว่าขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2542 มีปริมาณการส่งออกน้ำมันหอมระเหยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 45 เป็น 1,384 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,313 ล้านบาท แนวโน้มตลาดน้ำมันหอมระเหยของไทยในปี 2543-2544 ตลาดในประเทศยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวตามอุตสาหกรรมอาหาร ยา เครื่องสำอาง โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันหอมระเหยเป็นหลักคาดว่ามูลค่าการนำเข้าน้ำมันหอมระเหยจะเพิ่มสูงถึงร้อยละ 63 และ 20 เป็น 350 และ 420 ล้านบาท ตามลำดับในปี 2543-2544 ในขณะที่ตลาดน้ำมันหอมระเหยที่ผลิตในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 4-5 ต่อปี คิดเป็นมูลค่า 58-61 ล้านบาท สำหรับตลาดส่งออกของไทยยังส่งออกได้ราวร้อยละ 5 ต่อปี เป็น 1,380-1,450 ล้านบาท และการผลิตยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำหอมจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ภาครัฐจำเป็นต้องให้การสนับสนุน ช่วยเหลือในการพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ ทั้งในด้านบุคลากร และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เนื่องจากอุตสาหกรรมน้ำมันหอมระเหยเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรประเภทหนึ่งที่เป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค ยา และเครื่องสำอาง และสามารถกระจายรายได้สู่เกษตรกรที่ปลูกพืชอื่นๆ เป็นรายได้เสริม
การผลิตมีโรงงานผลิตน้ำมันหอมระเหยอยู่ราว 51 โรงงาน กระจายตัวทั่วประเทศ ใช้แรงงานทั้งสิ้น 1,928 คน วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตโดยส่วนใหญ่เป็น พืชและส่วนต่างๆของพืชหาได้ในประเทศ สารเคมี/สารทำละลาย มักนำเข้าจากต่างประเทศ โครงสร้างต้นทุนการผลิต เป็นวัตถุดิบร้อยละ 53 (สัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศต่อวัตถุดิบนำเข้าร้อยละ 30-40:60-70) ค่าแรงร้อยละ 12 ค่าเสื่อมราคาร้อยละ 7 ดอกเบี้ยจ่ายร้อยละ 21 และต้นทุนการผลิตอื่นๆร้อยละ 7 สำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากยังไม่มีการผลิตในประเทศไทย
การลงทุนผลิตน้ำมันหอมระเหย ขนาดกำลังการผลิต 17,000 กิโลกรัมต่อปี เงินลงทุนในการจัดตั้งราว 25 ล้านบาท โดยมีเงินทุนหมุนเวียนเดือนละ 1.5-2.0 ล้านบาท มีแรงงาน 10 คน จำเป็นต้องตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบที่จะผลิต และมีความพร้อมในด้านระบบสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า-น้ำประปา) การผลิตมีขั้นตอนที่ซับซ้อนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะ ดังนั้นจึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ สำหรับกำไรเฉลี่ยในอุตสาหกรรมนี้ร้อยละ 3-5 ต่อยอดขาย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--