กรุงเทพฯ--18 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
สุนทรพจน์
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ในการประชุมประจำปีของสภาผู้ว่าการธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ครั้งที่ 34
ระหว่างวันที่ 8-11 พฤษภาคม 2544
ณ ฮอนโนลูลู, ฮาวาย,สหรัฐอเมริกา
___________________________
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวสุนทรพจน์ ในการประชุมประจำปีของสภาผู้ว่าการธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank) ครั้งที่ 34 ระหว่างวันที่ 8-11 พฤษภาคม 2544 ณ ฮอนโนลูลู, ฮาวาย, สหรัฐอเมริกาว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้เข้าร่วมในงานประชุมประจำปีครั้งที่ 34 ของ ADB ในครั้งนี้ ขอขอบคุณต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและประชาชนชาวฮาวายที่ได้ต้อนรับอย่างอบอุ่น
ในโอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจและแนวโน้มของไทยว่าประเทศไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดของวิกฤติการณ์ทางการเงินในปี 2540 แล้ว แต่ยังมีประเด็นปัญหาอีกหลายประการที่ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์
ในช่วงสามเดือนแรก รัฐบาลใหม่ได้ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและลดความเสี่ยงจากแนวโน้มชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ในภาคเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น มาตรการต่างๆ มุ่งเน้นการทบทวนการจัดสรรงบประมาณในทิศทางที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า ในขณะที่คงไว้ซึ่งวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด
เพื่อให้นโยบายดังกล่าวบรรลุผล รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านขึ้นเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นอุปสงค์ในระดับท้องถิ่น กองทุนดังกล่าวจะกระจายอยู่ใน 70,000 หมู่บ้าน ทั่วประเทศเพื่อการพัฒนาและการสนับสนุนผู้ประกอบการในท้องถิ่น ตลอดจนการสร้างงานขึ้นในชุมชน กองทุนดังกล่าวจะดำเนินการด้วยความโปร่งใส บริหารงานโดยบุคลากรในท้องถิ่นนั้นๆ
มาตรการที่สองของการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า คือ การพัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SEMs) เพื่อให้สามารถเป็นกลไกหลักในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ มาตรการต่างๆ ได้เริ่มทยอยออกมา อาทิ การจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่มีศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการและมีขีดความสามารถในการผลิตสินค้าที่เป็น niche products อยู่แล้ว การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะเป็นการสร้างงาน ช่วยกระจายรายได้ อันจะทำให้ความเหลื่ยมล้ำทางสังคมลดลง
การส่งออกและการนำเที่ยวเป็นอีกสองช่องทางในการสร้างรายได้ให้ประเทศ ประเทศไทยยังสามารถรักษาระดับการส่งออกได้ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง กลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่ที่เน้นการพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จะถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว
แน่นอนทีเดียว ภาคสถาบันการเงินที่มีความแข็งแกร่งจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รัฐบาลได้ใช้มาตรการต่างๆ ที่จะทำให้สถาบันการเงินสามารถดำเนินงานได้อย่างเป็นปกติโดยการจัดตั้ง TAMC ซึ่งจะทำหน้าที่บริหารจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงิน กลไกดังกล่าวจะส่งผลให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ในภาคเอกชนและทำให้การจัดสรรทรัพยากรต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐบาลได้เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสในการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม อาทิ
* การแก้ไขกฎระเบียบและกฎหมายต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
* การปฏิรูปภาคการเงินทั้งในส่วนของสถาบันการเงินและตลาดทุน เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่ดี
* การปฏิรูปในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ครอบคลุมถึงภาคเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับขีดความสามารถ
ในการแข่งขันในตลาดโลก
* การปฏิรูปการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพของแรงงานไทยไปสู่การเป็นแรงงานมีทักษะและความรู้ พร้อมๆ กันนั้นจะเพิ่มขีดความสามารถใน การวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว
นอกเหนือจากนี้ รัฐบาลยังได้เริ่มดำเนินการปฏิรูปวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจทั้งหมดมีมูลค่าสินทรัพย์โดยรวมกว่าครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ดังนั้นการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรของรัฐวิสาหกิจเหล่านี้จะส่งผลต่อศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยกรอบยุทธศาสตร์การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และกฎระเบียบใหม่ที่เกี่ยวข้องคาดว่าจะสามารถนำมาปฏิบัติได้ภายในปีนี้
จะเห็นได้ว่ามาตรการการปฏิรูปต่างๆ ที่ทยอยออกมา มียุทธศาสตร์การพัฒนาที่เน้นการสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก การผลักดันให้การปฏิรูปบังเกิดผลนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ
มีประเด็นปัญหามากมายที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ อย่างไรก็ดี รัฐบาลมีความแน่วแน่ที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศใหม่ โดยหลายๆ มาตรการหลักกำลังดำเนินการอยู่ และอีกหลายมาตรการกำลังจะผลักดันให้เกิดผลภายในปีนี้
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังกล่าวถึงบทบาทและทิศทางในอนาคตของ ADB อีกว่า ADB มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ประเทศในภูมิภาคนี้พ้นจากวิกฤติ ประเทศไทยได้ให้การสนับสนุน ADB อย่างเต็มที่ในการแก้ไขปัญหาความยากจน จะเห็นได้จากกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ได้จัดทำขึ้น ADB ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างกลไกการเตือนภัยทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในภูมิภาคนี้ ADB ควรจะดำเนินการผลักดันเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้กับภูมิภาคนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ADB จะยังคงเป็นบทบาทนำในการพัฒนาเอเชีย รัฐบาลไทยยืนยันจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการพัฒนาความร่วมมือกันระหว่างประเทศอันจะนำมาซึ่งความมั่งคั่งและสันติสุขของประชาชนในภูมิภาคนี้
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยังได้กล่าวแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของ ADB ในช่วงที่ผ่านมา และรัฐบาลไทยจะยืนอยู่เคียงข้าง ADB ภายใต้การนำของประธาน Chino ในการเผชิญกับประเด็นท้าทายต่างๆ ในอนาคต--จบ--
-นห-
สุนทรพจน์
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ในการประชุมประจำปีของสภาผู้ว่าการธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ครั้งที่ 34
ระหว่างวันที่ 8-11 พฤษภาคม 2544
ณ ฮอนโนลูลู, ฮาวาย,สหรัฐอเมริกา
___________________________
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวสุนทรพจน์ ในการประชุมประจำปีของสภาผู้ว่าการธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank) ครั้งที่ 34 ระหว่างวันที่ 8-11 พฤษภาคม 2544 ณ ฮอนโนลูลู, ฮาวาย, สหรัฐอเมริกาว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้เข้าร่วมในงานประชุมประจำปีครั้งที่ 34 ของ ADB ในครั้งนี้ ขอขอบคุณต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและประชาชนชาวฮาวายที่ได้ต้อนรับอย่างอบอุ่น
ในโอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจและแนวโน้มของไทยว่าประเทศไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดของวิกฤติการณ์ทางการเงินในปี 2540 แล้ว แต่ยังมีประเด็นปัญหาอีกหลายประการที่ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์
ในช่วงสามเดือนแรก รัฐบาลใหม่ได้ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและลดความเสี่ยงจากแนวโน้มชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ในภาคเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น มาตรการต่างๆ มุ่งเน้นการทบทวนการจัดสรรงบประมาณในทิศทางที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า ในขณะที่คงไว้ซึ่งวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด
เพื่อให้นโยบายดังกล่าวบรรลุผล รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านขึ้นเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นอุปสงค์ในระดับท้องถิ่น กองทุนดังกล่าวจะกระจายอยู่ใน 70,000 หมู่บ้าน ทั่วประเทศเพื่อการพัฒนาและการสนับสนุนผู้ประกอบการในท้องถิ่น ตลอดจนการสร้างงานขึ้นในชุมชน กองทุนดังกล่าวจะดำเนินการด้วยความโปร่งใส บริหารงานโดยบุคลากรในท้องถิ่นนั้นๆ
มาตรการที่สองของการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า คือ การพัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SEMs) เพื่อให้สามารถเป็นกลไกหลักในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ มาตรการต่างๆ ได้เริ่มทยอยออกมา อาทิ การจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่มีศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการและมีขีดความสามารถในการผลิตสินค้าที่เป็น niche products อยู่แล้ว การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะเป็นการสร้างงาน ช่วยกระจายรายได้ อันจะทำให้ความเหลื่ยมล้ำทางสังคมลดลง
การส่งออกและการนำเที่ยวเป็นอีกสองช่องทางในการสร้างรายได้ให้ประเทศ ประเทศไทยยังสามารถรักษาระดับการส่งออกได้ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง กลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่ที่เน้นการพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จะถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว
แน่นอนทีเดียว ภาคสถาบันการเงินที่มีความแข็งแกร่งจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รัฐบาลได้ใช้มาตรการต่างๆ ที่จะทำให้สถาบันการเงินสามารถดำเนินงานได้อย่างเป็นปกติโดยการจัดตั้ง TAMC ซึ่งจะทำหน้าที่บริหารจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงิน กลไกดังกล่าวจะส่งผลให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ในภาคเอกชนและทำให้การจัดสรรทรัพยากรต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐบาลได้เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสในการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม อาทิ
* การแก้ไขกฎระเบียบและกฎหมายต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
* การปฏิรูปภาคการเงินทั้งในส่วนของสถาบันการเงินและตลาดทุน เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่ดี
* การปฏิรูปในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ครอบคลุมถึงภาคเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับขีดความสามารถ
ในการแข่งขันในตลาดโลก
* การปฏิรูปการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพของแรงงานไทยไปสู่การเป็นแรงงานมีทักษะและความรู้ พร้อมๆ กันนั้นจะเพิ่มขีดความสามารถใน การวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว
นอกเหนือจากนี้ รัฐบาลยังได้เริ่มดำเนินการปฏิรูปวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจทั้งหมดมีมูลค่าสินทรัพย์โดยรวมกว่าครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ดังนั้นการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรของรัฐวิสาหกิจเหล่านี้จะส่งผลต่อศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยกรอบยุทธศาสตร์การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และกฎระเบียบใหม่ที่เกี่ยวข้องคาดว่าจะสามารถนำมาปฏิบัติได้ภายในปีนี้
จะเห็นได้ว่ามาตรการการปฏิรูปต่างๆ ที่ทยอยออกมา มียุทธศาสตร์การพัฒนาที่เน้นการสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก การผลักดันให้การปฏิรูปบังเกิดผลนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ
มีประเด็นปัญหามากมายที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ อย่างไรก็ดี รัฐบาลมีความแน่วแน่ที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศใหม่ โดยหลายๆ มาตรการหลักกำลังดำเนินการอยู่ และอีกหลายมาตรการกำลังจะผลักดันให้เกิดผลภายในปีนี้
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังกล่าวถึงบทบาทและทิศทางในอนาคตของ ADB อีกว่า ADB มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ประเทศในภูมิภาคนี้พ้นจากวิกฤติ ประเทศไทยได้ให้การสนับสนุน ADB อย่างเต็มที่ในการแก้ไขปัญหาความยากจน จะเห็นได้จากกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ได้จัดทำขึ้น ADB ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างกลไกการเตือนภัยทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในภูมิภาคนี้ ADB ควรจะดำเนินการผลักดันเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้กับภูมิภาคนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ADB จะยังคงเป็นบทบาทนำในการพัฒนาเอเชีย รัฐบาลไทยยืนยันจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการพัฒนาความร่วมมือกันระหว่างประเทศอันจะนำมาซึ่งความมั่งคั่งและสันติสุขของประชาชนในภูมิภาคนี้
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยังได้กล่าวแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของ ADB ในช่วงที่ผ่านมา และรัฐบาลไทยจะยืนอยู่เคียงข้าง ADB ภายใต้การนำของประธาน Chino ในการเผชิญกับประเด็นท้าทายต่างๆ ในอนาคต--จบ--
-นห-