คุณถาม : ประเทศใดเป็นผู้ส่งออกดอกกล้วยไม้สดรายใหญ่ที่สุดในโลก
EXIM ตอบ : ปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกดอกกล้วยไม้สดรายใหญ่ ที่สุดในโลก ในปี 2543 ไทยส่งออกดอกกล้วยไม้สดไปจำหน่ายยัง
ต่างประเทศเป็นมูลค่า 1,231.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากปีก่อน ตลาดส่งออกดอกกล้วยไม้สดที่สำคัญที่สุด ของไทย คือ
ญี่ปุ่น (มีสัดส่วนราว 48% ของมูลค่าการ ส่งออกดอกกล้วยไม้สดทั้งหมดของไทย) ตลาดสำคัญรอง ลงมา คือ สหรัฐอเมริกา
อิตาลี ไต้หวัน และเยอรมนี ตามลำดับ ประเทศที่เป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาด ดอกกล้วยไม้สด คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ ฯลฯ
เพื่อให้ไทยสามารถครองตำแหน่งผู้ส่งออกดอกกล้วยไม้สดรายใหญ่ที่สุดของโลกไว้ได้ ผู้ผลิตไทยควรเร่งพัฒนา คุณภาพของดอกกล้วยไม้สด
อาทิ การนำเทคโนโลยีสมัย ใหม่มาใช้ในการขยายพันธุ์ดอกกล้วยไม้ การพัฒนาพันธุ์ เพื่อเพิ่มขนาดของกลีบดอกและเพิ่มสีสันให้สวยงาม
แปลกใหม่อยู่เสมอ รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันการระบาดของโรคพืช ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญใน การส่งออกดอกกล้วยไม้สดของ
ไทยในปัจจุบัน
คุณถาม : ประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์จากเป็ดไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศบ้างหรือไม่
EXIM ตอบ : ประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์จากเป็ดในรูปของเป็ดสดแช่เย็นแช่แข็งเป็นส่วนใหญ่ โดยมูลค่าส่งออกขยายตัว อย่างต่อเนื่องจากเพียง 300
ล้านบาทในปี 2540 เพิ่ม เป็นกว่า 1,000 ล้านบาทในปี 2543 ตลาดเป็ดสดแช่เย็น แช่แข็งที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหภาพยุโรป
(European Union: EU) ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง จีน และสิงคโปร์ เป็นต้น
ปัจจุบันเป็ดสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยมีส่วนแบ่งในตลาดโลกไม่สูงนัก และต้องเผชิญกับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงจากประเทศผู้ส่งออก
เป็ดสดแช่เย็นแช่แข็งรายใหญ่ ของโลก อาทิ จีน ฮังการี ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม การส่งออกเป็ดสดแช่เย็นแช่แข็งของ
ไทยมี แนวโน้มสดใสขึ้น เนื่องจากชาวต่างชาตินิยมบริโภคเนื้อเป็ดเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะตลาด EU ที่เพิ่มการนำเข้า เป็ดสดแช่เย็นแช่
แข็งจากไทยหลังจากประสบปัญหาการ ระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยและโรควัวบ้า ทำให้ผู้ บริโภคใน EU บางส่วนลดการบริโภคเนื้อ
วัวและหันไป บริโภคเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ รวมทั้งเนื้อเป็ดแทน ส่งผลดีต่อ ไทยที่มีภูมิประเทศและภูมิอากาศเอื้อต่อการเลี้ยงเป็ด รวมทั้ง
ผู้ประกอบการไทยมีพื้นฐานในการเลี้ยงและแปรรูปสัตว์ปีกประเภท อื่นโดยเฉพาะไก่มาก่อน อีกทั้งภาครัฐให้การส่งเสริมและผลักดัน ให้มี
การขยายการผลิตเป็ดเนื้อเพื่อการส่งออกมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้คาดว่าในระยะต่อไปผลิตภัณฑ์จากเป็ดของไทยจะ สามารถนำรายได้
เข้าประเทศเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับการส่งออกไก่ และผลิตภัณฑ์จากไก่ของไทยที่ประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับมาแล้วในตลาดโลก
คุณถาม : EU มีข้อกำหนดปริมาณสารปนเปื้อนในอาหารที่นำเข้าอย่างไร
EXIM ตอบ : EU มีข้อกำหนดเรื่องปริมาณสารปนเปื้อนในอาหารนำเข้าที่ ค่อนข้างเข้มงวด เพื่อป้องกันอันตรายที่ผู้บริโภคอาจจะได้รับจากสารปนเปื้อน
ที่มีอยู่ในอาหาร สำหรับประกาศฉบับล่าสุดที่ เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารของ EU ได้แก่
ประกาศฉบับที่ 466/2001 ออกโดยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2544 กำหนด ปริมาณสูงสุด
ของสารปนเปื้อนในอาหารที่ EU อนุญาตให้นำเข้า โดยมีรายละเอียดดังตาราง
ปริมาณสูงสุดของสารปนเปื้อนในอาหารที่ EU อนุญาตให้นำเข้า
ชนิดของสารปนเปื้อน ประเภทของ ปริมาณสูงสุด
อาหารที่มักตรวจพบสาร ของสารปนเปื้อน
ปนเปื้อน ที่ EU กำหนด (mg/kg) อันตรายต่อผู้บริโภค
1. อัลฟาทอกซิน 1 ถั่วและผลไม้ตากแห้ง 2.0 เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง
(Alfatoxins) ที่มีความชื้นสูง
2. ตะกั่ว2 - น้ำผลไม้ 0.05 มีผลต่อพัฒนาการของเด็กและผู้ใหญ่
(Lead) - กุ้ง 0.5 นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
- หอยสองฝา 1.0 และโรคหัวใจอีกด้วย
3. แคดเมียม2 - สัตว์ปีก 0.05
(Cadmium) ปลา
และใบผัก
(เครื่องเทศ)
- ข้าว 0.2
- กุ้ง 0.5
- หอยสองฝา 1.0 เป็นสาเหตุของโรคไต โรคกระดูก และทำให้มีบุตรยาก
4. ปรอท2 สินค้าประมง 0.5 มีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กและความผิดปกติของระบบประสาท
(Mercury)
5. 3-MCPD2
(Monochloro-propanediol) ซอสถั่วเหลือง 0.02 เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง
หมายเหต :
1 เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2544
2 เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2545
คุณถาม : GSP คืออะไร
EXIM ตอบ : GSP หรือ Generalized System of Preferences คือ ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปที่ประเทศ
พัฒนาแล้วให้การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีนำเข้า แก่สินค้าที่นำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา โดยสินค้านั้น ต้องมีแหล่งกำเนิดจากประเทศกำลังพัฒนาตามสัด
ส่วนที่ประเทศผู้ให้สิทธิกำหนด การให้ GSP เป็นการให้ฝ่ายเดียว (Non-reciprocal) คือ ประเทศผู้ให้ GSP ไม่เรียกร้องผลตอบแทนใดๆ จาก
ประเทศที่ได้รับ GSP นอกจากนี้ การให้ GSP ยังเป็นการให้แบบไม่เลือกปฏิบัติกับประเทศกำลังพัฒนา ทุกประเทศ (Non-discriminatory) โดยมีวัตถุ
ประสงค์สำคัญ เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนามีรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับ GSP ปัจจุบันไทยได้รับ GSP จากประเทศต่างๆ รวม 28 ประเทศ แบ่งเป็น
1. สหภาพยุโรป จำนวน 15 ประเทศ คือ ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส กรีซ เยอรมนี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก
เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และอังกฤษ
2. ยุโรปตะวันออก จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย ฮังการี บัลแกเรีย โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก และ สาธารณรัฐสโลวัก
3. อื่นๆ จำนวน 7 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ และ สหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ ในบรรดา GSP ที่ได้รับนั้น ประเทศไทยได้ใช้ ประโยชน์จาก GSP ของสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง เนื่องจาก สหรัฐฯ เป็นตลาดใหญ่และ
GSP ของสหรัฐฯ เป็นการให้สิทธิประโยชน์ในรูปของการยกเว้นภาษีนำเข้า ขณะที่การ ให้ GSP ของประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ เป็นการให้สิทธิประโยชน์ใน
รูปของการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีนำเข้า
ข้อมูลจาก : ฝ่ายวิชาการและแผนงาน
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนสิงหาคม 2544--
-อน-
EXIM ตอบ : ปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกดอกกล้วยไม้สดรายใหญ่ ที่สุดในโลก ในปี 2543 ไทยส่งออกดอกกล้วยไม้สดไปจำหน่ายยัง
ต่างประเทศเป็นมูลค่า 1,231.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากปีก่อน ตลาดส่งออกดอกกล้วยไม้สดที่สำคัญที่สุด ของไทย คือ
ญี่ปุ่น (มีสัดส่วนราว 48% ของมูลค่าการ ส่งออกดอกกล้วยไม้สดทั้งหมดของไทย) ตลาดสำคัญรอง ลงมา คือ สหรัฐอเมริกา
อิตาลี ไต้หวัน และเยอรมนี ตามลำดับ ประเทศที่เป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาด ดอกกล้วยไม้สด คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ ฯลฯ
เพื่อให้ไทยสามารถครองตำแหน่งผู้ส่งออกดอกกล้วยไม้สดรายใหญ่ที่สุดของโลกไว้ได้ ผู้ผลิตไทยควรเร่งพัฒนา คุณภาพของดอกกล้วยไม้สด
อาทิ การนำเทคโนโลยีสมัย ใหม่มาใช้ในการขยายพันธุ์ดอกกล้วยไม้ การพัฒนาพันธุ์ เพื่อเพิ่มขนาดของกลีบดอกและเพิ่มสีสันให้สวยงาม
แปลกใหม่อยู่เสมอ รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันการระบาดของโรคพืช ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญใน การส่งออกดอกกล้วยไม้สดของ
ไทยในปัจจุบัน
คุณถาม : ประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์จากเป็ดไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศบ้างหรือไม่
EXIM ตอบ : ประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์จากเป็ดในรูปของเป็ดสดแช่เย็นแช่แข็งเป็นส่วนใหญ่ โดยมูลค่าส่งออกขยายตัว อย่างต่อเนื่องจากเพียง 300
ล้านบาทในปี 2540 เพิ่ม เป็นกว่า 1,000 ล้านบาทในปี 2543 ตลาดเป็ดสดแช่เย็น แช่แข็งที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหภาพยุโรป
(European Union: EU) ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง จีน และสิงคโปร์ เป็นต้น
ปัจจุบันเป็ดสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยมีส่วนแบ่งในตลาดโลกไม่สูงนัก และต้องเผชิญกับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงจากประเทศผู้ส่งออก
เป็ดสดแช่เย็นแช่แข็งรายใหญ่ ของโลก อาทิ จีน ฮังการี ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม การส่งออกเป็ดสดแช่เย็นแช่แข็งของ
ไทยมี แนวโน้มสดใสขึ้น เนื่องจากชาวต่างชาตินิยมบริโภคเนื้อเป็ดเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะตลาด EU ที่เพิ่มการนำเข้า เป็ดสดแช่เย็นแช่
แข็งจากไทยหลังจากประสบปัญหาการ ระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยและโรควัวบ้า ทำให้ผู้ บริโภคใน EU บางส่วนลดการบริโภคเนื้อ
วัวและหันไป บริโภคเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ รวมทั้งเนื้อเป็ดแทน ส่งผลดีต่อ ไทยที่มีภูมิประเทศและภูมิอากาศเอื้อต่อการเลี้ยงเป็ด รวมทั้ง
ผู้ประกอบการไทยมีพื้นฐานในการเลี้ยงและแปรรูปสัตว์ปีกประเภท อื่นโดยเฉพาะไก่มาก่อน อีกทั้งภาครัฐให้การส่งเสริมและผลักดัน ให้มี
การขยายการผลิตเป็ดเนื้อเพื่อการส่งออกมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้คาดว่าในระยะต่อไปผลิตภัณฑ์จากเป็ดของไทยจะ สามารถนำรายได้
เข้าประเทศเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับการส่งออกไก่ และผลิตภัณฑ์จากไก่ของไทยที่ประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับมาแล้วในตลาดโลก
คุณถาม : EU มีข้อกำหนดปริมาณสารปนเปื้อนในอาหารที่นำเข้าอย่างไร
EXIM ตอบ : EU มีข้อกำหนดเรื่องปริมาณสารปนเปื้อนในอาหารนำเข้าที่ ค่อนข้างเข้มงวด เพื่อป้องกันอันตรายที่ผู้บริโภคอาจจะได้รับจากสารปนเปื้อน
ที่มีอยู่ในอาหาร สำหรับประกาศฉบับล่าสุดที่ เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารของ EU ได้แก่
ประกาศฉบับที่ 466/2001 ออกโดยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2544 กำหนด ปริมาณสูงสุด
ของสารปนเปื้อนในอาหารที่ EU อนุญาตให้นำเข้า โดยมีรายละเอียดดังตาราง
ปริมาณสูงสุดของสารปนเปื้อนในอาหารที่ EU อนุญาตให้นำเข้า
ชนิดของสารปนเปื้อน ประเภทของ ปริมาณสูงสุด
อาหารที่มักตรวจพบสาร ของสารปนเปื้อน
ปนเปื้อน ที่ EU กำหนด (mg/kg) อันตรายต่อผู้บริโภค
1. อัลฟาทอกซิน 1 ถั่วและผลไม้ตากแห้ง 2.0 เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง
(Alfatoxins) ที่มีความชื้นสูง
2. ตะกั่ว2 - น้ำผลไม้ 0.05 มีผลต่อพัฒนาการของเด็กและผู้ใหญ่
(Lead) - กุ้ง 0.5 นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
- หอยสองฝา 1.0 และโรคหัวใจอีกด้วย
3. แคดเมียม2 - สัตว์ปีก 0.05
(Cadmium) ปลา
และใบผัก
(เครื่องเทศ)
- ข้าว 0.2
- กุ้ง 0.5
- หอยสองฝา 1.0 เป็นสาเหตุของโรคไต โรคกระดูก และทำให้มีบุตรยาก
4. ปรอท2 สินค้าประมง 0.5 มีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กและความผิดปกติของระบบประสาท
(Mercury)
5. 3-MCPD2
(Monochloro-propanediol) ซอสถั่วเหลือง 0.02 เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง
หมายเหต :
1 เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2544
2 เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2545
คุณถาม : GSP คืออะไร
EXIM ตอบ : GSP หรือ Generalized System of Preferences คือ ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปที่ประเทศ
พัฒนาแล้วให้การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีนำเข้า แก่สินค้าที่นำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา โดยสินค้านั้น ต้องมีแหล่งกำเนิดจากประเทศกำลังพัฒนาตามสัด
ส่วนที่ประเทศผู้ให้สิทธิกำหนด การให้ GSP เป็นการให้ฝ่ายเดียว (Non-reciprocal) คือ ประเทศผู้ให้ GSP ไม่เรียกร้องผลตอบแทนใดๆ จาก
ประเทศที่ได้รับ GSP นอกจากนี้ การให้ GSP ยังเป็นการให้แบบไม่เลือกปฏิบัติกับประเทศกำลังพัฒนา ทุกประเทศ (Non-discriminatory) โดยมีวัตถุ
ประสงค์สำคัญ เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนามีรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับ GSP ปัจจุบันไทยได้รับ GSP จากประเทศต่างๆ รวม 28 ประเทศ แบ่งเป็น
1. สหภาพยุโรป จำนวน 15 ประเทศ คือ ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส กรีซ เยอรมนี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก
เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และอังกฤษ
2. ยุโรปตะวันออก จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย ฮังการี บัลแกเรีย โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก และ สาธารณรัฐสโลวัก
3. อื่นๆ จำนวน 7 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ และ สหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ ในบรรดา GSP ที่ได้รับนั้น ประเทศไทยได้ใช้ ประโยชน์จาก GSP ของสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง เนื่องจาก สหรัฐฯ เป็นตลาดใหญ่และ
GSP ของสหรัฐฯ เป็นการให้สิทธิประโยชน์ในรูปของการยกเว้นภาษีนำเข้า ขณะที่การ ให้ GSP ของประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ เป็นการให้สิทธิประโยชน์ใน
รูปของการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีนำเข้า
ข้อมูลจาก : ฝ่ายวิชาการและแผนงาน
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนสิงหาคม 2544--
-อน-