ข่าวในประเทศ
1. สปน. เปิดเผยความคืบหน้าการนำลูกหนี้เข้าโครงการช่วยเหลือทางการเงินแก่เอสเอ็มอี ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท. เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (สปน.)ได้ประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) หอการค้าไทย และบริษัทเงินทุน เพื่อหารือประเด็นการให้สภาพคล่องเพิ่มเติมแก่เอสเอ็มอีที่มีศักยภาพจากโครงการเดิมที่ สปน.ดูแลอยู่ โดยให้ ธพ.ส่งรายชื่อลูกหนี้เป้าหมาย ซึ่ง ธพ.ได้ส่งรายชื่อแล้ว 600 ราย เป็นลูกหนี้เอสเอ็มอี 200 ราย และได้มอบหมายให้ ส.อ.ท.คัดเลือกลูกหนี้อีก 100 ราย โดยความช่วยหลือสภาพคล่องดังกล่าว ให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ในสัดส่วนร้อยละ 75 ของสินเชื่อที่ขาดหลักประกัน ส่วนอีกร้อยละ 25 ธพ.ที่ปล่อยกู้เป็นผู้รับประกันความเสี่ยงเอง ทั้งนี้ การค้ำประกันสินเชื่อโดย บสย.ในสัดส่วนร้อยละ 75 หรือคิดเป็นเงินไม่เกิน 20 ล.บาทต่อรายนั้น ได้มีการหารือเพื่อปรับเพิ่มวงเงินเป็น 40 ล.บาท รวมทั้งให้บริษัทเงินทุนเข้าร่วมโครงการเพื่อนำฐานลูกค้าของบริษัทเงินทุนเข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วย (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน 10)
2. ธปท.เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาสภาพคล่องให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เปิดเผยว่า ผู้แทนจาก ธปท.ได้มีหนังสือถึงกรมส่งเสริมสหกรณ์ แนะนำให้จัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาสภาพคล่องระยะสั้น เนื่องมาจากเงินล้นระบบที่มีอยู่ประมาณ 4.8 หมื่น ล.บาท โดยเสนอให้กรมฯ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเจรจาการกู้ยืมระหว่างสหกรณ์ที่ขาดแคลนเงินทุนกับสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีเงินเหลือจำนวนมาก โดยมีเงื่อนไขด้วยการกำหนดวงเงินการกู้ยืมของสมาชิกในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และเน้นปล่อยกู้กรณีฉุกเฉิน เช่น นำไปซื้อข้าวเปลือก ปุ๋ย และปัจจัยการผลิตอื่นๆ เนื่องจาก ธปท.เชื่อว่าวิธีดังกล่าวจะช่วยบรรเทาปัญหาเงินล้นระบบสหกรณ์ได้ อย่างไรก็ตาม ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ไม่เห็นด้วย หากแนวทางดังกล่าวไม่มีการค้ำประกันความเสี่ยงโดยหน่วยงานของรัฐ (กรุงเทพธุรกิจ 12)
3. บทวิเคราะห์เกี่ยวกับการตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติ บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสินออกบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ (บบช.) หรือเอเอ็มซีแห่งชาติตามแนวทางของทีมเศรษฐกิจพรรคไทยรักไทย คาดว่าจะต้องออกพันธบัตรทั้งสิ้น 356,885 ล.บาท จากการรับซื้อหนี้เสียที่ใช้มูลค่าทางบัญชีหลังหักการตั้งสำรอง และต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ ธพ.ทั้งสิ้นปีละ 14,275 ล.บาท (คิดอัตราดอกบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี) ซึ่งหากหนี้เสียไม่อาจเรียกคืนได้เลย ส่วนสูญเสียสูงสุดที่ทางการต้องรับรู้จะอยู่ที่ 428,262 ล.บาท (มูลค่าพันธบัตร 5 ปี) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการแบ่งกำไรขาดทุน ในทางตรงกันข้าง ธพ.จะได้รับประโยชน์ในช่วง 5 ปีแรกในรูปดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งรัฐบาลจะต้องออกพันธบัตร เพื่อซื้อหนี้เสียจากสถาบันการเงิน โดยพันธบัตรมีอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยเท่ากับค่าเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของ ธพ.ขนาดใหญ่ บวกร้อยละ 1 นอกจากนี้ อาจเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินเข้าถือหุ้นในเอเอ็มซีแห่งชาติในสัดส่วนร้อยละ 10 ของมูลค่าสินทรัพย์ที่โอนไปยังเอเอ็มซีฯ แต่รัฐจะยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (มติชน,ผู้จัดการรายวัน 12)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ. กลางญี่ปุ่นประกาศลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงเหลือร้อยละ 0.35 รายงานจากโตเกียวกเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 44 ธ. กลางญี่ปุ่นประกาศว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินได้ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Discount rate) อยู่ที่ร้อยละ 0.35 จากร้อยละ 0.5 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 ก.พ. 44 เป็นต้นไป นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 6 ปี ตั้งแต่เดือน ก.ย. 38 อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนยังคงเดิมไว้ที่ระดับร้อยละ 0.25 การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ ธ.กลางได้รับแรงกดดันทางการเมืองให้ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังคงซบเซา เนื่องจากสัญญาณต่างๆบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ในภาวะที่ชะลอตัวลง รวมทั้งราคาหุ้นในประเทศก็ตกต่ำลงด้วย (รอยเตอร์ 9)
2. นักเศรษฐศาตร์วิเคราะห์เงินเฟ้อของเกาหลีใต้มีแนวโน้มลดลงในปี 44 รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 9 ก.พ.44 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ขณะที่นักกำหนดนโยบายของเกาหลีใต้กำลังกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมากในเดือน ม.ค.44 จากการที่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากเดือน ธ.ค.43 ที่อยู่ที่ร้อยละ 0.4 นักเศรษฐศาสตร์กลับวิเคราะห์ว่า เมื่อพิจารณาจากตัวเลขการนำเข้าในอัตราเทียบต่อปีในเดือน ม.ค.44 ที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 23 เดือน และจากตัวเลขคนว่างงานในเดือน ธ.ค.43 ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง ส่งสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 44 จะลดลงอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 2 - 4 ตามที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ตั้งเป้าหมายไว้ โดยมองว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงจากอัตราปัจจุบันในช่วง 3 - 6 เดือนหน้า นอกจากนั้นนักเศรษฐศาสร์ยังคาดการณ์ว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกอย่างน้อยที่สุดร้อยละ 0.25 ในครึ่งแรกปี 44 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเร็วเกินความคาดหมาย ซึ่ง ธ.กลางเกาหลีใต้เพิ่งจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นครั้งล่าสุดไปเมื่อวันที่ 8 ก.พ.44 โดยปรับลดลงร้อยละ 0.25 ทำให้อัตราดอกเบี้ยฯ ในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 5.0 (รอยเตอร์ 9)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบต่อปีในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนรายงานว่า เดือน ม.ค. 44 ผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราต่ำที่สุดในเกือบ 1 ปี โดยก่อนหน้าที่จะมีการปรับตัวเลข ผลผลิตฯ ที่ไม่รวมราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบต่อปี หรือมีมูลค่า 169.5 พันล้านหยวน (20.48 พัน ล. ดอลลาร์) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากศูนย์สารสนเทศแห่งชาติ (Xu Hongyuan) กล่าวว่า ผลผลิตฯ ในเดือน ม.ค. 44 ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการส่งออกและการลงทุนที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้ ผลผลิตฯ ของจีนได้ขยายตัวในอัตราที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 43 โดยลดลงจากระดับร้อยละ 11.4 ในเดือน ต.ค. เหลือร้อยละ 10.6 ในเดือน พ.ย. และร้อยละ 10.4 ในเดือน ธ.ค. 43 สำหรับตลอดปี 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมมีอัตราการเติบโตร้อยละ 11.4 ซึ่งเป็นอัตราสูงที่สุดนับแต่ปี 40 เป็นต้นมา (รอยเตอร์ 9)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 9 ก.พ. 44 42.571 (42.539)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 9 ก.พ. 44
ซื้อ 42.3877 (42.3219) ขาย 42.6981 (42.6320)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,250 (5,300) ขาย 5,350 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 26.02 (25.89)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.59 (16.59) ดีเซลหมุนเร็ว 13.34 (13.34)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. สปน. เปิดเผยความคืบหน้าการนำลูกหนี้เข้าโครงการช่วยเหลือทางการเงินแก่เอสเอ็มอี ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท. เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (สปน.)ได้ประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) หอการค้าไทย และบริษัทเงินทุน เพื่อหารือประเด็นการให้สภาพคล่องเพิ่มเติมแก่เอสเอ็มอีที่มีศักยภาพจากโครงการเดิมที่ สปน.ดูแลอยู่ โดยให้ ธพ.ส่งรายชื่อลูกหนี้เป้าหมาย ซึ่ง ธพ.ได้ส่งรายชื่อแล้ว 600 ราย เป็นลูกหนี้เอสเอ็มอี 200 ราย และได้มอบหมายให้ ส.อ.ท.คัดเลือกลูกหนี้อีก 100 ราย โดยความช่วยหลือสภาพคล่องดังกล่าว ให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ในสัดส่วนร้อยละ 75 ของสินเชื่อที่ขาดหลักประกัน ส่วนอีกร้อยละ 25 ธพ.ที่ปล่อยกู้เป็นผู้รับประกันความเสี่ยงเอง ทั้งนี้ การค้ำประกันสินเชื่อโดย บสย.ในสัดส่วนร้อยละ 75 หรือคิดเป็นเงินไม่เกิน 20 ล.บาทต่อรายนั้น ได้มีการหารือเพื่อปรับเพิ่มวงเงินเป็น 40 ล.บาท รวมทั้งให้บริษัทเงินทุนเข้าร่วมโครงการเพื่อนำฐานลูกค้าของบริษัทเงินทุนเข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วย (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน 10)
2. ธปท.เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาสภาพคล่องให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เปิดเผยว่า ผู้แทนจาก ธปท.ได้มีหนังสือถึงกรมส่งเสริมสหกรณ์ แนะนำให้จัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาสภาพคล่องระยะสั้น เนื่องมาจากเงินล้นระบบที่มีอยู่ประมาณ 4.8 หมื่น ล.บาท โดยเสนอให้กรมฯ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเจรจาการกู้ยืมระหว่างสหกรณ์ที่ขาดแคลนเงินทุนกับสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีเงินเหลือจำนวนมาก โดยมีเงื่อนไขด้วยการกำหนดวงเงินการกู้ยืมของสมาชิกในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และเน้นปล่อยกู้กรณีฉุกเฉิน เช่น นำไปซื้อข้าวเปลือก ปุ๋ย และปัจจัยการผลิตอื่นๆ เนื่องจาก ธปท.เชื่อว่าวิธีดังกล่าวจะช่วยบรรเทาปัญหาเงินล้นระบบสหกรณ์ได้ อย่างไรก็ตาม ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ไม่เห็นด้วย หากแนวทางดังกล่าวไม่มีการค้ำประกันความเสี่ยงโดยหน่วยงานของรัฐ (กรุงเทพธุรกิจ 12)
3. บทวิเคราะห์เกี่ยวกับการตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติ บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสินออกบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ (บบช.) หรือเอเอ็มซีแห่งชาติตามแนวทางของทีมเศรษฐกิจพรรคไทยรักไทย คาดว่าจะต้องออกพันธบัตรทั้งสิ้น 356,885 ล.บาท จากการรับซื้อหนี้เสียที่ใช้มูลค่าทางบัญชีหลังหักการตั้งสำรอง และต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ ธพ.ทั้งสิ้นปีละ 14,275 ล.บาท (คิดอัตราดอกบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี) ซึ่งหากหนี้เสียไม่อาจเรียกคืนได้เลย ส่วนสูญเสียสูงสุดที่ทางการต้องรับรู้จะอยู่ที่ 428,262 ล.บาท (มูลค่าพันธบัตร 5 ปี) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการแบ่งกำไรขาดทุน ในทางตรงกันข้าง ธพ.จะได้รับประโยชน์ในช่วง 5 ปีแรกในรูปดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งรัฐบาลจะต้องออกพันธบัตร เพื่อซื้อหนี้เสียจากสถาบันการเงิน โดยพันธบัตรมีอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยเท่ากับค่าเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของ ธพ.ขนาดใหญ่ บวกร้อยละ 1 นอกจากนี้ อาจเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินเข้าถือหุ้นในเอเอ็มซีแห่งชาติในสัดส่วนร้อยละ 10 ของมูลค่าสินทรัพย์ที่โอนไปยังเอเอ็มซีฯ แต่รัฐจะยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (มติชน,ผู้จัดการรายวัน 12)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ. กลางญี่ปุ่นประกาศลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงเหลือร้อยละ 0.35 รายงานจากโตเกียวกเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 44 ธ. กลางญี่ปุ่นประกาศว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินได้ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Discount rate) อยู่ที่ร้อยละ 0.35 จากร้อยละ 0.5 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 ก.พ. 44 เป็นต้นไป นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 6 ปี ตั้งแต่เดือน ก.ย. 38 อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนยังคงเดิมไว้ที่ระดับร้อยละ 0.25 การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ ธ.กลางได้รับแรงกดดันทางการเมืองให้ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังคงซบเซา เนื่องจากสัญญาณต่างๆบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ในภาวะที่ชะลอตัวลง รวมทั้งราคาหุ้นในประเทศก็ตกต่ำลงด้วย (รอยเตอร์ 9)
2. นักเศรษฐศาตร์วิเคราะห์เงินเฟ้อของเกาหลีใต้มีแนวโน้มลดลงในปี 44 รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 9 ก.พ.44 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ขณะที่นักกำหนดนโยบายของเกาหลีใต้กำลังกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมากในเดือน ม.ค.44 จากการที่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากเดือน ธ.ค.43 ที่อยู่ที่ร้อยละ 0.4 นักเศรษฐศาสตร์กลับวิเคราะห์ว่า เมื่อพิจารณาจากตัวเลขการนำเข้าในอัตราเทียบต่อปีในเดือน ม.ค.44 ที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 23 เดือน และจากตัวเลขคนว่างงานในเดือน ธ.ค.43 ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง ส่งสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 44 จะลดลงอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 2 - 4 ตามที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ตั้งเป้าหมายไว้ โดยมองว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงจากอัตราปัจจุบันในช่วง 3 - 6 เดือนหน้า นอกจากนั้นนักเศรษฐศาสร์ยังคาดการณ์ว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกอย่างน้อยที่สุดร้อยละ 0.25 ในครึ่งแรกปี 44 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเร็วเกินความคาดหมาย ซึ่ง ธ.กลางเกาหลีใต้เพิ่งจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นครั้งล่าสุดไปเมื่อวันที่ 8 ก.พ.44 โดยปรับลดลงร้อยละ 0.25 ทำให้อัตราดอกเบี้ยฯ ในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 5.0 (รอยเตอร์ 9)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบต่อปีในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนรายงานว่า เดือน ม.ค. 44 ผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราต่ำที่สุดในเกือบ 1 ปี โดยก่อนหน้าที่จะมีการปรับตัวเลข ผลผลิตฯ ที่ไม่รวมราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบต่อปี หรือมีมูลค่า 169.5 พันล้านหยวน (20.48 พัน ล. ดอลลาร์) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากศูนย์สารสนเทศแห่งชาติ (Xu Hongyuan) กล่าวว่า ผลผลิตฯ ในเดือน ม.ค. 44 ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการส่งออกและการลงทุนที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้ ผลผลิตฯ ของจีนได้ขยายตัวในอัตราที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 43 โดยลดลงจากระดับร้อยละ 11.4 ในเดือน ต.ค. เหลือร้อยละ 10.6 ในเดือน พ.ย. และร้อยละ 10.4 ในเดือน ธ.ค. 43 สำหรับตลอดปี 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมมีอัตราการเติบโตร้อยละ 11.4 ซึ่งเป็นอัตราสูงที่สุดนับแต่ปี 40 เป็นต้นมา (รอยเตอร์ 9)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 9 ก.พ. 44 42.571 (42.539)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 9 ก.พ. 44
ซื้อ 42.3877 (42.3219) ขาย 42.6981 (42.6320)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,250 (5,300) ขาย 5,350 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 26.02 (25.89)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.59 (16.59) ดีเซลหมุนเร็ว 13.34 (13.34)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-