กรุงเทพฯ--1 ต.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
การเยือนประเทศไทยของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐซิมบับเว นายโรเบิร์ต กาเบรียล มูกาเบ (Robert Gabriel Mugabe) ประธานาธิบดีแห่ง สาธารณรัฐซิมบับเว พร้อมด้วยภริยา และคณะ จะเดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อการเจรจาทำงาน ในฐานะแขกของรัฐบาล (Working Visit) ตามคำเชิญของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระหว่าง วันที่ 1-3 ตุลาคม 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ระหว่างทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการค้าและการลงทุน การเยือนของประธานาธิบดี สาธารณรัฐซิมบับเวครั้งนี้ นับเป็นการเยือนไทยในระดับสูงเป็นครั้งแรกของซิมบับเว
ในระหว่างการเยือนประเทศไทย ประธานาธิบดีสาธารณรัฐซิมบับเวมีกำหนดจะหารือ ข้อราชการกับนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ในช่วงบ่ายของวันที่ 2 ตุลาคม 2544 และในค่ำวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีสาธารณรัฐซิมบับเวและภริยา ที่ทำเนียบรัฐบาล นอกจากนี้ ในช่วงเช้าของวันที่ 2 และ 3 ตุลาคม 2544 ประธานาธิบดีสาธารณรัฐ ซิมบับเวยังมีกำหนดการพบปะหารือกับคณะกรรมการบริหารสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการบริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตามลำดับด้วย
ไทยและซิมบับเวได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2528 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศเป็นไปโดยราบรื่น และปริมาณ การค้าระหว่างกันก็ได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า ในปี 2543 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่ารวม 46.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 4.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 42.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยขาดดุลการค้า 37.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าที่ซิมบับเวนำเข้าจากไทยได้แก่ ยานพาหนะ พร้อมด้วย อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพาสติก และข้าว ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากซิมบับเวได้แก่ เส้นใยในการทอ แร่ดิบ หนังดิบและหนังฟอก สินแร่และโลหะอื่น ๆ ตลอดจนอัญมณี เงินแท่งและทองคำ เป็นต้น ในปัจจุบันซิมบับเวมีความสนใจที่จะติดต่อทางการค้าและการลงทุนกับประเทศใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น และไทยก็เป็นประเทศเป้าหมายประเทศหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ซิมบับเวก็เป็นประเทศสมาชิกสมาคมความร่วมมือด้านการพัฒนาภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Development — SADC) ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ทั้งหมด 14 ประเทศ มีประชากรรวมกันประมาณ 250 ล้านคน โดย ซิมบับเว มีศักยภาพเป็นแหล่งประกอบการลงทุนสินค้าประเภทสิ่งทอ และเป็นแหล่งวัตถุดิบประเภท ทองคำ ทับทิม และไพลิน ดังนั้นซิมบับเวจึงเป็นตลาดสินค้าแห่งใหม่ และเป็นแหล่งประกอบการลงทุน ของไทยเพื่อจำหน่ายสินค้าแก่กลุ่มสมาชิก SADC ในอนาคต และยังอาจเป็นแหล่งนำเข้าวัตถุดิบเพื่อ ป้อนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยได้ การเยือนของประธานาธิบดีสาธารณรัฐซิมบับเวครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในด้านต่าง ๆ แล้ว ยังเท่ากับเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยให้เป็น ที่รู้จักในหมู่ของประชาชนชาวซิมบับเวในปัจจุบันด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ยก-
การเยือนประเทศไทยของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐซิมบับเว นายโรเบิร์ต กาเบรียล มูกาเบ (Robert Gabriel Mugabe) ประธานาธิบดีแห่ง สาธารณรัฐซิมบับเว พร้อมด้วยภริยา และคณะ จะเดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อการเจรจาทำงาน ในฐานะแขกของรัฐบาล (Working Visit) ตามคำเชิญของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระหว่าง วันที่ 1-3 ตุลาคม 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ระหว่างทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการค้าและการลงทุน การเยือนของประธานาธิบดี สาธารณรัฐซิมบับเวครั้งนี้ นับเป็นการเยือนไทยในระดับสูงเป็นครั้งแรกของซิมบับเว
ในระหว่างการเยือนประเทศไทย ประธานาธิบดีสาธารณรัฐซิมบับเวมีกำหนดจะหารือ ข้อราชการกับนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ในช่วงบ่ายของวันที่ 2 ตุลาคม 2544 และในค่ำวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีสาธารณรัฐซิมบับเวและภริยา ที่ทำเนียบรัฐบาล นอกจากนี้ ในช่วงเช้าของวันที่ 2 และ 3 ตุลาคม 2544 ประธานาธิบดีสาธารณรัฐ ซิมบับเวยังมีกำหนดการพบปะหารือกับคณะกรรมการบริหารสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการบริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตามลำดับด้วย
ไทยและซิมบับเวได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2528 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศเป็นไปโดยราบรื่น และปริมาณ การค้าระหว่างกันก็ได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า ในปี 2543 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่ารวม 46.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 4.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 42.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยขาดดุลการค้า 37.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าที่ซิมบับเวนำเข้าจากไทยได้แก่ ยานพาหนะ พร้อมด้วย อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพาสติก และข้าว ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากซิมบับเวได้แก่ เส้นใยในการทอ แร่ดิบ หนังดิบและหนังฟอก สินแร่และโลหะอื่น ๆ ตลอดจนอัญมณี เงินแท่งและทองคำ เป็นต้น ในปัจจุบันซิมบับเวมีความสนใจที่จะติดต่อทางการค้าและการลงทุนกับประเทศใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น และไทยก็เป็นประเทศเป้าหมายประเทศหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ซิมบับเวก็เป็นประเทศสมาชิกสมาคมความร่วมมือด้านการพัฒนาภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Development — SADC) ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ทั้งหมด 14 ประเทศ มีประชากรรวมกันประมาณ 250 ล้านคน โดย ซิมบับเว มีศักยภาพเป็นแหล่งประกอบการลงทุนสินค้าประเภทสิ่งทอ และเป็นแหล่งวัตถุดิบประเภท ทองคำ ทับทิม และไพลิน ดังนั้นซิมบับเวจึงเป็นตลาดสินค้าแห่งใหม่ และเป็นแหล่งประกอบการลงทุน ของไทยเพื่อจำหน่ายสินค้าแก่กลุ่มสมาชิก SADC ในอนาคต และยังอาจเป็นแหล่งนำเข้าวัตถุดิบเพื่อ ป้อนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยได้ การเยือนของประธานาธิบดีสาธารณรัฐซิมบับเวครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในด้านต่าง ๆ แล้ว ยังเท่ากับเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยให้เป็น ที่รู้จักในหมู่ของประชาชนชาวซิมบับเวในปัจจุบันด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ยก-