เศรษฐกิจของจังหวัดยะลาในปี 2543 ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน โดยเฉพาะในภาคการเกษตร ผลผลิตยางพารา
และไม้ผลออกสู่ตลาดมากและสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐส่งผลให้ธุรกิจ
การค้าที่ต่อเนื่องได้แก่ การค้าปลีกค้าส่ง และการค้ายานพาหนะปรับตัวดี ส่วนในภาคการเงินปริมาณเงินฝากขยายตัวเพียงเล็กน้อย
จากสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ที่มีมาก ทำให้สาขาธนาคารพาณิชย์ไม่เน้นการระดมเงินฝาก ขณะที่การให้สินเชื่อหดตัวลง เนื่อง
จากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินที่เกิดขึ้น ทำให้ธนาคารพาณิชย์ยังคงมีความเข้มงวดเงื่อนไขในการพิจารณาการให้
สินเชื่อแก่ลูกค้า
ภาคการเกษตร
ยางพารา ผลผลิตยางพาราของจังหวัดออกสู่ตลาดมากขึ้นตามสภาพอากาศที่ เอื้ออำนวย ประกอบกับสถานการณ์ด้าน
ราคาปรับตัวดีขึ้นตามภาวะตลาดโลก ทำให้พ่อค้าท้องถิ่นรับซื้อยางในราคาสูงขึ้น ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ย
กิโลกรัมละ 21.76 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 18.9
นอกภาคการเกษตร
การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวในจังหวัดยะลาได้รับผลกระทบในทางลบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศมาเลเซีย
ซึ่งเป็นตลาดหลักของธุรกิจท่องเที่ยวในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยในปีนี้มีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองในจังหวัด
ยะลาทั้งสิ้น 111,939 คน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 16.4 ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวมาเลเซีย 106,125 คน ลดลงร้อยละ 17.6
ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์และชาติอื่น ๆ 2,030 คน และ 3,784 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และ 25.3 ตามลำดับ
การค้า ในปีนี้ทางการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงซบเซา
รวมทั้งสร้างกำลังซื้อของประชาชนเป็นผลให้ภาคการค้าและการลงทุนคึกคักขึ้น การจดทะเบียนรถใหม่ขยายตัวทุกประเภท โดยรถยนต์
นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน มีการจดทะเบียนใหม่ปีนี้ 358 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.3 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 543 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ
21.2 และรถจักรยานยนต์ 10,038 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.7
การลงทุน ในปีนี้มีกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ จำนวน
2 ราย เงินลงทุนรวม 741.4 ล้านบาท มีการจ้างแรงงานไทยถึง 800 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีเพียง 1 ราย เงินลงทุน 93.0 ล้านบาท
จ้างแรงงาน 98 คน ส่วนการขอจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลรายใหม่ 68 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 135.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ
1.5 และ 84.3 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามการลงทุนในธุรกิจก่อสร้างภายในจังหวัดไม่ขยายตัวเนื่องจากยังขาดกำลังซื้อ จากรายงานของเทศบาลใน
จังหวัดยะลาในปีนี้มีการขออนุญาตเพื่อทำการก่อสร้างในเขตเทศบาลทั้งสิ้น 48,427 ตารางเมตร ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 33.5 จำแนก
ได้เป็นการขออนุญาต ก่อสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย 38,933 ตารางเมตร เพื่อการพาณิชย์ 9,038 ตารางเมตร เพื่อการบริการ 202
ตารางเมตร และอื่น ๆ 254 ตารางเมตร
การจ้างงาน จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดยะลาในปีนี้มีตำแหน่งงานว่างเพิ่มขึ้น โดยมีการประกาศตำแหน่ง
งานว่างทั้งสิ้น 4,512 อัตรา เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีตำแหน่งงานว่างเพียง 2,731 อัตรา ร้อยละ 65.2 ส่วนผู้มาสมัครงานมีจำนวน
3,187 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 และมีผู้ได้รับการบรรจุงาน 1,444 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4
การคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดยะลาขยายตัวเล็กน้อย โดยมีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น
4,514.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.8 ส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามโครงการก่อสร้างและงบประมาณต่อเนื่อง
ทั้งนี้ในปีนี้ทางการมีมาตรการดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุลเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนการจัดเก็บ
ภาษีอากรซึ่งเป็นรายได้ของภาครัฐสามารถจัดเก็บได้ 363.0 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 13.4 ในจำนวนนี้เป็นภาษีสรรพากร
352.5 ล้านบาท ภาษีสรรพาสามิต 1.3 ล้านบาท และภาษีศุลกากร 9.2 ล้านบาท
การเงินการธนาคาร ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของจังหวัดยะลาเพิ่มมากขึ้นตามภาวะการค้าสินค้าเกษตรที่อยู่
ในเกณฑ์ดี ในปีนี้ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยจังหวัดยะลามีการรับเงินสดจากสาขาธนาคารต่าง ๆ 8,057.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ปีก่อนร้อยละ 19.8 เช่นเดียวกับเงินสดที่จ่ายออก 7,938.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ขณะที่การโอนเงินระหว่างธนาคารแห่ง
ประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ กับผู้แทนฯ มีการโอนเงินเข้า 16,170.3 ล้านบาท และโอนเงินออก 11,417.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
0.2 และ 4.8 ตามลำดับ
การใช้เช็คของธุรกิจในจังหวัดเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนฉบับและมูลค่าของเช็ค โดยมี สัดส่วนของเช็คคืนลดลง เนื่องจากธนาคาร
พาณิชย์มีความระมัดระวังในการเปิดบัญชีเช็คของลูกค้า ปริมาณเช็คที่ผ่านสำนักหักบัญชีในปีนี้ 193,581 ฉบับ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.7
เป็นมูลค่ารวม 13,796.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ปริมาณเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ารวมร้อยละ 0.8 จากปีก่อนที่มีสัดส่วน
ร้อยละ 1.2
ปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดจำนวน 18 สำนักงาน ณ สิ้นเดือนธันวาคมนี้มียอดคงค้าง 11,466.7 ล้านบาท
เปรียบเทียบกับ ณ สิ้นเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ลดลงอย่างต่อเนื่อง
ประกอบกับสภาพคล่องทางการเงินที่มีมากทำให้สาขาธนาคารพาณิชย์ไม่เน้นการระดมเงินฝาก ทั้งนี้ สามารถจำแนกได้เป็นเงินฝากประจำ
7,983.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.1 เงินฝากออมทรัพย์ 3,302.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.6 ที่เหลือเป็นเงินฝากกระแสรายวัน
181.0 ล้านบาท และเงินฝากอื่น ๆ 0.1 ล้านบาท
การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดยะลาลดลงจากระยะที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังคงพิจารณาการปล่อยสินเชื่อ
อย่างระมัดระวัง ขณะเดียวกันจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในช่วงฟื้นตัวทำให้การให้สินเชื่อชะลอตัว นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ยังมีการโอนหนี้
ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์จำนวนหนึ่งในช่วงเดือนกันยายน 2543 เป็นผลให้ยอด คงค้างเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 5,927.8 ล้านบาท ลดลง 1,123.8 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 15.9 เมื่อเปรียบเทียบกับ ณ สิ้นเดือนเดียวกันปีก่อน
ในจำนวนนี้จำแนกเป็น เงินให้กู้ 3,142.2 ล้านบาท เงินเบิกเกินบัญชี 2,440.2 ล้านบาท และสินเชื่อจากตั๋วเงินและอื่น ๆ 345.4 ล้านบาท
และเมื่อพิจารณาเงินให้สินเชื่อจำแนกตามวัตถุประสงค์ของการขอกู้ที่สำคัญ พบว่าสินเชื่อส่วนใหญ่ในจังหวัดยะลาเป็นสินเชื่อเพื่อการค้าปลีกค้า
ส่งยอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 1,955.9 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 รองลงมาเป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภค
ส่วนบุคคล และสินเชื่ออุตสาหกรรมยอดคงค้าง 1,421.0 ล้านบาท และ 1,067.6 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.7 และ 23.1
ตามลำดับ
ด้านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดยะลา ซึ่งมีจำนวน 4 สำนักงาน ในปีนี้มีการปล่อยสินเชื่อรวม 485.6
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 35.6 ในขณะที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้วงเงินกู้แก่กิจการในจังหวัดยะลาจำนวน 8 ราย
เป็นเงินสินเชื่อ 105.3 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนจำนวนรายเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3 แต่จำนวนเงินลดลงร้อยละ 23.0
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดยะลาในปี 2544
เศรษฐกิจโดยทั่วไปของจังหวัดยะลาในปี 2544 ยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน โดยขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรเป็นสำคัญ
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดได้แก่ ยางพารา และไม้ผล จะออกสู่ตลาดมากขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย นอกจากนี้ในด้านการ
ท่องเที่ยวยังทำ รายได้ให้กับจังหวัด โดยเฉพาะในอำเภอเบตง ซึ่งมีนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซียเดินทางเข้ามามากขึ้น กอปรกับภาครัฐ
มีการดำเนินมาตรการเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการใช้นโยบายการขาดดุลงบประมาณเพื่อเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐเข้าสู่ระบบ
เครื่องชี้ 2541 2542 2543 43/42
1. การเกษตร
ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 23.17 18.3 21.76 18.9
2. การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมือง (คน) 130,830 133,845 111,939 -16.4
มาเลเซีย 124,633 128,820 106,125 -17.6
สิงคโปร์ 2,284 2,004 2,030 1.3
ชาติอื่น ๆ 3,913 3,021 3,784 25.3
3. การค้า
3.1 รถยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 140 209 358 71.3
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 376 448 543 21.2
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน) 7,747 6,574 10,038 52.7
3.2 การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 1,090.40 822.8 1,077.30 30.9
มูลค่าการนำเข้า 67.4 44.2 35.2 -20.4
4. การลงทุน
4.1 กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) - 1 2 100
เงินลงทุน (ล้านบาท) - 93 741.4 697.2
การจ้างงาน (คน) - 98 800 716.3
4.2 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 42 67 68 1.5
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 69.8 73.4 135.3 84.3
4.3 พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร) 53,423 72,839 48,427 -33.5
ที่อยู่อาศัย 43,536 51,267 38,933 -24.1
การพาณิชย์ 6,462 14,056 9,038 -35.7
การบริการ 893 4,551 202 -95.6
อื่น ๆ 2,532 2,965 254 -91.4
5. ค่าจ้างและการจัดหางาน
5.1 ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน) 130 130 130 0
5.2 การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 2,902 2,731 4,512 65.2
ผู้สมัครงาน (คน) 2,803 2,752 3,187 15.8
การบรรจุงาน (คน) 1,072 1,116 1,444 29.4
6. การคลัง (ล้านบาท)
6.1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 4,596.70 4,348.20 4,514.70 3.8
6.2 การจัดเก็บภาษีอากร 529.4 419.2 363 -13.4
สรรพากร 516.9 409.5 352.5 -13.9
สรรพสามิต 0.7 1 1.3 30
ศุลกากร 11.8 8.7 9.2 5.7
7. การเงิน
7.1 การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท.
(ล้านบาท)
เงินสดรับ 6,956.70 6,728.00 8,057.90 19.8
เงินสดจ่าย 6,397.10 7,213.70 7,938.30 10
7.2 การโอนเงินระหว่าง ธปท. กับผู้แทน
(ล้านบาท)
เงินโอนออก 10,473.80 11,997.40 11,417.80 -4.8
เงินโอนเข้า 15,810.10 16,204.90 16,170.30 -0.2
7.3 การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 199,698 184,816 193,581 4.7
มูลค่า (ล้านบาท) 16,259.70 13,503.50 13,796.00 2.2
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 1.6 1.2 0.8
7.4 ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 19 19 18 -5.3
เงินฝาก (ล้านบาท) 10,735.70 10,880.10 11,466.70 5.4
กระแสรายวัน 105.4 171.8 181 5.4
ออมทรัพย์ 2,091.60 2,471.50 3,302.60 33.6
ประจำ 8,538.40 8,236.40 7,983.00 -3.1
อื่น ๆ 0.3 0.4 0.1 -75
สินเชื่อ (ล้านบาท) 7,819.90 7,051.60 5,927.80 -15.9
เงินเบิกเกินบัญชี 3,856.70 3,102.80 2,440.20 -21.4
เงินให้กู้ 3,307.10 3,473.70 3,142.20 -9.5
ตั๋วเงินและอื่น ๆ 656.1 475.1 345.4 -27.3
สินเชื่อแยกตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
การเกษตร 332 303.8 280.6 -7.6
เหมืองแร่ 146.3 138.1 139.6 1.1
การอุตสาหกรรม 1,712.10 1,389.00 1,067.60 -23.1
การรับเหมาก่อสร้าง 765.1 748.7 601.7 -19.6
การค้าส่งออก 8.1 7.2 2.8 -61.1
การค้าปลีกค้าส่ง 2,032.40 1,901.20 1,955.90 2.9
ธุรกิจการเงิน 19.7 0.2 0.4 100
ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 280.9 304.6 245.4 -19.4
สาธารณูปโภค 8.8 7.7 7.3 -5.2
การบริการ 644.5 622.6 337 -45.9
การบริโภคส่วนบุคคล 1,870.00 1,628.50 1,421.00 -12.7
สินเชื่อ/เงินฝาก (ร้อยละ) 72.8 64.8 51.7
7.5 ธนาคารออมสิน
จำนวน (สำนักงาน) 4 4 4 0
เงินฝาก (ล้านบาท) 846.7 876.8 1,002.70 14.4
7.6 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สินเชื่อ (ล้านบาท) 445.2 358.1 485.6 35.6
7.7 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จำนวน (ราย) 6 6 8 33.3
สินเชื่อ (ล้านบาท) 75.1 136.8 105.3 -23
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
และไม้ผลออกสู่ตลาดมากและสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐส่งผลให้ธุรกิจ
การค้าที่ต่อเนื่องได้แก่ การค้าปลีกค้าส่ง และการค้ายานพาหนะปรับตัวดี ส่วนในภาคการเงินปริมาณเงินฝากขยายตัวเพียงเล็กน้อย
จากสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ที่มีมาก ทำให้สาขาธนาคารพาณิชย์ไม่เน้นการระดมเงินฝาก ขณะที่การให้สินเชื่อหดตัวลง เนื่อง
จากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินที่เกิดขึ้น ทำให้ธนาคารพาณิชย์ยังคงมีความเข้มงวดเงื่อนไขในการพิจารณาการให้
สินเชื่อแก่ลูกค้า
ภาคการเกษตร
ยางพารา ผลผลิตยางพาราของจังหวัดออกสู่ตลาดมากขึ้นตามสภาพอากาศที่ เอื้ออำนวย ประกอบกับสถานการณ์ด้าน
ราคาปรับตัวดีขึ้นตามภาวะตลาดโลก ทำให้พ่อค้าท้องถิ่นรับซื้อยางในราคาสูงขึ้น ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ย
กิโลกรัมละ 21.76 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 18.9
นอกภาคการเกษตร
การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวในจังหวัดยะลาได้รับผลกระทบในทางลบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศมาเลเซีย
ซึ่งเป็นตลาดหลักของธุรกิจท่องเที่ยวในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยในปีนี้มีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองในจังหวัด
ยะลาทั้งสิ้น 111,939 คน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 16.4 ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวมาเลเซีย 106,125 คน ลดลงร้อยละ 17.6
ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์และชาติอื่น ๆ 2,030 คน และ 3,784 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และ 25.3 ตามลำดับ
การค้า ในปีนี้ทางการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงซบเซา
รวมทั้งสร้างกำลังซื้อของประชาชนเป็นผลให้ภาคการค้าและการลงทุนคึกคักขึ้น การจดทะเบียนรถใหม่ขยายตัวทุกประเภท โดยรถยนต์
นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน มีการจดทะเบียนใหม่ปีนี้ 358 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.3 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 543 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ
21.2 และรถจักรยานยนต์ 10,038 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.7
การลงทุน ในปีนี้มีกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ จำนวน
2 ราย เงินลงทุนรวม 741.4 ล้านบาท มีการจ้างแรงงานไทยถึง 800 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีเพียง 1 ราย เงินลงทุน 93.0 ล้านบาท
จ้างแรงงาน 98 คน ส่วนการขอจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลรายใหม่ 68 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 135.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ
1.5 และ 84.3 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามการลงทุนในธุรกิจก่อสร้างภายในจังหวัดไม่ขยายตัวเนื่องจากยังขาดกำลังซื้อ จากรายงานของเทศบาลใน
จังหวัดยะลาในปีนี้มีการขออนุญาตเพื่อทำการก่อสร้างในเขตเทศบาลทั้งสิ้น 48,427 ตารางเมตร ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 33.5 จำแนก
ได้เป็นการขออนุญาต ก่อสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย 38,933 ตารางเมตร เพื่อการพาณิชย์ 9,038 ตารางเมตร เพื่อการบริการ 202
ตารางเมตร และอื่น ๆ 254 ตารางเมตร
การจ้างงาน จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดยะลาในปีนี้มีตำแหน่งงานว่างเพิ่มขึ้น โดยมีการประกาศตำแหน่ง
งานว่างทั้งสิ้น 4,512 อัตรา เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีตำแหน่งงานว่างเพียง 2,731 อัตรา ร้อยละ 65.2 ส่วนผู้มาสมัครงานมีจำนวน
3,187 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 และมีผู้ได้รับการบรรจุงาน 1,444 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4
การคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดยะลาขยายตัวเล็กน้อย โดยมีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น
4,514.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.8 ส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามโครงการก่อสร้างและงบประมาณต่อเนื่อง
ทั้งนี้ในปีนี้ทางการมีมาตรการดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุลเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนการจัดเก็บ
ภาษีอากรซึ่งเป็นรายได้ของภาครัฐสามารถจัดเก็บได้ 363.0 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 13.4 ในจำนวนนี้เป็นภาษีสรรพากร
352.5 ล้านบาท ภาษีสรรพาสามิต 1.3 ล้านบาท และภาษีศุลกากร 9.2 ล้านบาท
การเงินการธนาคาร ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของจังหวัดยะลาเพิ่มมากขึ้นตามภาวะการค้าสินค้าเกษตรที่อยู่
ในเกณฑ์ดี ในปีนี้ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยจังหวัดยะลามีการรับเงินสดจากสาขาธนาคารต่าง ๆ 8,057.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ปีก่อนร้อยละ 19.8 เช่นเดียวกับเงินสดที่จ่ายออก 7,938.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ขณะที่การโอนเงินระหว่างธนาคารแห่ง
ประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ กับผู้แทนฯ มีการโอนเงินเข้า 16,170.3 ล้านบาท และโอนเงินออก 11,417.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
0.2 และ 4.8 ตามลำดับ
การใช้เช็คของธุรกิจในจังหวัดเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนฉบับและมูลค่าของเช็ค โดยมี สัดส่วนของเช็คคืนลดลง เนื่องจากธนาคาร
พาณิชย์มีความระมัดระวังในการเปิดบัญชีเช็คของลูกค้า ปริมาณเช็คที่ผ่านสำนักหักบัญชีในปีนี้ 193,581 ฉบับ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.7
เป็นมูลค่ารวม 13,796.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ปริมาณเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ารวมร้อยละ 0.8 จากปีก่อนที่มีสัดส่วน
ร้อยละ 1.2
ปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดจำนวน 18 สำนักงาน ณ สิ้นเดือนธันวาคมนี้มียอดคงค้าง 11,466.7 ล้านบาท
เปรียบเทียบกับ ณ สิ้นเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ลดลงอย่างต่อเนื่อง
ประกอบกับสภาพคล่องทางการเงินที่มีมากทำให้สาขาธนาคารพาณิชย์ไม่เน้นการระดมเงินฝาก ทั้งนี้ สามารถจำแนกได้เป็นเงินฝากประจำ
7,983.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.1 เงินฝากออมทรัพย์ 3,302.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.6 ที่เหลือเป็นเงินฝากกระแสรายวัน
181.0 ล้านบาท และเงินฝากอื่น ๆ 0.1 ล้านบาท
การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดยะลาลดลงจากระยะที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังคงพิจารณาการปล่อยสินเชื่อ
อย่างระมัดระวัง ขณะเดียวกันจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในช่วงฟื้นตัวทำให้การให้สินเชื่อชะลอตัว นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ยังมีการโอนหนี้
ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์จำนวนหนึ่งในช่วงเดือนกันยายน 2543 เป็นผลให้ยอด คงค้างเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 5,927.8 ล้านบาท ลดลง 1,123.8 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 15.9 เมื่อเปรียบเทียบกับ ณ สิ้นเดือนเดียวกันปีก่อน
ในจำนวนนี้จำแนกเป็น เงินให้กู้ 3,142.2 ล้านบาท เงินเบิกเกินบัญชี 2,440.2 ล้านบาท และสินเชื่อจากตั๋วเงินและอื่น ๆ 345.4 ล้านบาท
และเมื่อพิจารณาเงินให้สินเชื่อจำแนกตามวัตถุประสงค์ของการขอกู้ที่สำคัญ พบว่าสินเชื่อส่วนใหญ่ในจังหวัดยะลาเป็นสินเชื่อเพื่อการค้าปลีกค้า
ส่งยอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 1,955.9 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 รองลงมาเป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภค
ส่วนบุคคล และสินเชื่ออุตสาหกรรมยอดคงค้าง 1,421.0 ล้านบาท และ 1,067.6 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.7 และ 23.1
ตามลำดับ
ด้านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดยะลา ซึ่งมีจำนวน 4 สำนักงาน ในปีนี้มีการปล่อยสินเชื่อรวม 485.6
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 35.6 ในขณะที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้วงเงินกู้แก่กิจการในจังหวัดยะลาจำนวน 8 ราย
เป็นเงินสินเชื่อ 105.3 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนจำนวนรายเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3 แต่จำนวนเงินลดลงร้อยละ 23.0
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดยะลาในปี 2544
เศรษฐกิจโดยทั่วไปของจังหวัดยะลาในปี 2544 ยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน โดยขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรเป็นสำคัญ
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดได้แก่ ยางพารา และไม้ผล จะออกสู่ตลาดมากขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย นอกจากนี้ในด้านการ
ท่องเที่ยวยังทำ รายได้ให้กับจังหวัด โดยเฉพาะในอำเภอเบตง ซึ่งมีนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซียเดินทางเข้ามามากขึ้น กอปรกับภาครัฐ
มีการดำเนินมาตรการเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการใช้นโยบายการขาดดุลงบประมาณเพื่อเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐเข้าสู่ระบบ
เครื่องชี้ 2541 2542 2543 43/42
1. การเกษตร
ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 23.17 18.3 21.76 18.9
2. การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมือง (คน) 130,830 133,845 111,939 -16.4
มาเลเซีย 124,633 128,820 106,125 -17.6
สิงคโปร์ 2,284 2,004 2,030 1.3
ชาติอื่น ๆ 3,913 3,021 3,784 25.3
3. การค้า
3.1 รถยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 140 209 358 71.3
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 376 448 543 21.2
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน) 7,747 6,574 10,038 52.7
3.2 การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 1,090.40 822.8 1,077.30 30.9
มูลค่าการนำเข้า 67.4 44.2 35.2 -20.4
4. การลงทุน
4.1 กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) - 1 2 100
เงินลงทุน (ล้านบาท) - 93 741.4 697.2
การจ้างงาน (คน) - 98 800 716.3
4.2 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 42 67 68 1.5
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 69.8 73.4 135.3 84.3
4.3 พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร) 53,423 72,839 48,427 -33.5
ที่อยู่อาศัย 43,536 51,267 38,933 -24.1
การพาณิชย์ 6,462 14,056 9,038 -35.7
การบริการ 893 4,551 202 -95.6
อื่น ๆ 2,532 2,965 254 -91.4
5. ค่าจ้างและการจัดหางาน
5.1 ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน) 130 130 130 0
5.2 การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 2,902 2,731 4,512 65.2
ผู้สมัครงาน (คน) 2,803 2,752 3,187 15.8
การบรรจุงาน (คน) 1,072 1,116 1,444 29.4
6. การคลัง (ล้านบาท)
6.1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 4,596.70 4,348.20 4,514.70 3.8
6.2 การจัดเก็บภาษีอากร 529.4 419.2 363 -13.4
สรรพากร 516.9 409.5 352.5 -13.9
สรรพสามิต 0.7 1 1.3 30
ศุลกากร 11.8 8.7 9.2 5.7
7. การเงิน
7.1 การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท.
(ล้านบาท)
เงินสดรับ 6,956.70 6,728.00 8,057.90 19.8
เงินสดจ่าย 6,397.10 7,213.70 7,938.30 10
7.2 การโอนเงินระหว่าง ธปท. กับผู้แทน
(ล้านบาท)
เงินโอนออก 10,473.80 11,997.40 11,417.80 -4.8
เงินโอนเข้า 15,810.10 16,204.90 16,170.30 -0.2
7.3 การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 199,698 184,816 193,581 4.7
มูลค่า (ล้านบาท) 16,259.70 13,503.50 13,796.00 2.2
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 1.6 1.2 0.8
7.4 ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 19 19 18 -5.3
เงินฝาก (ล้านบาท) 10,735.70 10,880.10 11,466.70 5.4
กระแสรายวัน 105.4 171.8 181 5.4
ออมทรัพย์ 2,091.60 2,471.50 3,302.60 33.6
ประจำ 8,538.40 8,236.40 7,983.00 -3.1
อื่น ๆ 0.3 0.4 0.1 -75
สินเชื่อ (ล้านบาท) 7,819.90 7,051.60 5,927.80 -15.9
เงินเบิกเกินบัญชี 3,856.70 3,102.80 2,440.20 -21.4
เงินให้กู้ 3,307.10 3,473.70 3,142.20 -9.5
ตั๋วเงินและอื่น ๆ 656.1 475.1 345.4 -27.3
สินเชื่อแยกตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
การเกษตร 332 303.8 280.6 -7.6
เหมืองแร่ 146.3 138.1 139.6 1.1
การอุตสาหกรรม 1,712.10 1,389.00 1,067.60 -23.1
การรับเหมาก่อสร้าง 765.1 748.7 601.7 -19.6
การค้าส่งออก 8.1 7.2 2.8 -61.1
การค้าปลีกค้าส่ง 2,032.40 1,901.20 1,955.90 2.9
ธุรกิจการเงิน 19.7 0.2 0.4 100
ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 280.9 304.6 245.4 -19.4
สาธารณูปโภค 8.8 7.7 7.3 -5.2
การบริการ 644.5 622.6 337 -45.9
การบริโภคส่วนบุคคล 1,870.00 1,628.50 1,421.00 -12.7
สินเชื่อ/เงินฝาก (ร้อยละ) 72.8 64.8 51.7
7.5 ธนาคารออมสิน
จำนวน (สำนักงาน) 4 4 4 0
เงินฝาก (ล้านบาท) 846.7 876.8 1,002.70 14.4
7.6 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สินเชื่อ (ล้านบาท) 445.2 358.1 485.6 35.6
7.7 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จำนวน (ราย) 6 6 8 33.3
สินเชื่อ (ล้านบาท) 75.1 136.8 105.3 -23
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-