บันทึกการประชุมวุฒิสภาครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญทั่วไป)

ข่าวการเมือง Tuesday April 3, 2001 14:20 —รัฐสภา

        บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันศุกร์ที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๕ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว นายพิเชฐ พัฒนโชติ รองประธานวุฒิสภา
คนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา และนายบุญทัน ดอกไธสง รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง
ขึ้นบัลลังก์
รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา ได้กล่าวเปิดประชุม
แล้วได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันศุกร์ที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๓ และครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่
๒๕ กันยายน ๒๕๔๓ ซึ่งที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้งสองครั้งดังกล่าว
ต่อมา รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา และรองประธาน
วุฒิสภาคนที่สอง ผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานของที่ประชุม ซึ่งประธานของที่ประชุมได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ เรื่องด่วน ดังนี้
๑. ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของ
บุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สาขานิติศาสตร์ แทนตำแหน่งที่ว่าง
๑ ตำแหน่ง จำนวน ๑๑ คน ประกอบด้วย
๑. นายบุญเลิศ ไพรินทร์ ๒. นายวีรวร สิทธิธรรม
๓. พันเอก สมคิด ศรีสังคม ๔. นายสุนทร จินดาอินทร์
๕. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา ๖. พลตำรวจตรี อำพล งามจิตร
๗. พลเอก วัฒนา สรรพานิช ๘. นายภิญญา ช่วยปลอด
๙. นายวิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์ ๑๐. พลโท โอภาส รัตนบุรี
๑๑. พลตำรวจโท ชูชาติ ทัศนเสถียร
๒. ญัตติ เรื่อง กองมรดกของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ซึ่งพันเอก สมคิด ศรีสังคม
เป็นผู้เสนอ อนึ่ง ประธานของที่ประชุมได้ปรึกษาที่ประชุมขอนำญัตติทำนองเดียวกันเรื่อง ขอให้วุฒิสภา
ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อติดตามการดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์
อดีตประธาน รสช. ซึ่งนางประทีป อึ้งทรงธรรม กับคณะ เป็นผู้เสนอ มารวมพิจารณา ซึ่งที่ประชุมมีมติ
เห็นชอบ หลังจากผู้เสนอได้แถลงเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อติดตามการดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สิน
ของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ จำนวน ๒๐ คน ประกอบด้วย
๑. พลตำรวจโท วาสนา เพิ่มลาภ ๒. นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
๓. นายภูมิธรรม เวชยชัย ๔. นายประวัฒน์ อุตตะโมต
๕. นายสุทิน คลังแสง ๖. พันเอก สมคิด ศรีสังคม
๗. พลเอก หาญ ลีนานนท์ ๘. นายการุณ ใสงาม
๙. นายแก้วสรร อติโพธิ ๑๐. นางเตือนใจ ดีเทศน์
๑๑. พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ ๑๒. นายชุมพล ศิลปอาชา
๑๓. นายทองใบ ทองเปาด์ ๑๔. นางประทีป อึ้งทรงธรรม ๑๕. นายสุรใจ ศิรินุพงศ์ ๑๖. พลเอก ศิริ ทิวะพันธุ์
๑๗. นายนภินทร ศรีสรรพางค์ ๑๘. นายสุรสิทธิ์ ฉัตรชัยเดช
๑๙. นายวิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์ ๒๐. พลเอก พนม จีนะวิจารณะ
โดยมีกำหนดเวลาปฏิบัติภารกิจภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่วุฒิสภามีมติตั้ง
คณะกรรมาธิการ
จากนั้น ประธานของที่ประชุม ได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำญัตติ เรื่อง ให้มีการเลือก
ประธานวุฒิสภา ซึ่งนายภิญญา ช่วยปลอด เป็นผู้เสนอ มาให้ที่ประชุมพิจารณาเป็นเรื่องด่วน ซึ่งที่
ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานของที่ประชุมจึงได้เสนอให้ที่ประชุมเลือกประธานวุฒิสภา โดยมีสมาชิก
เสนอชื่อสมาชิกเพื่อเลือกเป็นประธานวุฒิสภา จำนวน ๔ คน และปรากฏผลการลงคะแนน ดังนี้
๑. นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ ได้ ๒๘ คะแนน
๒. นายสุนทร จินดาอินทร์ ได้ ๑๕ คะแนน
๓. พลตรี มนูญกฤต รูปขจร ได้ ๑๑๔ คะแนน
๔. พลเอก วิชา ศิริธรรม ได้ ๑๖ คะแนน
ดังนั้น พลตรี มนูญกฤต รูปขจร ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม (สมาชิกที่มาประชุม จำนวน ๑๗๘ คน) จึงเป็นผู้ได้รับเลือกเป็น
ประธานวุฒิสภา
เลิกประชุมเวลา ๑๔.๒๕ นาฬิกา
(ลายเซ็น)
(นายพินิต อารยะศิริ)
เลขาธิการวุฒิสภา
ฝ่ายระเบียบวาระและรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๕๖๘
โทรสาร ๒๔๔๑๕๖๖

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ