IS2/Mpg/Bop/Centfile/Onepage/1page_May01R.doc เดือนมิถุนายน 2544 ดุลการค้าเกินดุล 403 ล้านดอลลาร์สรอ. มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณลดลงร้อยละ 2.2 แต่ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากราคาสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรและประมงลดลง ปริมาณการส่งออก ที่ลดลงมีสาเหตุจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ คู่ค้าโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น และการลดลงของ อุปสงค์สินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่ามูลค่าการส่งออกคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนจากการที่อุปสงค์จากประเทศในอาเซียนและสหภาพยุโรปมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเป็นการปรับตัวชั่วคราวเพราะอุปสงค์รวมไม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออกรถยนต์ยังคงเพิ่มขึ้นจาก อุปสงค์จากสหภาพยุโรปที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง มูลค่าการ นำเข้าลดลงร้อยละ 8.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยมีปริมาณการนำเข้าลดลงตามอุปสงค์ภายในประเทศ ในขณะที่ราคานำเข้าส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น ดุลบริการและบริจาคเกินดุลลดลงจากเดือนก่อนเนื่องจากรายจ่ายผลประโยชน์จากการ ลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เพราะเป็นช่วงสิ้นไตรมาสซึ่งมีการจ่ายดอกเบี้ยกันมาก ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 510 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิขาดดุล 205 ล้านดอลลาร์สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนมาก เนื่องจากการเกินดุลของภาคธุรกิจธนาคาร ขณะที่ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร ขาดดุลเพิ่มขึ้น และธปท.มีการชำระหนี้ 375 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินขาดดุล 135 ล้านดอลลาร์สรอ. และเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 อยู่ ณ ระดับ 31.6 พันล้านดอลลาร์สรอ. หรือเทียบเท่าการนำเข้า 5.9 เดือน
เดือนกรกฎาคม 2544 ดุลการชำระเงิน เกินดุล 41 ล้านดอลลาร์สรอ. และเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 อยู่ ณ ระดับ 31.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่าการนำเข้า 6.0 เดือน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
เดือนกรกฎาคม 2544 ดุลการชำระเงิน เกินดุล 41 ล้านดอลลาร์สรอ. และเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 อยู่ ณ ระดับ 31.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่าการนำเข้า 6.0 เดือน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-