รายได้
รายได้ของรัฐบาลในเดือนเมษายน เพิ่มขึ้นจากระยะ เดียวกันปีก่อน ร้อยละ 6.6 โดยการจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรเพิ่มขึ้น จากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.7 ตามการปรับเพิ่มขึ้นของภาษี จากการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอากรขาเข้า (ร้อยละ 27.5) ภาษีสรรพสามิต (ร้อยละ 11.4) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ร้อยละ 5.8)
ภาษีสรรพสามิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สรรพสามิตจากเบียร์ สรรพสามิตการนำเข้า และสรรพสามิตจากรถยนต์
ภาษีที่มีการปรับลดลงได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงร้อยละ 30.2 ภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 18.6 ส่วนหนึ่ง เนื่องจากมีการคืนภาษีเพิ่มขึ้นมากและภาษีธุรกิจเฉพาะลดลงร้อยละ 28.0 จากมาตรการลดภาษีธุรกิจเฉพาะเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2544
สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีอากรปรับสูงขึ้นร้อยละ 14.6 เนื่องจากมีรายได้นำส่งของรัฐสาหกิจหลายแห่ง โดยเฉพาะ การสื่อสารแห่งประเทศไทย 1.6 พันล้านบาท และโรงงานยาสูบ 2.0 พันล้านบาท
รายจ่าย
รายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 0.3 รายจ่ายที่สำคัญได้แก่ รายจ่ายให้ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา จำนวน 16.0 พันล้านบาท เงินสมทบกองทุนประกันสังคม 1.2 พันล้านบาท ทำให้อัตราการเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่ ต.ค. ถึง เม.ย. เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 49.1 นอกจากนี้ ยังมีรายจ่ายจากเงิน นอกงบประมาณที่สำคัญ คือ รายจ่ายภาษีท้องถิ่นให้ กทม. และโครงการมิยาซาวา สำหรับรายจ่ายดอกเบี้ย มีการจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร FIDF จำนวน 6.7 พันล้านบาทและเงินกู้อื่นๆ อีก
ดุลเงินสด
ในเดือนเมษายน 2544 รัฐบาลขาดดุลเงินสด 17.9 พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ ขาดดุล 25.5 พันล้านบาท เนื่องจากปีนี้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ขณะที่รายได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 มีการ ชดเชยการขาดดุลโดยการกู้ยืมภายในประเทศสุทธิ 23.2 พันล้านบาท และมีการโอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคการเกษตรจาก JBIC เข้าบัญชีเงินคงคลังจำนวน 3.0 พันล้านบาท ทำให้เงินคงคลัง เพิ่มขึ้นเป็น 35.2 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
รายได้ของรัฐบาลในเดือนเมษายน เพิ่มขึ้นจากระยะ เดียวกันปีก่อน ร้อยละ 6.6 โดยการจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรเพิ่มขึ้น จากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.7 ตามการปรับเพิ่มขึ้นของภาษี จากการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอากรขาเข้า (ร้อยละ 27.5) ภาษีสรรพสามิต (ร้อยละ 11.4) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ร้อยละ 5.8)
ภาษีสรรพสามิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สรรพสามิตจากเบียร์ สรรพสามิตการนำเข้า และสรรพสามิตจากรถยนต์
ภาษีที่มีการปรับลดลงได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงร้อยละ 30.2 ภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 18.6 ส่วนหนึ่ง เนื่องจากมีการคืนภาษีเพิ่มขึ้นมากและภาษีธุรกิจเฉพาะลดลงร้อยละ 28.0 จากมาตรการลดภาษีธุรกิจเฉพาะเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2544
สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีอากรปรับสูงขึ้นร้อยละ 14.6 เนื่องจากมีรายได้นำส่งของรัฐสาหกิจหลายแห่ง โดยเฉพาะ การสื่อสารแห่งประเทศไทย 1.6 พันล้านบาท และโรงงานยาสูบ 2.0 พันล้านบาท
รายจ่าย
รายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 0.3 รายจ่ายที่สำคัญได้แก่ รายจ่ายให้ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา จำนวน 16.0 พันล้านบาท เงินสมทบกองทุนประกันสังคม 1.2 พันล้านบาท ทำให้อัตราการเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่ ต.ค. ถึง เม.ย. เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 49.1 นอกจากนี้ ยังมีรายจ่ายจากเงิน นอกงบประมาณที่สำคัญ คือ รายจ่ายภาษีท้องถิ่นให้ กทม. และโครงการมิยาซาวา สำหรับรายจ่ายดอกเบี้ย มีการจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร FIDF จำนวน 6.7 พันล้านบาทและเงินกู้อื่นๆ อีก
ดุลเงินสด
ในเดือนเมษายน 2544 รัฐบาลขาดดุลเงินสด 17.9 พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ ขาดดุล 25.5 พันล้านบาท เนื่องจากปีนี้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ขณะที่รายได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 มีการ ชดเชยการขาดดุลโดยการกู้ยืมภายในประเทศสุทธิ 23.2 พันล้านบาท และมีการโอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคการเกษตรจาก JBIC เข้าบัญชีเงินคงคลังจำนวน 3.0 พันล้านบาท ทำให้เงินคงคลัง เพิ่มขึ้นเป็น 35.2 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-