1. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบาย การเงิน วันที่ 29 สิงหาคม 2544
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศข่าว ธปท. ฉบับที่ 112/2544 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2544 แจ้งผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ดังนี้
คณะกรรมการฯ ประเมินภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ และประเทศในภูมิภาคยังคงยังมีแนวโน้มอ่อนตัวลง ส่งผลให้การส่งออกของไทยที่ชะลอลงตามไปด้วยนั้นยังไม่แสดงทิศทางที่จะกลับฟื้นตัวขึ้นได้อย่างรวดเร็ว นับเป็นปัจจัยลบที่ยังคงกดดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย อย่างไรก็ตาม หากแรงกระตุ้นจากภาคการคลังของรัฐบาลมีความต่อเนื่องและเพียงพอ ที่จะเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศ คาดว่าจะผ่อนคลายผลกระทบดังกล่าว ทำให้โอกาสของการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ จะยังอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 — 2.0 ต่อปี แรงกดดันด้านราคามีน้อยมาก แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไม่เกินร้อยละ 2.0 ต่อปี และ ยังอยู่ในเป้าหมายตลอดในช่วงแปดไตรมาสข้างหน้า ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำเพียงพอที่จะเกื้อหนุนต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอยู่แล้ว จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาด ซื้อคืนระยะ 14 วันไว้ในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี ต่อไป
2. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 2 ปี 2544
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ประกาศตัวเลข ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2544 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 ดังนี้
อัตราขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
(ราคาปี 2531 เทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)
(ร้อยละ) 2543 2544
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
ภาคเกษตร -2.2 5.7 4.6 3.5 1.7 2.0
ภาคนอกเกษตร 6.2 6.4 2.8 3.1 1.8 1.9
GDP 5.3 6.4 2.9 3.2 1.8 1.9
GDP(ปรับฤดูกาล) 1.1 0.6 0.3 0.9 -0.1 0.9
การขยายตัวเกิดจากปัจจัยภายในที่สำคัญคือ การ ใช้จ่ายของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และการลงทุน ขยายตัวร้อยละ 5.3 ประกอบกับปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการที่หดตัวลงมากร้อยละ 6.9 ส่งผลให้การผลิตในประเทศบางส่วนขยายตัวตอบสนองความต้องการอุปโภคและลงทุนได้
อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่มีผลทำให้ GDP ขยายตัวไม่สูงนักที่สำคัญคือ รายรับจากการส่งออกสินค้าและบริการในราคาปีฐานลดลงร้อยละ 1.4 ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลในราคา ปีฐานลดลงร้อยละ 0.3 เช่นกัน
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.2 สูงกว่าร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนเทียบกับดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มร้อยละ 4.2
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 3.5 สูงกว่าร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อน โดยมีผลมาจากรายได้ รวมทั้งการขึ้นเงินเดือนของภาครัฐและอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านขนส่งและสื่อสาร โดยเฉพาะ ค่าใช้จ่ายด้านโทรศัพท์ ซึ่งมีการลดราคาเพื่อทำ ยอดขาย และรายจ่ายซื้อยานพาหนะประเภทรถยนต์และจักรยานยนต์ ซึ่งมีรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ส่วนค่าใช้จ่ายประเภทอาหารและของใช้อื่นโดยเฉลี่ยแล้วมีแนวโน้มทรงตัว ยกเว้นบางรายการที่ครัวเรือนใช้จ่ายลดลง เช่น การอุปโภคเนื้อสัตว์ ปลาและสัตว์น้ำ และเสื้อผ้า
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล มีมูลค่าตามราคาประจำปี 145,565 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เนื่องจากมีการขึ้นเงินเดือนราชการ ส่วนมูลค่าที่แท้จริงลดลงร้อยละ 0.3 ประกอบด้วยเงินเดือนและค่าจ้างชะลอลง โดยขยายตัวร้อยละ 0.2 ขณะที่ ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 1.3 สาเหตุสำคัญเพราะนโยบายปรับลดจำนวนข้าราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ทำให้ ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของรัฐลดลง และการใช้จ่ายจากเงินกู้ลดลงรวมทั้งเงินกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มอยู่ในระยะสุดท้าย
การลงทุน ขยายตัวร้อยละ 5.3 เทียบกับอัตราหดตัวร้อยละ 5.8 ในไตรมาสแรก โดยการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง และภาครัฐขยายตัวเพิ่มขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว ร้อยละ 4.8 ต่ำกว่าร้อยละ 8.9 ในไตรมาสแรก ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในสิ่งปลูกสร้างและที่อยู่อาศัย ขณะที่การลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือลดลง การลงทุนภาครัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 6.3 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การลงทุนก่อสร้างลดลงแต่การซื้อเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ยานพาหนะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพราะมีการนำเข้าเครื่องบินโดยสารและอุปกรณ์จำนวน 2 ลำ ซึ่งหากไม่รวมเครื่องบินและอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว การ ลงทุนของภาครัฐลดลงร้อยละ 10.9 ด้านต่างประเทศ
รายรับจากการส่งออกสินค้า มีมูลค่า 709,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เทียบเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. เท่ากับ 15,635 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.6 และเมื่อวัดมูลค่าการส่งออกในราคาคงที่ หรือปริมาณ ส่งออกแล้วลดลงร้อยละ 1.6 ดีกว่าไตรมาสแรกที่ลดลงร้อยละ 3.5 รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้านำเข้า มีมูลค่า 690,834 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 หรือเท่ากับ 15,233 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 แสดงให้เห็นว่าผู้นำเข้าต้องรับภาระจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ในขณะที่ผู้ส่งออก ได้รับประโยชน์ดีขึ้น อย่างไรก็ดี มูลค่าการนำเข้าสินค้าในราคาคงที่ลดลงร้อยละ 10.0 หรือปริมาณนำเข้าซึ่งเป็นการปรับตัว ดีขึ้นกว่าไตรมาสแรกที่อัตราการหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.9 ดุลการค้าและบริการ เกินดุล 52.6 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับรายได้จากต่างประเทศสุทธิและ เงินโอนสุทธิซึ่งรวมแล้วขาดดุลเท่ากับ 6.3 พันล้านบาทแล้ว ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสนี้เกินดุลเท่ากับ 46.3 พันล้านบาทหรือร้อยละ 3.7 ต่อ GDP เทียบกับร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศข่าว ธปท. ฉบับที่ 112/2544 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2544 แจ้งผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ดังนี้
คณะกรรมการฯ ประเมินภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ และประเทศในภูมิภาคยังคงยังมีแนวโน้มอ่อนตัวลง ส่งผลให้การส่งออกของไทยที่ชะลอลงตามไปด้วยนั้นยังไม่แสดงทิศทางที่จะกลับฟื้นตัวขึ้นได้อย่างรวดเร็ว นับเป็นปัจจัยลบที่ยังคงกดดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย อย่างไรก็ตาม หากแรงกระตุ้นจากภาคการคลังของรัฐบาลมีความต่อเนื่องและเพียงพอ ที่จะเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศ คาดว่าจะผ่อนคลายผลกระทบดังกล่าว ทำให้โอกาสของการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ จะยังอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 — 2.0 ต่อปี แรงกดดันด้านราคามีน้อยมาก แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไม่เกินร้อยละ 2.0 ต่อปี และ ยังอยู่ในเป้าหมายตลอดในช่วงแปดไตรมาสข้างหน้า ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำเพียงพอที่จะเกื้อหนุนต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอยู่แล้ว จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาด ซื้อคืนระยะ 14 วันไว้ในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี ต่อไป
2. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 2 ปี 2544
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ประกาศตัวเลข ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2544 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 ดังนี้
อัตราขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
(ราคาปี 2531 เทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)
(ร้อยละ) 2543 2544
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
ภาคเกษตร -2.2 5.7 4.6 3.5 1.7 2.0
ภาคนอกเกษตร 6.2 6.4 2.8 3.1 1.8 1.9
GDP 5.3 6.4 2.9 3.2 1.8 1.9
GDP(ปรับฤดูกาล) 1.1 0.6 0.3 0.9 -0.1 0.9
การขยายตัวเกิดจากปัจจัยภายในที่สำคัญคือ การ ใช้จ่ายของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และการลงทุน ขยายตัวร้อยละ 5.3 ประกอบกับปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการที่หดตัวลงมากร้อยละ 6.9 ส่งผลให้การผลิตในประเทศบางส่วนขยายตัวตอบสนองความต้องการอุปโภคและลงทุนได้
อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่มีผลทำให้ GDP ขยายตัวไม่สูงนักที่สำคัญคือ รายรับจากการส่งออกสินค้าและบริการในราคาปีฐานลดลงร้อยละ 1.4 ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลในราคา ปีฐานลดลงร้อยละ 0.3 เช่นกัน
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.2 สูงกว่าร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนเทียบกับดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มร้อยละ 4.2
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 3.5 สูงกว่าร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อน โดยมีผลมาจากรายได้ รวมทั้งการขึ้นเงินเดือนของภาครัฐและอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านขนส่งและสื่อสาร โดยเฉพาะ ค่าใช้จ่ายด้านโทรศัพท์ ซึ่งมีการลดราคาเพื่อทำ ยอดขาย และรายจ่ายซื้อยานพาหนะประเภทรถยนต์และจักรยานยนต์ ซึ่งมีรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ส่วนค่าใช้จ่ายประเภทอาหารและของใช้อื่นโดยเฉลี่ยแล้วมีแนวโน้มทรงตัว ยกเว้นบางรายการที่ครัวเรือนใช้จ่ายลดลง เช่น การอุปโภคเนื้อสัตว์ ปลาและสัตว์น้ำ และเสื้อผ้า
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล มีมูลค่าตามราคาประจำปี 145,565 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เนื่องจากมีการขึ้นเงินเดือนราชการ ส่วนมูลค่าที่แท้จริงลดลงร้อยละ 0.3 ประกอบด้วยเงินเดือนและค่าจ้างชะลอลง โดยขยายตัวร้อยละ 0.2 ขณะที่ ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 1.3 สาเหตุสำคัญเพราะนโยบายปรับลดจำนวนข้าราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ทำให้ ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของรัฐลดลง และการใช้จ่ายจากเงินกู้ลดลงรวมทั้งเงินกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มอยู่ในระยะสุดท้าย
การลงทุน ขยายตัวร้อยละ 5.3 เทียบกับอัตราหดตัวร้อยละ 5.8 ในไตรมาสแรก โดยการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง และภาครัฐขยายตัวเพิ่มขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว ร้อยละ 4.8 ต่ำกว่าร้อยละ 8.9 ในไตรมาสแรก ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในสิ่งปลูกสร้างและที่อยู่อาศัย ขณะที่การลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือลดลง การลงทุนภาครัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 6.3 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การลงทุนก่อสร้างลดลงแต่การซื้อเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ยานพาหนะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพราะมีการนำเข้าเครื่องบินโดยสารและอุปกรณ์จำนวน 2 ลำ ซึ่งหากไม่รวมเครื่องบินและอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว การ ลงทุนของภาครัฐลดลงร้อยละ 10.9 ด้านต่างประเทศ
รายรับจากการส่งออกสินค้า มีมูลค่า 709,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เทียบเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. เท่ากับ 15,635 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.6 และเมื่อวัดมูลค่าการส่งออกในราคาคงที่ หรือปริมาณ ส่งออกแล้วลดลงร้อยละ 1.6 ดีกว่าไตรมาสแรกที่ลดลงร้อยละ 3.5 รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้านำเข้า มีมูลค่า 690,834 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 หรือเท่ากับ 15,233 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 แสดงให้เห็นว่าผู้นำเข้าต้องรับภาระจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ในขณะที่ผู้ส่งออก ได้รับประโยชน์ดีขึ้น อย่างไรก็ดี มูลค่าการนำเข้าสินค้าในราคาคงที่ลดลงร้อยละ 10.0 หรือปริมาณนำเข้าซึ่งเป็นการปรับตัว ดีขึ้นกว่าไตรมาสแรกที่อัตราการหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.9 ดุลการค้าและบริการ เกินดุล 52.6 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับรายได้จากต่างประเทศสุทธิและ เงินโอนสุทธิซึ่งรวมแล้วขาดดุลเท่ากับ 6.3 พันล้านบาทแล้ว ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสนี้เกินดุลเท่ากับ 46.3 พันล้านบาทหรือร้อยละ 3.7 ต่อ GDP เทียบกับร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-