กรุงเทพฯ--12 ธ.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
การประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Summit) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยมีฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ร่วมกับผู้นำอาเซียนหารือกับนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น (H.E. Mr. Yoshiro Mori)
ผลการหารือในการกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น มีสาระสำคัญ ดังนี้
ญี่ปุ่น เห็นว่าอาเซียนเป็นหุ้นส่วนสำคัญของญี่ปุ่นในภูมิภาค ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นมีมาตั้งแต่ปี 2513 ผลการศึกษาของคณะผู้ทรงคุณวุฒิอาเซียน-ญี่ปุ่น (EPG on Towards Vision 2020: ASEAN-Japan Consultation Conference on the Honoi Plan of Action) จะเป็นแนวทางพัฒนา และเสริมสร้างความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น ในระดับสูงขึ้นต่อไป เช่น
ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือเงินทุน จำนวน 15 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการสนับสนุนด้าน IT ในเอเซีย
เรื่อง WTO ญี่ปุ่นสนับสนุนให้มีการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ในปี 2544 โดยมีวาระการเจรจาที่สมดุล และครอบคลุมเรื่องที่เป็นความสนใจของทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา
แผนโอบูชิในส่วนของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ญี่ปุ่นจะคำนึงถึงความต้องการของประเทศรับความช่วยเหลือ โดยขยายการให้ทุนการศึกษาที่เน้นการพัฒนาด้าน IT และด้านอุตสาหกรรม
การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ญี่ปุ่นมีบทบาทส่งเสริมอาเซียนในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวมากขึ้น โดยผ่านศูนย์ส่งเสริมอาเซียน-ญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่ที่ญี่ปุ่น ในอนาคตจะเน้นในการส่งเสริมด้าน IT มากขึ้น โดยเริ่มปี 2544
การพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ญี่ปุ่นจะเน้นการช่วยเหลือเพื่อลดช่องว่างความแตกต่างของการพัฒนาระหว่างสมาชิกใหม่และเก่า โดยจะส่งคณะผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นมาศึกษาทิศทางการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อให้มีการดำเนินโครงการต่างๆ ให้เป็นรูปธรรม
อาเซียน กล่าวขอบคุณและชื่นชมญี่ปุ่นที่ช่วยเหลืออาเซียนมาโดยตลอดในการส่งเสริมการพัฒนาอาเซียนทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะการฟื้นฟูเศรษฐกิจของอาเซียนในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และได้เน้นขอให้ญี่ปุ่นให้ความร่วมมืออาเซียน ดังนี้
- ญี่ปุ่นจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลืออาเซียนในด้าน IT และหวังว่าญี่ปุ่นจะช่วยพัฒนา e- ASEAN ให้เกิดผลได้ รวมทั้งการพัฒนาไปสู่ e- ASIA ต่อไป ในอนาคต
- ประเด็นสำคัญของการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ คือ วาระการประชุมจะต้องเป็นประโยชน์ต่ออาเซียน ทั้งนี้จะได้หารือกับญี่ปุ่นในรายละเอียดต่อไป
- การศึกษาและฝึกอบรมในญี่ปุ่นจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้พฤติกรรมการทำงานของคนญี่ปุ่น และช่วยคนอาเซียนปรับตัวให้มีระเบียบวินัย เช่นคนญี่ปุ่น จึงขอให้ญี่ปุ่นเพิ่มจำนวนทุนการศึกษาแก่คนอาเซียนมากขึ้น
- การพัฒนาอุตสาหกรรมของอาเซียนขึ้นอยู่กับญี่ปุ่นอย่างมากทั้งด้านเงินทุนและเทคโนโลยี ขอให้ญี่ปุ่นลงทุนในอาเซียนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (CLMV) ซึ่งมีแรงงานจำนวนมากและค่าจ้างแรงงานถูก จะช่วยให้ประเทศ CLMV สามารถก้าวทันเทคโนโลยีขั้นสูงขึ้น
- ขอให้ญี่ปุ่นร่วมมือกับ ADB ในการสนับสนุนโครงการต่าง ๆในการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ให้เกิดผลเป็นจริงต่อไป
ที่ประชุมตกลงให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่นครั้งต่อไปในเดือนพฤศจิกายน 2544 ณ ประเทศบรูไน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
การประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Summit) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยมีฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ร่วมกับผู้นำอาเซียนหารือกับนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น (H.E. Mr. Yoshiro Mori)
ผลการหารือในการกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น มีสาระสำคัญ ดังนี้
ญี่ปุ่น เห็นว่าอาเซียนเป็นหุ้นส่วนสำคัญของญี่ปุ่นในภูมิภาค ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นมีมาตั้งแต่ปี 2513 ผลการศึกษาของคณะผู้ทรงคุณวุฒิอาเซียน-ญี่ปุ่น (EPG on Towards Vision 2020: ASEAN-Japan Consultation Conference on the Honoi Plan of Action) จะเป็นแนวทางพัฒนา และเสริมสร้างความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น ในระดับสูงขึ้นต่อไป เช่น
ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือเงินทุน จำนวน 15 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการสนับสนุนด้าน IT ในเอเซีย
เรื่อง WTO ญี่ปุ่นสนับสนุนให้มีการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ในปี 2544 โดยมีวาระการเจรจาที่สมดุล และครอบคลุมเรื่องที่เป็นความสนใจของทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา
แผนโอบูชิในส่วนของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ญี่ปุ่นจะคำนึงถึงความต้องการของประเทศรับความช่วยเหลือ โดยขยายการให้ทุนการศึกษาที่เน้นการพัฒนาด้าน IT และด้านอุตสาหกรรม
การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ญี่ปุ่นมีบทบาทส่งเสริมอาเซียนในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวมากขึ้น โดยผ่านศูนย์ส่งเสริมอาเซียน-ญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่ที่ญี่ปุ่น ในอนาคตจะเน้นในการส่งเสริมด้าน IT มากขึ้น โดยเริ่มปี 2544
การพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ญี่ปุ่นจะเน้นการช่วยเหลือเพื่อลดช่องว่างความแตกต่างของการพัฒนาระหว่างสมาชิกใหม่และเก่า โดยจะส่งคณะผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นมาศึกษาทิศทางการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อให้มีการดำเนินโครงการต่างๆ ให้เป็นรูปธรรม
อาเซียน กล่าวขอบคุณและชื่นชมญี่ปุ่นที่ช่วยเหลืออาเซียนมาโดยตลอดในการส่งเสริมการพัฒนาอาเซียนทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะการฟื้นฟูเศรษฐกิจของอาเซียนในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และได้เน้นขอให้ญี่ปุ่นให้ความร่วมมืออาเซียน ดังนี้
- ญี่ปุ่นจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลืออาเซียนในด้าน IT และหวังว่าญี่ปุ่นจะช่วยพัฒนา e- ASEAN ให้เกิดผลได้ รวมทั้งการพัฒนาไปสู่ e- ASIA ต่อไป ในอนาคต
- ประเด็นสำคัญของการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ คือ วาระการประชุมจะต้องเป็นประโยชน์ต่ออาเซียน ทั้งนี้จะได้หารือกับญี่ปุ่นในรายละเอียดต่อไป
- การศึกษาและฝึกอบรมในญี่ปุ่นจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้พฤติกรรมการทำงานของคนญี่ปุ่น และช่วยคนอาเซียนปรับตัวให้มีระเบียบวินัย เช่นคนญี่ปุ่น จึงขอให้ญี่ปุ่นเพิ่มจำนวนทุนการศึกษาแก่คนอาเซียนมากขึ้น
- การพัฒนาอุตสาหกรรมของอาเซียนขึ้นอยู่กับญี่ปุ่นอย่างมากทั้งด้านเงินทุนและเทคโนโลยี ขอให้ญี่ปุ่นลงทุนในอาเซียนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (CLMV) ซึ่งมีแรงงานจำนวนมากและค่าจ้างแรงงานถูก จะช่วยให้ประเทศ CLMV สามารถก้าวทันเทคโนโลยีขั้นสูงขึ้น
- ขอให้ญี่ปุ่นร่วมมือกับ ADB ในการสนับสนุนโครงการต่าง ๆในการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ให้เกิดผลเป็นจริงต่อไป
ที่ประชุมตกลงให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่นครั้งต่อไปในเดือนพฤศจิกายน 2544 ณ ประเทศบรูไน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-