ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 21 มีนาคม 2544 เริ่มประชุมเวลา
13.35 นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุม และได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบประกาศสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ 19 มีนาคม 2544 ประกาศให้ผู้มีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย พรรคความหวังใหม่ และพรรคชาติไทย
เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับ
พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ดังนี้
1. นายญาณเดช ทองสิมา แทน ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
2. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ แทนนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
3. นายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ แทนนายอดิศัย โพธารามิก
4. นายปกิต พัฒนกุล แทน นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
5. นายสฤต สันติเมทนีดล แทน นายสุวิทย์ คุณกิตติ
6. นายสุรนัทน์ เวชชาชีวะ แทน นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
7. นายบุญถึง ผลพานิชย์ แทน นายปองพล อดิเรกสาร
8. จ่าสิบเอก อนันต์ สุขสันต์ แทน นายประชา มาลีนนท์
9. นายจำรัส เวียงสงค์ แทน นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย
10. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ แทน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
11. นายจักรพันธุ์ ยมจินดา แทน นายสรอรรถ กลิ่นประทุม
12. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล แทน นายจำลอง ครุฑขุนทด
13. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ แทน นายจาตุรนต์ ฉายแสง
14. พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร แทน พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
15. นายจตุพร เจริญเชื้อ แทน พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
16. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ แทน นายสุธรรม แสงประทุม
17. นายยงยุทธ นพเกตุ แทน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน
18. นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แทน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
19. นายกันตธีร์ ศุภมงคล แทน นายวราเทพ รัตนากร
20. นายนพดล อินนา แทน นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์
21. นายการุญ จันทรางศุ แทน ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
พรรคความหวังใหม่ จำนวน 3 ท่าน
1. นายสมศักดิ์ วรคามิน แทน พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
2. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน แทน นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
3. พันโทหญิง ฐิติยา รังสิตพล แทน นายพิเชษฐ สถิรชวาล
พรรคชาติไทย จำนวน 2 ท่าน
1. นายชูวงศ์ ฉายะบุตร แทน นายเดช บุญ-หลง
2. นายชัย ชิดชอบ แทน นายสนธยา คุณปลื้ม
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่
ทั้ง 26 ท่าน ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา 150 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ต่อจากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ …) พ.ศ. ….
ซึ่งนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ กับคณะเป็นผู้เสนอ โดยมี หลักการเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 46 โดยกำหนดเกณฑ์ในการบริจาคเงินให้แก่พรรค การเมืองให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
2. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 49 โดยขยายเวลาในการที่ต้องนำส่งเงินที่ได้รับจากการบริจาคเข้าบัญชีแสดงรายรับจากการบริจาค
เพื่อความสะดวกและความคล่องตัวในการปฏิบัติของพรรคการเมือง
3. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 58 โดยแก้ไขเกณฑ์ในการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการจัดสรรเงิน
สนับสนุนแก่พรรคการเมือง ให้มีความหมาะสมยิ่งขึ้น
สำหรับเหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ นายกอบศักดิ์ สภาวสุ
ชี้แจงว่า เนื่องจากบทบัญญัติบางมาตราของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541
ยังไม่มีความเหมาะสมและความคล่องตัวในทางปฏิบัติ สมควรแก้ไขให้มี การกำหนดอัตราสูงสุดของเงินบริจาคให้
พรรคการเมืองและเกณฑ์อัตราเงินบริจาคในจำนวนเหมาะสมที่พรรคการเมืองไม่ต้องออกหลักฐานหรือต้องเปิดเผยรายชื่อผู้บริจาค
สมควรขยายเวลากำหนดวันนำเงินรับบริจาคเข้าบัญชีแสดงรายรับจากการบริจาค จากเดิมเจ็ดวันเป็นเวลา
สามสิบวัน และสมควรแก้ไขหลักการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมืองให้คำนึงหลักที่กำหนดไว้ตามความเหมาะสม
แทนจากเดิมที่คำนึงหลักที่กำหนดไว้ตามลำดับก่อนหลัง ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมและความคล่องตัวในการปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว
สำหรับการอภิปรายในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้สมาชิกพรรคฝ่ายค้าน
ส่วนใหญ่อภิปรายสนับสนุนให้มีการแก้ไขในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ขณะที่สมาชิกพรรค
ร่วมรัฐบาลส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะให้แก้ไขร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ แต่ท้ายที่สุดเมื่อมีการ
ลงมติแล้วที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่ก็ลงมติไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้นร่าง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองจึงตกไป
--------------------------------------------------
กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 21 มีนาคม 2544 เริ่มประชุมเวลา
13.35 นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุม และได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบประกาศสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ 19 มีนาคม 2544 ประกาศให้ผู้มีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย พรรคความหวังใหม่ และพรรคชาติไทย
เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับ
พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ดังนี้
1. นายญาณเดช ทองสิมา แทน ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
2. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ แทนนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
3. นายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ แทนนายอดิศัย โพธารามิก
4. นายปกิต พัฒนกุล แทน นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
5. นายสฤต สันติเมทนีดล แทน นายสุวิทย์ คุณกิตติ
6. นายสุรนัทน์ เวชชาชีวะ แทน นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
7. นายบุญถึง ผลพานิชย์ แทน นายปองพล อดิเรกสาร
8. จ่าสิบเอก อนันต์ สุขสันต์ แทน นายประชา มาลีนนท์
9. นายจำรัส เวียงสงค์ แทน นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย
10. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ แทน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
11. นายจักรพันธุ์ ยมจินดา แทน นายสรอรรถ กลิ่นประทุม
12. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล แทน นายจำลอง ครุฑขุนทด
13. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ แทน นายจาตุรนต์ ฉายแสง
14. พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร แทน พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
15. นายจตุพร เจริญเชื้อ แทน พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
16. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ แทน นายสุธรรม แสงประทุม
17. นายยงยุทธ นพเกตุ แทน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน
18. นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แทน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
19. นายกันตธีร์ ศุภมงคล แทน นายวราเทพ รัตนากร
20. นายนพดล อินนา แทน นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์
21. นายการุญ จันทรางศุ แทน ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
พรรคความหวังใหม่ จำนวน 3 ท่าน
1. นายสมศักดิ์ วรคามิน แทน พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
2. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน แทน นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
3. พันโทหญิง ฐิติยา รังสิตพล แทน นายพิเชษฐ สถิรชวาล
พรรคชาติไทย จำนวน 2 ท่าน
1. นายชูวงศ์ ฉายะบุตร แทน นายเดช บุญ-หลง
2. นายชัย ชิดชอบ แทน นายสนธยา คุณปลื้ม
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่
ทั้ง 26 ท่าน ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา 150 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ต่อจากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ …) พ.ศ. ….
ซึ่งนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ กับคณะเป็นผู้เสนอ โดยมี หลักการเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 46 โดยกำหนดเกณฑ์ในการบริจาคเงินให้แก่พรรค การเมืองให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
2. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 49 โดยขยายเวลาในการที่ต้องนำส่งเงินที่ได้รับจากการบริจาคเข้าบัญชีแสดงรายรับจากการบริจาค
เพื่อความสะดวกและความคล่องตัวในการปฏิบัติของพรรคการเมือง
3. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 58 โดยแก้ไขเกณฑ์ในการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการจัดสรรเงิน
สนับสนุนแก่พรรคการเมือง ให้มีความหมาะสมยิ่งขึ้น
สำหรับเหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ นายกอบศักดิ์ สภาวสุ
ชี้แจงว่า เนื่องจากบทบัญญัติบางมาตราของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541
ยังไม่มีความเหมาะสมและความคล่องตัวในทางปฏิบัติ สมควรแก้ไขให้มี การกำหนดอัตราสูงสุดของเงินบริจาคให้
พรรคการเมืองและเกณฑ์อัตราเงินบริจาคในจำนวนเหมาะสมที่พรรคการเมืองไม่ต้องออกหลักฐานหรือต้องเปิดเผยรายชื่อผู้บริจาค
สมควรขยายเวลากำหนดวันนำเงินรับบริจาคเข้าบัญชีแสดงรายรับจากการบริจาค จากเดิมเจ็ดวันเป็นเวลา
สามสิบวัน และสมควรแก้ไขหลักการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมืองให้คำนึงหลักที่กำหนดไว้ตามความเหมาะสม
แทนจากเดิมที่คำนึงหลักที่กำหนดไว้ตามลำดับก่อนหลัง ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมและความคล่องตัวในการปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว
สำหรับการอภิปรายในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้สมาชิกพรรคฝ่ายค้าน
ส่วนใหญ่อภิปรายสนับสนุนให้มีการแก้ไขในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ขณะที่สมาชิกพรรค
ร่วมรัฐบาลส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะให้แก้ไขร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ แต่ท้ายที่สุดเมื่อมีการ
ลงมติแล้วที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่ก็ลงมติไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้นร่าง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองจึงตกไป
--------------------------------------------------
กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร