ข่าวในประเทศ
1. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงนโยบายการเงินของ ธปท.ในระยะ 6 เดือนหน้า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวชี้แจงในการประชุมคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงินร่วม 2 สภา ถึงเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงระยะ 6 เดือนต่อไปว่า จะเน้นให้ความสำคัญใน 3 ด้าน ได้แก่ นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน นโยบายอัตราดอกเบี้ย และการดูแลเสถียรภาพทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ โดยนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ธปท.จะดูแลความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ โดยใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแต่ยังคงมีการจัดการอยู่บ้างในส่วนของการเคลื่อนไหวของค่าเงินในระหว่างวัน สำหรับนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ย ภายหลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืน พธบ.(อาร์/พี) แล้ว ธปท.ยังไม่มีนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในระยะ 6 เดือนนี้ ในส่วนของการดูแลเสถียรภาพทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ซึ่งไทยมีปัญหาเงินทุนไหลออกมากกว่าเงินทุนไหลเข้า โดยในปี 44 ยังมีการชำระหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ทุนสำรองลดลง ธปท.ได้เตรียมมาตรการรองรับโดยจะขอเปิดวงเงินกู้ฉุกเฉินจากต่างประเทศ (เครดิตไลน์ ในลักษณะ Swap Arrangement) ให้ได้ 1 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ภายในสิ้นปี 44 เพื่อสำรองไว้เมื่อต้องการ(มติชน, ผู้จัดการรายวัน 22)
2. ธปท.ขอความร่วมมือธนาคารรัฐในการขยายสินเชื่อ ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงแนวทางการขยายสินเชื่อของ ธพ.ว่า ธปท.จะให้ธนาคารรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ ธ.กรุงไทย ธ.ไทยธนาคาร ธ.ศรีนคร และ ธ.นครหลวงไทย เป็นเครื่องมือในการขยายสินเชื่อ โดยได้ขอความร่วมมือให้ธนาคารรัฐปล่อยสินเชื่อแก่ลูกค้ารายเล็ก ซึ่งคาดว่าจะเริ่มปล่อยสินเชื่อได้ในเดือน ก.ค.44 ภายหลัง ธ.ศรีนครและ ธ.นครหลวงไทยโอนหนี้ด้อยคุณภาพไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย(บสท.)แล้ว ทั้งนี้ หากธนาคารรัฐปล่อยสินเชื่อได้ จะเป็นการกระตุ้นให้ ธพ.เอกชนปล่อยสินเชื่อมากขึ้น.(มติชน 22)
3. ธปท. หารือร่วมกับสมาคมธนาคารเพื่อทบทวนแบบรายงาน ธต. 40 ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จะหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทยและสมาคมธนาคารต่างประเทศเพื่อทบทวนแบบรายงานการทำธุรกรรมในบัญชีเงินบาทผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ (นอนเรสซิเด็นท์) หรือแบบรายงาน ธต. 40 เนื่องจากเห็นว่าการโอนเงินตราต่างประเทศร้อยละ 80 เป็นการโอนระหว่างบัญชีดังกล่าว และมียอดการโอนสูงถึงวันละ 1 แสน ล.บาท ประกอบกับในปัจจุบันไม่ได้กำหนดให้กรอกข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการโอนเงินในแบบดังกล่าว ทำให้ผู้โอนมีความคล่องตัวในการแลกเปลี่ยนเงินสูง ซึ่งเป็นช่องทางที่ทำให้เงินไหลเข้าออกง่ายทางหนึ่ง (บ้านเมือง, โลกวันนี้ 22)
4. ทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจมหภาคของ นรม. ประเมินว่าการส่งออกไทยจะติดลบร้อยละ 10 ในปี 44 แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจมหภาคของ นรม. ประเมินว่า ภาวะการส่งออกของไทยในปี 44 จะติดลบร้อยละ 10 ซึ่งสูงกว่าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินไว้ เนื่องจากเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและ สรอ. เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถพึ่งการส่งออกได้ในเวลานี้ แต่คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2 เท่ากับที่ สศช. คาดไว้ (กรุงเทพธุรกิจ 22)
ข่าวต่างประเทศ
1. สรอ. ขาดดุลการค้าลดลงในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 21 มิ.ย. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 44 สรอ. ขาดดุลการค้าจำนวน 32.2 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 2.7 หรือ 900 ล. ดอลลาร์ จากตัวเลขหลังปรับฤดูกาล ที่ขาดดุลจำนวน 33.1 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน มี.ค. 44 การขาดดุลที่ลดลงเล็กน้อยในเดือนดังกล่าว เป็นผลจากการส่งออกลดลงต่ำสุดในรอบเกือบ1 ปี และการนำเข้าก็ลดลงด้วย เนื่องจากเศรษฐกิจ สรอ. และเศรษฐกิจในต่างประเทศชะลอตัว โดยการส่งออกในเดือน เม.ย. 44 มีจำนวน 86.9 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลง 1.8 พัน ล. ดอลลาร์ จากจำนวน 87.99 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน มี.ค. 44 และลดลงต่ำสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 43 ที่มีจำนวน 86.8 พัน ล. ดอลลาร์ ขณะเดียวกัน การนำเข้าในเดือน เม.ย. 44 ลดลงอยู่ที่จำนวน 119.1 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 2.2 จากจำนวน 121.79 ในเดือน มี.ค. 44 และในวันเดียวกัน ก. พาณิชย์ เปิดเผยด้วยว่า การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของ สรอ. ในไตรมาสแรกปี 44 ลดลงเหลือจำนวน 109.6 พัน ล. ดอลลาร์ จากตัวเลขที่ปรับแล้วจำนวน 116.3 พัน ล. ดอลลาร์ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 ...(รอยเตอร์ 21)
2. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 21 มิ.ย. 44 Freddie Mac เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 มิ.ย. 44 ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอัตราคงที่ระยะ 30 ปี ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.11 จากร้อยละ 7.14 และดอกเบี้ยเงินกู้ฯ 15 ปี ลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ6.65 จากร้อยละ 6.70 ในสัปดาห์ก่อน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ทั้ง 2 ประเภทมีอัตราต่ำสุดนับแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 พ.ค. 44 ขณะเดียวกัน ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับได้ระยะ 1 ปี ก็ลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 5.74 จากร้อยละ 5.82 ในสัปดาห์ก่อน รองหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ Freddie Mac (Frank Nothaft) กล่าวว่า การที่ดอกเบี้ยเงินกู้ฯยังคงมีอัตราต่ำอย่างต่อเนื่อง กำลังส่งผลให้แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยแจ่มใสในเดือนต่อไป (รอยเตอร์21)
3. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 มิ.ย. 44 มีจำนวนลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานวอชิงตันเมื่อ 21 มิ.ย.44 ก.แรงงาน สรอ.เปิดเผยว่าตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ.มีจำนวน 400,000 คน ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 มิ.ย.44 ลดลง 34,000 คน จากตัวเลขที่ปรับแล้วจำนวน 434,000 คน เมื่อสัปดาห์ก่อน อย่างไรก็ตาม ก.แรงงานไม่ได้เปิดเผยถึงสาเหตุที่ทำให้ตัวเลขดังกล่าวลดลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า แม้ว่าตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. จะลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ยังอยู่ในระดับสูงซึ่งแสดงให้เห็นถึงการชะลอตัวของภาวะการจ้างงาน (รอยเตอร์ 21)
4. ธ. กลางยุโรปประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญในการประชุมเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 44 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 21 มิ.ย. 44 ธ. กลางยุโรปประกาศคงอัตราดอกเบี้ย Refinancing rate ไว้ที่ร้อยละ 4.5 ในการประชุมเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 44 ซึ่งเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ หลังจากที่ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 44 อย่างไรก็ตาม ธ. กลาง ยังคงเปิดโอกาสที่จะลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ เนื่องจากเงินเฟ้อในปัจจุบันนี้ของกลุ่มประเทศยูโรน่าจะมีอัตราที่สูงสุดแล้ว. (รอยเตอร์21)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 21 มิ.ย. 44 45.232 (45.222)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 21 มิ.ย. 44ซื้อ 45.0555 (45.0231) ขาย 45.3593 (45.3350)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,750 (5,750) ขาย 5,850 (5,850)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.62 (24.30)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.69 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
1. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงนโยบายการเงินของ ธปท.ในระยะ 6 เดือนหน้า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวชี้แจงในการประชุมคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงินร่วม 2 สภา ถึงเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงระยะ 6 เดือนต่อไปว่า จะเน้นให้ความสำคัญใน 3 ด้าน ได้แก่ นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน นโยบายอัตราดอกเบี้ย และการดูแลเสถียรภาพทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ โดยนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ธปท.จะดูแลความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ โดยใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแต่ยังคงมีการจัดการอยู่บ้างในส่วนของการเคลื่อนไหวของค่าเงินในระหว่างวัน สำหรับนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ย ภายหลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืน พธบ.(อาร์/พี) แล้ว ธปท.ยังไม่มีนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในระยะ 6 เดือนนี้ ในส่วนของการดูแลเสถียรภาพทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ซึ่งไทยมีปัญหาเงินทุนไหลออกมากกว่าเงินทุนไหลเข้า โดยในปี 44 ยังมีการชำระหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ทุนสำรองลดลง ธปท.ได้เตรียมมาตรการรองรับโดยจะขอเปิดวงเงินกู้ฉุกเฉินจากต่างประเทศ (เครดิตไลน์ ในลักษณะ Swap Arrangement) ให้ได้ 1 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ภายในสิ้นปี 44 เพื่อสำรองไว้เมื่อต้องการ(มติชน, ผู้จัดการรายวัน 22)
2. ธปท.ขอความร่วมมือธนาคารรัฐในการขยายสินเชื่อ ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงแนวทางการขยายสินเชื่อของ ธพ.ว่า ธปท.จะให้ธนาคารรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ ธ.กรุงไทย ธ.ไทยธนาคาร ธ.ศรีนคร และ ธ.นครหลวงไทย เป็นเครื่องมือในการขยายสินเชื่อ โดยได้ขอความร่วมมือให้ธนาคารรัฐปล่อยสินเชื่อแก่ลูกค้ารายเล็ก ซึ่งคาดว่าจะเริ่มปล่อยสินเชื่อได้ในเดือน ก.ค.44 ภายหลัง ธ.ศรีนครและ ธ.นครหลวงไทยโอนหนี้ด้อยคุณภาพไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย(บสท.)แล้ว ทั้งนี้ หากธนาคารรัฐปล่อยสินเชื่อได้ จะเป็นการกระตุ้นให้ ธพ.เอกชนปล่อยสินเชื่อมากขึ้น.(มติชน 22)
3. ธปท. หารือร่วมกับสมาคมธนาคารเพื่อทบทวนแบบรายงาน ธต. 40 ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จะหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทยและสมาคมธนาคารต่างประเทศเพื่อทบทวนแบบรายงานการทำธุรกรรมในบัญชีเงินบาทผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ (นอนเรสซิเด็นท์) หรือแบบรายงาน ธต. 40 เนื่องจากเห็นว่าการโอนเงินตราต่างประเทศร้อยละ 80 เป็นการโอนระหว่างบัญชีดังกล่าว และมียอดการโอนสูงถึงวันละ 1 แสน ล.บาท ประกอบกับในปัจจุบันไม่ได้กำหนดให้กรอกข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการโอนเงินในแบบดังกล่าว ทำให้ผู้โอนมีความคล่องตัวในการแลกเปลี่ยนเงินสูง ซึ่งเป็นช่องทางที่ทำให้เงินไหลเข้าออกง่ายทางหนึ่ง (บ้านเมือง, โลกวันนี้ 22)
4. ทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจมหภาคของ นรม. ประเมินว่าการส่งออกไทยจะติดลบร้อยละ 10 ในปี 44 แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจมหภาคของ นรม. ประเมินว่า ภาวะการส่งออกของไทยในปี 44 จะติดลบร้อยละ 10 ซึ่งสูงกว่าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินไว้ เนื่องจากเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและ สรอ. เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถพึ่งการส่งออกได้ในเวลานี้ แต่คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2 เท่ากับที่ สศช. คาดไว้ (กรุงเทพธุรกิจ 22)
ข่าวต่างประเทศ
1. สรอ. ขาดดุลการค้าลดลงในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 21 มิ.ย. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 44 สรอ. ขาดดุลการค้าจำนวน 32.2 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 2.7 หรือ 900 ล. ดอลลาร์ จากตัวเลขหลังปรับฤดูกาล ที่ขาดดุลจำนวน 33.1 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน มี.ค. 44 การขาดดุลที่ลดลงเล็กน้อยในเดือนดังกล่าว เป็นผลจากการส่งออกลดลงต่ำสุดในรอบเกือบ1 ปี และการนำเข้าก็ลดลงด้วย เนื่องจากเศรษฐกิจ สรอ. และเศรษฐกิจในต่างประเทศชะลอตัว โดยการส่งออกในเดือน เม.ย. 44 มีจำนวน 86.9 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลง 1.8 พัน ล. ดอลลาร์ จากจำนวน 87.99 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน มี.ค. 44 และลดลงต่ำสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 43 ที่มีจำนวน 86.8 พัน ล. ดอลลาร์ ขณะเดียวกัน การนำเข้าในเดือน เม.ย. 44 ลดลงอยู่ที่จำนวน 119.1 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 2.2 จากจำนวน 121.79 ในเดือน มี.ค. 44 และในวันเดียวกัน ก. พาณิชย์ เปิดเผยด้วยว่า การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของ สรอ. ในไตรมาสแรกปี 44 ลดลงเหลือจำนวน 109.6 พัน ล. ดอลลาร์ จากตัวเลขที่ปรับแล้วจำนวน 116.3 พัน ล. ดอลลาร์ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 ...(รอยเตอร์ 21)
2. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 21 มิ.ย. 44 Freddie Mac เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 มิ.ย. 44 ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอัตราคงที่ระยะ 30 ปี ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.11 จากร้อยละ 7.14 และดอกเบี้ยเงินกู้ฯ 15 ปี ลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ6.65 จากร้อยละ 6.70 ในสัปดาห์ก่อน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ทั้ง 2 ประเภทมีอัตราต่ำสุดนับแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 พ.ค. 44 ขณะเดียวกัน ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับได้ระยะ 1 ปี ก็ลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 5.74 จากร้อยละ 5.82 ในสัปดาห์ก่อน รองหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ Freddie Mac (Frank Nothaft) กล่าวว่า การที่ดอกเบี้ยเงินกู้ฯยังคงมีอัตราต่ำอย่างต่อเนื่อง กำลังส่งผลให้แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยแจ่มใสในเดือนต่อไป (รอยเตอร์21)
3. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 มิ.ย. 44 มีจำนวนลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานวอชิงตันเมื่อ 21 มิ.ย.44 ก.แรงงาน สรอ.เปิดเผยว่าตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ.มีจำนวน 400,000 คน ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 มิ.ย.44 ลดลง 34,000 คน จากตัวเลขที่ปรับแล้วจำนวน 434,000 คน เมื่อสัปดาห์ก่อน อย่างไรก็ตาม ก.แรงงานไม่ได้เปิดเผยถึงสาเหตุที่ทำให้ตัวเลขดังกล่าวลดลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า แม้ว่าตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. จะลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ยังอยู่ในระดับสูงซึ่งแสดงให้เห็นถึงการชะลอตัวของภาวะการจ้างงาน (รอยเตอร์ 21)
4. ธ. กลางยุโรปประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญในการประชุมเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 44 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 21 มิ.ย. 44 ธ. กลางยุโรปประกาศคงอัตราดอกเบี้ย Refinancing rate ไว้ที่ร้อยละ 4.5 ในการประชุมเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 44 ซึ่งเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ หลังจากที่ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 44 อย่างไรก็ตาม ธ. กลาง ยังคงเปิดโอกาสที่จะลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ เนื่องจากเงินเฟ้อในปัจจุบันนี้ของกลุ่มประเทศยูโรน่าจะมีอัตราที่สูงสุดแล้ว. (รอยเตอร์21)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 21 มิ.ย. 44 45.232 (45.222)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 21 มิ.ย. 44ซื้อ 45.0555 (45.0231) ขาย 45.3593 (45.3350)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,750 (5,750) ขาย 5,850 (5,850)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.62 (24.30)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.69 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-