1. เศรษฐกิจไทยปี 2542
วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อกลางปี 2540 นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดที่เราเคยประสบมาทำให้เศรษฐกิจหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2541 ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจตกต่ำลงอย่างมากจนดูเหมือนว่าจะไม่มีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วนัก ณ วันนี้ เหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปและมีสัญญาณว่าเศรษฐกิจได้ฟื้นตัวขึ้นแล้ว สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2542 โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งเป็นลำดับ โดยในไตรมาสที่ 1, 2 และ 3 ขยายตัวร้อยละ 0.9, 3.3 และ 7.7 ตามลำดับ ทำให้คาดว่าตลอดปี 2542 เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตรา ร้อยละ 4.1 เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญๆ ปรับตัวดีขึ้น ดังนี้ 1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปี 2542 ขยายตัวถึงร้อยละ 12.6 และอัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 60.32) การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังค่อนข้างทรงตัวโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.83) การส่งออก ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 7.3 มีมูลค่า 58,489 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 17.6 มีมูลค่า 49,915 ล้านเหรียญสหรัฐ4) อัตราเงินเฟ้อทรงตัวในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.35) ค่าเงินบาทยังคงมีเสถียรภาพอยู่ที่ระดับ 38 บาท/เหรียญสหรัฐ6) อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ (MLR ร้อยละ 8.25 - 8.50)7) ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 11.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9 ของ GDP และทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 อยู่ที่ระดับ 34.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2543
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2543 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดว่าปี 2543 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 ในอัตราร้อยละ 4.4 โดยภาคการส่งออกจะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวไปในทางเกื้อหนุนให้ระบบเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืนที่สำคัญ ได้แก่ 1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากปี 2542 ที่ขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 12.6 ด้วยแรงสนับสนุนจากการส่งออกที่ขยายตัวดี และการบริโภคของภาคเอกชนในประเทศที่จะกระตุ้นการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อสนองความต้องการของตลาด2) อัตราการใช้กำลังผลิตภาคอุตสาหกรรม จากภาวะเศรษฐกิจและการส่งออกที่ฟื้นตัวดีขึ้น การใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่มีระดับต่ำมากเฉลี่ยร้อยละ 52.1 ในปี 2541 ค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นโดยลำดับมาอยู่ที่ร้อยละ 56.0, 58.5, 61.9 และ 64.8 ในไตรมาสที่ 1 — ไตรมาสที่ 4 ของปี 2542 ตามลำดับ และยังคงจะปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อไปในปี 2543 จากสภาพเศรษฐกิจและการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง3) การลงทุนของภาคเอกชน มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์และการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในกิจกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก กอปรกับแผนการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการปรับโครงสร้างการผลิตซึ่งจะเริ่มมีผลในทางปฏิบัติ จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต และเป็นยุทธวิธีที่ภาคธุรกิจเตรียมพร้อมสำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป นอกจากนี้ มาตรการสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 อาทิ การจัดตั้งกองทุนเพื่อการร่วมทุนวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม การลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และมาตรการช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการประมูลสินทรัพย์ของ ปรส. ที่เสร็จสิ้นไปเป็นส่วนใหญ่จะมีส่วนช่วยให้โครงการที่ยังค้างอยู่สามารถดำเนินการไปได้ คาดว่าตลอดปี 2543 การลงทุนภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.04) การส่งออก เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจ โดยในปี 2542 การส่งออกของไทยมีมูลค่า 58,489 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2541 ร้อยละ 7.3 สูงกว่าเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 4 มูลค่า 56,600 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับปี 2543 กระทรวงพาณิชย์ คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 มีมูลค่าประมาณ 62,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจัยสนับสนุนการส่งออกที่สำคัญ คือ- ภาวะเศรษฐกิจและการค้าโลก ปี 2543 จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดย IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.5 (ปี 2542 ขยายตัวร้อยละ 3) ปริมาณการค้าโลกจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 6.2 (ปี 2542 ขยายตัวร้อยละ 3.9) นอกจากนี้ เศรษฐกิจของตลาดส่งออกหลักของไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เช่น สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 2.6) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 1.5) สหภาพยุโรป (ร้อยละ 2.7) เอเซีย (ร้อยละ 5.4) ตะวันออกกลาง (ร้อยละ 3.1) แอฟริกา (ร้อยละ 5.0) ลาตินอเมริกา (ร้อยละ 3.9)- ปัจจัยภายในประเทศที่สนับสนุนการส่งออก คือ อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่คาดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 2-3 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยคงจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย เพราะสภาพคล่องในระบบและการใช้จ่ายเงินของภาครัฐยังมีอยู่สูง นอกจากนี้ตลาดตราสารหนี้และสินเชื่อจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น 5) ดุลบัญชีเดินสะพัด จากภาวะการส่งออกปี 2543 ที่คาดว่าจะขยายตัวในเกณฑ์ดี ขณะที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงขึ้น ทำให้การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะมีผลให้ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดปี 2543 มีแนวโน้มลดลง โดยคาดว่าจะเกินดุลประมาณ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ6) ทุนสำรองระหว่างประเทศ ภาวะเศรษฐกิจและการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นมาโดยลำดับ ทำให้ฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมาอยู่ที่ระดับ 34.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าฐานะการเงินของประเทศมีความแข็งแกร่ง7) การคลัง การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลจำนวน 110,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2543 และการใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง8) ด้านธุรกิจท่องเที่ยว เป็นแหล่งนำรายได้เข้าประเทศที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งมีการปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนตามโครงการรณรงค์ส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทยในปีอะเมซิ่ง ไทยแลนด์ ปี 2542 สร้างรายได้เข้าประเทศประมาณ 280,000 ล้านบาท สำหรับปี 2543 แม้ว่าจะสิ้นสุดโครงการอะเมซิ่งไทยแลนด์ไปแล้ว แต่ความร่วมมือภาครัฐและเอกชนในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อ ดึงดูดนักท่องเที่ยว การส่งเสริมด้านการตลาด การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจในภูมิภาค เอเซียฟื้นตัวดีขึ้น ทำให้คาดว่าปี 2543 จะมีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศประมาณ 9 ล้านคน สร้างรายได้ประมาณ 320,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 14ปัจจัยสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ที่สำคัญคือ 1) ปัญหาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อันเนื่องจากปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง แม้ว่าจะค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่องจากระดับร้อยละ 47 ในช่วงต้นปี 2542 ลดลงเหลือประมาณร้อยละ 39 ในเดือนธันวาคม 2542 แต่การลดลงของ NPL ไม่เป็นไปตามที่รัฐบาลต้องการ เพราะการประนอมหนี้เป็นไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากลูกหนี้แต่ละรายส่วนใหญ่มีเจ้าหนี้จำนวนมาก ทำให้การเจรจามีปัญหาในรายละเอียดที่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งก็ไม่เป็นผลดีต่อภาคการเงิน ทำให้สถาบันการเงินไม่สามารถปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบได้เป็นปกติ2) ปัญหาการว่างงาน ผลจากวิกฤตเศรษฐกิจทำให้มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นจาก 0.63 ล้านคนในปี 2540 เป็น 1.35 ล้านคนในปี 2542 สำหรับปี 2543 ภาวะการว่างงานยังเป็นปัญหาที่น่าห่วงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานนิสิตนักศึกษาจบใหม่และคนว่างงานจากกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ที่บริษัทจำนวนไม่น้อยต้องล้มละลายและเลิกกิจการ3) ภาระหนี้ต่างประเทศของภาครัฐสูงขึ้น จากวิกฤตที่เกิดขึ้นทำให้รัฐบาลต้องก่อหนี้จากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จากจำนวน 17.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในเดือนมิถุนายน 2540 เพิ่มขึ้นเป็น 36.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในเดือนพฤศจิกายน 2542 ซึ่งในปี 2543 รัฐบาลเริ่มมีภาระจะต้องชำระหนี้อีกเป็นจำนวนมาก4) ราคาน้ำมัน ทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกจะยังทรงตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องจากนโยบายควบคุมปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปค จะมีผลบั่นทอนเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและธุรกิจรายสาขา เนื่องจากจะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้า บริการและการขนส่งปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาวได้3. ทิศทางนโยบายเศรษฐกิจ : กลไกการฟื้นตัวที่ยั่งยืน
เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืน จำเป็นจะต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2543 คือ 1) นโยบายปรับโครงสร้างการผลิต การลงทุน และการจ้างงาน การแข่งขันในตลาดโลกจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จึงต้องเตรียมความพร้อมในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่สำคัญได้แก่- ภาคเกษตรกรรม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสินค้าเกษตรหลักที่มีโอกาสทางการตลาด และสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดตลาด การถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่แก่เกษตรกร การพัฒนาแหล่งน้ำ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตตามแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก 12 ชนิด กำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อป้องกันราคาสินค้าตกต่ำ สนับสนุนการดำเนินการของตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า- ภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม 13 สาขา การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเป็นระบบ สนับสนุนการผลิตที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ พัฒนาด้านมาตรฐานสินค้า องค์กร และกลไกการตรวจสอบให้ได้มาตรฐานสากล- ภาคบริการ พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง สนับสนุนบริการด้านการศึกษานานาชาติ สนับสนุนการบริการส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาล- การกระตุ้นการลงทุน สนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าร่วมในโครงการลงทุนของภาครัฐ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของเอกชน เน้นความสำคัญในโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน กำกับดูแลดำเนินการภายใต้มาตรการสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน (10 สิงหาคม 2542) ให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ- การแก้ไขปัญหาการว่างงาน เร่งดำเนินโครงการต่างๆ ตามแผนปรับโครงสร้างทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นและมีการพัฒนาฝีมือแรงงานสูงขึ้น2) นโยบายการเงินและการคลัง- เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส โดยเฉพาะการใช้จ่ายภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของปี 2542- เร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)- กำกับดูแลให้มีการปล่อยสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ- ปรับปรุงระบบกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและได้มาตรฐานสากล- จัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก เพื่อให้มีระบบการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้ฝากเงินที่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นภาระแก่รัฐบาล3) นโยบายด้านการส่งออก- เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการส่งออกที่ยังคั่งค้างอยู่ให้สำเร็จและมีผลโดยเร็ว โดยเฉพาะปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยรวม ได้แก่(1) การปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบทั้งระบบ โดยเฉพาะเหล็กและปิโตรเคมี ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของสินค้าส่งออกหลายรายการ(2) แก้ไขปัญหาสภาพคล่องและกระจายสภาพคล่องอย่างทั่วถึงและพอเพียงให้กับผู้ผลิตและผู้ส่งออก โดยเฉพาะระดับกลางและระดับเล็ก(3) ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ยังสูงอยู่ เช่น ค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า เป็นต้น- การดูแลด้านการตลาด โดยให้ความสำคัญทั้งในด้านการรักษาส่วนแบ่งตลาดในตลาดเดิมและเพิ่มสัดส่วนการส่งออกในตลาดใหม่ รวมทั้งเร่งรัดผลักดันธุรกิจบริการที่มีลู่ทางและมีศักยภาพโดยมุ่งเน้นกิจกรรมที่สำคัญ คือ การสร้างภาพลักษณ์ของประเทศและสินค้าไทย การสร้างตราสัญลักษณ์สินค้าไทย (Brand Name) การสร้างเครือข่ายกระจายสินค้า (Distribution Network) ส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน (Border Trade) เป็นต้น- พัฒนาและส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารและสินค้าเกษตร ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการกระจายตลาด- เน้นนโยบายทีมไทยแลนด์ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ โดยให้สายงานที่ดูแลด้านการเมืองและสามารถประสานกับผู้บริหารระดับสูงของต่างประเทศเข้ามาช่วยสายงานด้านการพาณิชย์และสายงานด้านอื่น เพื่อเสริมบทบาทของไทยในต่างประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น- สนับสนุนและส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) โดยผ่านระบบ Internet เพื่อให้มีการค้าที่สะดวกรวดเร็วและกว้างขวางขึ้นการดำเนินนโยบายและมาตรการในการปรับโครงสร้างและกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว จะเป็นตัวจักรสำคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อกลางปี 2540 นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดที่เราเคยประสบมาทำให้เศรษฐกิจหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2541 ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจตกต่ำลงอย่างมากจนดูเหมือนว่าจะไม่มีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วนัก ณ วันนี้ เหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปและมีสัญญาณว่าเศรษฐกิจได้ฟื้นตัวขึ้นแล้ว สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2542 โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งเป็นลำดับ โดยในไตรมาสที่ 1, 2 และ 3 ขยายตัวร้อยละ 0.9, 3.3 และ 7.7 ตามลำดับ ทำให้คาดว่าตลอดปี 2542 เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตรา ร้อยละ 4.1 เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญๆ ปรับตัวดีขึ้น ดังนี้ 1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปี 2542 ขยายตัวถึงร้อยละ 12.6 และอัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 60.32) การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังค่อนข้างทรงตัวโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.83) การส่งออก ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 7.3 มีมูลค่า 58,489 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 17.6 มีมูลค่า 49,915 ล้านเหรียญสหรัฐ4) อัตราเงินเฟ้อทรงตัวในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.35) ค่าเงินบาทยังคงมีเสถียรภาพอยู่ที่ระดับ 38 บาท/เหรียญสหรัฐ6) อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ (MLR ร้อยละ 8.25 - 8.50)7) ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 11.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9 ของ GDP และทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 อยู่ที่ระดับ 34.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2543
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2543 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดว่าปี 2543 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 ในอัตราร้อยละ 4.4 โดยภาคการส่งออกจะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวไปในทางเกื้อหนุนให้ระบบเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืนที่สำคัญ ได้แก่ 1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากปี 2542 ที่ขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 12.6 ด้วยแรงสนับสนุนจากการส่งออกที่ขยายตัวดี และการบริโภคของภาคเอกชนในประเทศที่จะกระตุ้นการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อสนองความต้องการของตลาด2) อัตราการใช้กำลังผลิตภาคอุตสาหกรรม จากภาวะเศรษฐกิจและการส่งออกที่ฟื้นตัวดีขึ้น การใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่มีระดับต่ำมากเฉลี่ยร้อยละ 52.1 ในปี 2541 ค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นโดยลำดับมาอยู่ที่ร้อยละ 56.0, 58.5, 61.9 และ 64.8 ในไตรมาสที่ 1 — ไตรมาสที่ 4 ของปี 2542 ตามลำดับ และยังคงจะปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อไปในปี 2543 จากสภาพเศรษฐกิจและการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง3) การลงทุนของภาคเอกชน มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์และการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในกิจกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก กอปรกับแผนการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการปรับโครงสร้างการผลิตซึ่งจะเริ่มมีผลในทางปฏิบัติ จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต และเป็นยุทธวิธีที่ภาคธุรกิจเตรียมพร้อมสำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป นอกจากนี้ มาตรการสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 อาทิ การจัดตั้งกองทุนเพื่อการร่วมทุนวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม การลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และมาตรการช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการประมูลสินทรัพย์ของ ปรส. ที่เสร็จสิ้นไปเป็นส่วนใหญ่จะมีส่วนช่วยให้โครงการที่ยังค้างอยู่สามารถดำเนินการไปได้ คาดว่าตลอดปี 2543 การลงทุนภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.04) การส่งออก เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจ โดยในปี 2542 การส่งออกของไทยมีมูลค่า 58,489 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2541 ร้อยละ 7.3 สูงกว่าเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 4 มูลค่า 56,600 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับปี 2543 กระทรวงพาณิชย์ คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 มีมูลค่าประมาณ 62,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจัยสนับสนุนการส่งออกที่สำคัญ คือ- ภาวะเศรษฐกิจและการค้าโลก ปี 2543 จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดย IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.5 (ปี 2542 ขยายตัวร้อยละ 3) ปริมาณการค้าโลกจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 6.2 (ปี 2542 ขยายตัวร้อยละ 3.9) นอกจากนี้ เศรษฐกิจของตลาดส่งออกหลักของไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เช่น สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 2.6) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 1.5) สหภาพยุโรป (ร้อยละ 2.7) เอเซีย (ร้อยละ 5.4) ตะวันออกกลาง (ร้อยละ 3.1) แอฟริกา (ร้อยละ 5.0) ลาตินอเมริกา (ร้อยละ 3.9)- ปัจจัยภายในประเทศที่สนับสนุนการส่งออก คือ อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่คาดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 2-3 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยคงจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย เพราะสภาพคล่องในระบบและการใช้จ่ายเงินของภาครัฐยังมีอยู่สูง นอกจากนี้ตลาดตราสารหนี้และสินเชื่อจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น 5) ดุลบัญชีเดินสะพัด จากภาวะการส่งออกปี 2543 ที่คาดว่าจะขยายตัวในเกณฑ์ดี ขณะที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงขึ้น ทำให้การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะมีผลให้ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดปี 2543 มีแนวโน้มลดลง โดยคาดว่าจะเกินดุลประมาณ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ6) ทุนสำรองระหว่างประเทศ ภาวะเศรษฐกิจและการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นมาโดยลำดับ ทำให้ฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมาอยู่ที่ระดับ 34.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าฐานะการเงินของประเทศมีความแข็งแกร่ง7) การคลัง การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลจำนวน 110,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2543 และการใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง8) ด้านธุรกิจท่องเที่ยว เป็นแหล่งนำรายได้เข้าประเทศที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งมีการปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนตามโครงการรณรงค์ส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทยในปีอะเมซิ่ง ไทยแลนด์ ปี 2542 สร้างรายได้เข้าประเทศประมาณ 280,000 ล้านบาท สำหรับปี 2543 แม้ว่าจะสิ้นสุดโครงการอะเมซิ่งไทยแลนด์ไปแล้ว แต่ความร่วมมือภาครัฐและเอกชนในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อ ดึงดูดนักท่องเที่ยว การส่งเสริมด้านการตลาด การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจในภูมิภาค เอเซียฟื้นตัวดีขึ้น ทำให้คาดว่าปี 2543 จะมีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศประมาณ 9 ล้านคน สร้างรายได้ประมาณ 320,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 14ปัจจัยสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ที่สำคัญคือ 1) ปัญหาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อันเนื่องจากปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง แม้ว่าจะค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่องจากระดับร้อยละ 47 ในช่วงต้นปี 2542 ลดลงเหลือประมาณร้อยละ 39 ในเดือนธันวาคม 2542 แต่การลดลงของ NPL ไม่เป็นไปตามที่รัฐบาลต้องการ เพราะการประนอมหนี้เป็นไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากลูกหนี้แต่ละรายส่วนใหญ่มีเจ้าหนี้จำนวนมาก ทำให้การเจรจามีปัญหาในรายละเอียดที่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งก็ไม่เป็นผลดีต่อภาคการเงิน ทำให้สถาบันการเงินไม่สามารถปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบได้เป็นปกติ2) ปัญหาการว่างงาน ผลจากวิกฤตเศรษฐกิจทำให้มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นจาก 0.63 ล้านคนในปี 2540 เป็น 1.35 ล้านคนในปี 2542 สำหรับปี 2543 ภาวะการว่างงานยังเป็นปัญหาที่น่าห่วงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานนิสิตนักศึกษาจบใหม่และคนว่างงานจากกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ที่บริษัทจำนวนไม่น้อยต้องล้มละลายและเลิกกิจการ3) ภาระหนี้ต่างประเทศของภาครัฐสูงขึ้น จากวิกฤตที่เกิดขึ้นทำให้รัฐบาลต้องก่อหนี้จากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จากจำนวน 17.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในเดือนมิถุนายน 2540 เพิ่มขึ้นเป็น 36.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในเดือนพฤศจิกายน 2542 ซึ่งในปี 2543 รัฐบาลเริ่มมีภาระจะต้องชำระหนี้อีกเป็นจำนวนมาก4) ราคาน้ำมัน ทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกจะยังทรงตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องจากนโยบายควบคุมปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปค จะมีผลบั่นทอนเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและธุรกิจรายสาขา เนื่องจากจะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้า บริการและการขนส่งปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาวได้3. ทิศทางนโยบายเศรษฐกิจ : กลไกการฟื้นตัวที่ยั่งยืน
เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืน จำเป็นจะต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2543 คือ 1) นโยบายปรับโครงสร้างการผลิต การลงทุน และการจ้างงาน การแข่งขันในตลาดโลกจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จึงต้องเตรียมความพร้อมในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่สำคัญได้แก่- ภาคเกษตรกรรม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสินค้าเกษตรหลักที่มีโอกาสทางการตลาด และสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดตลาด การถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่แก่เกษตรกร การพัฒนาแหล่งน้ำ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตตามแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก 12 ชนิด กำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อป้องกันราคาสินค้าตกต่ำ สนับสนุนการดำเนินการของตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า- ภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม 13 สาขา การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเป็นระบบ สนับสนุนการผลิตที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ พัฒนาด้านมาตรฐานสินค้า องค์กร และกลไกการตรวจสอบให้ได้มาตรฐานสากล- ภาคบริการ พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง สนับสนุนบริการด้านการศึกษานานาชาติ สนับสนุนการบริการส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาล- การกระตุ้นการลงทุน สนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าร่วมในโครงการลงทุนของภาครัฐ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของเอกชน เน้นความสำคัญในโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน กำกับดูแลดำเนินการภายใต้มาตรการสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน (10 สิงหาคม 2542) ให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ- การแก้ไขปัญหาการว่างงาน เร่งดำเนินโครงการต่างๆ ตามแผนปรับโครงสร้างทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นและมีการพัฒนาฝีมือแรงงานสูงขึ้น2) นโยบายการเงินและการคลัง- เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส โดยเฉพาะการใช้จ่ายภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของปี 2542- เร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)- กำกับดูแลให้มีการปล่อยสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ- ปรับปรุงระบบกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและได้มาตรฐานสากล- จัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก เพื่อให้มีระบบการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้ฝากเงินที่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นภาระแก่รัฐบาล3) นโยบายด้านการส่งออก- เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการส่งออกที่ยังคั่งค้างอยู่ให้สำเร็จและมีผลโดยเร็ว โดยเฉพาะปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยรวม ได้แก่(1) การปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบทั้งระบบ โดยเฉพาะเหล็กและปิโตรเคมี ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของสินค้าส่งออกหลายรายการ(2) แก้ไขปัญหาสภาพคล่องและกระจายสภาพคล่องอย่างทั่วถึงและพอเพียงให้กับผู้ผลิตและผู้ส่งออก โดยเฉพาะระดับกลางและระดับเล็ก(3) ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ยังสูงอยู่ เช่น ค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า เป็นต้น- การดูแลด้านการตลาด โดยให้ความสำคัญทั้งในด้านการรักษาส่วนแบ่งตลาดในตลาดเดิมและเพิ่มสัดส่วนการส่งออกในตลาดใหม่ รวมทั้งเร่งรัดผลักดันธุรกิจบริการที่มีลู่ทางและมีศักยภาพโดยมุ่งเน้นกิจกรรมที่สำคัญ คือ การสร้างภาพลักษณ์ของประเทศและสินค้าไทย การสร้างตราสัญลักษณ์สินค้าไทย (Brand Name) การสร้างเครือข่ายกระจายสินค้า (Distribution Network) ส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน (Border Trade) เป็นต้น- พัฒนาและส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารและสินค้าเกษตร ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการกระจายตลาด- เน้นนโยบายทีมไทยแลนด์ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ โดยให้สายงานที่ดูแลด้านการเมืองและสามารถประสานกับผู้บริหารระดับสูงของต่างประเทศเข้ามาช่วยสายงานด้านการพาณิชย์และสายงานด้านอื่น เพื่อเสริมบทบาทของไทยในต่างประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น- สนับสนุนและส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) โดยผ่านระบบ Internet เพื่อให้มีการค้าที่สะดวกรวดเร็วและกว้างขวางขึ้นการดำเนินนโยบายและมาตรการในการปรับโครงสร้างและกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว จะเป็นตัวจักรสำคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-