กรุงเทพฯ--14 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
คำกล่าวเปิดการเสวนาพิเศษ
"บทบาทกระทรวงการต่างประเทศกับโลกมุสลิม"
ของนายนิตย์ พิบูลสงคราม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
วันพุธที่ 13 กันยายน 2543 ณ ห้องนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ
ท่านผู้แทนสำนักจุฬาราชมนตรีคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและกรุงเทพมหานครท่านอิหม่าม ผู้แทนมูลนิธิ สมาคม และองค์กรสาธารณกุศลของมุสลิมท่านผู้ดำเนินรายการเสวนาและท่านวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิท่านผู้เข้าร่วมการเสวนาทุกท่าน
ผมรู้สึกป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาพบกับท่านทั้งหลายในการเสวนาพิเศษเกี่ยวกับ "บทบาทกระทรวงการต่างประเทศกับโลกมุสลิม" ซึ่ง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีดำริให้จัดขึ้นในวันนี้ การเสวนามีวัตถุประสงค์สำคัญประกานหนึ่ง คือ เพื่อระดมความคิดเห็นของนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ เกี่ยวกับบทบาทด้านการต่างประเทศของไทยต่อกลุ่มประเทศมุสลิม บทบาทดังกล่าวแม้ว่าจะมีกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบหลัก แต่กระทรวงฯ ก็ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ทั้งจากส่วนราชการอื่น ภาคเอกชน สื่อมวลชน โดยเฉพาะจากพี่น้องชาวไทยมุสลิม ซึ่งได้ติดตาม ให้ความสนใจและสนับสนุนการดำเนินงานของกระทรวงการต่างประเทศมาโดยตลอด
ท่านผู้มีเกียรติครับ
ในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก กระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งมาพร้อมๆ กับระบบเศรษฐกิจเสรี และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ในด้านหนึ่งได้ส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น ขยายความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างกันมากขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งได้ทำให้เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างไม่เท่าเทียมกัน และเกิดการลุกลามของปัญหาข้ามชาติต่างๆ อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ การต่างประเทศจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ประเทศต่างๆ ใช้ในการปกป้องและเพิ่มพูลผลประโยชน์แห่งชาติของตนและผลประโยชน์ร่วมกันในประชาคมระหว่างประเทศ โดยการเสริมสร้างสัมพันธ์ไมตรีและความร่วมมือระหว่างกัน
การต่างประเทศยังเป็นภารกิจที่ครอบคลุมหลากหลายมิติ ทั้งทางด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม โดยไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างในทางเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี หรือความแตกต่างอื่นใด ตราบใดที่ได้เพิ่มพูนผลประโยชน์ร่วมกัน ตรวบใดที่มีการเคารพซึ่งกันและกัน ตราบใดที่ส่งเสริมให้เกิดสันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการต่างประเทศ
เมื่อกล่าวเช่นนี้ จึงไม่เป็นที่แปลกใจเลย ที่การต่างประเทศของไทยได้ให้ความสำคัญกัลกลุ่มประเทศมุสลิมมาช้านาน หากจะมองย้อนไปในประวัติศาสตร์การติดต่อระหว่างประเทศไทยกับประเทศมุสลิม เช่น อินโดนีเซีย อาหรับและอิหร่าน มีมาตั้งแต่สมัยเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ชาติไทย คือสมัยสุโขทัย ในมัยกรุงศรีอยุธยา ก็มีชาวมุสลิมจากเปอร์เซีย มลายู และอินโดนีเซีย มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยหลายพันหลังคาเรือน พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ตั้งแต่โบราณกาล ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศมุสลิม และได้เป็นองค์ศาสนูปถัมภกให้แก่ชาวมุสลิมที่อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารตราบจนทุกวันนี้
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเสริมสร้างสัมพันธ์ไมตรีระหว่างไทยกับโลกมุสลิม ซึ่งครอบคลุมความสัมพันธ์ทั้งระดับรัฐต่อรัฐและระดับประชาชนต่อประชาชน
ในปัจจุบัน คงไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่า กลุ่มประเทศมุสลิมมีความสำคัญต่อประชาคม ระหว่างประเทศมากเพียงใด ในฐานะที่มีประชากรถึง 1,500 ล้านคน มีทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจเป็นแหล่งวัตถุดิบ ตลาดแรงงานและท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ มีอำนาจต่อรองในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ และที่สำคัญ ประชาชนมุสลิมมีความศรัทธา เคารพยึดมั่นในองค์พระอัลเลาะห์ ก่อให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของพี่น้องมุสลิมทั่วโลกท่ามกลางความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละชาติ ความพิเศษของโลกมุสลิมดังกล่าวนี้ จึงเป็นพลังสำคัญที่การต่างประเทศของไทยไม่อาจจะละเลยได้
ผมขอเรียนว่า นโยบายต่างประเทศของไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมสัมพันธภาพอันดีระหว่างไทยกับประเทศมุสลิม ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคม และการท่องเที่ยว ช่วงที่ผ่านมาการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆ ระหว่างไทยกับประเทศมุสลิมมีอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไทยได้สมัครเข้าเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์องค์การประชุมอิสลาม (Organization of Islarnic Conference : OIC) เมื่อปี 2541 และประสบผลสำเร็จในการอาศัยกลไกดังกล่าวพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือกับกลุ่มประเทศมุสลิมทางด้านการเมือง และเศรษฐกิจ การส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงาน อาทิ การเสนอแนวคิด "หุ้นส่วนพันธมิตร" กับประเทศโอมาน" ข้อเสนอการร่วมลงทุนผลิตอาหารฮาลาลในไทยของอิหร่าน การขยายความร่วมมือด้านการบินพาณิชย์และการลงทุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในบังคลาเทศ ตลอดจนการพัฒนาให้กลไกการประชุม คณะกรรมาธิการร่วมระหว่างไทยกับประเทศกลุ่มมุสลิมมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น
สำหรับในประเทศไทยนั้น ภายใต้การดำเนินนโยบายการฑูตเพื่อประชาชนกระทรวงการต่างประเทศได้มีส่วนในการริเริ่มดำเนินงานและร่วมกับหน่วยราชการอื่นเพื่อส่งเสริมกิจกรรมของชาวไทยมุสลิม ซึ่งมีอยู่ราว 3.2 ล้านคน โดยกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การประสานงานและอำนวยความสะดวกแก่ชาวไทยมุสลิมในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ทั้งนี้ ฯพณฯ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้ดำรงตำแหน่ง อะมีรุ้ลฮัจย์ หรือหัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการของไทยมาแล้ว 5 ครั้ง การจัดรายการวิทยุ "โลกมุสลิม" และโครงการวิทยุภาคมุสลิมในช่วงเทศกาลถือศึลอด ประสานขอความช่วยเหลือ เพื่อรับคำแนะนำในการจัดตั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และการขอทุนการศึกษาจากประเทศตะวันออกกลางให้แก่นักศึกษาไทยมุสลิมตามโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
ท่านผู้เข้าร่วมการเสวนา
การเสวนาพิเศษในวันนี้ เป็นโอกาสสำคัญที่ทุกท่านจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศมุสลิมบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ ในขณะที่องค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องทั่วโลกให้ส่งเสริมการมี Dialogue arnong Civilizations โดยได้ประกาศให้ปี ค.ศ.2001 เป็นปีแห่งการมี Dialogue arnong Civilizations ผมมีความเชื่อมั่นว่า บทบาทด้านการต่างประเทศของไทยกับโลกมุสลิม ซึ่งมีพื้นฐานที่มั่นคงอยู่แล้ว มี dialogue ระหว่างกันอยู่แล้วจะขยายมากขึ้น หยั่งรากลึกมากขึ้น ทั้งในระดับรัฐบาล ระดับเอกชน และระดับประชาชน กระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินภารกิจอย่างเต็มที่ในความสัมพันธ์กับโลกมุสลิม ไม่เพียงเฉพาะส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น แต่จะส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันของประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งได้เรียกร้องให้เสริมสร้าง Dialogue arnong Civelizations อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการต่างประเทศเพื่อสันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ท่านผู้มีเกียรติครับ
ผมเห็นว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญยิ่ง ก็คือ ท่านทั้งหลายที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ในวันนี้ เพราะท่านคือส่วนหนึ่งของสังคมไทย และเป็นอีกมิติหนึ่งของโลกมุสลิมอันไพศาล ท่านทั้งหลายสามารถที่จะเป็นสื่อ เป็นกุญแจที่จะไขไปสู่ขุมทรัพย์แห่งมิตรภาพ และความร่วมมืออันยิ่งใหญ่ในโลกกว้างได้เป็นอย่างดี การะทรวงการต่างประเทศจึงหวังในความร่วมมือ สนับสนุน คำแนะนำจากท่านทั้งหลาย ในการคำนึงถึงกุศโลบายทางการฑูตกับประเทศมุสลิมทั่วโลกด้วย
สุดท้ายนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเสวนาพิเศษในวันนี้จะบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้วางไว้ และขอเปิดการเสวนาอย่างเป็นทางการ ณ โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณ--จบ--
-อน-
คำกล่าวเปิดการเสวนาพิเศษ
"บทบาทกระทรวงการต่างประเทศกับโลกมุสลิม"
ของนายนิตย์ พิบูลสงคราม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
วันพุธที่ 13 กันยายน 2543 ณ ห้องนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ
ท่านผู้แทนสำนักจุฬาราชมนตรีคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและกรุงเทพมหานครท่านอิหม่าม ผู้แทนมูลนิธิ สมาคม และองค์กรสาธารณกุศลของมุสลิมท่านผู้ดำเนินรายการเสวนาและท่านวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิท่านผู้เข้าร่วมการเสวนาทุกท่าน
ผมรู้สึกป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาพบกับท่านทั้งหลายในการเสวนาพิเศษเกี่ยวกับ "บทบาทกระทรวงการต่างประเทศกับโลกมุสลิม" ซึ่ง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีดำริให้จัดขึ้นในวันนี้ การเสวนามีวัตถุประสงค์สำคัญประกานหนึ่ง คือ เพื่อระดมความคิดเห็นของนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ เกี่ยวกับบทบาทด้านการต่างประเทศของไทยต่อกลุ่มประเทศมุสลิม บทบาทดังกล่าวแม้ว่าจะมีกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบหลัก แต่กระทรวงฯ ก็ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ทั้งจากส่วนราชการอื่น ภาคเอกชน สื่อมวลชน โดยเฉพาะจากพี่น้องชาวไทยมุสลิม ซึ่งได้ติดตาม ให้ความสนใจและสนับสนุนการดำเนินงานของกระทรวงการต่างประเทศมาโดยตลอด
ท่านผู้มีเกียรติครับ
ในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก กระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งมาพร้อมๆ กับระบบเศรษฐกิจเสรี และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ในด้านหนึ่งได้ส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น ขยายความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างกันมากขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งได้ทำให้เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างไม่เท่าเทียมกัน และเกิดการลุกลามของปัญหาข้ามชาติต่างๆ อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ การต่างประเทศจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ประเทศต่างๆ ใช้ในการปกป้องและเพิ่มพูลผลประโยชน์แห่งชาติของตนและผลประโยชน์ร่วมกันในประชาคมระหว่างประเทศ โดยการเสริมสร้างสัมพันธ์ไมตรีและความร่วมมือระหว่างกัน
การต่างประเทศยังเป็นภารกิจที่ครอบคลุมหลากหลายมิติ ทั้งทางด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม โดยไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างในทางเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี หรือความแตกต่างอื่นใด ตราบใดที่ได้เพิ่มพูนผลประโยชน์ร่วมกัน ตรวบใดที่มีการเคารพซึ่งกันและกัน ตราบใดที่ส่งเสริมให้เกิดสันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการต่างประเทศ
เมื่อกล่าวเช่นนี้ จึงไม่เป็นที่แปลกใจเลย ที่การต่างประเทศของไทยได้ให้ความสำคัญกัลกลุ่มประเทศมุสลิมมาช้านาน หากจะมองย้อนไปในประวัติศาสตร์การติดต่อระหว่างประเทศไทยกับประเทศมุสลิม เช่น อินโดนีเซีย อาหรับและอิหร่าน มีมาตั้งแต่สมัยเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ชาติไทย คือสมัยสุโขทัย ในมัยกรุงศรีอยุธยา ก็มีชาวมุสลิมจากเปอร์เซีย มลายู และอินโดนีเซีย มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยหลายพันหลังคาเรือน พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ตั้งแต่โบราณกาล ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศมุสลิม และได้เป็นองค์ศาสนูปถัมภกให้แก่ชาวมุสลิมที่อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารตราบจนทุกวันนี้
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเสริมสร้างสัมพันธ์ไมตรีระหว่างไทยกับโลกมุสลิม ซึ่งครอบคลุมความสัมพันธ์ทั้งระดับรัฐต่อรัฐและระดับประชาชนต่อประชาชน
ในปัจจุบัน คงไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่า กลุ่มประเทศมุสลิมมีความสำคัญต่อประชาคม ระหว่างประเทศมากเพียงใด ในฐานะที่มีประชากรถึง 1,500 ล้านคน มีทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจเป็นแหล่งวัตถุดิบ ตลาดแรงงานและท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ มีอำนาจต่อรองในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ และที่สำคัญ ประชาชนมุสลิมมีความศรัทธา เคารพยึดมั่นในองค์พระอัลเลาะห์ ก่อให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของพี่น้องมุสลิมทั่วโลกท่ามกลางความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละชาติ ความพิเศษของโลกมุสลิมดังกล่าวนี้ จึงเป็นพลังสำคัญที่การต่างประเทศของไทยไม่อาจจะละเลยได้
ผมขอเรียนว่า นโยบายต่างประเทศของไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมสัมพันธภาพอันดีระหว่างไทยกับประเทศมุสลิม ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคม และการท่องเที่ยว ช่วงที่ผ่านมาการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆ ระหว่างไทยกับประเทศมุสลิมมีอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไทยได้สมัครเข้าเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์องค์การประชุมอิสลาม (Organization of Islarnic Conference : OIC) เมื่อปี 2541 และประสบผลสำเร็จในการอาศัยกลไกดังกล่าวพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือกับกลุ่มประเทศมุสลิมทางด้านการเมือง และเศรษฐกิจ การส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงาน อาทิ การเสนอแนวคิด "หุ้นส่วนพันธมิตร" กับประเทศโอมาน" ข้อเสนอการร่วมลงทุนผลิตอาหารฮาลาลในไทยของอิหร่าน การขยายความร่วมมือด้านการบินพาณิชย์และการลงทุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในบังคลาเทศ ตลอดจนการพัฒนาให้กลไกการประชุม คณะกรรมาธิการร่วมระหว่างไทยกับประเทศกลุ่มมุสลิมมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น
สำหรับในประเทศไทยนั้น ภายใต้การดำเนินนโยบายการฑูตเพื่อประชาชนกระทรวงการต่างประเทศได้มีส่วนในการริเริ่มดำเนินงานและร่วมกับหน่วยราชการอื่นเพื่อส่งเสริมกิจกรรมของชาวไทยมุสลิม ซึ่งมีอยู่ราว 3.2 ล้านคน โดยกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การประสานงานและอำนวยความสะดวกแก่ชาวไทยมุสลิมในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ทั้งนี้ ฯพณฯ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้ดำรงตำแหน่ง อะมีรุ้ลฮัจย์ หรือหัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการของไทยมาแล้ว 5 ครั้ง การจัดรายการวิทยุ "โลกมุสลิม" และโครงการวิทยุภาคมุสลิมในช่วงเทศกาลถือศึลอด ประสานขอความช่วยเหลือ เพื่อรับคำแนะนำในการจัดตั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และการขอทุนการศึกษาจากประเทศตะวันออกกลางให้แก่นักศึกษาไทยมุสลิมตามโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
ท่านผู้เข้าร่วมการเสวนา
การเสวนาพิเศษในวันนี้ เป็นโอกาสสำคัญที่ทุกท่านจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศมุสลิมบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ ในขณะที่องค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องทั่วโลกให้ส่งเสริมการมี Dialogue arnong Civilizations โดยได้ประกาศให้ปี ค.ศ.2001 เป็นปีแห่งการมี Dialogue arnong Civilizations ผมมีความเชื่อมั่นว่า บทบาทด้านการต่างประเทศของไทยกับโลกมุสลิม ซึ่งมีพื้นฐานที่มั่นคงอยู่แล้ว มี dialogue ระหว่างกันอยู่แล้วจะขยายมากขึ้น หยั่งรากลึกมากขึ้น ทั้งในระดับรัฐบาล ระดับเอกชน และระดับประชาชน กระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินภารกิจอย่างเต็มที่ในความสัมพันธ์กับโลกมุสลิม ไม่เพียงเฉพาะส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น แต่จะส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันของประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งได้เรียกร้องให้เสริมสร้าง Dialogue arnong Civelizations อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการต่างประเทศเพื่อสันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ท่านผู้มีเกียรติครับ
ผมเห็นว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญยิ่ง ก็คือ ท่านทั้งหลายที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ในวันนี้ เพราะท่านคือส่วนหนึ่งของสังคมไทย และเป็นอีกมิติหนึ่งของโลกมุสลิมอันไพศาล ท่านทั้งหลายสามารถที่จะเป็นสื่อ เป็นกุญแจที่จะไขไปสู่ขุมทรัพย์แห่งมิตรภาพ และความร่วมมืออันยิ่งใหญ่ในโลกกว้างได้เป็นอย่างดี การะทรวงการต่างประเทศจึงหวังในความร่วมมือ สนับสนุน คำแนะนำจากท่านทั้งหลาย ในการคำนึงถึงกุศโลบายทางการฑูตกับประเทศมุสลิมทั่วโลกด้วย
สุดท้ายนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเสวนาพิเศษในวันนี้จะบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้วางไว้ และขอเปิดการเสวนาอย่างเป็นทางการ ณ โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณ--จบ--
-อน-