ข้อมูลเบื้องต้นเดือนกันยายน เศรษฐกิจโดยรวมทรงตัวต่อเนื่อง ทั้งภาคการผลิตและอุปสงค์ ในประเทศ ขณะที่ภาคต่างประเทศ มูลค่าการนำเข้าชะลอลงมากกว่าการส่งออก ดุลการค้าจึงเกินดุล เพิ่มขึ้นแต่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงมาก ส่วนดุลเงินสดรัฐบาลในปีงบประมาณ 2543 ขาดดุลร้อยละ 2.3 ของ GDP ภาคการเงิน ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงทั้งเงินกู้และเงินฝาก ค่าเงินบาท อ่อนตัวต่อเนื่อง ขณะที่เงินเฟ้อสูงขึ้นจากผลกระทบของราคาน้ำมัน ทั้งนี้ รายละเอียด ดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน (หากไม่รวมสุรา การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5) ในทุกหมวดสินค้า ยกเว้น หมวดเครื่องดื่มและวัสดุก่อสร้าง สินค้าที่ยังขยายตัว ในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดยาสูบซึ่งเร่งผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตัวแทนจำหน่ายที่สูงขึ้นเพราะในช่วง ปลายปีทางการอาจจะมีการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในต่างจังหวัดมีการจัดเก็บมาก่อนหน้าแล้ว หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าขยายตัวสูงตามการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่อง รับโทรทัศน์ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กขยายตัวตามการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนและรีดเย็นและการผลิต ท่อเหล็กเนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายที่หยุดผลิตเพราะขาดสภาพคล่องและราคาเหล็กตกต่ำได้กลับมาผลิตใหม่ หมวดอัญมณีและเครื่องประดับขยายตัวจากความสำเร็จในการจัดงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ หมวดผลิตภัณฑ์อื่นๆ ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยางแท่ง คอมเพรสเซอร์ มอเตอร์ไฟฟ้าและเยื่อกระดาษ สินค้าที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องดื่มซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องตามผลผลิตของโรงงานสุราที่ได้รับสัมปทาน หมวดวัสดุก่อสร้างลดลงตามภาวะการก่อสร้าง สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนแรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน (หากไม่รวมสุราการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7)
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่สำคัญขยายตัวในอัตรา ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ได้แก่ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (+18.2%) ยอดจำหน่าย รถจักรยานยนต์ (+9.5%) และยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งลดลง (-15.5%) อย่างไรก็ตาม การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนช่วง 9 เดือนแรกของปียังคงเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน การลงทุนภาคเอกชนมีทิศทาง ที่สอดคล้องกัน ตลอดช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะการขยายตัวของการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขณะที่การก่อสร้างแสดงแนวโน้มที่หดตัว ทั้งนี้ ปัจจัยลบที่จะกระทบต่อการฟื้นตัว คือ การชะลอตัวของการใช้จ่ายในประเทศและภาวะการใช้กำลังการผลิตที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
3. ดุลเงินสดรัฐบาล ณ สิ้นปีงบประมาณ 2543 ขาดดุล 110.3 พันล้านบาท (ร้อยละ 2.3 ของ GDP) เป็นการขาดดุลในงบประมาณ 102.3 พันล้านบาทและขาดดุลนอกงบประมาณ 8.0 พันล้านบาท รายได้จัดเก็บได้ ทั้งสิ้น 748.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลปรับตัวสูงขึ้นถึง ร้อยละ 34 เนื่องจากมีการเลื่อนการชำระภาษีกลางปีสำหรับปีงบประมาณ 2542 มานำส่งได้ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2543 กอปรกับภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีจากการนำเข้าขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 5.9 และ 25.9 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ 14.1 และรัฐวิสาหกิจบางแห่งเลื่อนการนำส่ง รายได้ไปปีงบประมาณหน้า ด้านรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 850.5 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน เป็นรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบัน 748.8 พันล้านบาท และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 101.7 พันล้านบาท ส่วนรายจ่ายตามโครงการมิยาซาวาเบิกจ่ายไปแล้วในปีงบประมาณ 2543 จำนวน 16.9 พันล้านบาท (เบิกจ่ายรวมตั้งแต่เริ่มโครงการทั้งสิ้น 50.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 92.3 ของวงเงิน)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภค สูงขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยหมวดอาหารและ เครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับช่วง 9 เดือนแรกของปี ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากระยะเดียวกันปีก่อนจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 3.2 เนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่สูงขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนตัว อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.2 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยร้อยละ 0.7 เป็นที่น่าสังเกตว่า เท่าที่ผ่านมาราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่มากนัก
5. ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.0 และ 24.3 ตามลำดับส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อรวมกับดุลบริการและบริจาค ที่ขาดดุลเล็กน้อยทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เล็กน้อย ดุลการชำระเงินเกินดุล 16 ล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงจาก 350 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน และเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 29 กันยายน 2543 อยู่ ณ ระดับ 32.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องระบบการเงินอยู่ในเกณฑ์สูง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0 และ 7.75 ต่อปีตามลำดับ ด้านเงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนสินเชื่อรวม ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจาก มีการโอนสินเชื่อไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์สุทธิ 229 พันล้านบาท ทั้งนี้ หากไม่นับผลของการตัดหนี้สูญและ การโอนสินเชื่อไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์แล้ว สินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าเล็กน้อย
การเปลี่ยนแปลงสินเชื่อธนาคารพาณิชย์
2542 2543
(หน่วย : พันล้านบาท) ธ.ค. มี.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
สินเชื่อรวม 5248.3 5213.3 4961.6 4969.5 4956.9 4736.9
%D (จากระยะเดียวกันปีก่อน) -4.1 -4.8 -7.5 -7.1 -7.0 -11.9
สินเชื่อรวมเมื่อไม่นับผลของการตัดหนี้สูญและ
การโอน สินเชื่อไป AMCs 5463.9 5435.1 5423.4 5431.3 5418.7 5427.7
%D (จากระยะเดียวกันปีก่อน) 4.2 0 1.3 1.7 1.8 0.1
สำหรับช่วง 9 เดือนแรกของปี สภาพคล่องเงินบาทค่อนข้างสูง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่งปรับลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3 หลังจากที่ทรงตัวติดต่อกันมา 6 เดือน สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากภาคเอกชนมีการชำระคืนหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ได้ทยอยตัด หนี้สูญเพิ่มเติมและมีการโอนสินเชื่อไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ ทั้งนี้ สินเชื่อรวมที่ปรับผลของการตัดหนี้สูญและ การโอนสินเชื่อไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์แล้วมียอดคงค้างลดลงเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2542 ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อนหน้า เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ
7. อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทช่วง 9 เดือนแรกของปีเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 37.35 | 41.88 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. โดยได้ปรับตัวอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง มาอยู่ ณ ระดับเฉลี่ยในเดือนกันยายน ที่ 41.88 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ เป็นผลจากการอ่อนตัวของค่าเงินบางสกุลในภูมิภาค โดยเฉพาะรูเปียอินโดนีเซียและเปโซ ฟิลิปปินส์
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/31 ตุลาคม 2543--
-ยก-
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน (หากไม่รวมสุรา การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5) ในทุกหมวดสินค้า ยกเว้น หมวดเครื่องดื่มและวัสดุก่อสร้าง สินค้าที่ยังขยายตัว ในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดยาสูบซึ่งเร่งผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตัวแทนจำหน่ายที่สูงขึ้นเพราะในช่วง ปลายปีทางการอาจจะมีการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในต่างจังหวัดมีการจัดเก็บมาก่อนหน้าแล้ว หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าขยายตัวสูงตามการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่อง รับโทรทัศน์ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กขยายตัวตามการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนและรีดเย็นและการผลิต ท่อเหล็กเนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายที่หยุดผลิตเพราะขาดสภาพคล่องและราคาเหล็กตกต่ำได้กลับมาผลิตใหม่ หมวดอัญมณีและเครื่องประดับขยายตัวจากความสำเร็จในการจัดงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ หมวดผลิตภัณฑ์อื่นๆ ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยางแท่ง คอมเพรสเซอร์ มอเตอร์ไฟฟ้าและเยื่อกระดาษ สินค้าที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องดื่มซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องตามผลผลิตของโรงงานสุราที่ได้รับสัมปทาน หมวดวัสดุก่อสร้างลดลงตามภาวะการก่อสร้าง สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนแรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน (หากไม่รวมสุราการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7)
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่สำคัญขยายตัวในอัตรา ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ได้แก่ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (+18.2%) ยอดจำหน่าย รถจักรยานยนต์ (+9.5%) และยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งลดลง (-15.5%) อย่างไรก็ตาม การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนช่วง 9 เดือนแรกของปียังคงเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน การลงทุนภาคเอกชนมีทิศทาง ที่สอดคล้องกัน ตลอดช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะการขยายตัวของการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขณะที่การก่อสร้างแสดงแนวโน้มที่หดตัว ทั้งนี้ ปัจจัยลบที่จะกระทบต่อการฟื้นตัว คือ การชะลอตัวของการใช้จ่ายในประเทศและภาวะการใช้กำลังการผลิตที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
3. ดุลเงินสดรัฐบาล ณ สิ้นปีงบประมาณ 2543 ขาดดุล 110.3 พันล้านบาท (ร้อยละ 2.3 ของ GDP) เป็นการขาดดุลในงบประมาณ 102.3 พันล้านบาทและขาดดุลนอกงบประมาณ 8.0 พันล้านบาท รายได้จัดเก็บได้ ทั้งสิ้น 748.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลปรับตัวสูงขึ้นถึง ร้อยละ 34 เนื่องจากมีการเลื่อนการชำระภาษีกลางปีสำหรับปีงบประมาณ 2542 มานำส่งได้ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2543 กอปรกับภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีจากการนำเข้าขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 5.9 และ 25.9 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ 14.1 และรัฐวิสาหกิจบางแห่งเลื่อนการนำส่ง รายได้ไปปีงบประมาณหน้า ด้านรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 850.5 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน เป็นรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบัน 748.8 พันล้านบาท และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 101.7 พันล้านบาท ส่วนรายจ่ายตามโครงการมิยาซาวาเบิกจ่ายไปแล้วในปีงบประมาณ 2543 จำนวน 16.9 พันล้านบาท (เบิกจ่ายรวมตั้งแต่เริ่มโครงการทั้งสิ้น 50.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 92.3 ของวงเงิน)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภค สูงขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยหมวดอาหารและ เครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับช่วง 9 เดือนแรกของปี ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากระยะเดียวกันปีก่อนจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 3.2 เนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่สูงขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนตัว อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.2 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยร้อยละ 0.7 เป็นที่น่าสังเกตว่า เท่าที่ผ่านมาราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่มากนัก
5. ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.0 และ 24.3 ตามลำดับส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อรวมกับดุลบริการและบริจาค ที่ขาดดุลเล็กน้อยทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เล็กน้อย ดุลการชำระเงินเกินดุล 16 ล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงจาก 350 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน และเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 29 กันยายน 2543 อยู่ ณ ระดับ 32.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องระบบการเงินอยู่ในเกณฑ์สูง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0 และ 7.75 ต่อปีตามลำดับ ด้านเงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนสินเชื่อรวม ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจาก มีการโอนสินเชื่อไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์สุทธิ 229 พันล้านบาท ทั้งนี้ หากไม่นับผลของการตัดหนี้สูญและ การโอนสินเชื่อไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์แล้ว สินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าเล็กน้อย
การเปลี่ยนแปลงสินเชื่อธนาคารพาณิชย์
2542 2543
(หน่วย : พันล้านบาท) ธ.ค. มี.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
สินเชื่อรวม 5248.3 5213.3 4961.6 4969.5 4956.9 4736.9
%D (จากระยะเดียวกันปีก่อน) -4.1 -4.8 -7.5 -7.1 -7.0 -11.9
สินเชื่อรวมเมื่อไม่นับผลของการตัดหนี้สูญและ
การโอน สินเชื่อไป AMCs 5463.9 5435.1 5423.4 5431.3 5418.7 5427.7
%D (จากระยะเดียวกันปีก่อน) 4.2 0 1.3 1.7 1.8 0.1
สำหรับช่วง 9 เดือนแรกของปี สภาพคล่องเงินบาทค่อนข้างสูง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่งปรับลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3 หลังจากที่ทรงตัวติดต่อกันมา 6 เดือน สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากภาคเอกชนมีการชำระคืนหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ได้ทยอยตัด หนี้สูญเพิ่มเติมและมีการโอนสินเชื่อไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ ทั้งนี้ สินเชื่อรวมที่ปรับผลของการตัดหนี้สูญและ การโอนสินเชื่อไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์แล้วมียอดคงค้างลดลงเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2542 ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อนหน้า เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ
7. อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทช่วง 9 เดือนแรกของปีเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 37.35 | 41.88 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. โดยได้ปรับตัวอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง มาอยู่ ณ ระดับเฉลี่ยในเดือนกันยายน ที่ 41.88 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ เป็นผลจากการอ่อนตัวของค่าเงินบางสกุลในภูมิภาค โดยเฉพาะรูเปียอินโดนีเซียและเปโซ ฟิลิปปินส์
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/31 ตุลาคม 2543--
-ยก-