สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศประจำสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แจ้งขั้นตอนการพิจารณาของกระทรวงเกษตรและประมงฝรั่งเศส ในการรับรองโรงงานของบริษัทไทยที่ประสงค์จะส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงเข้าประเทศฝรั่งเศส สรุปได้ดังนี้.-
1. เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารามีดังต่อไปนี้.-
- หนังสือรับรองโรงงานจากกรมประมงในกรณีที่เป็นโรงงานผลิตสัตว์น้ำ
- ชื่อและที่อยู่ของบริษัท
- ชื่อ คำอธิบาย และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่จะส่งออก
- พื้นที่ของสถานประกอบการและจำนวนที่ผลิตได้ต่อวัน
- แหล่งที่มาและลักษณะของวัตถุดิบ (โดยคำนึงถึงว่าวัตถุดิบดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงหรือต่ำตามข้อ
บังคับของสหภาพยุโรปที่ 90/667/EEC)
- กระบวนการผลิตและการปฏิบัติด้านความร้อนที่ใช้ในการผลิต
- การวิเคราะห์ทาง Microbiologic ที่ได้จากผลิตภัณฑ์
- มาตรการที่นำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์ก่อนการส่งออก (สภาพการบรรจุ
กระป๋องและหีบห่อ)
- ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์และโทรสารของหน่วยงานผู้รับผิดชอบควบคุมสถานประกอบการเอกสารทั้งหมดจะต้องแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและส่งไปยัง Direction Generale de l' Alimentation-Mission de Coordi-nation Sanitaire Internationale-Secteur Importations พร้อมกับหนังสือรับรองของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสุขอนามัย
2. ในกรณีพิจารณาอนุมัติโรงงานผลิตอาหารสัตว์ (Pet Food) ที่ผ่านมาทางการฝรั่งเศสเคยยอมรับหนังสือรับรองของกรมประมงไทยโดยมิต้องแนบแบบฟอร์มอื่น ๆ ประกอบ อย่างไรก็ดี ในช่วง 2 - 3 เดือนที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรและการบริหารภายในของกระทรวงเกษตรฯ ฝรั่งเศส ซึ่งอาจทำให้การพิจารณารับรองโรงงานฯ ใช้เวลามากกว่าที่เคยปฏิบัติ
3. หากยื่นแบบฟอร์มพร้อมเอกสารประกอบตามข้อ 1 และหนังสือรับรองจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบ (Com-petent Authority) ในประเทศผู้ขอแล้ว ฝ่ายความร่วมมือด้านสุขอนามัยระหว่างประเทศ (ด้านการนำเข้าสินค้าอาหาร) กระทรวงเกษตรฯ จะเป็นผู้พิจารณา และเมื่อได้รับการอนุมัติแล้วจะประกาศให้ทราบทาง Journal Official de la Republique Francaise (ราชกิจจานุเบกษาของฝรั่งเศส) ต่อไป
(ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 16/2543 วันที่ 31 สิงหาคม 2543--
-อน-
1. เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารามีดังต่อไปนี้.-
- หนังสือรับรองโรงงานจากกรมประมงในกรณีที่เป็นโรงงานผลิตสัตว์น้ำ
- ชื่อและที่อยู่ของบริษัท
- ชื่อ คำอธิบาย และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่จะส่งออก
- พื้นที่ของสถานประกอบการและจำนวนที่ผลิตได้ต่อวัน
- แหล่งที่มาและลักษณะของวัตถุดิบ (โดยคำนึงถึงว่าวัตถุดิบดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงหรือต่ำตามข้อ
บังคับของสหภาพยุโรปที่ 90/667/EEC)
- กระบวนการผลิตและการปฏิบัติด้านความร้อนที่ใช้ในการผลิต
- การวิเคราะห์ทาง Microbiologic ที่ได้จากผลิตภัณฑ์
- มาตรการที่นำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์ก่อนการส่งออก (สภาพการบรรจุ
กระป๋องและหีบห่อ)
- ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์และโทรสารของหน่วยงานผู้รับผิดชอบควบคุมสถานประกอบการเอกสารทั้งหมดจะต้องแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและส่งไปยัง Direction Generale de l' Alimentation-Mission de Coordi-nation Sanitaire Internationale-Secteur Importations พร้อมกับหนังสือรับรองของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสุขอนามัย
2. ในกรณีพิจารณาอนุมัติโรงงานผลิตอาหารสัตว์ (Pet Food) ที่ผ่านมาทางการฝรั่งเศสเคยยอมรับหนังสือรับรองของกรมประมงไทยโดยมิต้องแนบแบบฟอร์มอื่น ๆ ประกอบ อย่างไรก็ดี ในช่วง 2 - 3 เดือนที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรและการบริหารภายในของกระทรวงเกษตรฯ ฝรั่งเศส ซึ่งอาจทำให้การพิจารณารับรองโรงงานฯ ใช้เวลามากกว่าที่เคยปฏิบัติ
3. หากยื่นแบบฟอร์มพร้อมเอกสารประกอบตามข้อ 1 และหนังสือรับรองจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบ (Com-petent Authority) ในประเทศผู้ขอแล้ว ฝ่ายความร่วมมือด้านสุขอนามัยระหว่างประเทศ (ด้านการนำเข้าสินค้าอาหาร) กระทรวงเกษตรฯ จะเป็นผู้พิจารณา และเมื่อได้รับการอนุมัติแล้วจะประกาศให้ทราบทาง Journal Official de la Republique Francaise (ราชกิจจานุเบกษาของฝรั่งเศส) ต่อไป
(ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 16/2543 วันที่ 31 สิงหาคม 2543--
-อน-