คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ รับทราบรายงานยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยสินค้าเกษตรหลัก 12 ชนิด ประกอบด้วย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อย กาแฟ ปาล์มน้ำมัน ลำไย สับปะรด ทุเรียน กล้วยไม้ และกุ้งกุลาดำ ซึ่งได้มอบหมายให้คณะกรรมการหรือองค์กรที่ดูแลสินค้าเกษตรแต่ละชนิด รับไปพิจารณาในรายละเอียด แล้วรายงานผลให้คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจทราบ
นอกจากนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบแนวทางยุทธศาสตร์ที่จะดำเนินการต่อไปดังนี้
1) เห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาปี 2543 ที่คณะกรรมการต่าง ๆ ได้อนุมัติเป็นยุทธศาสตร์ในการแก้ไขและสำหรับสินค้าเกษตรใดที่ยังไม่อนุมัติให้ดำเนินการขอให้วางมาตรการป้องกันแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาเร่งดำเนินการให้รัดกุมและเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรต่อไปดังนี้
มาตรการระยะสั้น เนื่องจากขณะนี้ผลผลิตกำลังจะออกสู่ตลาด ดังนั้นจำเป็นต้องใช้มาตรการแก้ไขปัญหาดังต่อไปนี้ คือ
(1) ให้คณะกรรมการดูแลสินค้าที่มีอยู่ กำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อป้องกันราคาสินค้าตกต่ำ ซึ่งขณะนี้ได้มีคณะกรรมการบางคณะฯ ได้จัดทำมาตารการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพด ถั่วเหลือง สับปะรด ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ดังนั้น ในสินค้าที่ยังไม่ได้จัดเตรียมนโยบายจำเป็นต้องรีบดำเนินการโดยด่วน
(2) ใช้มาตรการยกระดับราคาสินค้า โดยการแทรกแซงราคา การปกป้องผู้ผลิต และการควบคุมปริมาณการผลิตต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้จะต้องแก้ไขจุดบกพร่องในการดำเนินงาน
2) เห็นชอบยุทธศาสตร์ที่จะดำเนินการเพื่อวางระบบแก้ไขปัญหาของชาติให้ยั่งยืนต่อไป ดังนี้
มาตรการระยะยาว จากปัญหาในสินค้าทั้ง 3 กลุ่ม คือสินค้าผลิตเพื่อส่งออก สินค้าผลิตเพื่อใช้ในประเทศ และสินค้าที่ผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ จะเห็นได้ว่าการดำเนินของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตสินค้า รวมทั้งมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ในการเข้าแทรกแซงตลาด เพื่อยกระดับราคาสินค้าที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่เป็นการเพียงพอที่จะป้องกันความเดือดร้อนของเกษตรกรจากปัญหาสินค้าเกษตรมีราคาตกต่ำได้ หากจะลดปัญหาในเรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำในระยะยาวให้ได้ผล รัฐบาลจำเป็นต้องให้การสนับสนุนให้มีการดำเนินงานในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ
(1) มาตรการด้านการผลิต
- ให้มีการกำหนดเขตการผลิตที่เหมาะสม
- ช่วยลดความเสี่ยงให้แก่เกษตรกรในด้านการผลิต โดยการจัดแหล่งน้ำและการ ประกันภัยพืชผล
- เร่งรัดจัดหาพันธุ์ดี
(2) มาตรการหลังการเก็บเกี่ยว
- สนับสนุนการใช้เครื่องจักรกลในการเก็บเกี่ยว ลานตาก และเครื่องอบลด ความชื้น
- จัดทำมาตรฐานสินค้าและส่งเสริมให้เกษตรกรจัดเกรดสินค้า
- สนับสนุนให้มีการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
(3) มาตรการทางด้านการตลาด
- ส่งเสริมและขยายตลาดทั้งภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะ ตลาดซื้อขายล่วงหน้า
- สร้างมูลภัณฑ์กันชนในแหล่งผลิตสินค้าที่เป็นฤดูกาล
- พัฒนาเรื่องการบรรจุภัณฑ์และการขนส่งในลักษณะ One Stop Service
ที่มา : ข่าวทำเนียบรัฐบาล ( 14 ธันวาคม 2542)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 23/15 ธันวาคม 2542--
นอกจากนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบแนวทางยุทธศาสตร์ที่จะดำเนินการต่อไปดังนี้
1) เห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาปี 2543 ที่คณะกรรมการต่าง ๆ ได้อนุมัติเป็นยุทธศาสตร์ในการแก้ไขและสำหรับสินค้าเกษตรใดที่ยังไม่อนุมัติให้ดำเนินการขอให้วางมาตรการป้องกันแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาเร่งดำเนินการให้รัดกุมและเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรต่อไปดังนี้
มาตรการระยะสั้น เนื่องจากขณะนี้ผลผลิตกำลังจะออกสู่ตลาด ดังนั้นจำเป็นต้องใช้มาตรการแก้ไขปัญหาดังต่อไปนี้ คือ
(1) ให้คณะกรรมการดูแลสินค้าที่มีอยู่ กำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อป้องกันราคาสินค้าตกต่ำ ซึ่งขณะนี้ได้มีคณะกรรมการบางคณะฯ ได้จัดทำมาตารการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพด ถั่วเหลือง สับปะรด ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ดังนั้น ในสินค้าที่ยังไม่ได้จัดเตรียมนโยบายจำเป็นต้องรีบดำเนินการโดยด่วน
(2) ใช้มาตรการยกระดับราคาสินค้า โดยการแทรกแซงราคา การปกป้องผู้ผลิต และการควบคุมปริมาณการผลิตต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้จะต้องแก้ไขจุดบกพร่องในการดำเนินงาน
2) เห็นชอบยุทธศาสตร์ที่จะดำเนินการเพื่อวางระบบแก้ไขปัญหาของชาติให้ยั่งยืนต่อไป ดังนี้
มาตรการระยะยาว จากปัญหาในสินค้าทั้ง 3 กลุ่ม คือสินค้าผลิตเพื่อส่งออก สินค้าผลิตเพื่อใช้ในประเทศ และสินค้าที่ผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ จะเห็นได้ว่าการดำเนินของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตสินค้า รวมทั้งมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ในการเข้าแทรกแซงตลาด เพื่อยกระดับราคาสินค้าที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่เป็นการเพียงพอที่จะป้องกันความเดือดร้อนของเกษตรกรจากปัญหาสินค้าเกษตรมีราคาตกต่ำได้ หากจะลดปัญหาในเรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำในระยะยาวให้ได้ผล รัฐบาลจำเป็นต้องให้การสนับสนุนให้มีการดำเนินงานในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ
(1) มาตรการด้านการผลิต
- ให้มีการกำหนดเขตการผลิตที่เหมาะสม
- ช่วยลดความเสี่ยงให้แก่เกษตรกรในด้านการผลิต โดยการจัดแหล่งน้ำและการ ประกันภัยพืชผล
- เร่งรัดจัดหาพันธุ์ดี
(2) มาตรการหลังการเก็บเกี่ยว
- สนับสนุนการใช้เครื่องจักรกลในการเก็บเกี่ยว ลานตาก และเครื่องอบลด ความชื้น
- จัดทำมาตรฐานสินค้าและส่งเสริมให้เกษตรกรจัดเกรดสินค้า
- สนับสนุนให้มีการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
(3) มาตรการทางด้านการตลาด
- ส่งเสริมและขยายตลาดทั้งภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะ ตลาดซื้อขายล่วงหน้า
- สร้างมูลภัณฑ์กันชนในแหล่งผลิตสินค้าที่เป็นฤดูกาล
- พัฒนาเรื่องการบรรจุภัณฑ์และการขนส่งในลักษณะ One Stop Service
ที่มา : ข่าวทำเนียบรัฐบาล ( 14 ธันวาคม 2542)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 23/15 ธันวาคม 2542--