มาตรการรองรับและแก้ไขปัญหาการว่างงานจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 0.35 ในปี 2545
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการกองนโยบายและวางแผนการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากการที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการของมาตรการรองรับและแก้ไขปัญหาการว่างงาน ซึ่งร่วมจัดทำโดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการคลัง รวมทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยมาตรการดังกล่าวแบ่งออกเป็น 5 มาตรการหลัก คือ 1) มาตรการชะลอการเลิกจ้าง 2) มาตรการเสริมทักษะฝึกอบรมและจัดหางาน 3) มาตรการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ 4) มาตรการสงเคราะห์ผู้ตกงาน และ 5) มาตรการสินเชื่อและบริการเพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงาน ซึ่งประกอบด้วยโครงการทั้งหมด 19 โครงการ นั้น
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ทำการศึกษาผลของมาตรการดังกล่าวที่มีต่อเศรษฐกิจ ในเบื้องต้น พบว่าการใช้จ่ายเงินงบประมาณจำนวน 11,391 ล้านบาทภายใต้โครงการ 19 โครงการ จะมีผลต่อเนื่อง ดังนี้
1. แรงงานและผู้ประกอบการคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 17,625.10 ล้านบาท
2. รัฐบาลจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้น 947.06 ล้านบาท
3. การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 13,529.23 ล้านบาท
ซึ่งจากผลของทั้ง 3 ประการข้างต้น จะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.20
นอกจากนั้น หากการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินของรัฐที่เข้าร่วมโครงการเป็นไปตามเป้าหมาย (ปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนและผู้ประกอบการรวม 100,000 ราย รายละ 100,000 บาท) คาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกอย่างน้อยร้อยละ 0.15
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 79/2544 8 พฤศจิกายน 2544--
-อน-
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการกองนโยบายและวางแผนการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากการที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการของมาตรการรองรับและแก้ไขปัญหาการว่างงาน ซึ่งร่วมจัดทำโดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการคลัง รวมทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยมาตรการดังกล่าวแบ่งออกเป็น 5 มาตรการหลัก คือ 1) มาตรการชะลอการเลิกจ้าง 2) มาตรการเสริมทักษะฝึกอบรมและจัดหางาน 3) มาตรการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ 4) มาตรการสงเคราะห์ผู้ตกงาน และ 5) มาตรการสินเชื่อและบริการเพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงาน ซึ่งประกอบด้วยโครงการทั้งหมด 19 โครงการ นั้น
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ทำการศึกษาผลของมาตรการดังกล่าวที่มีต่อเศรษฐกิจ ในเบื้องต้น พบว่าการใช้จ่ายเงินงบประมาณจำนวน 11,391 ล้านบาทภายใต้โครงการ 19 โครงการ จะมีผลต่อเนื่อง ดังนี้
1. แรงงานและผู้ประกอบการคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 17,625.10 ล้านบาท
2. รัฐบาลจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้น 947.06 ล้านบาท
3. การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 13,529.23 ล้านบาท
ซึ่งจากผลของทั้ง 3 ประการข้างต้น จะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.20
นอกจากนั้น หากการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินของรัฐที่เข้าร่วมโครงการเป็นไปตามเป้าหมาย (ปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนและผู้ประกอบการรวม 100,000 ราย รายละ 100,000 บาท) คาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกอย่างน้อยร้อยละ 0.15
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 79/2544 8 พฤศจิกายน 2544--
-อน-