ข่าวในประเทศ
1. ธปท.เผยแพร่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจประจำเดือน มี.ค.44 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่การจัดทำดัชนีชี้นำเศรษฐกิจประจำเดือน มี.ค.44 ว่า ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีชี้นำฯ (Leading Economic Index : LEI) อยู่ที่ระดับ 119.2 เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.พ.44 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 118.4 เป็นผลจากการส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้น และจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น สำหรับดัชนีชี้นำฯ ในส่วนที่ปรับลดลง คือราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของ LEI ทำให้คาดว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอาจปรับตัวดีขึ้นใน 3-4 เดือนข้างหน้า สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดทำดัชนีชี้นำฯ คือเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ โดยควรใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค สำหรับดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Components and Coincident Index : CEI) เดือน มี.ค.44 ค่าประมาณการเบื้องต้นอยู่ที่ระดับ 113.2 เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค.43 ร้อยละ 1 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากเดือน ก.พ.44(กรุงเทพธุรกิจ 4)
2. ธปท.ขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจเอสเอ็มอีเพิ่มเติม ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.จะขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อระยะยาววงเงิน 50 ล.บาทให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เพิ่มเติมจากสินเชื่อหมุนเวียน 20 ล.บาท โดยมีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกัน สำหรับการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ซึ่งเดิมกำหนดวงเงินค้ำประกันไว้ 20 ล.บาทต่อราย และมีการกำหนดเพิ่มเติมเป็น 40 ล.บาทต่อราย แต่อาจไม่เพียงพอสำหรับธุรกิจที่ขอสินเชื่อเต็มวงเงิน 70 ล.บาท กรณีดังกล่าวหากมีหลักประกันเพิ่มเติมสถาบันการเงินสามารถอนุมัติสินเชื่อได้ ในส่วนของบริษัทเงินทุน (บง.) ที่ต้องการเข้าโครงการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจเอสเอ็มอี โดยมี บสย.ค้ำประกัน ก็สามารถทำได้โดยไม่ติดขัดข้อกฎหมายแต่อย่างใด(ผู้จัดการรายวัน 4)
3. สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้จัดทำซีดีรอมรวบรวมข้อมูลการปรับโครงสร้างหนี้ รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ได้จัดทำซีดีรอม ชื่อ "ปรับปรุงโครงสร้างหนี้คือทางออกที่ดีของทุกธุรกิจ" รวบรวมข้อมูลการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทั้งหมด จำนวน 2,000 แผ่น โดยจะจัดส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานศาลยุติธรรม สถาบันการเงิน เป็นต้น(ผู้จัดการรายวัน 4)
4. รมว.คลังกล่าวว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับการกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนและการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน รมว.คลังกล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยขณะนี้ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ความเชื่อมั่นในการบริโภคและการใช้จ่ายของประชาชน และสภาพคล่องจำนวนมากที่ค้างอยู่ในสถาบันการเงิน ซึ่งจะสามารถใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจทดแทนการส่งออกซึ่งเป็นรายได้สำคัญที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่วนปัจจัยอื่นที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้แก่ การลงทุนในต่างประเทศ การเร่งการใช้จ่ายเงิน งปม.ในประเทศ รวมทั้งการลงทุนจากต่างประเทศ(โลกวันนี้ 4)
ข่าวต่างประเทศ
1. โออีซีดีปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกในปี 44 รายงานจากปารีสเมื่อ 3 พ.ค.44 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) ระบุใน Economic Outlook ว่า ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจปี 44 ของประเทศสมาชิกลงเหลือร้อยละ 2.0 จากประมาณการเดิมที่ระดับร้อยละ 3.3 แต่จะฟื้นตัวขึ้นเป็นเติบโตร้อยละ 2.8 ในปี 45 อันเป็นผลจากปรับลดอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันโน้มต่ำลง ทั้งนี้ สรอ.จะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 1.7 ในปี 44 ลดลงจากประมาณเดิมที่ระดับร้อยละ 3.5 และต่ำกว่ามากจากปี 43 ที่เติบโตร้อยละ 5.0 โดยมีสมมติฐานว่า ธ.กลาง สรอ.จะดำนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อเหนี่ยวรั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สำหรับประเทศสมาชิกอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น จะเติบโตร้อยละ 1.0 ลดลงจากร้อยละ 1.7 ในปี 43 ส่วน 12 ประเทศในเขตยูโรจะเติบโตชะลอลงเหลือร้อยละ 2.6 ในปี44 และ 2.7 ในปี45 เทียบกับร้อยละ 3.4 ในปี 43 โดยเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเขตยูโร จะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 2.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.0 ในปี 43 และจะขยายตัวเป็นร้อยละ 2.4 ในปี 45 (รอยเตอร์ 3) 2. ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ลดลงในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 3 พ.ค. 44 National Association of Purchasing (NAPM) เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 44 ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมกรรมการผลิต ที่ใช้วัดภาคบริการของระบบเศรษฐกิจและคิดเป็นร้อยละ 80 ของจีดีพี ลดลงอยู่ที่ระดับ 47.1 จากระดับ 50.3 ในเดือน มี.ค. 44 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีนับแต่มีการสำรวจ และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 50.3 ทั้งนี้ การที่ดัชนีฯต่ำกว่าระดับ 50 ชี้ถึงภาคบริการที่หดตัว (รอยเตอร์3)
3. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. เพิ่มขึ้นสูงสุดในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 เม.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 3 พ.ค. 44 ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 เม.ย. 44 เพิ่มขึ้นจำนวน 9,000 คน เป็นจำนวน 421,000 คน จากตัวเลขที่ปรับฤดูกาลแล้ว จำนวน 412,000 คนในสัปดาห์ก่อน นับเป็นจำนวนสูงสุดตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 มี.ค. 39 และตรงข้ามกับผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า ผู้ขอรับสวัสดิการฯจะลดลงเหลือ 400,000 คน ขณะเดียวกัน ผู้ขอรับสวัสดิการฯ เฉลี่ย 4 สัปดาห์ เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 อยู่ที่จำนวน 404,500 คน จากจำนวน 395,250 คนในสัปดาห์ก่อน และมีจำนวนสูงสุดนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 ต.ค. 35 การที่ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้นเกินความคาดหมาย เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า การจ้างงานยังอยู่ในระดับต่ำ ในวันเดียวกัน International outplacement firm Challenger, Gray & Christmas เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย.44 บริษัทต่างๆ ได้ประกาศเลิกจ้างงานเป็นจำนวนทั้งสิ้น 165,564 คน เทียบกับจำนวน 162,867 คนในเดือน มี.ค. 44 นับเป็นจำนวนสูงสุดตั้งแต่เริ่มทำการสำรวจในปี36 และมากกว่า 4 เท่าจากเดือนเดียวกันของปี 43 สำหรับในช่วง 4 เดือนแรกของปี 44 บริษัททั้งหลายวางแผนเลิกจ้างงานเป็นจำนวน 572,370 คน เทียบกับจำนวน 179,144 คนในช่วงเดียวกันของปี43 (รอยเตอร์3)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 3 พ.ค. 44 45.396 (45.497)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 3 พ.ค. 44ซื้อ 45.1864 (45.3333) ขาย 45.5042 (45.6339)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,650 (5,600) ขาย 5,750 (5,700)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.85 (24.90)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.29 (17.29) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เผยแพร่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจประจำเดือน มี.ค.44 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่การจัดทำดัชนีชี้นำเศรษฐกิจประจำเดือน มี.ค.44 ว่า ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีชี้นำฯ (Leading Economic Index : LEI) อยู่ที่ระดับ 119.2 เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.พ.44 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 118.4 เป็นผลจากการส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้น และจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น สำหรับดัชนีชี้นำฯ ในส่วนที่ปรับลดลง คือราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของ LEI ทำให้คาดว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอาจปรับตัวดีขึ้นใน 3-4 เดือนข้างหน้า สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดทำดัชนีชี้นำฯ คือเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ โดยควรใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค สำหรับดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Components and Coincident Index : CEI) เดือน มี.ค.44 ค่าประมาณการเบื้องต้นอยู่ที่ระดับ 113.2 เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค.43 ร้อยละ 1 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากเดือน ก.พ.44(กรุงเทพธุรกิจ 4)
2. ธปท.ขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจเอสเอ็มอีเพิ่มเติม ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.จะขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อระยะยาววงเงิน 50 ล.บาทให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เพิ่มเติมจากสินเชื่อหมุนเวียน 20 ล.บาท โดยมีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกัน สำหรับการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ซึ่งเดิมกำหนดวงเงินค้ำประกันไว้ 20 ล.บาทต่อราย และมีการกำหนดเพิ่มเติมเป็น 40 ล.บาทต่อราย แต่อาจไม่เพียงพอสำหรับธุรกิจที่ขอสินเชื่อเต็มวงเงิน 70 ล.บาท กรณีดังกล่าวหากมีหลักประกันเพิ่มเติมสถาบันการเงินสามารถอนุมัติสินเชื่อได้ ในส่วนของบริษัทเงินทุน (บง.) ที่ต้องการเข้าโครงการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจเอสเอ็มอี โดยมี บสย.ค้ำประกัน ก็สามารถทำได้โดยไม่ติดขัดข้อกฎหมายแต่อย่างใด(ผู้จัดการรายวัน 4)
3. สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้จัดทำซีดีรอมรวบรวมข้อมูลการปรับโครงสร้างหนี้ รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ได้จัดทำซีดีรอม ชื่อ "ปรับปรุงโครงสร้างหนี้คือทางออกที่ดีของทุกธุรกิจ" รวบรวมข้อมูลการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทั้งหมด จำนวน 2,000 แผ่น โดยจะจัดส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานศาลยุติธรรม สถาบันการเงิน เป็นต้น(ผู้จัดการรายวัน 4)
4. รมว.คลังกล่าวว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับการกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนและการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน รมว.คลังกล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยขณะนี้ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ความเชื่อมั่นในการบริโภคและการใช้จ่ายของประชาชน และสภาพคล่องจำนวนมากที่ค้างอยู่ในสถาบันการเงิน ซึ่งจะสามารถใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจทดแทนการส่งออกซึ่งเป็นรายได้สำคัญที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่วนปัจจัยอื่นที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้แก่ การลงทุนในต่างประเทศ การเร่งการใช้จ่ายเงิน งปม.ในประเทศ รวมทั้งการลงทุนจากต่างประเทศ(โลกวันนี้ 4)
ข่าวต่างประเทศ
1. โออีซีดีปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกในปี 44 รายงานจากปารีสเมื่อ 3 พ.ค.44 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) ระบุใน Economic Outlook ว่า ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจปี 44 ของประเทศสมาชิกลงเหลือร้อยละ 2.0 จากประมาณการเดิมที่ระดับร้อยละ 3.3 แต่จะฟื้นตัวขึ้นเป็นเติบโตร้อยละ 2.8 ในปี 45 อันเป็นผลจากปรับลดอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันโน้มต่ำลง ทั้งนี้ สรอ.จะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 1.7 ในปี 44 ลดลงจากประมาณเดิมที่ระดับร้อยละ 3.5 และต่ำกว่ามากจากปี 43 ที่เติบโตร้อยละ 5.0 โดยมีสมมติฐานว่า ธ.กลาง สรอ.จะดำนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อเหนี่ยวรั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สำหรับประเทศสมาชิกอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น จะเติบโตร้อยละ 1.0 ลดลงจากร้อยละ 1.7 ในปี 43 ส่วน 12 ประเทศในเขตยูโรจะเติบโตชะลอลงเหลือร้อยละ 2.6 ในปี44 และ 2.7 ในปี45 เทียบกับร้อยละ 3.4 ในปี 43 โดยเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเขตยูโร จะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 2.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.0 ในปี 43 และจะขยายตัวเป็นร้อยละ 2.4 ในปี 45 (รอยเตอร์ 3) 2. ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ลดลงในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 3 พ.ค. 44 National Association of Purchasing (NAPM) เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 44 ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมกรรมการผลิต ที่ใช้วัดภาคบริการของระบบเศรษฐกิจและคิดเป็นร้อยละ 80 ของจีดีพี ลดลงอยู่ที่ระดับ 47.1 จากระดับ 50.3 ในเดือน มี.ค. 44 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีนับแต่มีการสำรวจ และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 50.3 ทั้งนี้ การที่ดัชนีฯต่ำกว่าระดับ 50 ชี้ถึงภาคบริการที่หดตัว (รอยเตอร์3)
3. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. เพิ่มขึ้นสูงสุดในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 เม.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 3 พ.ค. 44 ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 เม.ย. 44 เพิ่มขึ้นจำนวน 9,000 คน เป็นจำนวน 421,000 คน จากตัวเลขที่ปรับฤดูกาลแล้ว จำนวน 412,000 คนในสัปดาห์ก่อน นับเป็นจำนวนสูงสุดตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 มี.ค. 39 และตรงข้ามกับผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า ผู้ขอรับสวัสดิการฯจะลดลงเหลือ 400,000 คน ขณะเดียวกัน ผู้ขอรับสวัสดิการฯ เฉลี่ย 4 สัปดาห์ เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 อยู่ที่จำนวน 404,500 คน จากจำนวน 395,250 คนในสัปดาห์ก่อน และมีจำนวนสูงสุดนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 ต.ค. 35 การที่ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้นเกินความคาดหมาย เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า การจ้างงานยังอยู่ในระดับต่ำ ในวันเดียวกัน International outplacement firm Challenger, Gray & Christmas เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย.44 บริษัทต่างๆ ได้ประกาศเลิกจ้างงานเป็นจำนวนทั้งสิ้น 165,564 คน เทียบกับจำนวน 162,867 คนในเดือน มี.ค. 44 นับเป็นจำนวนสูงสุดตั้งแต่เริ่มทำการสำรวจในปี36 และมากกว่า 4 เท่าจากเดือนเดียวกันของปี 43 สำหรับในช่วง 4 เดือนแรกของปี 44 บริษัททั้งหลายวางแผนเลิกจ้างงานเป็นจำนวน 572,370 คน เทียบกับจำนวน 179,144 คนในช่วงเดียวกันของปี43 (รอยเตอร์3)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 3 พ.ค. 44 45.396 (45.497)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 3 พ.ค. 44ซื้อ 45.1864 (45.3333) ขาย 45.5042 (45.6339)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,650 (5,600) ขาย 5,750 (5,700)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.85 (24.90)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.29 (17.29) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-