สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศราคาสุกรมีชีวิตปรับขึ้นเล็กน้อย แต่สถานการณ์โดยรวมยังทรงตัวอยู่ทั้งผลผลิตและความต้องการบริโภค อย่างไรก็ตามจากภาวะฝนที่ตกชุกในช่วงนี้ ทำให้สุกรเติบโตดีขึ้น และผลผลิตยังคงเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคามีโอกาสปรับลดลงราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก100กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.27 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.22 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.40 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 32.26 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.61 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 37.63 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ตลาดไก่เนื้อในประเทศเริ่มอ่อนตัวลง โดยราคาปรับลดลงในทุกพื้นที่ แม้ว่าผลผลิตจะมีปริมาณไม่มาก แต่จากฝนทึ่ตกชุกในระยะนี้ ทำให้ความต้องการบริโภคบางส่วนเปลี่ยนไปบริโภคโปรตีนจากสัตว์น้ำทดแทนเพราะราคาถูกกว่า คาดว่าการซื้อขายในช่วงนี้ราคาจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงไปจนถึงอ่อนลงเล็กน้อยราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 26.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.06 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.92 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 28.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.75 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 24.34 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.33 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.00 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.57 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 37 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.40
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศการซื้อขายไข่ไก่ในสัปดาห์นี้เริ่มปรับตัวดีขึ้น เพราะผลผลิตที่ลดปริมาณลงจากการปลดไก่แก่ การเก็บไข่เข้าห้องเย็น ตลอดจนความต้องการบริโภคที่กระเตื้องขึ้นเพราะผลไม้ตามฤดูกาลลดลง ทำให้การทำขนมหวานที่ใช้ไย่เป็นส่วนประกอบมีมากขึ้น คาดว่าตลาดไข่ไก่นับจากนี้ไปจะเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติและราคามีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 147 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 145 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 145 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 152 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 145 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 149 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 9 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 160 บาทเพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 154 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.90ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 170 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 160 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 168 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 171 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 180 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 238 บาทเพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 218 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.17
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 37.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.06 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 25.59 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.56 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 31 ประจำวันที่ 7 -13 ส.ค. 2543--
-สส-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศราคาสุกรมีชีวิตปรับขึ้นเล็กน้อย แต่สถานการณ์โดยรวมยังทรงตัวอยู่ทั้งผลผลิตและความต้องการบริโภค อย่างไรก็ตามจากภาวะฝนที่ตกชุกในช่วงนี้ ทำให้สุกรเติบโตดีขึ้น และผลผลิตยังคงเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคามีโอกาสปรับลดลงราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก100กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.27 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.22 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.40 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 32.26 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.61 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 37.63 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ตลาดไก่เนื้อในประเทศเริ่มอ่อนตัวลง โดยราคาปรับลดลงในทุกพื้นที่ แม้ว่าผลผลิตจะมีปริมาณไม่มาก แต่จากฝนทึ่ตกชุกในระยะนี้ ทำให้ความต้องการบริโภคบางส่วนเปลี่ยนไปบริโภคโปรตีนจากสัตว์น้ำทดแทนเพราะราคาถูกกว่า คาดว่าการซื้อขายในช่วงนี้ราคาจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงไปจนถึงอ่อนลงเล็กน้อยราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 26.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.06 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.92 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 28.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.75 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 24.34 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.33 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.00 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.57 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 37 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.40
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศการซื้อขายไข่ไก่ในสัปดาห์นี้เริ่มปรับตัวดีขึ้น เพราะผลผลิตที่ลดปริมาณลงจากการปลดไก่แก่ การเก็บไข่เข้าห้องเย็น ตลอดจนความต้องการบริโภคที่กระเตื้องขึ้นเพราะผลไม้ตามฤดูกาลลดลง ทำให้การทำขนมหวานที่ใช้ไย่เป็นส่วนประกอบมีมากขึ้น คาดว่าตลาดไข่ไก่นับจากนี้ไปจะเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติและราคามีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 147 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 145 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 145 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 152 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 145 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 149 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 9 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 160 บาทเพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 154 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.90ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 170 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 160 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 168 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 171 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 180 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 238 บาทเพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 218 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.17
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 37.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.06 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 25.59 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.56 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 31 ประจำวันที่ 7 -13 ส.ค. 2543--
-สส-