ข่าวในประเทศ
1. คณะกรรมการนโยบายการเงินปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ปรับลดประมาณการตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจและแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ภายหลังเกิดเหตุก่อการร้ายใน สรอ. โดยประเมินว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 1.3-1.8 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5-2 ในปี 44 และขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 1-3 ในปี 45 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปี 44 ลดลงเหลือร้อยละ 1-1.5 จากเดิมที่คาดไว้ที่ร้อยละ 1.5-2 และลดลงเหลือร้อยละ 1.5-2.5 ในปี 45 สำหรับปัจจัยที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ คือ 1) การฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า ที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ในครึ่งหลังของปี 45 โดยหากฟื้นตัวช้ากว่านี้ หรือกรณีที่เติบโตต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 1 จะส่งผลให้จีดีพีของไทยลดลงอีกร้อยละ 0.1 ในปี 44 และลดลงอีกร้อยละ 0.8 ในปี 45 และ 2) บทบาทการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศของภาครัฐในการใช้จ่าย งปม. ต่าง ๆ โดยปัจจัยดังกล่าวอยู่ภายใต้สมมติฐานที่คาดว่าการส่งออกในปี 44 จะมีมูลค่า 64,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. การนำเข้าจะมีมูลค่า 62,000 ล.ดอลลาร์ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 5,000 ล.ดอลลาร์ และดุลการค้าเกินดุล 1,800 ล.ดอลลาร์ (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ 30)
2. ธปท. รายงานสถิติการปิดสาขาของ ธพ. ตั้งแต่ปี 43-ก.ย. 44 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สถิติการปิดสาขาของ ธพ. ไทยตั้งแต่ปี 43-ก.ย. 44 มีทั้งสิ้น 207 สาขา แบ่งเป็นสาขาเต็มรูปแบบ 137 สาขา และสาขาย่อย 70 สาขา โดยในปี 43 ปิดสาขาทั้งสิ้น 129 สาขา แบ่งเป็นสาขาเต็มรูปแบบ 84 สาขา และสาขาย่อย 45 สาขา และในช่วง ม.ค.-ก.ย. 44 ปิดสาขาทั้งสิ้น 78 สาขา แบ่งเป็นสาขาเต็มรูปแบบ 53 สาขา และสาขาย่อย 25 สาขา (ไทยรัฐ 30)
3. ก.คลังทบทวนโครงการกู้เงินต่างประเทศในปี งปม.45 แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายหนี้แห่งชาติได้มีการทบทวนโครงการกู้เงินต่างประเทศในปี งปม.45 จาก 19 โครงการ เหลือ 18 โครงการ และมีการปรับลดวงเงินบางโครงการ ส่งผลให้วงเงินเหลือประมาณ 1,200 ล.ดอลลาร์ สรอ. จากเดิม 1,550 ล.ดอลลาร์ ส่วนเงินที่เหลืออาจจะไม่ได้ใช้จริง เนื่องจากโครงการส่วนใหญ่ไม่มีความพร้อมและยังไม่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. (ข่าวสด, โลกวันนี้ 30)
4. ก.คลังเตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รมว.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังจะเสนอให้ที่ประชุม ครม. รับทราบหลักการร่าง พ.ร.บ. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นการยกระดับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) ขึ้นเป็นธนาคาร โดยยึดหลักการ วัตถุประสงค์ และขอบเขตการดำเนินงานตามที่ ครม. อนุมัติในหลักการเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 44 ในลักษณะเป็นบริษัทมหาชน มีทุนเรือนหุ้น 1 หมื่น ล.บาท โดยในระยะแรกให้โอนหุ้นของ บอย. จำนวน 2,800 ล.บาทมาเป็นหุ้นของธนาคาร (สยามรัฐ, แนวหน้า, บ้านเมือง 30)
ข่าวต่างประเทศ
1. จำนวนคนว่างงานในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 30 ต.ค. 44 Ministry of Public Management, Home Affairs, Post and Telecommunications เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของญี่ปุ่น หลังปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.3 ในเดือน ก.ย. 44 จากร้อยละ 5 ในเดือน ส.ค. 44 ขณะเดียวกันคนว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 3.57 ล. คน นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือน ที่ 6 และเพิ่มขึ้น 3.7 แสนคนจากเดือน ก.ย. 43 เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล กล่าวว่า การจ้างงานของญี่ปุ่นอยู่ในภาวะตกต่ำอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเลิกจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรม ในวันเดียวกัน Ministry of Health, Labour and Welfare เปิดเผยว่า ตำแหน่งงานใหม่ในเดือน ก.ย. 44 มีจำนวน 581,877 คน (ก่อนปรับตัวเลข) ลดลงร้อยละ 8.5 จากเดือน ก.ย.43 นอกจากนั้น รายงานดังกล่าว ยังสอดคล้องกับตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ประกาศก่อนหน้านี้ อาทิตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย.44 ที่ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก กำลังอยู่ในภาวะที่ถดถอย(รอยเตอร์30)
2. การใช้จ่ายของครัวเรือนญี่ปุ่นในเดือน ก.ย. 44 ลดลงร้อยละ 1.3 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียวเมื่อ 30 ต.ค. 44 Ministry of Public Management, HomevAffairs, Posts and Telecommunications กล่าวว่า การใช้จ่ายของครัวเรือนญี่ปุ่นที่มีรายได้เป็นค่าจ้าง ซึ่งใช้เป็นเครื่องวัดที่สำคัญสำหรับการใช้จ่ายของผู้บริโภค ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 อยู่ที่จำนวน 312,797 เยน ในเดือน ก.ย. 44 ลดลงร้อยละ 1.3 (ตามรายได้ที่แท้จริง) เทียบต่อปี แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบต่อเดือน ขณะเดียวกัน ดัชนีความโน้มเอียงต่อการบริโภค หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาล ในเดือน ก.ย. 44 ลดลงที่ระดับ 70.3 จากระดับ 70.9 ในเดือน ส.ค. 44(รอยเตอร์30)
3. สรอ.เกินดุล งปม.ปี 44 จำนวน 127.17 พัน ล.ดอลลาร์ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 30 ต.ค.44 รัฐบาล สรอ.เปิดเผยว่า ณ วันที่ 30 ก.ย.44 รัฐบาลมียอดเกินดุลงบประมาณ (งปม.) ปี 44 จำนวน 127.17 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ลดลงจากปี43 ที่เกินดุลฯ จำนวน 236.92 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่นักวิเคราะห์ด้านการ งปม.คาดการณ์ว่า ปี งปม.45 รัฐบาล สรอ.จะขาดดุล งปม.จำนวนประมาณ 50-100 พัน ล. ดอลลาร์.(รอยเตอร์30)
4. คาดการณ์ว่าจีดีพีของ สรอ. จะหดตัวในไตรมาสที่ 3 ปี 44 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 29 ต.ค. 44 จากการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ โดยรอยเตอร์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของ สรอ.ในไตรมาสที่ 3 ปี 44 จะหดตัวร้อยละ 1 ต่อปี ซึ่งจะเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ ไตรมาสที่ 1 ปี 34 และเป็นการหดตัวเป็นครั้งแรกตั้งแต่ต้นปี 36 นอกจากนั้นนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ยังคาดหมายว่า จีดีพีจะหดตัวอย่างน้อยที่สุดถึงสิ้นปี 44 และประมาณการว่าตลอดทั้งปี 44 จะเติบโตเพียงร้อยละ 1 ลดลงจากปี 43 ที่เติบโตร้อยละ 4.1 ทั้งนี้ เศรษฐกิจของ สรอ. เติบโตเพียงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่ 2 ปี 44 (รอยเตอร์29)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 29 ต.ค.44 44.820 (44.819)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 29 ต.ค. 44ซื้อ 44.6361 (44.6542) ขาย 44.9297 (44.9473)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,850 (5,800) ขาย 5,950 (5,900)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 19.49 (19.44)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 13.99 (13.99) ดีเซลหมุนเร็ว 12.99 (12.99)
หมายเหตุ 1. ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน 2. ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค. 44 เริ่มใช้ราคาน้ำมันดิบของดูไบแทนโอมาน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. คณะกรรมการนโยบายการเงินปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ปรับลดประมาณการตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจและแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ภายหลังเกิดเหตุก่อการร้ายใน สรอ. โดยประเมินว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 1.3-1.8 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5-2 ในปี 44 และขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 1-3 ในปี 45 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปี 44 ลดลงเหลือร้อยละ 1-1.5 จากเดิมที่คาดไว้ที่ร้อยละ 1.5-2 และลดลงเหลือร้อยละ 1.5-2.5 ในปี 45 สำหรับปัจจัยที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ คือ 1) การฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า ที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ในครึ่งหลังของปี 45 โดยหากฟื้นตัวช้ากว่านี้ หรือกรณีที่เติบโตต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 1 จะส่งผลให้จีดีพีของไทยลดลงอีกร้อยละ 0.1 ในปี 44 และลดลงอีกร้อยละ 0.8 ในปี 45 และ 2) บทบาทการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศของภาครัฐในการใช้จ่าย งปม. ต่าง ๆ โดยปัจจัยดังกล่าวอยู่ภายใต้สมมติฐานที่คาดว่าการส่งออกในปี 44 จะมีมูลค่า 64,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. การนำเข้าจะมีมูลค่า 62,000 ล.ดอลลาร์ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 5,000 ล.ดอลลาร์ และดุลการค้าเกินดุล 1,800 ล.ดอลลาร์ (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ 30)
2. ธปท. รายงานสถิติการปิดสาขาของ ธพ. ตั้งแต่ปี 43-ก.ย. 44 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สถิติการปิดสาขาของ ธพ. ไทยตั้งแต่ปี 43-ก.ย. 44 มีทั้งสิ้น 207 สาขา แบ่งเป็นสาขาเต็มรูปแบบ 137 สาขา และสาขาย่อย 70 สาขา โดยในปี 43 ปิดสาขาทั้งสิ้น 129 สาขา แบ่งเป็นสาขาเต็มรูปแบบ 84 สาขา และสาขาย่อย 45 สาขา และในช่วง ม.ค.-ก.ย. 44 ปิดสาขาทั้งสิ้น 78 สาขา แบ่งเป็นสาขาเต็มรูปแบบ 53 สาขา และสาขาย่อย 25 สาขา (ไทยรัฐ 30)
3. ก.คลังทบทวนโครงการกู้เงินต่างประเทศในปี งปม.45 แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายหนี้แห่งชาติได้มีการทบทวนโครงการกู้เงินต่างประเทศในปี งปม.45 จาก 19 โครงการ เหลือ 18 โครงการ และมีการปรับลดวงเงินบางโครงการ ส่งผลให้วงเงินเหลือประมาณ 1,200 ล.ดอลลาร์ สรอ. จากเดิม 1,550 ล.ดอลลาร์ ส่วนเงินที่เหลืออาจจะไม่ได้ใช้จริง เนื่องจากโครงการส่วนใหญ่ไม่มีความพร้อมและยังไม่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. (ข่าวสด, โลกวันนี้ 30)
4. ก.คลังเตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รมว.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังจะเสนอให้ที่ประชุม ครม. รับทราบหลักการร่าง พ.ร.บ. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นการยกระดับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) ขึ้นเป็นธนาคาร โดยยึดหลักการ วัตถุประสงค์ และขอบเขตการดำเนินงานตามที่ ครม. อนุมัติในหลักการเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 44 ในลักษณะเป็นบริษัทมหาชน มีทุนเรือนหุ้น 1 หมื่น ล.บาท โดยในระยะแรกให้โอนหุ้นของ บอย. จำนวน 2,800 ล.บาทมาเป็นหุ้นของธนาคาร (สยามรัฐ, แนวหน้า, บ้านเมือง 30)
ข่าวต่างประเทศ
1. จำนวนคนว่างงานในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 30 ต.ค. 44 Ministry of Public Management, Home Affairs, Post and Telecommunications เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของญี่ปุ่น หลังปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.3 ในเดือน ก.ย. 44 จากร้อยละ 5 ในเดือน ส.ค. 44 ขณะเดียวกันคนว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 3.57 ล. คน นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือน ที่ 6 และเพิ่มขึ้น 3.7 แสนคนจากเดือน ก.ย. 43 เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล กล่าวว่า การจ้างงานของญี่ปุ่นอยู่ในภาวะตกต่ำอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเลิกจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรม ในวันเดียวกัน Ministry of Health, Labour and Welfare เปิดเผยว่า ตำแหน่งงานใหม่ในเดือน ก.ย. 44 มีจำนวน 581,877 คน (ก่อนปรับตัวเลข) ลดลงร้อยละ 8.5 จากเดือน ก.ย.43 นอกจากนั้น รายงานดังกล่าว ยังสอดคล้องกับตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ประกาศก่อนหน้านี้ อาทิตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย.44 ที่ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก กำลังอยู่ในภาวะที่ถดถอย(รอยเตอร์30)
2. การใช้จ่ายของครัวเรือนญี่ปุ่นในเดือน ก.ย. 44 ลดลงร้อยละ 1.3 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียวเมื่อ 30 ต.ค. 44 Ministry of Public Management, HomevAffairs, Posts and Telecommunications กล่าวว่า การใช้จ่ายของครัวเรือนญี่ปุ่นที่มีรายได้เป็นค่าจ้าง ซึ่งใช้เป็นเครื่องวัดที่สำคัญสำหรับการใช้จ่ายของผู้บริโภค ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 อยู่ที่จำนวน 312,797 เยน ในเดือน ก.ย. 44 ลดลงร้อยละ 1.3 (ตามรายได้ที่แท้จริง) เทียบต่อปี แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบต่อเดือน ขณะเดียวกัน ดัชนีความโน้มเอียงต่อการบริโภค หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาล ในเดือน ก.ย. 44 ลดลงที่ระดับ 70.3 จากระดับ 70.9 ในเดือน ส.ค. 44(รอยเตอร์30)
3. สรอ.เกินดุล งปม.ปี 44 จำนวน 127.17 พัน ล.ดอลลาร์ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 30 ต.ค.44 รัฐบาล สรอ.เปิดเผยว่า ณ วันที่ 30 ก.ย.44 รัฐบาลมียอดเกินดุลงบประมาณ (งปม.) ปี 44 จำนวน 127.17 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ลดลงจากปี43 ที่เกินดุลฯ จำนวน 236.92 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่นักวิเคราะห์ด้านการ งปม.คาดการณ์ว่า ปี งปม.45 รัฐบาล สรอ.จะขาดดุล งปม.จำนวนประมาณ 50-100 พัน ล. ดอลลาร์.(รอยเตอร์30)
4. คาดการณ์ว่าจีดีพีของ สรอ. จะหดตัวในไตรมาสที่ 3 ปี 44 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 29 ต.ค. 44 จากการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ โดยรอยเตอร์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของ สรอ.ในไตรมาสที่ 3 ปี 44 จะหดตัวร้อยละ 1 ต่อปี ซึ่งจะเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ ไตรมาสที่ 1 ปี 34 และเป็นการหดตัวเป็นครั้งแรกตั้งแต่ต้นปี 36 นอกจากนั้นนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ยังคาดหมายว่า จีดีพีจะหดตัวอย่างน้อยที่สุดถึงสิ้นปี 44 และประมาณการว่าตลอดทั้งปี 44 จะเติบโตเพียงร้อยละ 1 ลดลงจากปี 43 ที่เติบโตร้อยละ 4.1 ทั้งนี้ เศรษฐกิจของ สรอ. เติบโตเพียงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่ 2 ปี 44 (รอยเตอร์29)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 29 ต.ค.44 44.820 (44.819)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 29 ต.ค. 44ซื้อ 44.6361 (44.6542) ขาย 44.9297 (44.9473)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,850 (5,800) ขาย 5,950 (5,900)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 19.49 (19.44)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 13.99 (13.99) ดีเซลหมุนเร็ว 12.99 (12.99)
หมายเหตุ 1. ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน 2. ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค. 44 เริ่มใช้ราคาน้ำมันดิบของดูไบแทนโอมาน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-