ข่าวในประเทศ
1. ธปท.อัดฉีดเงินผ่านตลาดอาร์พีและตลาดตราสารหนี้เพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องตลาดเงินตึงตัว รองผู้ว่าการเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วง 2 วันที่ผ่านมา สภาพคล่องในตลาดเงินเกิดภาวะตึงตัวขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงใกล้สิ้นเดือนที่มีการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและช่วงการจ่ายเงินเดือนของภาคเอกชน ดังนั้น ธปท.จึงอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบผ่านตลาดซื้อคืน พธบ. (อาร์พี) จำนวน 20,000 ล.บาท เพื่อช่วยดูแลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดอาร์พีและตลาดเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร (อินเตอร์แบงก์) เคลื่อนไหวไม่มากนัก นอกจากนี้ ธปท.ได้เข้าซื้อ พธบ.รัฐบาลในตลาดตราสารหนี้จำนวน 6,000-8,000 ล.บาท เพื่อรักษาระดับการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้ เนื่องจากสถาบันการเงินไม่แน่ใจในทิศทางของอัตราดอกเบี้ยจึงมีการเทขาย พธบ. ทั้งนี้ การแทรกแซงของ ธปท.ทั้ง 2 กรณี ทำให้การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยมีไม่มากนัก (โลกวันนี้, เดลินิวส์ 1)
2. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจในเดือน เม.ย. 44 ผู้อำนวยการฝ่ายภาคการผลิต สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 44 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังคงทรงตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกกลับมาติดลบเป็นครั้งที่ 3 มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 4,725 ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย. 43 เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศคู่ค้าลดลง ส่วนการนำเข้ามีมูลค่าทั้งสิ้น 4,859 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย. 43 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงเนื่องจากการนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วนลดลง ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือน เม.ย. 44 ขาดดุล 134 ล.ดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินขาดดุล 187 ล.ดอลลาร์ สรอ. และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 151 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนกำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 50.2 ลดลงจากเดือน มี.ค. 44 ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 59.8 เนื่องจากมีการขยายฐานการผลิตในอุตสาหกรรมแผงวงจรไฟฟ้าและปิโตรเลียม ทำให้ฐานของกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นส่งผลให้สัดส่วนการใช้กำลังการผลิตลดลง รวมทั้งมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน (ข่าวสด 1)
3. เอสแอนด์พีคงอันดับความน่าเชื่อถือของไทย บริษัทสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือของไทย รวมถึงจัดอันดับตราสารหนี้ปฐมสิทธิ์ไม่มีประกันในอันดับน่าลงทุน โดยอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศระยะยาวคงอยู่ที่ BBB- และตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นอยู่ที่ A3 ส่วนความน่าเชื่อถือตราสารสกุลเงินบาทระยะยาวยังคงอยู่ที่ A- และตราสารหนี้สกุลเงินบาทระยะสั้นอยู่ที่ A2 ส่วนแนวโน้มการจัดอันดับยังคงมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ การคงอันดับดังกล่าวบ่งชี้ถึงฐานะภายนอกประเทศที่แข็งแกร่งของไทย (ไทยรัฐ 1)
ข่าวต่างประเทศ
1. ผุ้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 พ.ค. 44 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 เดือน รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 31 พ.ค. 44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 พ.ค. 44 ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานใหม่มีจำนวน 419,000 คน เพิ่มขึ้นจากตัวเลขหลังปรับฤดูกาล จำนวน 411,000 คน ในสัปดาห์ก่อน นับเป็นจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการฯ สูงที่สุดตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 เม.ย. 44 ที่มีจำนวน 425,000 คน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า จะมีจำนวน 405,000 คน รายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า ตลาดแรงงานของ สรอ. ยังคงมีความอ่อนแอ (รอยเตอร์31)
2. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองเพิ่มขึ้นสูงสุดในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 มิ.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 31 พ.ค. 44 Freddie Mac เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 มิ.ย. 44 ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอัตราคงที่ ระยะ 30 ปี เพิ่มขึ้นที่เฉลี่ยร้อยละ 7.24 ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่สัปดาห์วันที่ 15 ธ.ค. 44 ที่มีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7.42 ขณะเดียวกัน ดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ระยะ 15 ปี มีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.78 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.76 ในสัปดาห์ก่อน และดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับได้ระยะ 1 ปี ก็เพิ่มขึ้นอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.89 จากร้อยละ 5.82 ในสัปดาห์ก่อน หัวหน้าเศรษฐกรแห่ง Freddie Mac (Robert Van Order) กล่าวว่า การที่เศรษฐกิจ สรอ. ในช่วงไตรมาสแรกปี 44 เติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัย แต่คาดว่าตลาดที่อยู่อาศัยจะฟื้นตัวขึ้นในครึ่งหลังของปีนี้ (รอยเตอร์31)
3. คำสั่งซื้อของบริษัทก่อสร้างและการสร้างบ้านใหม่ของญี่ปุ่นลดลงในเดือน เม.ย.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 31 พ.ค.44 Ministry of Land, Infrastructure and Transport รายงานว่า เดือน เม.ย.44 คำสั่งซื้อจากบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่โดยรวมมีมูลค่า 628.32 พัน ล.เยน ลดลงร้อยละ 12.3 จากระยะเดียวกันปี 43 โดยคำสั่งซื้อฯ ของภาคเอกชนในประเทศลดลงร้อยละ 18.1 เหลือจำนวน 414.57 พัน ล.เยน คำสั่งซื้อฯ ภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 มีมูลค่า 137.27 พัน ล.เยน ส่วนคำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศลดลงถึงร้อยละ 30.6 เหลือจำนวน 27.66 พัน ล.เยน และในวันเดียวกัน กระทรวงฯ ได้รายงานว่า ยอดการสร้างบ้านใหม่ในเดือน เม.ย.44 ลดลงร้อยละ 7.2 เทียบต่อปี เหลือจำนวน 99,556 หลัง โดยเป็นการลดลงของบ้านส่วนตัวร้อยละ 15.8 บ้านเช่าร้อยละ 1.5 ที่อยู่อาศัยของลูกจ้างร้อยละ 12.2 การสร้างบ้านและอาคารชุดเพื่อจำหน่ายลดลงร้อยละ 1.6 และ 3.9 ตามลำดับ (รอยเตอร์ 31)
4. เกาหลีใต้เกินดุลการค้า 2.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน พ.ค.44 รายงานจากโซลเมื่อ 1 มิ.ย.44 เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรเปิดเผยว่า เดือน พ.ค.44 ยอดเกินดุลการค้าซึ่งเป็นตัวเลขเบื้องต้นมีมูลค่า 2.077 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นมากจากเดือน เม.ย.44 ที่มีมูลค่าเพียง 988 ล.ดอลลาร์ และสูงกว่าเดือน พ.ค.43 ที่เกินดุลจำนวน 1.35 พัน ล.ดอลลาร์ ทั้งนี้ เดือน พ.ค.44 การส่งออกตามเงื่อนไข FOB ลดลงร้อยละ 6.9 เทียบต่อปี เหลือจำนวน 13.63 พัน ล.ดอลลาร์ ขณะที่การนำเข้าตามเงื่อนไข CIF ลดลงร้อยละ 13.0 เหลือจำนวน 11.56 พัน ล.ดอลาร์ (รอยเตอร์ 1)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 31 พ.ค. 44 45.330 (45.381)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 31 พ.ค. 44ซื้อ 45.1406 (45.2157) ขาย 45.4386 (45.5219)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 27.34 (27.28)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.อัดฉีดเงินผ่านตลาดอาร์พีและตลาดตราสารหนี้เพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องตลาดเงินตึงตัว รองผู้ว่าการเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วง 2 วันที่ผ่านมา สภาพคล่องในตลาดเงินเกิดภาวะตึงตัวขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงใกล้สิ้นเดือนที่มีการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและช่วงการจ่ายเงินเดือนของภาคเอกชน ดังนั้น ธปท.จึงอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบผ่านตลาดซื้อคืน พธบ. (อาร์พี) จำนวน 20,000 ล.บาท เพื่อช่วยดูแลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดอาร์พีและตลาดเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร (อินเตอร์แบงก์) เคลื่อนไหวไม่มากนัก นอกจากนี้ ธปท.ได้เข้าซื้อ พธบ.รัฐบาลในตลาดตราสารหนี้จำนวน 6,000-8,000 ล.บาท เพื่อรักษาระดับการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้ เนื่องจากสถาบันการเงินไม่แน่ใจในทิศทางของอัตราดอกเบี้ยจึงมีการเทขาย พธบ. ทั้งนี้ การแทรกแซงของ ธปท.ทั้ง 2 กรณี ทำให้การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยมีไม่มากนัก (โลกวันนี้, เดลินิวส์ 1)
2. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจในเดือน เม.ย. 44 ผู้อำนวยการฝ่ายภาคการผลิต สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 44 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังคงทรงตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกกลับมาติดลบเป็นครั้งที่ 3 มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 4,725 ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย. 43 เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศคู่ค้าลดลง ส่วนการนำเข้ามีมูลค่าทั้งสิ้น 4,859 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย. 43 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงเนื่องจากการนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วนลดลง ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือน เม.ย. 44 ขาดดุล 134 ล.ดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินขาดดุล 187 ล.ดอลลาร์ สรอ. และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 151 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนกำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 50.2 ลดลงจากเดือน มี.ค. 44 ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 59.8 เนื่องจากมีการขยายฐานการผลิตในอุตสาหกรรมแผงวงจรไฟฟ้าและปิโตรเลียม ทำให้ฐานของกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นส่งผลให้สัดส่วนการใช้กำลังการผลิตลดลง รวมทั้งมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน (ข่าวสด 1)
3. เอสแอนด์พีคงอันดับความน่าเชื่อถือของไทย บริษัทสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือของไทย รวมถึงจัดอันดับตราสารหนี้ปฐมสิทธิ์ไม่มีประกันในอันดับน่าลงทุน โดยอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศระยะยาวคงอยู่ที่ BBB- และตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นอยู่ที่ A3 ส่วนความน่าเชื่อถือตราสารสกุลเงินบาทระยะยาวยังคงอยู่ที่ A- และตราสารหนี้สกุลเงินบาทระยะสั้นอยู่ที่ A2 ส่วนแนวโน้มการจัดอันดับยังคงมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ การคงอันดับดังกล่าวบ่งชี้ถึงฐานะภายนอกประเทศที่แข็งแกร่งของไทย (ไทยรัฐ 1)
ข่าวต่างประเทศ
1. ผุ้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 พ.ค. 44 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 เดือน รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 31 พ.ค. 44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 พ.ค. 44 ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานใหม่มีจำนวน 419,000 คน เพิ่มขึ้นจากตัวเลขหลังปรับฤดูกาล จำนวน 411,000 คน ในสัปดาห์ก่อน นับเป็นจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการฯ สูงที่สุดตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 เม.ย. 44 ที่มีจำนวน 425,000 คน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า จะมีจำนวน 405,000 คน รายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า ตลาดแรงงานของ สรอ. ยังคงมีความอ่อนแอ (รอยเตอร์31)
2. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองเพิ่มขึ้นสูงสุดในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 มิ.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 31 พ.ค. 44 Freddie Mac เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 มิ.ย. 44 ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอัตราคงที่ ระยะ 30 ปี เพิ่มขึ้นที่เฉลี่ยร้อยละ 7.24 ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่สัปดาห์วันที่ 15 ธ.ค. 44 ที่มีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7.42 ขณะเดียวกัน ดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ระยะ 15 ปี มีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.78 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.76 ในสัปดาห์ก่อน และดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับได้ระยะ 1 ปี ก็เพิ่มขึ้นอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.89 จากร้อยละ 5.82 ในสัปดาห์ก่อน หัวหน้าเศรษฐกรแห่ง Freddie Mac (Robert Van Order) กล่าวว่า การที่เศรษฐกิจ สรอ. ในช่วงไตรมาสแรกปี 44 เติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัย แต่คาดว่าตลาดที่อยู่อาศัยจะฟื้นตัวขึ้นในครึ่งหลังของปีนี้ (รอยเตอร์31)
3. คำสั่งซื้อของบริษัทก่อสร้างและการสร้างบ้านใหม่ของญี่ปุ่นลดลงในเดือน เม.ย.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 31 พ.ค.44 Ministry of Land, Infrastructure and Transport รายงานว่า เดือน เม.ย.44 คำสั่งซื้อจากบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่โดยรวมมีมูลค่า 628.32 พัน ล.เยน ลดลงร้อยละ 12.3 จากระยะเดียวกันปี 43 โดยคำสั่งซื้อฯ ของภาคเอกชนในประเทศลดลงร้อยละ 18.1 เหลือจำนวน 414.57 พัน ล.เยน คำสั่งซื้อฯ ภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 มีมูลค่า 137.27 พัน ล.เยน ส่วนคำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศลดลงถึงร้อยละ 30.6 เหลือจำนวน 27.66 พัน ล.เยน และในวันเดียวกัน กระทรวงฯ ได้รายงานว่า ยอดการสร้างบ้านใหม่ในเดือน เม.ย.44 ลดลงร้อยละ 7.2 เทียบต่อปี เหลือจำนวน 99,556 หลัง โดยเป็นการลดลงของบ้านส่วนตัวร้อยละ 15.8 บ้านเช่าร้อยละ 1.5 ที่อยู่อาศัยของลูกจ้างร้อยละ 12.2 การสร้างบ้านและอาคารชุดเพื่อจำหน่ายลดลงร้อยละ 1.6 และ 3.9 ตามลำดับ (รอยเตอร์ 31)
4. เกาหลีใต้เกินดุลการค้า 2.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน พ.ค.44 รายงานจากโซลเมื่อ 1 มิ.ย.44 เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรเปิดเผยว่า เดือน พ.ค.44 ยอดเกินดุลการค้าซึ่งเป็นตัวเลขเบื้องต้นมีมูลค่า 2.077 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นมากจากเดือน เม.ย.44 ที่มีมูลค่าเพียง 988 ล.ดอลลาร์ และสูงกว่าเดือน พ.ค.43 ที่เกินดุลจำนวน 1.35 พัน ล.ดอลลาร์ ทั้งนี้ เดือน พ.ค.44 การส่งออกตามเงื่อนไข FOB ลดลงร้อยละ 6.9 เทียบต่อปี เหลือจำนวน 13.63 พัน ล.ดอลลาร์ ขณะที่การนำเข้าตามเงื่อนไข CIF ลดลงร้อยละ 13.0 เหลือจำนวน 11.56 พัน ล.ดอลาร์ (รอยเตอร์ 1)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 31 พ.ค. 44 45.330 (45.381)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 31 พ.ค. 44ซื้อ 45.1406 (45.2157) ขาย 45.4386 (45.5219)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 27.34 (27.28)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-