ประมง
1. สถานการณ์การผลิต
คาดผลผลิตกุ้งปี 2543 จะเท่ากับปีที่ผ่านมา
นายสุรศักดิ์ ดิลกเกียรติ เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย กล่าวถึงสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งในปี 2543 ว่า ต้นปีนี้อากาศหนาวมากผลผลิตกุ้งบางส่วนเสียหายทำให้เกษตรกรลงกุ้งรอบแรกซ้ำในหลายพื้นที่ของภาคใต้ ซึ่งการลงกุ้งซ้ำจะทำให้ได้ผลผลิตออกสู่ตลาดช้า ตามไปด้วยประมาณ 1-2 เดือนและจะเกิดปัญหาการลงกุ้งรอบสองช้าต่อเนื่องตามไปด้วย
การที่ผู้เลี้ยงชะลอการลงกุ้งในช่วงต้นปีช้าออกไป 1-2 เดือน กุ้งรอบนี้จะโตประมาณช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงอากาศร้อนซึ่งเกษตรกรจะต้องจับกุ้งขายขณะที่ยังโตไม่ได้ขนาด เพราะไม่สามารถเลี้ยงต่อไปได้ นอกจากนี้ กุ้งรอบสองที่ลงช้าตามไปด้วยนั้นอาจจะประสบกับภาวะพายุฝนฟ้าคะนองและน้ำท่วมในช่วงปลายเดือนตุลาคม ซึ่งจะเกิดความเสียหายได้อีก กล่าวโดยสรุป การเลี้ยงกุ้งในปี 2543 แม้จะมีปัญหาค่อนข้างมากแต่จะพยายามทำให้ผลผลิตกุ้งเท่ากับปีที่ผ่านมา หรือไม่ ต่ำกว่า 200,000 ตัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งซึ่งจะต้องวางแผนร่วมกันในการแก้ไขปัญหาโดยจะไม่ปล่อยให้ผลผลิตกุ้งของไทยลดลงมาก เพราะปีนี้ กุ้งเลี้ยงจากอเมริกาใต้มีปัญหาเรื่องโรคมาก ผลผลิตลดลง ดังนั้น จึงเป็นโอกาสของ กุ้งไทย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (18-25 มค.43) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,352.25 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม644.00 ตัน สัตว์น้ำจืด 708.25 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.30 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.82 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 63.94 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 53.10 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 72.74 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
กรมประมงเร่งผลักดันสร้างศูนย์ส่งออกปลาสวยงาม
รายงานข่าวจากกรมประมง โดยนางวันเพ็ญ มีนกาญจน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ กล่าวว่ากรมประมงกำลังเร่งผลักดันศูนย์ส่งออกปลาสวยงามที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ให้แล้วเสร็จในปีนี้คาดว่าหลังจากตลาดดังกล่าวเปิดดำเนินการได้จะทำให้ไทยสามารถส่งออกปลาสวยงามได้มากขึ้น
ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมศุลกากร มกราคม-สิงหาคม 2542 ที่ผ่านมาไทยสามารถส่งออกได้มูลค่า 45.7 ล้านบาท (ราคาเอฟโอบี) โดยปี 2541 ส่งออกได้ 68 ล้านบาทซึ่งปลาสวยงามของไทยที่ตลาดโลกนิยมนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ ปลาตระกูลปลากัด ปลาทรงเครื่อง ปลาน้ำผึ้ง ปลากาแดง และปลาปอมปาดัว ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกายุโรปและฮ่องกง
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.78 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.58 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.20 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.78 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.22 บาท 2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 313.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 326.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 13.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 368.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 363.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.42 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัม ละ 17.28 บาท สูงขึ้นจาก 17.07 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.21 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 46.66 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.89 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.11 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.06 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.06 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 24-28 มค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 13.78 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.18 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 4 ประจำสัปดาห์ 24 - 30 ม.ค. 2543--
1. สถานการณ์การผลิต
คาดผลผลิตกุ้งปี 2543 จะเท่ากับปีที่ผ่านมา
นายสุรศักดิ์ ดิลกเกียรติ เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย กล่าวถึงสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งในปี 2543 ว่า ต้นปีนี้อากาศหนาวมากผลผลิตกุ้งบางส่วนเสียหายทำให้เกษตรกรลงกุ้งรอบแรกซ้ำในหลายพื้นที่ของภาคใต้ ซึ่งการลงกุ้งซ้ำจะทำให้ได้ผลผลิตออกสู่ตลาดช้า ตามไปด้วยประมาณ 1-2 เดือนและจะเกิดปัญหาการลงกุ้งรอบสองช้าต่อเนื่องตามไปด้วย
การที่ผู้เลี้ยงชะลอการลงกุ้งในช่วงต้นปีช้าออกไป 1-2 เดือน กุ้งรอบนี้จะโตประมาณช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงอากาศร้อนซึ่งเกษตรกรจะต้องจับกุ้งขายขณะที่ยังโตไม่ได้ขนาด เพราะไม่สามารถเลี้ยงต่อไปได้ นอกจากนี้ กุ้งรอบสองที่ลงช้าตามไปด้วยนั้นอาจจะประสบกับภาวะพายุฝนฟ้าคะนองและน้ำท่วมในช่วงปลายเดือนตุลาคม ซึ่งจะเกิดความเสียหายได้อีก กล่าวโดยสรุป การเลี้ยงกุ้งในปี 2543 แม้จะมีปัญหาค่อนข้างมากแต่จะพยายามทำให้ผลผลิตกุ้งเท่ากับปีที่ผ่านมา หรือไม่ ต่ำกว่า 200,000 ตัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งซึ่งจะต้องวางแผนร่วมกันในการแก้ไขปัญหาโดยจะไม่ปล่อยให้ผลผลิตกุ้งของไทยลดลงมาก เพราะปีนี้ กุ้งเลี้ยงจากอเมริกาใต้มีปัญหาเรื่องโรคมาก ผลผลิตลดลง ดังนั้น จึงเป็นโอกาสของ กุ้งไทย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (18-25 มค.43) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,352.25 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม644.00 ตัน สัตว์น้ำจืด 708.25 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.30 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.82 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 63.94 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 53.10 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 72.74 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
กรมประมงเร่งผลักดันสร้างศูนย์ส่งออกปลาสวยงาม
รายงานข่าวจากกรมประมง โดยนางวันเพ็ญ มีนกาญจน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ กล่าวว่ากรมประมงกำลังเร่งผลักดันศูนย์ส่งออกปลาสวยงามที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ให้แล้วเสร็จในปีนี้คาดว่าหลังจากตลาดดังกล่าวเปิดดำเนินการได้จะทำให้ไทยสามารถส่งออกปลาสวยงามได้มากขึ้น
ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมศุลกากร มกราคม-สิงหาคม 2542 ที่ผ่านมาไทยสามารถส่งออกได้มูลค่า 45.7 ล้านบาท (ราคาเอฟโอบี) โดยปี 2541 ส่งออกได้ 68 ล้านบาทซึ่งปลาสวยงามของไทยที่ตลาดโลกนิยมนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ ปลาตระกูลปลากัด ปลาทรงเครื่อง ปลาน้ำผึ้ง ปลากาแดง และปลาปอมปาดัว ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกายุโรปและฮ่องกง
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.78 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.58 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.20 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.78 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.22 บาท 2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 313.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 326.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 13.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 368.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 363.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.42 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัม ละ 17.28 บาท สูงขึ้นจาก 17.07 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.21 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 46.66 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.89 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.11 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.06 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.06 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 24-28 มค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 13.78 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.18 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 4 ประจำสัปดาห์ 24 - 30 ม.ค. 2543--