แท็ก
เอเชีย
นโยบายการส่งออก-นำเข้า
รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ ร้อยละ 99.3 ของสินค้าส่งออก และ 98% ของสินค้านำเข้าเป็นไปโดยเสรีและไม่ต้องขอ รับใบอนุญาตจากรัฐบาล
ประมาณร้อยละ 1 ของชนิดสินค้านำเข้าเป็นสินค้าควบคุมภายใต้โควต้า (ได้แก่ สัตว์มีชีวิต ปลาบางชนิด นมผง ผักบางชนิด เกลือ เมล็ดพันธุ์พืช และผลิตภัณฑ์น้ำมันบางชนิด ปุ๋ย วัสดุก่อสร้างบางชนิด) ซึ่งกำหนดบนพื้นฐานของ WTO เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตในประเทศ
สินค้านำเข้าที่เกี่ยวกับการสื่อสารและความปลอดภัย เช่น อาวุธ อุปกรณ์สำหรับทหาร/ตำรวจ อุปกรณ์สื่อสาร วัสดุก่อสร้าง รถแทรกเตอร์ โลหะ และวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อโอโซน เป็นสินค้าต้องขออนุญาตนำเข้า
การตรวจสอบคุณภาพสินค้า
มาตรฐานสินค้านำเข้าส่วนใหญ่เป็นไปตาม European Standards มีการกำหนดมาตรฐานสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ภายใต้ Law on Safety at Work เช่น รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ ซีเมนต์ สิ่งทอ ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ก่อนการนำเข้า
กรณีสินค้าอาหารกำหนดมาตรฐานไว้เฉพาะ และกฎหมายกำหนดให้ต้องมี Pre-customs Quality Inspections เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ผู้ส่งออกควรมีเอกสารรับรองคุณภาพจากหน่วยงานของไทยกำกับไปกับสินค้า
อัตราภาษี
ภาษีนำเข้าของโครเอเซียอยู่ระหว่าง 0 - 30% โดยมีอัตราเฉลี่ยที่ระดับ 10.64% จำแนกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ วัตถุดิบ ภาษี 0%, สินค้ากึ่งสำเร็จรูปเพื่อการผลิต 5% และสินค้ากึ่งสำเร็จรูป 20 - 25%
สภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้ม
1. โครเอเชียเป็นรัฐที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของยุโรปมาตั้งแต่ครั้งเป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวีย ชาวโครเอทมีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่อเรือเดินทะเล และรัฐบาลพยายามส่งเสริมการใช้ท่าเรือน้ำลึก Rijeka ทางตะวันออกของทะเลอเดียรติก ให้กลับมามีความสำคัญต่อการขนถ่ายสินค้าระหว่างยุโรปกับทวีปเอเชียอีกครั้ง ปัจจุบันฮังการีและโครเอเซียมีความตกลงร่วมกันจะพัฒนาท่าเรือเมือง Rijeka ให้เป็นประตูเชื่อมโยงกับฮังการีไปสู่ยุโรปกลางและยุโรป
2. โครเอเซียเป็นประเทศมีการพัฒนาระดับกลาง ได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีการพัฒนาสูงเป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศที่แยกตัวออกมากจากยูโกสลาเวีย (รองจากสโลเวเนีย) มีระบบการค้าค่อนข้างเสรี และรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะเร่งฟื้นฟูประเทศ เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ เป็นอีกประเทศหนึ่งในภูมิภาคที่มีศักยภาพพัฒนาจะได้อย่างรวดเร็ว
3. การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลชุดใหม่เมื่อเดือนมกราคม 2543 นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในนโยบายต่างประเทศ แนวทางการปฏิรูปและการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ขณะนี้ได้รับความเชื่อถือและยอมรับจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น IMF สหภาพยุโรปและประเทศในยุโรปตะวันตกมากขึ้น เงินทุนและโครงการความช่วยเหลือต่างๆ เริ่มเข้าสู่ประเทศแล้วเชื่อว่าโครเอเซียจะมีบทบาทนำในโครงการสร้างเสถียรภาพและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสหภาพยุโรปได้จัดสรรเงินช่วยเหลือให้แล้วถึง 12 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
4. การขยายตัวของเศรษฐกิจและอำนาจซื้อของชาวโครเอทน่าจะเปลี่ยนแปลงดีขึ้นอย่างชัดเจนในช่วง 2 ปีข้างหน้า ขณะนี้เริ่มมีบริษัทประเภท Multinational Companies เข้าไปลงทุน เพื่อให้โครเอเซียเป็นฐานสู่ตลาดในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ที่สำคัญเช่น Audi, Samsung Group, South Korean Bank, Malaysian Airlines สาขาอุตสาหกรรม
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง
1. โครเอเซียระลึกอยู่เสมอว่าไทยเป็นประเทศแรก ๆ ที่รับรองเอกภาพของโครเอเซีย ความสัมพันธ์แม้เป็นไปด้วยความราบรื่น แต่ก็ค่อนข้างห่างเหิน เพราะปัญหาสู้รบกับชาวเสิร์ปของโครเอเซียเอง จนถึงปี 2537 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายไทยเริ่มให้ความสำคัญและเห็นถึงโอกาส ทำให้มีการกระชับความสัมพันธ์มากขึ้น เช่น การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยประจำโครเอเซียเมื่อมิถุนายน 2541 การลงนามข้อตกลงการบิน (Ari Service Agreement) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2542 และการลงนามความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งน่าจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเพิ่มปริมาณการค้าให้มากขึ้น
2. ทั้งฝ่ายไทยและโครเอเซียเห็นถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลและเอกชนของทั้งสองฝ่าย การแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูงที่สำคัญ ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย (ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร) เยือนโครเอเซียเมื่อเดือนมิถุนายน 2541 และ Mr. Nenad Porges รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจโครเอเซียเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6 - 7 กรกฎาคม 2542 และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เดินทางไปเยือนโครเอเซียระหว่างวันที่ 1 - 4 มิถุนายน 2543
3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้เสด็จเยือนโครเอเซียในฐานะแขกเชิญของนายกรัฐมนตรีโครเอเซีย ระหว่างวันที่ 11 - 13 เมษายน 2543
โอกาสทางเศรษฐกิจของไทย0
1. โครเอเซียเป็นตลาดส่งออกใหม่ที่มูลค่าส่งออกยังมีไม่มาก แต่ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี สินค้าไทยได้เข้าไปวางจำหน่าย ทั้งโดยการส่งออกตรงและการส่งออกผ่านประเทศอื่น เช่น เยอรมัน ออสเตรีย สโลเวเนีย และฮังการี นับเป็นตลาดหนึ่งที่มีศักยภาพ เพราะมีการวางรากฐานสถาบันทางเศรษฐกิจและกฎระเบียบการค้าที่เป็นสากล การเมืองมีเสถียรภาพ โครเอเซียจึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มบทบาทเข้าไปมีบทบาททางการค้าของภูมิภาคมากขึ้น
2. โครเอเซียเป็นประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การลงทุนจากต่างประเทศและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ที่นำไปสู่การจ้างงาน และการเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชน
3. ความช่วยเหลือของประเทศพัฒนา ภายใต้แผนฟื้นฟูประเทศในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Stability Pact จะเป็นแนวทางใหม่ในการเสริมสร้างเสถียรภาพ และนำไปสู่การเชื่อมโยงกับภูมิภาคยุโรปโดยรวม ที่จะนำความมั่งคั่งและโอกาสทางเศรษฐกิจมาสู่ประเทศในภูมิภาคนี้
4. สินค้าไทยที่มีโอกาสสูง ได้แก่ สินค้าอุปโภค-บริโภค เช่น สินค้าอาหาร เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์หวาย เครื่องประดับเงิน และของชำร่วยสำหรับนักท่องเที่ยวและกลุ่มสินค้าเพื่อการผลิต เช่น ส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่อง คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โทรคมนาคม ส่วนประกอบเครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องจักรกล เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการของไทย น่าจะพิจารณาเข้าไปเจาะขยายตลาด รวมทั้งแนะนำสินค้าไทย โดยเฉพาะการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ
5. ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สาขาที่น่าจะมีความพร้อมสูง คือ การท่องเที่ยว การเปิดกิจการภัตตาคารอาหารไทย และความร่วมมือในการขนส่งสินค้าทางเรือ
ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า
1. โครเอเซียเป็นตลาดใหม่ที่อยู่ในช่วงการปฏิรูป กฎระเบียบการค้าจำนวนมากได้รับการแก้ไขและปรับปรุงให้เป็นมาตรฐาน แต่การประชาสัมพันธ์ และการให้ข้อมูลข่าวสารยังอยู่ในวงจำกัด และส่วนใหญ่เป็นภาษาท้องถิ่น
2. นักธุรกิจในโครเอเซียเป็นรายย่อย ๆ ขาดประสบการณ์ และเงินทุน กำลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในระดับต่ำ ระบบธนาคารยังไม่ได้รับการปฏิรูป และนักลงทุนต่างชาติเพิ่งให้ความสนใจภายหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเมื่อมกราคมศกนี้ การซื้อขายสินค้า จึงมักต้องการเครดิตและหลีกเลี่ยงการเปิด L/C การค้าในช่วงนี้จึงมีความเสี่ยงสูง จำเป็นต้องเลือกคู่ค้าด้วยความระมัดระวัง และควรเดินทางเยี่ยมเยียนคู่ค้าเป็นครั้งคราว
(ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบูดาเปสต์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 18/2543 วันที่ 30 กันยายน 2543--
-อน-
รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ ร้อยละ 99.3 ของสินค้าส่งออก และ 98% ของสินค้านำเข้าเป็นไปโดยเสรีและไม่ต้องขอ รับใบอนุญาตจากรัฐบาล
ประมาณร้อยละ 1 ของชนิดสินค้านำเข้าเป็นสินค้าควบคุมภายใต้โควต้า (ได้แก่ สัตว์มีชีวิต ปลาบางชนิด นมผง ผักบางชนิด เกลือ เมล็ดพันธุ์พืช และผลิตภัณฑ์น้ำมันบางชนิด ปุ๋ย วัสดุก่อสร้างบางชนิด) ซึ่งกำหนดบนพื้นฐานของ WTO เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตในประเทศ
สินค้านำเข้าที่เกี่ยวกับการสื่อสารและความปลอดภัย เช่น อาวุธ อุปกรณ์สำหรับทหาร/ตำรวจ อุปกรณ์สื่อสาร วัสดุก่อสร้าง รถแทรกเตอร์ โลหะ และวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อโอโซน เป็นสินค้าต้องขออนุญาตนำเข้า
การตรวจสอบคุณภาพสินค้า
มาตรฐานสินค้านำเข้าส่วนใหญ่เป็นไปตาม European Standards มีการกำหนดมาตรฐานสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ภายใต้ Law on Safety at Work เช่น รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ ซีเมนต์ สิ่งทอ ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ก่อนการนำเข้า
กรณีสินค้าอาหารกำหนดมาตรฐานไว้เฉพาะ และกฎหมายกำหนดให้ต้องมี Pre-customs Quality Inspections เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ผู้ส่งออกควรมีเอกสารรับรองคุณภาพจากหน่วยงานของไทยกำกับไปกับสินค้า
อัตราภาษี
ภาษีนำเข้าของโครเอเซียอยู่ระหว่าง 0 - 30% โดยมีอัตราเฉลี่ยที่ระดับ 10.64% จำแนกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ วัตถุดิบ ภาษี 0%, สินค้ากึ่งสำเร็จรูปเพื่อการผลิต 5% และสินค้ากึ่งสำเร็จรูป 20 - 25%
สภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้ม
1. โครเอเชียเป็นรัฐที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของยุโรปมาตั้งแต่ครั้งเป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวีย ชาวโครเอทมีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่อเรือเดินทะเล และรัฐบาลพยายามส่งเสริมการใช้ท่าเรือน้ำลึก Rijeka ทางตะวันออกของทะเลอเดียรติก ให้กลับมามีความสำคัญต่อการขนถ่ายสินค้าระหว่างยุโรปกับทวีปเอเชียอีกครั้ง ปัจจุบันฮังการีและโครเอเซียมีความตกลงร่วมกันจะพัฒนาท่าเรือเมือง Rijeka ให้เป็นประตูเชื่อมโยงกับฮังการีไปสู่ยุโรปกลางและยุโรป
2. โครเอเซียเป็นประเทศมีการพัฒนาระดับกลาง ได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีการพัฒนาสูงเป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศที่แยกตัวออกมากจากยูโกสลาเวีย (รองจากสโลเวเนีย) มีระบบการค้าค่อนข้างเสรี และรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะเร่งฟื้นฟูประเทศ เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ เป็นอีกประเทศหนึ่งในภูมิภาคที่มีศักยภาพพัฒนาจะได้อย่างรวดเร็ว
3. การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลชุดใหม่เมื่อเดือนมกราคม 2543 นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในนโยบายต่างประเทศ แนวทางการปฏิรูปและการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ขณะนี้ได้รับความเชื่อถือและยอมรับจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น IMF สหภาพยุโรปและประเทศในยุโรปตะวันตกมากขึ้น เงินทุนและโครงการความช่วยเหลือต่างๆ เริ่มเข้าสู่ประเทศแล้วเชื่อว่าโครเอเซียจะมีบทบาทนำในโครงการสร้างเสถียรภาพและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสหภาพยุโรปได้จัดสรรเงินช่วยเหลือให้แล้วถึง 12 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
4. การขยายตัวของเศรษฐกิจและอำนาจซื้อของชาวโครเอทน่าจะเปลี่ยนแปลงดีขึ้นอย่างชัดเจนในช่วง 2 ปีข้างหน้า ขณะนี้เริ่มมีบริษัทประเภท Multinational Companies เข้าไปลงทุน เพื่อให้โครเอเซียเป็นฐานสู่ตลาดในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ที่สำคัญเช่น Audi, Samsung Group, South Korean Bank, Malaysian Airlines สาขาอุตสาหกรรม
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง
1. โครเอเซียระลึกอยู่เสมอว่าไทยเป็นประเทศแรก ๆ ที่รับรองเอกภาพของโครเอเซีย ความสัมพันธ์แม้เป็นไปด้วยความราบรื่น แต่ก็ค่อนข้างห่างเหิน เพราะปัญหาสู้รบกับชาวเสิร์ปของโครเอเซียเอง จนถึงปี 2537 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายไทยเริ่มให้ความสำคัญและเห็นถึงโอกาส ทำให้มีการกระชับความสัมพันธ์มากขึ้น เช่น การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยประจำโครเอเซียเมื่อมิถุนายน 2541 การลงนามข้อตกลงการบิน (Ari Service Agreement) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2542 และการลงนามความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งน่าจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเพิ่มปริมาณการค้าให้มากขึ้น
2. ทั้งฝ่ายไทยและโครเอเซียเห็นถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลและเอกชนของทั้งสองฝ่าย การแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูงที่สำคัญ ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย (ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร) เยือนโครเอเซียเมื่อเดือนมิถุนายน 2541 และ Mr. Nenad Porges รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจโครเอเซียเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6 - 7 กรกฎาคม 2542 และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เดินทางไปเยือนโครเอเซียระหว่างวันที่ 1 - 4 มิถุนายน 2543
3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้เสด็จเยือนโครเอเซียในฐานะแขกเชิญของนายกรัฐมนตรีโครเอเซีย ระหว่างวันที่ 11 - 13 เมษายน 2543
โอกาสทางเศรษฐกิจของไทย0
1. โครเอเซียเป็นตลาดส่งออกใหม่ที่มูลค่าส่งออกยังมีไม่มาก แต่ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี สินค้าไทยได้เข้าไปวางจำหน่าย ทั้งโดยการส่งออกตรงและการส่งออกผ่านประเทศอื่น เช่น เยอรมัน ออสเตรีย สโลเวเนีย และฮังการี นับเป็นตลาดหนึ่งที่มีศักยภาพ เพราะมีการวางรากฐานสถาบันทางเศรษฐกิจและกฎระเบียบการค้าที่เป็นสากล การเมืองมีเสถียรภาพ โครเอเซียจึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มบทบาทเข้าไปมีบทบาททางการค้าของภูมิภาคมากขึ้น
2. โครเอเซียเป็นประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การลงทุนจากต่างประเทศและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ที่นำไปสู่การจ้างงาน และการเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชน
3. ความช่วยเหลือของประเทศพัฒนา ภายใต้แผนฟื้นฟูประเทศในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Stability Pact จะเป็นแนวทางใหม่ในการเสริมสร้างเสถียรภาพ และนำไปสู่การเชื่อมโยงกับภูมิภาคยุโรปโดยรวม ที่จะนำความมั่งคั่งและโอกาสทางเศรษฐกิจมาสู่ประเทศในภูมิภาคนี้
4. สินค้าไทยที่มีโอกาสสูง ได้แก่ สินค้าอุปโภค-บริโภค เช่น สินค้าอาหาร เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์หวาย เครื่องประดับเงิน และของชำร่วยสำหรับนักท่องเที่ยวและกลุ่มสินค้าเพื่อการผลิต เช่น ส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่อง คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โทรคมนาคม ส่วนประกอบเครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องจักรกล เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการของไทย น่าจะพิจารณาเข้าไปเจาะขยายตลาด รวมทั้งแนะนำสินค้าไทย โดยเฉพาะการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ
5. ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สาขาที่น่าจะมีความพร้อมสูง คือ การท่องเที่ยว การเปิดกิจการภัตตาคารอาหารไทย และความร่วมมือในการขนส่งสินค้าทางเรือ
ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า
1. โครเอเซียเป็นตลาดใหม่ที่อยู่ในช่วงการปฏิรูป กฎระเบียบการค้าจำนวนมากได้รับการแก้ไขและปรับปรุงให้เป็นมาตรฐาน แต่การประชาสัมพันธ์ และการให้ข้อมูลข่าวสารยังอยู่ในวงจำกัด และส่วนใหญ่เป็นภาษาท้องถิ่น
2. นักธุรกิจในโครเอเซียเป็นรายย่อย ๆ ขาดประสบการณ์ และเงินทุน กำลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในระดับต่ำ ระบบธนาคารยังไม่ได้รับการปฏิรูป และนักลงทุนต่างชาติเพิ่งให้ความสนใจภายหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเมื่อมกราคมศกนี้ การซื้อขายสินค้า จึงมักต้องการเครดิตและหลีกเลี่ยงการเปิด L/C การค้าในช่วงนี้จึงมีความเสี่ยงสูง จำเป็นต้องเลือกคู่ค้าด้วยความระมัดระวัง และควรเดินทางเยี่ยมเยียนคู่ค้าเป็นครั้งคราว
(ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบูดาเปสต์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 18/2543 วันที่ 30 กันยายน 2543--
-อน-