กรุงเทพฯ--14 .กค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (13 กรกฎาคม 2543) นายอุ้ม เมาลานนท์ รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศแถลงข่าวว่า นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมประชุมเตรียมการประชุมสุดยอด G 8 (ซึ่งจะมีขึ้นที่กรุงโตเกียว 20-21 กรกฎาคม 2543 และได้ พบปะหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่ม G 8 รัฐมนตรีต่างประเทศของ NAM Troika (ซึ่งประกอบด้วย อาฟริกาใต้ โคลัมเบีย และบังกลาเทศ) และไนจีเรียประธานของกลุ่มประเทศ G 77 ที่ จ. มิยาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเด็นที่ได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นนั้นจะได้เสนอให้ที่ประชุมผู้นำกลุ่ม G 8 และผู้นำกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลม ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2543 พิจารณาต่อไป
การพบปะครั้งนี้เป็นการเป็นการประชุมครั้งแรกระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่ม G 8 และคณะผู้แทนของประเทศกำลังพัฒนา ในที่ประชุมได้เห็นพ้องต้องกันว่า การพบปะหารือ (dialogue) ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการปัญหาของโลก และการพบปะหารือดังกล่าวนี้มีความเป็นไปได้ที่จะจัดขึ้นในปีหน้าในการประชุม G 8 ครั้งต่อไปที่ประเทศอิตาลี
ในโอกาสนี้ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวสุนทรพจน์ ซึ่งเป็นการแสดงทัศนะและกล่าวถึงบทบาทและความร่วมมือของกลุ่ม G 8 และประเทศกำลังพัฒนาในการแก้ไขปัญหาของทวีปเอเชียและโลกที่ได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์ สรุปสาระสำคัญดังนี้
1.ประเทศไทยให้การสนับสนุนข้อเสนอของประเทศกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) และกลุ่ม G 77 โดยเฉพาะในประเด็นการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินของประเทศกำลังพัฒนา การพัฒนาระบบการเงิน การแก้ไขความยากจน ปัญหาโรคติดต่อและความแตกต่างในด้านการเทคโนโลยีดิจิตอลของประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา (Digital Divide) โดยชี้ว่าการแก้ไขเหล่านี้จำเป็นต้องมีความร่วมมือไม่เพียงแต่กลุ่มพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาเท่านั้น (North-South) แต่ต้องการความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันและทวีปเอเชียและแอฟริกาด้วย
2.ประเทศไทยได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของโลกให้ที่ประชุมกลุ่ม G 8 พิจารณาอันได้แก่
2.1 ปรับปรุงให้นโยบายเศรษฐกิจมหภาคของประเทศอุตสาหกรรม สำคัญ และสถาบันหรือองค์กรในด้านการเงินพหุภาคี การค้า และการพัฒนามีความกลมกลืนเป็นเอกภาพ
2.2 ปฏิรูปโครงสร้างทางการเงินระหว่างประเทศให้มีลักษณะเป็นรูปธรรม และปฏิบัติได้ด้วยความรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับกฎ และระเบียบสำหรับแก้ไขปัญหากองทุนโจมตีค่าเงิน การไหลเข้าของทุน ในระยะสั้น การเก็งกำไรค่าเงิน รวมถึงการฟอกเงิน 2.3 ระบอบการค้าพหุภาคีควรมีความเป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งจะสามารถให้ โอกาสเรื่องตลาดสินค้าแก่ประเทศที่กำลังพัฒนาได้อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันให้มีการเจรจารอบใหม่องค์การการค้า โลก (WTO) เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยต้องเน้นหนักในเรื่องประเด็นผลกระทบ ด้านการพัฒนาอันเกิดจากการค้า
2.4 การดำเนินการให้ข้อตกลงทางด้านการเงินและการค้าในภูมิภาคมีส่วน ส่งเสริมข้อตกลงในระดับพหุภาคี โดยยกตัวอย่างประเทศในอาเซียนที่ได้ ดำเนินมาตรการเกี่ยวกับข้อตกลงในการซื้อขายเงินตราล่วงหน้าของ ธนาคารกลางร่วมกับประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ 2.5 ควรมีรูปแบบของเงินทุน เพื่อการพัฒนาที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งจะ สามารถส่งเสริมให้ ODA และการลงทุนของภาคธุรกิจเอกชนสามารถ เพิ่มความสามารถขององค์กรและทรัพยากรมนุษย์ได้
2.6 ส่งเสริมให้เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (IT) มีความแพร่หลาย ซึ่งเทคโนโลยีในด้านข้อมูลข่าวสารมิได้รวมถึง แค่ e-commerce แต่รวมถึง e-education e-science e-technology e-health และ e-government
ในตอนท้าย ดร.สุรินทร์ฯ ได้เน้นย้ำว่า แนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น อีกนัยหนึ่งก็คือ แนวทางการสร้างธรรมรัฐสำหรับสังคมโลกใหญ่ (global governance for the new global society) ดังนั้น การจัดการปัญหาผลกระทบอันเกิดจากโลกาภิวัฒน์จึงจำเป็นที่ต้องจัดให้มีการหารือ (dialogue) และมีการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (13 กรกฎาคม 2543) นายอุ้ม เมาลานนท์ รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศแถลงข่าวว่า นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมประชุมเตรียมการประชุมสุดยอด G 8 (ซึ่งจะมีขึ้นที่กรุงโตเกียว 20-21 กรกฎาคม 2543 และได้ พบปะหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่ม G 8 รัฐมนตรีต่างประเทศของ NAM Troika (ซึ่งประกอบด้วย อาฟริกาใต้ โคลัมเบีย และบังกลาเทศ) และไนจีเรียประธานของกลุ่มประเทศ G 77 ที่ จ. มิยาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเด็นที่ได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นนั้นจะได้เสนอให้ที่ประชุมผู้นำกลุ่ม G 8 และผู้นำกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลม ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2543 พิจารณาต่อไป
การพบปะครั้งนี้เป็นการเป็นการประชุมครั้งแรกระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่ม G 8 และคณะผู้แทนของประเทศกำลังพัฒนา ในที่ประชุมได้เห็นพ้องต้องกันว่า การพบปะหารือ (dialogue) ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการปัญหาของโลก และการพบปะหารือดังกล่าวนี้มีความเป็นไปได้ที่จะจัดขึ้นในปีหน้าในการประชุม G 8 ครั้งต่อไปที่ประเทศอิตาลี
ในโอกาสนี้ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวสุนทรพจน์ ซึ่งเป็นการแสดงทัศนะและกล่าวถึงบทบาทและความร่วมมือของกลุ่ม G 8 และประเทศกำลังพัฒนาในการแก้ไขปัญหาของทวีปเอเชียและโลกที่ได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์ สรุปสาระสำคัญดังนี้
1.ประเทศไทยให้การสนับสนุนข้อเสนอของประเทศกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) และกลุ่ม G 77 โดยเฉพาะในประเด็นการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินของประเทศกำลังพัฒนา การพัฒนาระบบการเงิน การแก้ไขความยากจน ปัญหาโรคติดต่อและความแตกต่างในด้านการเทคโนโลยีดิจิตอลของประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา (Digital Divide) โดยชี้ว่าการแก้ไขเหล่านี้จำเป็นต้องมีความร่วมมือไม่เพียงแต่กลุ่มพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาเท่านั้น (North-South) แต่ต้องการความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันและทวีปเอเชียและแอฟริกาด้วย
2.ประเทศไทยได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของโลกให้ที่ประชุมกลุ่ม G 8 พิจารณาอันได้แก่
2.1 ปรับปรุงให้นโยบายเศรษฐกิจมหภาคของประเทศอุตสาหกรรม สำคัญ และสถาบันหรือองค์กรในด้านการเงินพหุภาคี การค้า และการพัฒนามีความกลมกลืนเป็นเอกภาพ
2.2 ปฏิรูปโครงสร้างทางการเงินระหว่างประเทศให้มีลักษณะเป็นรูปธรรม และปฏิบัติได้ด้วยความรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับกฎ และระเบียบสำหรับแก้ไขปัญหากองทุนโจมตีค่าเงิน การไหลเข้าของทุน ในระยะสั้น การเก็งกำไรค่าเงิน รวมถึงการฟอกเงิน 2.3 ระบอบการค้าพหุภาคีควรมีความเป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งจะสามารถให้ โอกาสเรื่องตลาดสินค้าแก่ประเทศที่กำลังพัฒนาได้อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันให้มีการเจรจารอบใหม่องค์การการค้า โลก (WTO) เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยต้องเน้นหนักในเรื่องประเด็นผลกระทบ ด้านการพัฒนาอันเกิดจากการค้า
2.4 การดำเนินการให้ข้อตกลงทางด้านการเงินและการค้าในภูมิภาคมีส่วน ส่งเสริมข้อตกลงในระดับพหุภาคี โดยยกตัวอย่างประเทศในอาเซียนที่ได้ ดำเนินมาตรการเกี่ยวกับข้อตกลงในการซื้อขายเงินตราล่วงหน้าของ ธนาคารกลางร่วมกับประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ 2.5 ควรมีรูปแบบของเงินทุน เพื่อการพัฒนาที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งจะ สามารถส่งเสริมให้ ODA และการลงทุนของภาคธุรกิจเอกชนสามารถ เพิ่มความสามารถขององค์กรและทรัพยากรมนุษย์ได้
2.6 ส่งเสริมให้เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (IT) มีความแพร่หลาย ซึ่งเทคโนโลยีในด้านข้อมูลข่าวสารมิได้รวมถึง แค่ e-commerce แต่รวมถึง e-education e-science e-technology e-health และ e-government
ในตอนท้าย ดร.สุรินทร์ฯ ได้เน้นย้ำว่า แนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น อีกนัยหนึ่งก็คือ แนวทางการสร้างธรรมรัฐสำหรับสังคมโลกใหญ่ (global governance for the new global society) ดังนั้น การจัดการปัญหาผลกระทบอันเกิดจากโลกาภิวัฒน์จึงจำเป็นที่ต้องจัดให้มีการหารือ (dialogue) และมีการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-