เศรษฐกิจของภาคใต้ในไตรมาสแรกของปี 2544 ขยายตัวในอัตราชะลอตัว ภาคการเกษตรซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญยังคงขยายตัว โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ คือ ยางพารา ปาล์ม น้ำมัน กาแฟ และกุ้งกุลาดำล้วนเพิ่มขึ้น มีเพียงผลผลิตสัตว์น้ำที่ลดลง ส่วนนอกภาคเกษตรขยายตัวทุกภาคเศรษฐกิจเช่นกัน ทั้งภาคเหมืองแร่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการก่อสร้าง ภาคการค้า ภาคการคลัง และภาค การท่องเที่ยว ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.1 จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเป็นหลัก
ภาคเกษตร
สาขาพืชผล
ยางพารา ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีสวนยางที่เปิดกรีดใหม่เพิ่มขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ส่วนทางด้านราคาเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.7 โดยยางแผ่นดิบชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.98 บาท ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเนื่องจากรัฐบาลขยายโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราตามโครงการ แทรกแซงตลาดออกไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2544 สำหรับการส่งออกยางผ่านทางด่านศุลกากรของภาคใต้ ในไตรมาสนี้ มีจำนวน 500,934.0 เมตริกตัน มูลค่า 11,132.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.7 และ 3.0 ตามลำดับ
ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นจากปีก่อนค่อนข้างมาก เนื่องจากสภาพอากาศ เอื้ออำนวย ประกอบกับในปีที่ผ่านมาผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ส่วนทางด้านราคาเฉลี่ยเพียงกิโลกรัมละ 1.15 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 38.2 เนื่องจากได้มีการอนุมัติให้มีการนำเข้าถั่วเหลืองได้โดยเสรี ประกอบกับผู้ผลิตปาล์มน้ำมันรายใหญ่ คือ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ต่างผลักดันผลผลิตปาล์มน้ำมันออก นอกประเทศ และสต็อกน้ำมันปาล์มในประเทศที่ยังคงเหลืออยู่จำนวนมาก
ข้าว ผลผลิตข้าวของภาคใต้ฤดูกาลผลผลิตปี 2543/2544 มีจำนวน 946,555 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.6 ส่วนทางด้านราคาเฉลี่ยเมตริกตันละ 3,781.42 บาท
กาแฟ ผลผลิตกาแฟของภาคใต้ฤดูกาลผลิตปี 2543/2544 มีจำนวน 85,097 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากฤดูกาลผลิตปีก่อนร้อยละ 6.0 สำหรับราคาซื้อขายในไตรมาสแรกปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.20 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.7 สำหรับการแทรกแซงการรับซื้อกาแฟจากเกษตรกรขององค์การคลังสินค้า ในราคากิโลกรัมละ 32.00 บาท จนถึงสิ้นเดือนนี้มีจำนวน 50,815.8 เมตริกตัน
สาขาประมง
ประมงทะเล ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้มีจำนวนลดลงจากปีก่อน เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันและการเข้มงวดของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือของทางการในช่วงไตรมาสแรกมีจำนวน 117,024.5 เมตริกตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 ส่วนทางด้านราคาส่วนใหญ่ลดลง
เนื่องจากความต้องการของต่างประเทศลดลง สำหรับการส่งออกสัตว์น้ำผ่านด่านศุลกากรของภาคใต้ในไตรมาสแรกมีจำนวน 61,532.5 เมตริกตัน มูลค่า 4,806.4 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 และ13.4 ตามลำดับ
ภาคเหมืองแร่
การผลิตแร่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ผลผลิตแร่ดีบุกที่ผลผลิตได้ในช่วงไตรมาสแรกมีจำนวน 627.6 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.6 ขณะเดียวกันผลผลิตแร่ยิปซัมมีจำนวน 1,040,964.0 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.9 สำหรับราคารับซื้อแร่ดีบุกในช่วงเวลาเดียวกัน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.97 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9
สำหรับการส่งออกโลหะดีบุกในไตรมาสแรกปีนี้มีจำนวน 3,652.2 เมตริกตัน มูลค่า 801.0 ล้านบาทลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.0 และ 8.5 ตามลำดับ
สำหรับการส่งออกแร่อื่น ๆ ผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวน 1,278,783.4 เมตริกตัน มูลค่า 624.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.2 และ 15.4 ตามลำดับ
ภาคอุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อส่งออก ในไตรมาสแรกของปีนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง น้ำมันปาล์ม และไม้ยางพาราแปรรูปล้วนเพิ่มขึ้น มีเพียงผลผลิตยางแท่งและถุงมือยางที่ผลผลิตลดลง
ยางแท่ง ผลผลิตมีจำนวน 190,782.2 เมตริกตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 สำหรับการส่งออกยางแท่งผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวน 193,935.3 เมตริกตัน มูลค่า 4,997.3 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 6.5 และ 3.6 ตามลำดับ
ถุงมือยาง ภาวะการผลิตชะลอตัวลง การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวน 8,980.4 เมตริกตัน มูลค่า 982.4 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 14.6 และ 15.1 ตามลำดับ
น้ำมันปาล์ม ผลผลิตน้ำมันปาล์มเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากที่ค่อนข้างผันผวนในช่วง 2 — 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ในไตรมาสแรกปีนี้ผลผลิตน้ำมันปาล์มที่ผลผลิตได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15 ประกอบกับมีการอนุญาตให้นำเข้าถั่วเหลืองอย่างเสรี ส่งผลให้ราคาน้ำปาล์มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสแรกปีนี้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.20 บาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.2
ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ ภาวะการผลิตเริ่มดีขึ้น เนื่องจากผู้นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มมั่นใจว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาคงจะชะลอตัวลงอย่างช้า ทำให้มีการนำเข้ามากขึ้น หลังจากที่ได้ชะลอการนำเข้าไประยะหนึ่งในช่วงต้นปี การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวน 75,955.0 เมตริกตัน มูลค่า 750.5 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ขณะที่มูลค่าลดลงร้อยละ 9.5
อาหารทะเลกระป๋อง ภาวะการผลิตขยายตัว เนื่องจากการระบาดของโรควัวบ้าและโรคปากและเท้าเปื่อย ทำให้ผู้บริโภคเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ และหันมาบริโภคอาหารทะเลกระป๋องทดแทน การส่งออกอาหารทะเลกระป๋องผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในไตรมาสนี้มีจำนวน 30,081.9 เมตริกตัน มูลค่า 2,512 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และ 24.5
ภาคการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวยังคงขยายตัว นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้มีจำนวน 540,719 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0 นักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นเป็นนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก และเอเชียตะวันออกที่เดินทางเข้ามาเที่ยวที่จังหวัดภูเก็ตเป็นสำคัญ ขณะที่นักท่องเที่ยวมาเลเซียและสิงคโปร์ ที่เดินทางเข้ามาเที่ยวบริเวณภาคใต้ตอนล่างลดลง
ภาคการค้า
ภาวะการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตามภาคการผลผลิตที่ดีขึ้น แต่เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ลดลง และยังมีผลกระทบจากน้ำท่วมในช่วงปลายปี การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในไตรมาสแรกปีนี้มีจำนวน 1,084.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0 ส่วนยอดการจดทะเบียนรถใหม่ในช่วง ไตรมาสแรก การจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มีจำนวน 37,240 คัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 2,673 คัน เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 และ 26.4 ตามลำดับ ขณะที่รถบรรทุกส่วนบุคคลมีจำนวน 4,697 คัน ลดลงร้อยละ 9.0
การส่งออก สินค้าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในไตรมาสแรกมีมูลค่า 36,854.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา แร่ยิปซัม อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง และน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนสินค้าที่มูลค่าการส่งออกลดลงได้แก่ แร่ดีบุก ก๊าช ธรรมชาติ ถุงมือยาง และไม้ยางพาราแปรรูป
การนำเข้า สินค้านำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในไตรมาสนี้มีมูลค่า 12,423.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.4 เนื่องจากการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ โดยมีมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 3,678.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว ส่วนการนำเข้าสัตว์น้ำ เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารทะเลกระป๋องมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2
ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.1 ทั้งนี้ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ขณะที่ดัชนีราคาหมวดมิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ดัชนีราคาหมวด มิใช่อาหารและเครื่องดื่มที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 6.4 เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
การลงทุน
การส่งเสริมการลงทุน มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจำนวนเพียง 11 โครงการ เงินลงทุน 581.9 ล้านบาท ว่าจ้างแรงงาน 1,253 คน เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 42.1, 69.2 และ 75.4 ตามลำดับ โครงการลงทุนส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา และแปรรูปไม้ยางพารา ทั้งนี้พื้นที่ที่มีการลงทุนมากที่สุดได้แก่ จังหวัดสงขลา รองลงมา ได้แก่ จังหวัดชุมพร โดยร้อยละ 72.7 เป็นการ ลงทุนของคนไทย ขณะที่ในไตรมาสเดียวกันปีก่อนมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 52.6
การจดทะเบียนธุรกิจ ในไตรมาสแรกของปีนี้ มีการจดทะเบียนธุรกิจจำนวนทั้งสิ้น 696 ราย เงินลงทุน 1,347.9 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.6 และ 23.0 ตามลำดับ ธุรกิจที่มีการ ลงทุนมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในขณะเดียวกันมีธุรกิจที่จดทะเบียน เลิกกิจการเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.0
การก่อสร้าง ในไตรมาสแรกปีนี้มีพื้นที่ก่อสร้างได้รับอนุญาตในเขตเทศบาล จำนวน 238,350 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.5 เนื่องจากมีพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว
การคลัง
งบประมาณ การเบิกจ่ายงบประมาณมีจำนวน 20,048.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 2.8
ภาษี จัดเก็บได้ลดลง โดยจัดเก็บภาษีได้ 3,032.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.6 ทั้งนี้ภาษีสรรพากรจัดเก็บได้ 2,555.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.5 เนื่องจากจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารลดลงเป็นสำคัญ และภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 213.6 ล้านบาท ลดลงร้อละ 32.4 ขณะที่ภาษีศุลกากรจัดเก็บได้ 263.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5
ภาคการเงิน
การรับ — จ่ายเงินสดของธนาคารพาณิชย์ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ และที่ ผู้แทนฯ มีจำนวนรวม 83,670.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 เป็นเงินสดจ่ายจำนวน 41,752.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 และเป็นเงินสดรับจำนวน 41,917.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.8 เนื่องจากในช่วงต้นปีก่อนมีเงินสดรับเข้ามามากกว่าปกติจากการนำไปเพื่อสำรองไว้แก้ปัญหาหากเกิดปัญหา Y2k
การโอนเงิน ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ กับสำนักงานใหญ่ มีจำนวนรวม 39,587.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 39.8 เป็นเงินโอนออกจำนวน 21,187.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 และเป็นเงินโอนเข้าจำนวน 18,400.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.8
การใช้เช็ค ปริมาณและมูลค่าการใช้เช็คในไตรมาสแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย คือมีจำนวน 1,199,624 ฉบับ มูลค่า 100,946.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 และ 1.2 ตามลำดับ ขณะที่สัดส่วนเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ามีสัดส่วนเท่าเดิม คือ ร้อยละ 1.2
ธนาคารพาณิชย์ ยอดเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์มีจำนวน 254,263.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างมีจำนวน 167,407.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.1
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สาขาหาดใหญ่ อนุมัติสินเชื่อเพื่อการส่งออกจำนวน 2,831.2 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 59.6 เนื่องจากสาขาธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องสูง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสาขาธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับต่ำ ทำให้สาขาธนาคารพาณิชย์มาใช้เงินกู้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยน้อยลง
ธนาคารออมสิน ณ สิ้นเดือนมีนาคม มีเงินฝากคงค้างจำนวนทั้งสิ้น 31,838.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.4
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อนุมัติสินเชื่อจำนวน 4,698.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.1
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การอนุมัติสินเชื่อในภาคใต้มีจำนวน 65 ราย วงเงินอนุมัติ 776.6 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.8 และ 18.5 ตามลำดับ
แนวโน้มในไตรมาส 2 ของปี 2544
ในไตรมาส 2 ของปี 2544 เศรษฐกิจของภาคใต้มีแนวโน้มทรงตัว แม้ว่าการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นประเทศนำเข้าที่สำคัญชะลอตัวลง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อการผลิตในสาขา การประมง และการขนส่ง และราคาปาล์ม น้ำมัน กุ้งกุลาดำจะลดลงก็ตาม แต่เนื่องจากพืชผลการเกษตรให้ผลผลิตดี ทางด้านการท่องเที่ยวยังคงขยายตัว นโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะช่วยกระตุ้นการค้าและการลงทุน ทำให้เศรษฐกิจของภาคใต้อยู่ในภาวะทรงตัว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ภาคเกษตร
สาขาพืชผล
ยางพารา ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีสวนยางที่เปิดกรีดใหม่เพิ่มขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ส่วนทางด้านราคาเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.7 โดยยางแผ่นดิบชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.98 บาท ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเนื่องจากรัฐบาลขยายโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราตามโครงการ แทรกแซงตลาดออกไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2544 สำหรับการส่งออกยางผ่านทางด่านศุลกากรของภาคใต้ ในไตรมาสนี้ มีจำนวน 500,934.0 เมตริกตัน มูลค่า 11,132.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.7 และ 3.0 ตามลำดับ
ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นจากปีก่อนค่อนข้างมาก เนื่องจากสภาพอากาศ เอื้ออำนวย ประกอบกับในปีที่ผ่านมาผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ส่วนทางด้านราคาเฉลี่ยเพียงกิโลกรัมละ 1.15 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 38.2 เนื่องจากได้มีการอนุมัติให้มีการนำเข้าถั่วเหลืองได้โดยเสรี ประกอบกับผู้ผลิตปาล์มน้ำมันรายใหญ่ คือ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ต่างผลักดันผลผลิตปาล์มน้ำมันออก นอกประเทศ และสต็อกน้ำมันปาล์มในประเทศที่ยังคงเหลืออยู่จำนวนมาก
ข้าว ผลผลิตข้าวของภาคใต้ฤดูกาลผลผลิตปี 2543/2544 มีจำนวน 946,555 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.6 ส่วนทางด้านราคาเฉลี่ยเมตริกตันละ 3,781.42 บาท
กาแฟ ผลผลิตกาแฟของภาคใต้ฤดูกาลผลิตปี 2543/2544 มีจำนวน 85,097 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากฤดูกาลผลิตปีก่อนร้อยละ 6.0 สำหรับราคาซื้อขายในไตรมาสแรกปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.20 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.7 สำหรับการแทรกแซงการรับซื้อกาแฟจากเกษตรกรขององค์การคลังสินค้า ในราคากิโลกรัมละ 32.00 บาท จนถึงสิ้นเดือนนี้มีจำนวน 50,815.8 เมตริกตัน
สาขาประมง
ประมงทะเล ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้มีจำนวนลดลงจากปีก่อน เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันและการเข้มงวดของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือของทางการในช่วงไตรมาสแรกมีจำนวน 117,024.5 เมตริกตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 ส่วนทางด้านราคาส่วนใหญ่ลดลง
เนื่องจากความต้องการของต่างประเทศลดลง สำหรับการส่งออกสัตว์น้ำผ่านด่านศุลกากรของภาคใต้ในไตรมาสแรกมีจำนวน 61,532.5 เมตริกตัน มูลค่า 4,806.4 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 และ13.4 ตามลำดับ
ภาคเหมืองแร่
การผลิตแร่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ผลผลิตแร่ดีบุกที่ผลผลิตได้ในช่วงไตรมาสแรกมีจำนวน 627.6 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.6 ขณะเดียวกันผลผลิตแร่ยิปซัมมีจำนวน 1,040,964.0 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.9 สำหรับราคารับซื้อแร่ดีบุกในช่วงเวลาเดียวกัน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.97 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9
สำหรับการส่งออกโลหะดีบุกในไตรมาสแรกปีนี้มีจำนวน 3,652.2 เมตริกตัน มูลค่า 801.0 ล้านบาทลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.0 และ 8.5 ตามลำดับ
สำหรับการส่งออกแร่อื่น ๆ ผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวน 1,278,783.4 เมตริกตัน มูลค่า 624.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.2 และ 15.4 ตามลำดับ
ภาคอุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อส่งออก ในไตรมาสแรกของปีนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง น้ำมันปาล์ม และไม้ยางพาราแปรรูปล้วนเพิ่มขึ้น มีเพียงผลผลิตยางแท่งและถุงมือยางที่ผลผลิตลดลง
ยางแท่ง ผลผลิตมีจำนวน 190,782.2 เมตริกตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 สำหรับการส่งออกยางแท่งผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวน 193,935.3 เมตริกตัน มูลค่า 4,997.3 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 6.5 และ 3.6 ตามลำดับ
ถุงมือยาง ภาวะการผลิตชะลอตัวลง การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวน 8,980.4 เมตริกตัน มูลค่า 982.4 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 14.6 และ 15.1 ตามลำดับ
น้ำมันปาล์ม ผลผลิตน้ำมันปาล์มเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากที่ค่อนข้างผันผวนในช่วง 2 — 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ในไตรมาสแรกปีนี้ผลผลิตน้ำมันปาล์มที่ผลผลิตได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15 ประกอบกับมีการอนุญาตให้นำเข้าถั่วเหลืองอย่างเสรี ส่งผลให้ราคาน้ำปาล์มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสแรกปีนี้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.20 บาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.2
ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ ภาวะการผลิตเริ่มดีขึ้น เนื่องจากผู้นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มมั่นใจว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาคงจะชะลอตัวลงอย่างช้า ทำให้มีการนำเข้ามากขึ้น หลังจากที่ได้ชะลอการนำเข้าไประยะหนึ่งในช่วงต้นปี การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวน 75,955.0 เมตริกตัน มูลค่า 750.5 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ขณะที่มูลค่าลดลงร้อยละ 9.5
อาหารทะเลกระป๋อง ภาวะการผลิตขยายตัว เนื่องจากการระบาดของโรควัวบ้าและโรคปากและเท้าเปื่อย ทำให้ผู้บริโภคเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ และหันมาบริโภคอาหารทะเลกระป๋องทดแทน การส่งออกอาหารทะเลกระป๋องผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในไตรมาสนี้มีจำนวน 30,081.9 เมตริกตัน มูลค่า 2,512 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และ 24.5
ภาคการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวยังคงขยายตัว นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้มีจำนวน 540,719 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0 นักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นเป็นนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก และเอเชียตะวันออกที่เดินทางเข้ามาเที่ยวที่จังหวัดภูเก็ตเป็นสำคัญ ขณะที่นักท่องเที่ยวมาเลเซียและสิงคโปร์ ที่เดินทางเข้ามาเที่ยวบริเวณภาคใต้ตอนล่างลดลง
ภาคการค้า
ภาวะการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตามภาคการผลผลิตที่ดีขึ้น แต่เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ลดลง และยังมีผลกระทบจากน้ำท่วมในช่วงปลายปี การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในไตรมาสแรกปีนี้มีจำนวน 1,084.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0 ส่วนยอดการจดทะเบียนรถใหม่ในช่วง ไตรมาสแรก การจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มีจำนวน 37,240 คัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 2,673 คัน เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 และ 26.4 ตามลำดับ ขณะที่รถบรรทุกส่วนบุคคลมีจำนวน 4,697 คัน ลดลงร้อยละ 9.0
การส่งออก สินค้าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในไตรมาสแรกมีมูลค่า 36,854.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา แร่ยิปซัม อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง และน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนสินค้าที่มูลค่าการส่งออกลดลงได้แก่ แร่ดีบุก ก๊าช ธรรมชาติ ถุงมือยาง และไม้ยางพาราแปรรูป
การนำเข้า สินค้านำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในไตรมาสนี้มีมูลค่า 12,423.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.4 เนื่องจากการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ โดยมีมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 3,678.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว ส่วนการนำเข้าสัตว์น้ำ เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารทะเลกระป๋องมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2
ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.1 ทั้งนี้ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ขณะที่ดัชนีราคาหมวดมิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ดัชนีราคาหมวด มิใช่อาหารและเครื่องดื่มที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 6.4 เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
การลงทุน
การส่งเสริมการลงทุน มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจำนวนเพียง 11 โครงการ เงินลงทุน 581.9 ล้านบาท ว่าจ้างแรงงาน 1,253 คน เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 42.1, 69.2 และ 75.4 ตามลำดับ โครงการลงทุนส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา และแปรรูปไม้ยางพารา ทั้งนี้พื้นที่ที่มีการลงทุนมากที่สุดได้แก่ จังหวัดสงขลา รองลงมา ได้แก่ จังหวัดชุมพร โดยร้อยละ 72.7 เป็นการ ลงทุนของคนไทย ขณะที่ในไตรมาสเดียวกันปีก่อนมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 52.6
การจดทะเบียนธุรกิจ ในไตรมาสแรกของปีนี้ มีการจดทะเบียนธุรกิจจำนวนทั้งสิ้น 696 ราย เงินลงทุน 1,347.9 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.6 และ 23.0 ตามลำดับ ธุรกิจที่มีการ ลงทุนมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในขณะเดียวกันมีธุรกิจที่จดทะเบียน เลิกกิจการเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.0
การก่อสร้าง ในไตรมาสแรกปีนี้มีพื้นที่ก่อสร้างได้รับอนุญาตในเขตเทศบาล จำนวน 238,350 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.5 เนื่องจากมีพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว
การคลัง
งบประมาณ การเบิกจ่ายงบประมาณมีจำนวน 20,048.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 2.8
ภาษี จัดเก็บได้ลดลง โดยจัดเก็บภาษีได้ 3,032.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.6 ทั้งนี้ภาษีสรรพากรจัดเก็บได้ 2,555.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.5 เนื่องจากจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารลดลงเป็นสำคัญ และภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 213.6 ล้านบาท ลดลงร้อละ 32.4 ขณะที่ภาษีศุลกากรจัดเก็บได้ 263.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5
ภาคการเงิน
การรับ — จ่ายเงินสดของธนาคารพาณิชย์ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ และที่ ผู้แทนฯ มีจำนวนรวม 83,670.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 เป็นเงินสดจ่ายจำนวน 41,752.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 และเป็นเงินสดรับจำนวน 41,917.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.8 เนื่องจากในช่วงต้นปีก่อนมีเงินสดรับเข้ามามากกว่าปกติจากการนำไปเพื่อสำรองไว้แก้ปัญหาหากเกิดปัญหา Y2k
การโอนเงิน ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ กับสำนักงานใหญ่ มีจำนวนรวม 39,587.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 39.8 เป็นเงินโอนออกจำนวน 21,187.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 และเป็นเงินโอนเข้าจำนวน 18,400.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.8
การใช้เช็ค ปริมาณและมูลค่าการใช้เช็คในไตรมาสแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย คือมีจำนวน 1,199,624 ฉบับ มูลค่า 100,946.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 และ 1.2 ตามลำดับ ขณะที่สัดส่วนเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ามีสัดส่วนเท่าเดิม คือ ร้อยละ 1.2
ธนาคารพาณิชย์ ยอดเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์มีจำนวน 254,263.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างมีจำนวน 167,407.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.1
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สาขาหาดใหญ่ อนุมัติสินเชื่อเพื่อการส่งออกจำนวน 2,831.2 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 59.6 เนื่องจากสาขาธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องสูง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสาขาธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับต่ำ ทำให้สาขาธนาคารพาณิชย์มาใช้เงินกู้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยน้อยลง
ธนาคารออมสิน ณ สิ้นเดือนมีนาคม มีเงินฝากคงค้างจำนวนทั้งสิ้น 31,838.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.4
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อนุมัติสินเชื่อจำนวน 4,698.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.1
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การอนุมัติสินเชื่อในภาคใต้มีจำนวน 65 ราย วงเงินอนุมัติ 776.6 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.8 และ 18.5 ตามลำดับ
แนวโน้มในไตรมาส 2 ของปี 2544
ในไตรมาส 2 ของปี 2544 เศรษฐกิจของภาคใต้มีแนวโน้มทรงตัว แม้ว่าการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นประเทศนำเข้าที่สำคัญชะลอตัวลง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อการผลิตในสาขา การประมง และการขนส่ง และราคาปาล์ม น้ำมัน กุ้งกุลาดำจะลดลงก็ตาม แต่เนื่องจากพืชผลการเกษตรให้ผลผลิตดี ทางด้านการท่องเที่ยวยังคงขยายตัว นโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะช่วยกระตุ้นการค้าและการลงทุน ทำให้เศรษฐกิจของภาคใต้อยู่ในภาวะทรงตัว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-