กรุงเทพฯ--15 ก.พ.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
สาธารณรัฐประชาชนจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 1/2544 ระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2544 ณ กรุงปักกิ่ง โดยมีนางบุญทิพา สิมะสกุล อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว พร้อมกับนายอภินันท์ ปวนะฤทธิ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และมีผู้แทนจากกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมด้วย
ประเด็นหลักทางด้านเศรษฐกิจและการค้าที่จะมีการหารือในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งนี้ ได้แก่
การประเมินบทบาทและทิศทางของเอเปคในอนาคต
เอเปคจะทบทวนการดำเนินงานของสมาชิกเพื่อบรรลุเป้าหมายการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคภายในปี ค.ศ. 2010/2020 และโดยที่ปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้หันมาให้ความสนใจกับการจัดทำความตกลงทางการค้าระดับภูมิภาคและข้อตกลงการค้าเสรีระดับทวิภาคี (Regional Trade Arrangement: RTA และ Free Trade Agreement: FTA) มากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเบี่ยงเบนทางการค้า (trade diversion) ดังนั้น เอเปคอาจเน้นบทบาทในการสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีเพื่อให้เป็นที่พึ่งพิงของประเทศต่างๆ และส่งเสริมให้การค้าของโลกขยายตัว
การจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมเอเปคในปี 2544
กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการค้าที่คาดว่าเอเปคจะให้ลำดับความสำคัญสูงในปี 2544 ได้แก่ ความร่วมมือในเรื่องเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) รวมทั้งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โครงการเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิกกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณีของ WTO การจัดทำหลักการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า การทบทวนแนวทางของแผนปฏิบัติการโอซาก้า (OSAKA Action Agenda: OAA Guidelines) ซึ่งใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานของสมาชิกเพื่อการบรรลุเป้าหมายโบกอร์ โครงการนำเสนอแผนปฏิบัติการของสมาชิกทางอินเตอร์เนต (e-IAP) และการลดมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากร (NTMs)
การทบทวนความคืบหน้าด้านการเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกทางการค้า
ที่ประชุมจะทบทวนความคืบหน้าในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาขีดความสามารถของสมาชิกกำลังพัฒนาของเอเปคในการปฏิบัติตามความตกลงภายใต้กรอบ WTO ซึ่งริเริ่มโดย ญี่ปุ่นเมื่อปีที่แล้ว ในส่วนของไทย ญี่ปุ่นได้ส่งคณะเจ้าหน้าที่มาหารือกับหน่วยงานภาครัฐเมื่อเดือนธันวาคม 2543 และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้เสนอโครงการขอความช่วยเหลือ เพื่อจัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก รวมทั้งความช่วยเหลือด้านการประชุมเชิงวิชาการและการสัมมนา และการส่งเจ้าหน้าที่ของไทยไป ฝึกอบรมที่ญี่ปุ่น
ที่ประชุมจะหารือถึงปัญหาและอุปสรรคที่สมาชิกประสบในการจัดทำแผนปฏิบัติการเปิดเสรีรายสมาชิกของปีนี้ ตามรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-IAP) เพื่อหาทางช่วยเหลือให้สมาชิกทุกประเทศสามารถรายงาน IAP ตามรูปแบบใหม่ให้มีความโปร่งใสและใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น
ที่ประชุมจะพิจารณา TOR สำหรับการจัด APEC Chemical Dialogue เป็นเวทีพบปะหารือระหว่างภาครัฐและเอกชนของสมาชิกเอเปคเกี่ยวกับแนวโน้มและความร่วมมือในภูมิภาคในสาขาอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ นอกจากนั้น ไทยจะรายงานความคืบหน้าในการเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC Automotive Dialogue ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 3 — 5 เมษายน 2544ณ โรงแรม Le Royal Meridian กรุงเทพฯ
ญี่ปุ่นจะเสนอกรอบความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจ (Cooperation Framework for strengthening Economic Legal Infrastructure) ให้ที่ประชุมพิจารณา โดยให้ความสำคัญใน 3 เรื่องก่อน ได้แก่ Corporate Law, Competition Law และ Capacity Building ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกกำลังพัฒนารวมทั้งไทย เนื่องจากไทยยังมีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 และอยู่ระหว่างปรับปรุงกฎหมายบริษัทมหาชน
ที่ประชุมจะทบทวนความคืบหน้าในการดำเนินงานความร่วมมือเกี่ยวกับประเด็นเศรษฐกิจใหม่และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (New Economy and E-Commerce) ซึ่งคาดว่าจะให้ความสำคัญกับความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี (digital divide)
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
สาธารณรัฐประชาชนจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 1/2544 ระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2544 ณ กรุงปักกิ่ง โดยมีนางบุญทิพา สิมะสกุล อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว พร้อมกับนายอภินันท์ ปวนะฤทธิ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และมีผู้แทนจากกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมด้วย
ประเด็นหลักทางด้านเศรษฐกิจและการค้าที่จะมีการหารือในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งนี้ ได้แก่
การประเมินบทบาทและทิศทางของเอเปคในอนาคต
เอเปคจะทบทวนการดำเนินงานของสมาชิกเพื่อบรรลุเป้าหมายการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคภายในปี ค.ศ. 2010/2020 และโดยที่ปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้หันมาให้ความสนใจกับการจัดทำความตกลงทางการค้าระดับภูมิภาคและข้อตกลงการค้าเสรีระดับทวิภาคี (Regional Trade Arrangement: RTA และ Free Trade Agreement: FTA) มากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเบี่ยงเบนทางการค้า (trade diversion) ดังนั้น เอเปคอาจเน้นบทบาทในการสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีเพื่อให้เป็นที่พึ่งพิงของประเทศต่างๆ และส่งเสริมให้การค้าของโลกขยายตัว
การจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมเอเปคในปี 2544
กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการค้าที่คาดว่าเอเปคจะให้ลำดับความสำคัญสูงในปี 2544 ได้แก่ ความร่วมมือในเรื่องเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) รวมทั้งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โครงการเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิกกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณีของ WTO การจัดทำหลักการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า การทบทวนแนวทางของแผนปฏิบัติการโอซาก้า (OSAKA Action Agenda: OAA Guidelines) ซึ่งใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานของสมาชิกเพื่อการบรรลุเป้าหมายโบกอร์ โครงการนำเสนอแผนปฏิบัติการของสมาชิกทางอินเตอร์เนต (e-IAP) และการลดมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากร (NTMs)
การทบทวนความคืบหน้าด้านการเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกทางการค้า
ที่ประชุมจะทบทวนความคืบหน้าในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาขีดความสามารถของสมาชิกกำลังพัฒนาของเอเปคในการปฏิบัติตามความตกลงภายใต้กรอบ WTO ซึ่งริเริ่มโดย ญี่ปุ่นเมื่อปีที่แล้ว ในส่วนของไทย ญี่ปุ่นได้ส่งคณะเจ้าหน้าที่มาหารือกับหน่วยงานภาครัฐเมื่อเดือนธันวาคม 2543 และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้เสนอโครงการขอความช่วยเหลือ เพื่อจัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก รวมทั้งความช่วยเหลือด้านการประชุมเชิงวิชาการและการสัมมนา และการส่งเจ้าหน้าที่ของไทยไป ฝึกอบรมที่ญี่ปุ่น
ที่ประชุมจะหารือถึงปัญหาและอุปสรรคที่สมาชิกประสบในการจัดทำแผนปฏิบัติการเปิดเสรีรายสมาชิกของปีนี้ ตามรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-IAP) เพื่อหาทางช่วยเหลือให้สมาชิกทุกประเทศสามารถรายงาน IAP ตามรูปแบบใหม่ให้มีความโปร่งใสและใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น
ที่ประชุมจะพิจารณา TOR สำหรับการจัด APEC Chemical Dialogue เป็นเวทีพบปะหารือระหว่างภาครัฐและเอกชนของสมาชิกเอเปคเกี่ยวกับแนวโน้มและความร่วมมือในภูมิภาคในสาขาอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ นอกจากนั้น ไทยจะรายงานความคืบหน้าในการเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC Automotive Dialogue ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 3 — 5 เมษายน 2544ณ โรงแรม Le Royal Meridian กรุงเทพฯ
ญี่ปุ่นจะเสนอกรอบความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจ (Cooperation Framework for strengthening Economic Legal Infrastructure) ให้ที่ประชุมพิจารณา โดยให้ความสำคัญใน 3 เรื่องก่อน ได้แก่ Corporate Law, Competition Law และ Capacity Building ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกกำลังพัฒนารวมทั้งไทย เนื่องจากไทยยังมีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 และอยู่ระหว่างปรับปรุงกฎหมายบริษัทมหาชน
ที่ประชุมจะทบทวนความคืบหน้าในการดำเนินงานความร่วมมือเกี่ยวกับประเด็นเศรษฐกิจใหม่และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (New Economy and E-Commerce) ซึ่งคาดว่าจะให้ความสำคัญกับความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี (digital divide)
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-