กรุงเทพฯ--9 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (8 มีนาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแถลงต่อสื่อมวลชนว่า สืบเนื่องจากกรณีเรือ MV Alondra Rainbow ของญี่ปุ่นถูกจี้โดยโจรสลัดเมื่อเดือนตุลาคม 2542 และลูกเรือทั้ง 17 คนของเรือดังกล่าวได้รับการช่วยเหลือจากเรือประมงไทยบริเวณนอกชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต และทางการอินเดียสามารถยึดเรือดังกล่าวคืนจากโจรสลัดสัญชาติอินโดนีเซียได้ในเวลาต่อมา และเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2542 นาย Osamu Matsumoto รองอธิบดีกรมขนส่งทางน้ำ กระทรวงขนส่งญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในระหว่างเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อแสดงความขอบคุณต่อหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องในกรณีดังกล่าวได้แจ้งว่า เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวญี่ปุ่นพร้อมจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการป้องกันโจรสลัด ตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 นั้น
บัดนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้กำหนดจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการป้องกันโจรสลัดตามลำดับ ดังนี้
1. Preparatory Meeting of Director-Genral Level of Coast Guard Agencies ระหว่างวันที่ 7-9 มีนาคม 2543 ที่สิงคโปร์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก บรูไน กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลี ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ญี่ปุ่น และไทย ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมจากไทย คือ ผู้อำนวยการกองยุทธการ กรมยุทธการทหารเรือ
2. Preparatory Meeting of Director-General Level of Governmental Bodies Responsible for International Shipping ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2543 ที่กรุงโตเกียว โดยจะมีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ เช่นเดียวกับการประชุมในข้อ 1 และเพิ่ม บังคลาเทศ ศรีลังกา รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของประเทศไทยคาดว่าจะมีผู้แทนจากกระทรวงคมนาคมเข้าร่วมประชุมฯ
3. Conference of Heads of Coast Guard Agencies ในวันที่ 27 เมษายน 2543 ที่กรุงโตเกียว โดยจะมีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ เหมือนข้อ 1 แต่เป็นระดับเทียบเท่าอธิบดี ซึ่งในส่วนของประเทศไทยคาดว่าเจ้ากรมยุทธการทหารเรือจะเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมฯ
4. Joint Conference of Heads of Coast Guard Agencies and Heads of Governmental Bodies Responsible for International Shipping ระหว่างวันที่ 28-29 เมษายน 2543 ที่กรุงโตเกียว โดยผู้เข้าร่วมประชุมในข้อ 3 จะร่วมประชุมกับผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ ตามข้อ 2 แต่เป็นในระดับอธิบดี--จบ--
วันนี้ (8 มีนาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแถลงต่อสื่อมวลชนว่า สืบเนื่องจากกรณีเรือ MV Alondra Rainbow ของญี่ปุ่นถูกจี้โดยโจรสลัดเมื่อเดือนตุลาคม 2542 และลูกเรือทั้ง 17 คนของเรือดังกล่าวได้รับการช่วยเหลือจากเรือประมงไทยบริเวณนอกชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต และทางการอินเดียสามารถยึดเรือดังกล่าวคืนจากโจรสลัดสัญชาติอินโดนีเซียได้ในเวลาต่อมา และเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2542 นาย Osamu Matsumoto รองอธิบดีกรมขนส่งทางน้ำ กระทรวงขนส่งญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในระหว่างเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อแสดงความขอบคุณต่อหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องในกรณีดังกล่าวได้แจ้งว่า เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวญี่ปุ่นพร้อมจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการป้องกันโจรสลัด ตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 นั้น
บัดนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้กำหนดจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการป้องกันโจรสลัดตามลำดับ ดังนี้
1. Preparatory Meeting of Director-Genral Level of Coast Guard Agencies ระหว่างวันที่ 7-9 มีนาคม 2543 ที่สิงคโปร์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก บรูไน กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลี ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ญี่ปุ่น และไทย ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมจากไทย คือ ผู้อำนวยการกองยุทธการ กรมยุทธการทหารเรือ
2. Preparatory Meeting of Director-General Level of Governmental Bodies Responsible for International Shipping ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2543 ที่กรุงโตเกียว โดยจะมีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ เช่นเดียวกับการประชุมในข้อ 1 และเพิ่ม บังคลาเทศ ศรีลังกา รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของประเทศไทยคาดว่าจะมีผู้แทนจากกระทรวงคมนาคมเข้าร่วมประชุมฯ
3. Conference of Heads of Coast Guard Agencies ในวันที่ 27 เมษายน 2543 ที่กรุงโตเกียว โดยจะมีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ เหมือนข้อ 1 แต่เป็นระดับเทียบเท่าอธิบดี ซึ่งในส่วนของประเทศไทยคาดว่าเจ้ากรมยุทธการทหารเรือจะเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมฯ
4. Joint Conference of Heads of Coast Guard Agencies and Heads of Governmental Bodies Responsible for International Shipping ระหว่างวันที่ 28-29 เมษายน 2543 ที่กรุงโตเกียว โดยผู้เข้าร่วมประชุมในข้อ 3 จะร่วมประชุมกับผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ ตามข้อ 2 แต่เป็นในระดับอธิบดี--จบ--