ข่าวในประเทศ
1. ธปท.รายงานการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และตัวเลขเอ็นพีแอลเดือน ก.ค.44 ผู้อำนวยการสายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เดือน ก.ค.44 ยอดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินทั้งระบบเพิ่มขึ้นจำนวน 10,555 ราย มูลหนี้ 39,472 ล.บาท รวมลูกหนี้ที่ได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้ว ณ สิ้นเดือน ก.ค.44 จำนวนทั้งสิ้น 428,716 ราย มูลหนี้รวม 2,288,186 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.76 ขณะที่ผู้บริหารอาวุโส ฝ่ายโครงการพิเศษและการวิเคราะห์ สายนโยบายสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า เดือน ก.ค.44ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงินที่ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธพ.ต่างประเทศและ บค. มีทั้งสิ้น 615.1 พัน ล.บาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 8.1 พัน ล.บาท จากยอดเอ็นพีแอลคงค้างสุทธิ ณ สิ้นเดือน มิ.ย.44 จำนวน 607 พัน ล.บาท โดยเอ็นพีแอลในเดือน ก.ค.44 จำแนกเป็นเอ็นพีแอลรายใหม่จำนวน 16 พัน ล.บาท และเป็นเอ็นพีแอลย้อนกลับจำนวน 23.6 พัน ล.บาท สำหรับเอ็นพีแอลที่ลดลงจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีจำนวน 21.6 พัน ล.บาท และเหตุผลอื่นอีก 9.9 พัน ล.บาท รวมลดลงในเดือน ก.ค.44 ทั้งสิ้น 31.5 พัน ล.บาท (ข่าวสด, แนวหน้า, โลกวันนี้, มติชน 5)
2. ธปท. ผ่อนคลายเงื่อนไขการให้เช่าซื้อรถยนต์ รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้ออกหนังสือเวียนถึง บง. และ บงล. เรื่อง การผ่อนคลายเงื่อนไขการให้เช่าซื้อรถยนต์ ให้ บง. และ บงล. สามารถปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดที่นั่งได้เพิ่มขึ้น โดย ก.คลังได้ยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนเงินให้สินเชื่อที่ บง. ปล่อยให้แก่ผู้ดำเนินกิจการเช่าซื้อรถยนต์ที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินให้กู้ยืมรวม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการเงินทุนของผู้ประกอบการในปัจจุบัน (กรุงเทพธุรกิจ 5)
3. ครม. เห็นชอบแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่าย งปม.ปี 45 รองโฆษกรัฐบาล เปิดเผยว่า ครม. เห็นชอบมาตรการและแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่าย งปม. ปี 45 โดยกำหนดให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทำแผนการใช้จ่ายส่งให้สำนักงบประมาณภายในวันที่ 15 ต.ค. 44 รวมทั้งกำหนดให้เร่งระยะเวลาในการจัดจ้างให้สามารถทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันภายในไตรมาสที่ 2 ของปี งปม. ซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือน มี.ค. 45 (ไทยรัฐ 5)
4. ธ.กรุงไทยอนุมัติโครงการปล่อยสินเชื่อ"ธนาคารเพื่อชุมชน" ประธานกรรมการ ธ.กรุงไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารเห็นชอบในหลักการปล่อยสินเชื่อตามโครงการธนาคารเพื่อชุมชนเพื่อให้สินเชื่อแก่กลุ่มชุมชนที่ร่วมกันผลิตสินค้าแปรรูปและผลผลิตการค้าที่ประกอบการอยู่ในชุมชน ซึ่งมีความเป็นไปได้ทางธุรกิจ โดยให้สมาชิกในกลุ่มเป็นผู้ค้ำประกัน และไม่จำเป็นต้องเป็นลูกค้าของธนาคาร ทั้งนี้ ให้กู้ไม่เกินรายละ 5 หมื่นบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปี ระยะเวลากู้ไม่เกิน 36 เดือน โดยจะตั้งคณะกรรมการศึกษารายละเอียดและกำหนดจังหวัดนำร่อง สำหรับระยะเวลาเริ่มโครงการคือ 1 ต.ค.44 และจะมีการประเมินผลภายใน 3-6 เดือน (ไทยโพสต์ 5)
ข่าวต่างประเทศ
1. ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. เพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 44 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 4 ก.ย. 44 National Association of Purchasing Management เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิต เพิ่มขึ้นที่ระดับ 47.9 ในเดือน ส.ค. 44 จากระดับ 43.6 ในเดือน ก.ค. 44 นับเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 5 ปี และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 43.9 อย่างไรก็ตาม แม้ดัชนีดังกล่าวจะหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 แต่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ที่ระดับ 52.2 ในเดือน ส.ค. จากที่ระดับ 46.4ในเดือน ก.ค. ขณะเดียวกัน คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ใช้เป็นเครื่องชี้สำคัญสำหรับแนวโน้มภาวะอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือน ที่ระดับ 53.1 จากระดับ 46.3 และคำสั่งซื้อสินค้าเพื่อการส่งออกก็เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ที่ระดับ51.9 จากระดับ 48.2 รายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเริ่มที่จะฟื้นตัวจากภาวะที่ซบเซาเป็นเวลายาวนานถึง 1 ปี (รอยเตอร์4)
2. ความเชื่อมั่นโดยรวมของบริษัทขนาดใหญ่ญี่ปุ่นในช่วง ก.ค.-ก.ย.44 เท่ากับ -17.5 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 5 ก.ย.44 ก.คลังเปิดเผยว่า ในช่วง ก.ค.-ก.ย.44 ความเชื่อมั่นโดยรวมของบริษัทขนาดใหญ่เท่ากับ -17.5 โดยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่มีความเชื่อมั่นที่ระดับ -28.9 ผู้ประกอบการที่มิใช่อุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่อยู่ที่ระดับ -10.1 ส่วนความเชื่อมั่นรวมของบริษัทขนาดเล็กเท่ากับ -37.8 โดยความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมฯ ขนาดเล็กอยู่ที่ระดับ -42.1 และที่มิใช่อุตสาหกรรมการผลิตอยู่ที่ระดับ -37.9 ซึ่งความเชื่อมั่นโดยรวมของบริษัทขนาดใหญ่และเล็กในช่วง ก.ค.-ก.ย.44 ลดลงจากช่วง เม.ย.-มิ.ย.44 ที่เท่ากับ -12.4 และ -31.4 ตามลำดับ สำหรับยอดขายของอุตสาหกรรมโดยรวมในปี 44/45 มีแนวโน้มว่าจะลดลงร้อยละ 1.2 จากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เป็นการลดลงของอุตสาหกรรมการผลิตร้อยละ 3.8 และมิใช่อุตสาหกรรมการผลิตร้อยละ 0.2 จากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และ 2.2 ตามลำดับ ส่วนผลกำไรโดยรวมฯ ในปี 44/45 มีแนวโน้มลดลงร้อยละ 3.9 จากคาดการณ์เดิมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 (รอยเตอร์ 5)
3. ไตรมาสที่ 2 ปี 44 บริษัทญี่ปุ่นเพิ่มการใช้จ่ายลงทุนร้อยละ 2.3 เทียบปีต่อปี รายงานจากโตเกียวเมื่อ 5 ก.ย. 44 ก. คลังญี่ปุ่นเปิดเผยผลการสำรวจบริษัทจำนวน 19,151 บริษัทในญี่ปุ่นที่มีเงินทุนที่ระดับ 10 ล. เยนหรือมากกว่า แต่ไม่รวมบริษัทการเงินและประกันภัย พบว่า ไตรมาสที่ 2 ปี 44 บริษัทต่างๆเพิ่มการใช้จ่ายทุนเพื่อสร้างโรงงานและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 43 นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 6 เมื่อเทียบปีต่อปี (รอยเตอร์5)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 4 ก.ย. 44 44.050 (44.080)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 4 ก.ย. 44ซื้อ 43.8389 (43.8793) ขาย 44.1414 (44.1769)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,650 (5,650) ขาย 5,750 (5,750)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.48 (24.15)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.69) ดีเซลหมุนเร็ว 13.94 (14.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.รายงานการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และตัวเลขเอ็นพีแอลเดือน ก.ค.44 ผู้อำนวยการสายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เดือน ก.ค.44 ยอดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินทั้งระบบเพิ่มขึ้นจำนวน 10,555 ราย มูลหนี้ 39,472 ล.บาท รวมลูกหนี้ที่ได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้ว ณ สิ้นเดือน ก.ค.44 จำนวนทั้งสิ้น 428,716 ราย มูลหนี้รวม 2,288,186 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.76 ขณะที่ผู้บริหารอาวุโส ฝ่ายโครงการพิเศษและการวิเคราะห์ สายนโยบายสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า เดือน ก.ค.44ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงินที่ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธพ.ต่างประเทศและ บค. มีทั้งสิ้น 615.1 พัน ล.บาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 8.1 พัน ล.บาท จากยอดเอ็นพีแอลคงค้างสุทธิ ณ สิ้นเดือน มิ.ย.44 จำนวน 607 พัน ล.บาท โดยเอ็นพีแอลในเดือน ก.ค.44 จำแนกเป็นเอ็นพีแอลรายใหม่จำนวน 16 พัน ล.บาท และเป็นเอ็นพีแอลย้อนกลับจำนวน 23.6 พัน ล.บาท สำหรับเอ็นพีแอลที่ลดลงจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีจำนวน 21.6 พัน ล.บาท และเหตุผลอื่นอีก 9.9 พัน ล.บาท รวมลดลงในเดือน ก.ค.44 ทั้งสิ้น 31.5 พัน ล.บาท (ข่าวสด, แนวหน้า, โลกวันนี้, มติชน 5)
2. ธปท. ผ่อนคลายเงื่อนไขการให้เช่าซื้อรถยนต์ รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้ออกหนังสือเวียนถึง บง. และ บงล. เรื่อง การผ่อนคลายเงื่อนไขการให้เช่าซื้อรถยนต์ ให้ บง. และ บงล. สามารถปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดที่นั่งได้เพิ่มขึ้น โดย ก.คลังได้ยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนเงินให้สินเชื่อที่ บง. ปล่อยให้แก่ผู้ดำเนินกิจการเช่าซื้อรถยนต์ที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินให้กู้ยืมรวม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการเงินทุนของผู้ประกอบการในปัจจุบัน (กรุงเทพธุรกิจ 5)
3. ครม. เห็นชอบแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่าย งปม.ปี 45 รองโฆษกรัฐบาล เปิดเผยว่า ครม. เห็นชอบมาตรการและแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่าย งปม. ปี 45 โดยกำหนดให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทำแผนการใช้จ่ายส่งให้สำนักงบประมาณภายในวันที่ 15 ต.ค. 44 รวมทั้งกำหนดให้เร่งระยะเวลาในการจัดจ้างให้สามารถทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันภายในไตรมาสที่ 2 ของปี งปม. ซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือน มี.ค. 45 (ไทยรัฐ 5)
4. ธ.กรุงไทยอนุมัติโครงการปล่อยสินเชื่อ"ธนาคารเพื่อชุมชน" ประธานกรรมการ ธ.กรุงไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารเห็นชอบในหลักการปล่อยสินเชื่อตามโครงการธนาคารเพื่อชุมชนเพื่อให้สินเชื่อแก่กลุ่มชุมชนที่ร่วมกันผลิตสินค้าแปรรูปและผลผลิตการค้าที่ประกอบการอยู่ในชุมชน ซึ่งมีความเป็นไปได้ทางธุรกิจ โดยให้สมาชิกในกลุ่มเป็นผู้ค้ำประกัน และไม่จำเป็นต้องเป็นลูกค้าของธนาคาร ทั้งนี้ ให้กู้ไม่เกินรายละ 5 หมื่นบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปี ระยะเวลากู้ไม่เกิน 36 เดือน โดยจะตั้งคณะกรรมการศึกษารายละเอียดและกำหนดจังหวัดนำร่อง สำหรับระยะเวลาเริ่มโครงการคือ 1 ต.ค.44 และจะมีการประเมินผลภายใน 3-6 เดือน (ไทยโพสต์ 5)
ข่าวต่างประเทศ
1. ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. เพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 44 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 4 ก.ย. 44 National Association of Purchasing Management เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิต เพิ่มขึ้นที่ระดับ 47.9 ในเดือน ส.ค. 44 จากระดับ 43.6 ในเดือน ก.ค. 44 นับเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 5 ปี และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 43.9 อย่างไรก็ตาม แม้ดัชนีดังกล่าวจะหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 แต่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ที่ระดับ 52.2 ในเดือน ส.ค. จากที่ระดับ 46.4ในเดือน ก.ค. ขณะเดียวกัน คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ใช้เป็นเครื่องชี้สำคัญสำหรับแนวโน้มภาวะอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือน ที่ระดับ 53.1 จากระดับ 46.3 และคำสั่งซื้อสินค้าเพื่อการส่งออกก็เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ที่ระดับ51.9 จากระดับ 48.2 รายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเริ่มที่จะฟื้นตัวจากภาวะที่ซบเซาเป็นเวลายาวนานถึง 1 ปี (รอยเตอร์4)
2. ความเชื่อมั่นโดยรวมของบริษัทขนาดใหญ่ญี่ปุ่นในช่วง ก.ค.-ก.ย.44 เท่ากับ -17.5 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 5 ก.ย.44 ก.คลังเปิดเผยว่า ในช่วง ก.ค.-ก.ย.44 ความเชื่อมั่นโดยรวมของบริษัทขนาดใหญ่เท่ากับ -17.5 โดยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่มีความเชื่อมั่นที่ระดับ -28.9 ผู้ประกอบการที่มิใช่อุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่อยู่ที่ระดับ -10.1 ส่วนความเชื่อมั่นรวมของบริษัทขนาดเล็กเท่ากับ -37.8 โดยความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมฯ ขนาดเล็กอยู่ที่ระดับ -42.1 และที่มิใช่อุตสาหกรรมการผลิตอยู่ที่ระดับ -37.9 ซึ่งความเชื่อมั่นโดยรวมของบริษัทขนาดใหญ่และเล็กในช่วง ก.ค.-ก.ย.44 ลดลงจากช่วง เม.ย.-มิ.ย.44 ที่เท่ากับ -12.4 และ -31.4 ตามลำดับ สำหรับยอดขายของอุตสาหกรรมโดยรวมในปี 44/45 มีแนวโน้มว่าจะลดลงร้อยละ 1.2 จากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เป็นการลดลงของอุตสาหกรรมการผลิตร้อยละ 3.8 และมิใช่อุตสาหกรรมการผลิตร้อยละ 0.2 จากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และ 2.2 ตามลำดับ ส่วนผลกำไรโดยรวมฯ ในปี 44/45 มีแนวโน้มลดลงร้อยละ 3.9 จากคาดการณ์เดิมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 (รอยเตอร์ 5)
3. ไตรมาสที่ 2 ปี 44 บริษัทญี่ปุ่นเพิ่มการใช้จ่ายลงทุนร้อยละ 2.3 เทียบปีต่อปี รายงานจากโตเกียวเมื่อ 5 ก.ย. 44 ก. คลังญี่ปุ่นเปิดเผยผลการสำรวจบริษัทจำนวน 19,151 บริษัทในญี่ปุ่นที่มีเงินทุนที่ระดับ 10 ล. เยนหรือมากกว่า แต่ไม่รวมบริษัทการเงินและประกันภัย พบว่า ไตรมาสที่ 2 ปี 44 บริษัทต่างๆเพิ่มการใช้จ่ายทุนเพื่อสร้างโรงงานและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 43 นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 6 เมื่อเทียบปีต่อปี (รอยเตอร์5)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 4 ก.ย. 44 44.050 (44.080)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 4 ก.ย. 44ซื้อ 43.8389 (43.8793) ขาย 44.1414 (44.1769)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,650 (5,650) ขาย 5,750 (5,750)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.48 (24.15)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.69) ดีเซลหมุนเร็ว 13.94 (14.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-