ข่าวในประเทศ
1. ธนาคารพาณิชย์ต้องเร่งโอนเอ็นพีแอลมาไว้ที่ทีเอเอ็มซี นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) ต้องเร่งโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มาไว้ที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) ก่อน เพื่อทำให้เอ็นพีแอลของ ธพ.ลดลง สำหรับปัญหาการตีราคากันสำรองของแต่ละ ธพ.ที่มีความแตกต่างกันนั้น จะไปชดเชยส่วนนี้ในอนาคตตามเกณฑ์ของการแบ่งกำไร/ขาดทุน (Gain/Loss Sharing) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในแต่ละธนาคาร โดยต้องมีการจัดทำรายละเอียดอีกครั้งว่าสัดส่วนการชดเชยควรเป็นอย่างไร (โลกวันนี้ 13)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวมลดลงในเดือน ก.พ.44 ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยแถลงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคว่า เดือน ก.พ.44 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 73.7 ลดงจากระดับ 75.0 ในเดือน ม.ค.44 โดยประชาชนร้อยละ 49.5 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 38.4 ระบุว่าแย่ และร้อยละ 12.1 ระบุว่าเศรษฐกิจดี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำอยู่ที่ระดับ 66.8 ลดลงจากเดือน ม.ค.ที่ดัชนีเท่ากับ 67.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 101.5 ลดลงจากเดือน ม.ค.ที่ดัชนีฯ เท่ากับ 102.4 การที่ดัชนีฯ ทั้ง 3 รายการลดลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังมีความเปราะบาง และมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามภาวการณ์ต่างๆ สำหรับปัจจัยลบที่ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นในช่วงเดือน ก.พ.ลดลง ได้แก่ การส่งออกในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่า 5,213 ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 3.28 ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 40 เดือน นอกจากนี้ยังมีผลกระทบจากการที่ ธพ.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ลงร้อยละ 0.5 รวมถึงราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงและความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ส่วนปัจจัยบวกได้แก่ การที่รัฐบาลให้ความสนใจอย่างจริงจังในการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาระบบสถาบันการเงิน และการที่ ธปท.ยังคงใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกยังไม่สามารถต้านทานปัจจัยลบได้ (กรุงเทพธุรกิจ,ไทยโพสต์ 13)
3. ธปท.เปิดเผยยอดการเบิกจ่ายธนบัตรในเดือน ก.พ.44 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การเบิกจ่ายธนบัตรใช้แลกชนิดราคาต่างๆ จาก ธปท.ในเดือน ก.พ.44 มีมูลค่าทั้งสิ้น 80,375.80 ล.บาท ลดลงจากเดือน ม.ค.44 จำนวน 16,940.9 ล.บาท และลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนจำนวน 8,044.9 ล.บาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 9.10 เนื่องจากวันตรุษจีนของปี 44 อยู่ในเดือน ม.ค. ขณะที่วันตรุษจีนของปี 43 อยู่ในเดือน ก.พ. จึงมีผลให้การเบิกจ่ายธนบัตรในเดือน ก.พ.44 ลดลงดังกล่าว สำหรับปริมาณธนบัตรที่ออกใช้ ณ สิ้นเดือน ก.พ.44 มีมูลค่าทั้งสิ้น 438,980 ล.บาท ลดลงจากจำนวน 460,612 ล.บาท ในเดือน ม.ค.44 หรือลดลงร้อยละ 4.7 และลดลงร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน (กรุงเทพธุรกิจ 13)
ข่าวต่างประเทศ
1. การเกินดุลการค้าของมาเลเซียลดลงในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 12 มี.ค. 44 กรมสถิติของมาเลเซีย เปิดเผยว่า การเกินดุลการค้าของมาเลเซียในเดือน ม.ค. 44 ลดลงเหลือมูลค่า 3.1 พัน ล. ริงกิต (816 ล. ดอลลาร์ สรอ.) จากมูลค่า 5.5 พัน ล. ริงกิต เนื่องจากการส่งออกลดลงร้อยละ 7 อยู่ที่มูลค่า 28.1 พัน ล. ริงกิต ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ที่มูลค่า 25 พัน ล. ริงกิต ทั้งนี้ ในเดือนดังกล่าว การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ และคิดเป็นมูลค่าประมาณร้อยละ 60 ของยอดการส่งออก ลดลงร้อยละ 10 อยู่ที่มูลค่า 16.1 พัน ล. ริงกิต เนื่องจากความต้องการที่ลดลงจาก สรอ. ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่สุดของมาเลเซีย นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า การส่งออกที่ลดลง ไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจ หลังจากที่ทางการได้ประกาศตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตในเดือน ม.ค. 44 ลดลงถึงร้อยละ 6.7 เทียบเดือนต่อเดือน ซึ่งสอดคล้องกับประมาณการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศที่โน้มต่ำลงในปี 44 ซึ่งคาดว่า จะอยู่ที่อัตราร้อยละ 5.8 ลดลงจากร้อยละ 7 ที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้(รอยเตอร์12)
2. เจพีมอร์แกนจะปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปี 44 รายงานจากโซลเมื่อ 12 มี.ค. 44 เจพีมอร์แกน กล่าวว่า จะปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปี 44 ลงเหลือร้อยละ 3.5 หรือต่ำกว่านั้น จากเดิมที่ร้อยละ 4 ต่อปี ก่อนหน้านี้ ธ. กลางเกาหลีได้ประมาณการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี) ในปี 44 ไว้ที่ร้อยละ 5.3 หลังจากปี 43 ที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 9.3 Bijan Aghevli หัวหน้าวิจัยเศรษฐกิจและนโยบายของภาคเอเซียแปซิฟิก กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจในประเทศของเกาหลีใต้ปรับตัวดีขึ้นในช่วงผ่านมาเมื่อเร็วๆนี้ โดยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจต่างก็ปรับตัวดีขึ้น และผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวขึ้นเล็กน้อย แต่ยังมีความเสี่ยงจากความต้องการที่ลดลงในภาคอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณร้อยละ 35 ของยอดการส่งออก (รอยเตอร์12)
3. ประมาณการว่าเศรษฐกิจของประเทศยูโรจะเติบโตร้อยละ 2.6ในปี 44 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 12 มี.ค. 44 German Banking Federation (BdB) ประมาณการว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) -ของกลุ่มประเทศยุโรป12 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร จะเติบโตร้อยละ 2.6 ในปี 44 ลดลงจากร้อยละ 3.4 ในปี 43 Martin Huefner หัวหน้าเศรษฐกรของ HypoVereinsbank และประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจของ BdB กล่าวว่า การที่เศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัวลงอย่างรุนแรง รวมทั้งเศรษฐกิจโลกที่ยังอ่อนแอ ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และการที่เศรษฐกิจเติบโตชะลอลง ก็จะส่งผลให้เงินเฟ้อของกลุ่มประเทศยูโรในปี 44 จะลดลงเหลือร้อยละ 2.1 จากร้อยละ 2.3 ในปี 43 ขณะเดียวกัน BdB ได้ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 44 ลงเหลือร้อยละ 2.2 จากร้อยละ 2.75 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของกลุ่มประเทศยูโรที่ร้อยละ 2.6 เนื่องจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในครึ่งหลังของปี 43 อ่อนตัวลงอย่างมาก โดยมีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 1 ต่อปี (รอยเตอร์12)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 12 มี.ค. 44 43.712 (43.520)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 12 มี.ค. 44ซื้อ 43.4778(43.2887) ขาย 43.7792 (43.5875)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,500 (5,500) ขาย 5,600 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.82 (23.62)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.59 (16.59) ดีเซลหมุนเร็ว 13.24 (13.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธนาคารพาณิชย์ต้องเร่งโอนเอ็นพีแอลมาไว้ที่ทีเอเอ็มซี นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) ต้องเร่งโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มาไว้ที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) ก่อน เพื่อทำให้เอ็นพีแอลของ ธพ.ลดลง สำหรับปัญหาการตีราคากันสำรองของแต่ละ ธพ.ที่มีความแตกต่างกันนั้น จะไปชดเชยส่วนนี้ในอนาคตตามเกณฑ์ของการแบ่งกำไร/ขาดทุน (Gain/Loss Sharing) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในแต่ละธนาคาร โดยต้องมีการจัดทำรายละเอียดอีกครั้งว่าสัดส่วนการชดเชยควรเป็นอย่างไร (โลกวันนี้ 13)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวมลดลงในเดือน ก.พ.44 ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยแถลงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคว่า เดือน ก.พ.44 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 73.7 ลดงจากระดับ 75.0 ในเดือน ม.ค.44 โดยประชาชนร้อยละ 49.5 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 38.4 ระบุว่าแย่ และร้อยละ 12.1 ระบุว่าเศรษฐกิจดี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำอยู่ที่ระดับ 66.8 ลดลงจากเดือน ม.ค.ที่ดัชนีเท่ากับ 67.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 101.5 ลดลงจากเดือน ม.ค.ที่ดัชนีฯ เท่ากับ 102.4 การที่ดัชนีฯ ทั้ง 3 รายการลดลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังมีความเปราะบาง และมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามภาวการณ์ต่างๆ สำหรับปัจจัยลบที่ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นในช่วงเดือน ก.พ.ลดลง ได้แก่ การส่งออกในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่า 5,213 ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 3.28 ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 40 เดือน นอกจากนี้ยังมีผลกระทบจากการที่ ธพ.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ลงร้อยละ 0.5 รวมถึงราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงและความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ส่วนปัจจัยบวกได้แก่ การที่รัฐบาลให้ความสนใจอย่างจริงจังในการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาระบบสถาบันการเงิน และการที่ ธปท.ยังคงใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกยังไม่สามารถต้านทานปัจจัยลบได้ (กรุงเทพธุรกิจ,ไทยโพสต์ 13)
3. ธปท.เปิดเผยยอดการเบิกจ่ายธนบัตรในเดือน ก.พ.44 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การเบิกจ่ายธนบัตรใช้แลกชนิดราคาต่างๆ จาก ธปท.ในเดือน ก.พ.44 มีมูลค่าทั้งสิ้น 80,375.80 ล.บาท ลดลงจากเดือน ม.ค.44 จำนวน 16,940.9 ล.บาท และลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนจำนวน 8,044.9 ล.บาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 9.10 เนื่องจากวันตรุษจีนของปี 44 อยู่ในเดือน ม.ค. ขณะที่วันตรุษจีนของปี 43 อยู่ในเดือน ก.พ. จึงมีผลให้การเบิกจ่ายธนบัตรในเดือน ก.พ.44 ลดลงดังกล่าว สำหรับปริมาณธนบัตรที่ออกใช้ ณ สิ้นเดือน ก.พ.44 มีมูลค่าทั้งสิ้น 438,980 ล.บาท ลดลงจากจำนวน 460,612 ล.บาท ในเดือน ม.ค.44 หรือลดลงร้อยละ 4.7 และลดลงร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน (กรุงเทพธุรกิจ 13)
ข่าวต่างประเทศ
1. การเกินดุลการค้าของมาเลเซียลดลงในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 12 มี.ค. 44 กรมสถิติของมาเลเซีย เปิดเผยว่า การเกินดุลการค้าของมาเลเซียในเดือน ม.ค. 44 ลดลงเหลือมูลค่า 3.1 พัน ล. ริงกิต (816 ล. ดอลลาร์ สรอ.) จากมูลค่า 5.5 พัน ล. ริงกิต เนื่องจากการส่งออกลดลงร้อยละ 7 อยู่ที่มูลค่า 28.1 พัน ล. ริงกิต ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ที่มูลค่า 25 พัน ล. ริงกิต ทั้งนี้ ในเดือนดังกล่าว การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ และคิดเป็นมูลค่าประมาณร้อยละ 60 ของยอดการส่งออก ลดลงร้อยละ 10 อยู่ที่มูลค่า 16.1 พัน ล. ริงกิต เนื่องจากความต้องการที่ลดลงจาก สรอ. ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่สุดของมาเลเซีย นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า การส่งออกที่ลดลง ไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจ หลังจากที่ทางการได้ประกาศตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตในเดือน ม.ค. 44 ลดลงถึงร้อยละ 6.7 เทียบเดือนต่อเดือน ซึ่งสอดคล้องกับประมาณการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศที่โน้มต่ำลงในปี 44 ซึ่งคาดว่า จะอยู่ที่อัตราร้อยละ 5.8 ลดลงจากร้อยละ 7 ที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้(รอยเตอร์12)
2. เจพีมอร์แกนจะปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปี 44 รายงานจากโซลเมื่อ 12 มี.ค. 44 เจพีมอร์แกน กล่าวว่า จะปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปี 44 ลงเหลือร้อยละ 3.5 หรือต่ำกว่านั้น จากเดิมที่ร้อยละ 4 ต่อปี ก่อนหน้านี้ ธ. กลางเกาหลีได้ประมาณการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี) ในปี 44 ไว้ที่ร้อยละ 5.3 หลังจากปี 43 ที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 9.3 Bijan Aghevli หัวหน้าวิจัยเศรษฐกิจและนโยบายของภาคเอเซียแปซิฟิก กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจในประเทศของเกาหลีใต้ปรับตัวดีขึ้นในช่วงผ่านมาเมื่อเร็วๆนี้ โดยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจต่างก็ปรับตัวดีขึ้น และผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวขึ้นเล็กน้อย แต่ยังมีความเสี่ยงจากความต้องการที่ลดลงในภาคอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณร้อยละ 35 ของยอดการส่งออก (รอยเตอร์12)
3. ประมาณการว่าเศรษฐกิจของประเทศยูโรจะเติบโตร้อยละ 2.6ในปี 44 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 12 มี.ค. 44 German Banking Federation (BdB) ประมาณการว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) -ของกลุ่มประเทศยุโรป12 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร จะเติบโตร้อยละ 2.6 ในปี 44 ลดลงจากร้อยละ 3.4 ในปี 43 Martin Huefner หัวหน้าเศรษฐกรของ HypoVereinsbank และประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจของ BdB กล่าวว่า การที่เศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัวลงอย่างรุนแรง รวมทั้งเศรษฐกิจโลกที่ยังอ่อนแอ ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และการที่เศรษฐกิจเติบโตชะลอลง ก็จะส่งผลให้เงินเฟ้อของกลุ่มประเทศยูโรในปี 44 จะลดลงเหลือร้อยละ 2.1 จากร้อยละ 2.3 ในปี 43 ขณะเดียวกัน BdB ได้ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 44 ลงเหลือร้อยละ 2.2 จากร้อยละ 2.75 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของกลุ่มประเทศยูโรที่ร้อยละ 2.6 เนื่องจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในครึ่งหลังของปี 43 อ่อนตัวลงอย่างมาก โดยมีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 1 ต่อปี (รอยเตอร์12)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 12 มี.ค. 44 43.712 (43.520)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 12 มี.ค. 44ซื้อ 43.4778(43.2887) ขาย 43.7792 (43.5875)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,500 (5,500) ขาย 5,600 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.82 (23.62)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.59 (16.59) ดีเซลหมุนเร็ว 13.24 (13.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-